xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.ยกร่างฯ สรุปคุณสมบัติ กก.สรรหา ส.ว. กำหนดคัดให้เสร็จใน 30 วัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (แฟ้มภาพ)
โฆษกกรรมาธิการยกร่างฯ เผยที่ประชุมสรุปคุณสมบัติกรรมการสรรหา ส.ว.ทั้ง 4 กลุ่ม เฉพาะด้าน ทำให้เสร็จใน 30 วัน นับแต่ได้ชื่อจาก กกต. ตัวผู้คัดจะลงสมัคร ส.ว.มิได้ ชูได้คนที่หลากหลายมาก

วันนี้ (18 ก.ค.) ที่โรงแรมเอเชีย พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อเวลา 15.10 น. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ที่ประชุม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาและทบทวนเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่ง ส.ว.จะมาจาก 5 กลุ่มเช่นเดิม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร และข้าราชการฝ่ายทหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้บัญชาการเหล่าทัพ ซึ่งเลือกกันเองแต่ละประเภทไม่เกิน 5 คน จากเดิมที่กำหนดไว้ประเภทละไม่เกิน 10 คน กลุ่มที่ 2 ผู้แทนสภาวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ หรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง จำนวนไม่เกิน 15 คน กลุ่มที่ 3 ผู้แทนองค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคล ด้านเกษตรกรรม ด้านแรงงาน ด้านวิชาการและศึกษา ด้านชุมชน และด้านท้องถิ่นและท้องที่ ซึ่งมาจากการสรรหา ด้านละไม่เกิน 6 คน กลุ่มที่ 4 ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมด้านการเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การเศรษฐกิจ การสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม คุ้มครองผู้บริโภค ด้านเด็กเยาวชน สตรี ด้านผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ และด้านอื่น ซึ่งมาจากการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา จำนวน 68 คน จากเดิมที่กำหนดไว้ จำนวน 58 คน และกลุ่มที่ 5 มาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัดๆ ละ 1 คน รวมเป็น 77 คน

พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ประเภทสรรหา จะมีคณะกรรมการสรรหาในแต่ละกลุ่มไม่ซ้ำกัน คือ กลุ่มที่ 1 จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ตุลาการศาล รธน. จำนวน 1 คน ผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 2 คน และตุลาการศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน กลุ่มที่ 2 จำนวน 9 คน ประกอบด้วย (1) ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ คือ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งสุ่มเลือกโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มละ 1 คน (2) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และอธิการบดี ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเลือกจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 1 คน และเอกชน จำนวน 1 คน

กลุ่มที่ 3 จำนวน 12 คน ประกอบด้วย (1) ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ คือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมนุม (องค์การมหาชน) ซึ่งสุ่มเลือกโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มละ 1 คน (2) ผู้แทนองค์การเอกชนด้านแรงงาน จำนวน 1 คน ผู้แทนองค์การเอกชนด้านการเกษตร จำนวน 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านเกษตรกรรม ด้านแรงงาน ด้านวิชาการและการศึกษา ด้านชุมชน และด้านบริหารท้องถิ่นและท้องที่ ซึ่งสุ่มเลือกโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มละ 1 คน

และกลุ่มที่ 4 จำนวน 18 คน ประกอบด้วย (1) ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนี้ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งสุ่มเลือกโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มละ 1 คน (2) ผู้แทนองค์การเอกชนด้านเศรษฐกิจ ด้านเด็กและเยาวชน ด้านสตรี ด้านผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพและผู้สูงอายุ ด้านศาสนา ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านวิชาชีพอิสระ ซึ่งสุ่มเลือกวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนด้านละ 1 คน

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะ เลือกกรรมการ 1 คนเพื่อเป็นประธานคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการจะเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ไม่ได้ และคณะกรรมการสรรหามีเวลาสรรหาบุคคลเข้ามาเป็น ส.ว.ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จากนั้นแจ้งผลการสรรหาให้ กกต.ทราบ และประกาศผลการสรรหา ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการเงื่อนไขในการได้มาซึ่งกรรมการสรรหาให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.

“นี่คือข้อยุติของการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา แม้จะมาจากการสรรหาและการเลือกตั้ง แต่ในการสรรหาจะมีความหลากหลายในที่มา เพราะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้แยกกลุ่ม แยกด้าน และแยกประเภท ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้มาเป็น ส.ว.มีความหลากหลาย กรรมาธิการยกร่างฯ หวังว่าจะเป็นวุฒิสภาที่มีบุคลากรที่มีทั้งคุณภาพ และคุณวุฒิในการทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย ยับยั้ง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถอดถอนข้าราชการ และสมาชิกรัฐสภา และมีหน้าที่ร่วมพิจารณาในเรื่องสำคัญๆ ต่อสภาผู้แทนราษฎร เช่น การประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าว
รธน.ใหม่ไม่ควบผู้ตรวจฯ-กสม. แต่ขอประเมินงานอีก 3 ปี เผย กก.สรรหาคนที่ 7 เน้นวิชาชีพ
รธน.ใหม่ไม่ควบผู้ตรวจฯ-กสม. แต่ขอประเมินงานอีก 3 ปี เผย กก.สรรหาคนที่ 7 เน้นวิชาชีพ
โฆษกกรรมาธิการยกร่างฯ เผย ที่ประชุมยอมแยกผู้ตรวจการแผ่นดินกับกรรมการสิทธิมนุษยชน อ้างไม่ให้ชาวบ้านสับสนในการใช้สิทธิ แต่เขียนประเมินงานอีก 3 ปี ส่วนกรรมการสรรหา มี 7 อรหันต์ จากศาล รธน.-ศาลปกครองสูงสุด-ปธ.สภาฯ-ผู้นำฝ่ายค้าน-อธิการบดี และเอกชน ส่วนคนที่ 7 ให้เป็นไปตามสภาพงานของแต่ละองค์กร บอกวิธีจับสลากยากต่อการล็อบบี้ ให้ ป.ป.ช.อยู่นาน 9 ปี ที่เหลือแค่ 6 แต่ให้สิทธิผู้ตรวจฯ-ป.ป.ช.อยู่เต็มวาระรายบุคคล ส่วนองค์กรอื่นหากเข้ามาใหม่ก็ต้องสิ้นสุดสถานภาพยกเซต
กำลังโหลดความคิดเห็น