สรุปนายกฯ เวียดนามเยือนไทย “ประยุทธ์” ยกเป็นคู่ค้ารายใหญ่ เล็งผลักดันลงทุน ปีหน้าฉลองครบ 40 ปีความสัมพันธ์ เห็นพ้องให้ความสะดวกนักลงทุนไทย ก่อนประชุม ครม.สองชาติไม่เป็นทางการ หนุนเยือนระดับสูงสม่ำเสมอ ยกระดับปราบค้ามนุษย์ วางเป้าศก.ระหว่างกันเป็น 2 หมื่นล้าน คุมคุณภาพประมง พัฒนาผลไม้ เร่งพัฒนาเชื่อมโยงทางบก ทะเล อากาศ เพื่อลงทุนท่องเที่ยว เล็งเปิดภาควิชาสอนภาษา 2 ชาติ พร้อมร่วมลงนามความตกลง 5 ฉบับ
วันนี้ (23ก.ค.) การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 3 (The Third Thailand – Vietnam Joint Cabinet Retreat) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายเหวียน เติ๊น สุง (Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Prime Minister of the Socialist Republic of Vietnam) เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 3 (The Third Thailand – Vietnam Joint Cabinet Retreat) ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้คณะรัฐมนตรีไทยที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นาง อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีเวียดนาม ได้แก่ นายฝ่าม บิ่งห์ มิงห์ (Pham Binh Minh) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม นาย วู ดึ๊ก ดาม (Vu Duc Dam) รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Deputy Prime Minister of the Socialist Republic of Vietnam) นาย Pham Quang Vinh, รัฐมนตรีวางแผนและการลงทุน ( Minister for Planning and Investment) นาย Hoang Tuan Anh, รัฐมนตรีวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว (Minister for Culture, Sports and Tourism) นาง Pham Thi Hai Chuyen รัฐมนตรีแรงงานและกิจการสังคม Minister for Labour, Invalids and Social Affairs นาย Vu Huy Hoang, รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้า Minister for Industry and Trade นาย Cao Duc Phat, รัฐมนตรีเกษตรและการพัฒนาชนบท Minister for Agriculture and Rural Development Senior Lt. General Nguyen Chi Vinh, รัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหม Deputy Minister for Defense Senior Lt. General To Lam รัฐมนตรีช่วยว่าการความมั่นคงภายใน Deputy Minister for Public Security และนาย Nguyen Huu Chi รัฐมนตรีช่วยคลัง Deputy Minister for Finance นาง Nguyen Thi Hong รองประธานธนาคารแห่งชาติ Vice President of Viet Nam’s National Bank เป็นต้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 3 ว่า เป็นการประชุม คณะรัฐมนตรีร่วมไทย – เวียดนาม ครั้งแรกหลังจากได้มีการยกระดับความสัมพันธ์ไทย – เวียดนาม เป็นหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์ เมื่อปี 2556 และเพื่อเป็นเตรียมการเฉลิมฉลองการครบรอบ 40 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย – เวียดนามในปี 2559 ด้วย ทั้งนี้ ไทยและเวียดนามมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับที่ดีและมีพลวัตร ทั้งแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง โดยเฉพาะการเสด็จเยือนเวียดนามของสมเด็จพระเทพฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะแขกของรองประธานาธิบดีเวียดนามเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และการขับเคลื่อนกลไกกรอบความร่วมมือในทุกสาขาตั้งแต่การเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการศึกษา โดยมีความจริงใจเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อต่อยอดความร่วมมือสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต ทั้งนี้จะเชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – เวียดนาม ด้วย นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความสำคัญของการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ไทย- เวียดนาม ครั้งนี้ว่า สองฝ่ายจะใช้โอกาสการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมครั้งนี้ เพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านต่างๆ รวมทั้งผลักดันข้อริเริ่มใหม่ๆ ระหว่างสองประเทศในสาขาต่างๆ ให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้กล่าวถึงความก้าวหน้าความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างไทยและเวียดนามว่า ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันเผชิญหน้าต่อสิ่งท้าทายที่มีความหลากหลายและวับซ้อน ทั้งปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ การประมงผิดกฎหมาย รวมทั้งการเร่งรัดให้มีกลไกที่เหมาะสมในการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย ด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเพิ่มเป้าหมายมูลค่าการค้าระหว่างกันเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2563 โดยเร่งขจัดอุปสรรคทางการค้า ส่งเสริมการใช้เงินสกุลบาทและเงินด่องในการประกอบธุรกรรมทางการเงินและส่งเสริมการเปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ระหว่างกัน ความร่วมมือด้านการเกษตร ได้แก่ การพัฒนาและควบคุมความปลอดภัยและคุณภาพผลิตผลทางการประมง และการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพผลไม้ ข้าว ยางพารา เป็นต้น รวมทั้ง จะเร่งรัดการพัฒนาความเชื่อมโยงทั้งทางบก ทะเล และอากาศ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยให้มีการเร่งรัด การเปิดการเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยกับเวียดนาม พัฒนาการเดินเรือชายฝั่งระหว่างภาคตะวันออกของไทย กัมพูชาและตอนใต้ของเวียดนาม ด้านสังคมและวัฒนธรรม ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการเปิดภาควิชาการเรียนการสอนภาษาของกันและกัน สนับสนุน การทำงานของสมาคมมิตรภาพของทั้งสองประเทศที่เป็นกลไกขับเคลื่อนความร่วมมือให้ก้าวหน้าและเชื่อมสายสัมพันธ์และมิตรภาพของประชาชนทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ระหว่างการประชุม พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอข้อคิดเห็นด้านการเมืองและความมั่นคงไทย-เวียดนาม ว่า ด้านการเมืองจะมีการขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือภายใต้แผนปฏิบัติการ ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย-เวียดนาม และจัดกิจกรรมร่วมเพื่อฉลองการครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ในปี 2559 ความมั่นคง จะปฏิบัติตามเอกสารวิสัยทัศน์ความร่วมมือว่าด้วยความมั่นคงความร่วมมือทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหาร การฝึกอบรมบุคลากรรักษาสันติภาพและการค้นหาและกู้ภัย และไม่อนุญาตให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดใช้ดินแดนของฝ่ายหนึ่งเพื่อดำเนินการต่อต้านรัฐบาลของอีกฝ่ายหนึ่ง การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ จะร่วมมือในการป้องกันการลักลอบค้ายาเสพติดและการค้ามนุษย์ รวมทั้งภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เสนอจัดตั้งคณะทำงานร่วมว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายระหว่างกัน และกิจการยุติธรรม เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกฎหมายข้ามแดน และเห็นควรให้เริ่มเจรจาจัดทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความร่วมมือในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และสนับสนุนการแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้โดยสันติวิธีตามกฏหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้อย่างครบถ้วนและจริงจัง
ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลด้านสังคม ได้เสนอข้อคิดเห็นความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรม และการศึกษา ย้ำความสำคัญของแผนปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ปี 2557-2559 ) เวียดนามสนับสนุนการเตรียมการของไทยที่จะขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทและกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นแหล่งมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งต่อไปในปี 2559 ไทยพร้อมให้การสนับสนุนเวียดนามในการสมัครตำแหน่งกรรมการผู้บริหารขององค์กรยูเนสโกของเวียดนาม สำหรับปี 2558-2562รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปะหุ่นกระบอกไทยและหุ่นน้ำของเวียดนามตามข้อดำริของนายกรัฐมนตรีด้วย ในโอกาสเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม 40 ปี ด้วย ด้านการศึกษาสนับสนุนการเปิดภาควิชาการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรม การจัดตั้งศูนย์ไทยศึกษาในเวียดนามและศูนย์เวียดนามศึกษาในไทย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเร่งจัดทำ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านแรงงาน จะส่งเสริมให้ชาวเวียดนามเข้ามาทำงานในไทยตามช่องทางที่ถูกต้องทางกฎหมาย และให้ได้รับสิทธิการดูแลคุ้มครองภายใต้กฎหมายของไทย รวมทั้งความร่วมมือด้านสาธารณสุข สำหรับความร่วมมือระดับจังหวัดนั้น ทั้งสองฝ่ายได้ลงนาม การสถาปนาเมืองคู่มิตรระหว่างจังหวัดของไทยกับเวียดนาม และพร้อมที่จะสนับสนุนบทบาทของสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม และเวียดนาม-ไทย ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา จะเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เสนอให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณาการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกีฬา
ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้เสนอข้อคิดเห็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ว่า เป้าหมายการค้าทวิภาคี สามารถเพิ่มสูงขึ้นเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2563 โดยเน้นการขจัดอุปสรรคทางการค้า การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการประกอบธุรกิจการค้า สนับสนุนการเปิดธนาคารพาณิชย์ระหว่างกัน พร้อมทั้งจะสนับสนุนการขยายการลงทุนของไทยในเวียดนาม ส่งเสริมการใช้ตลาดทุนไทยในการเป็นแหล่งระดมเงินทุนสำหรับด้านการเกษตร นั้น ขอให้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยเฉพาะยางพาราและข้าว สนับสนุนให้เวียดนามตอบรับเข้าร่วมเป็นสมาชิกในสภาไตรภาคียางพารา ขณะเดียวกัน ก็จะผลักดันการพัฒนาความเชื่อมโยงทางบก โดยเร่งรัดการเปิดบริการรถโดยสารประจำทางระหว่างไทย – สปป. ลาว – เวียดนาม การผนวกเส้นทางหมายเลข 12 เชื่อมโยงนครพนม – คำม่วน– ฮาติงห์ เข้าไปในความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement – GMS CBTA) และการบังคับใช้การขยายเส้นทางหมายเลข 9 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต – ดานัง) ไปยังเวียงจันทน์ กรุงเทพฯ ฮานอย ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือไฮฟองของเวียดนาม ความเชื่อมโยงทางทะเล การพัฒนาการเดินเรือตามแนวชายฝั่งทะเล (coastal shipping) และความเชื่อมโยงทางอากาศ การเพิ่มความถี่ของเที่ยวบิน และการเพิ่มเส้นทางเที่ยวบินตรงระหว่างจุดหมายปลายทางใหม่ระหว่างไทยกับเวียดนาม
ภายหลังเสร็จสึ้นการประชุม ฯ นายกรัฐมนตรีไทยและเวียดนาม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามเอกสาร 5 ฉบับ ประกอบด้วย
1. แถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย – เวียดนาม ครั้งที่ ๓
ลงนามโดย พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายฝ่าม บิ่งห์ มิงห์ (Pham Binh Minh) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม
2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานไทย – เวียดนาม
ลงนามโดย พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนาง Pham Thi Hai Chuyen รัฐมนตรีแรงงานและกิจการสังคมเวียดนามMinister for Labour, Invalids and Social Affairs
3. บันทึกข้อตกลงการจ้างแรงงาน
ลงนามโดย พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนาง Pham Thi Hai Chuyen รัฐมนตรีแรงงานและกิจการสังคม เวียดนาม Minister for Labour, Invalids and Social Affairs
4. บันทึกความเข้าใจเพื่อการสถาปนาเมืองคู่มิตรระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดคอนตูม
ลงนามโดย ผวจ.อุบลราชธานีและ Mr. Dao Xuan Qui ประธานคณะกรรมการประชาชน จ. คอนตูม (Chairman of People’s Committee of Kon Tum Province)
5. บันทึกความเข้าใจเพื่อการสถาปนาเมืองคู่มิตรระหว่างจังหวัดตราดและจังหวัดลองอาน
ลงนามโดย ผวจ. ตราดและ Mrs. Tran Thi Nhanh รองประธานคณะกรรมการประชาชน จ. ลองอาน (Vice Chairman of People’s Commit