ประชุมสปช. พิจารณารายงานกมธ.สังคมฯ เสนอ 4 หลักการ ให้เกิดสัมมนาชีพชุมชน โดยยึด 5 ฐานแนวคิด สู่ความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจการพัฒนา เสียงส่วนใหญ่หนุน แนะ บริหารจัดการในรูปโปรแกรม ผสานภาครัฐควบคุมดูแล มีระบบจัดการให้เหมาะแข่งกับตลาดโลกได้ ก่อนมติที่ประชุมเห็นด้วยหลักการ 174 เสียง
วันนี้ (29มิ.ย.) ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เรื่อง ระบบเพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งในเสาหลักที่ 4 เรื่อง แผนปฏิรูปสัมมาชีพชุมชนโดยนายอำพล จินดาวัฒนะ ประธานกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอ กรอบแนวคิดการว่า การที่จะทำให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็งและยั่งยืนนั้น มีข้อเสนอเชิงหลักการ รวม 4 ประการ คือ การผลักดันให้เกิดระบบสัมมนาชีพชุมชน โดยการจัดตั้ง สถาบันส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ให้เป็นองค์กรของรัฐในลักษณะองค์การมหาชน เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยง สนับสนุนส่งเสริมให้ข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานล่าง ให้มีการประสานงานและบูรณาการพลังของภาคธุรกิจและชุมชนอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน โดยใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง และร่วมผลักดัน พ.ร.บ.วิสาหกิจเพื่อชุมชน เพื่อพัฒนาระบบและพัฒนาประสิทธิภาพของวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมถึงการศึกษาทบทวน การดำเนินการตาม พ.ร.บ.วิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๘ รวมทั้งสร้างแนวทางการปฏิรูปการเงินระดับ ฐานรากและสหกรณ์ และสร้างกลไกหนุนสร้างศักยภาพทางธุรกิจ โดยเรามีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาระบบสัมมาชีพชุมชน โดยเฉพาะรูปแบบ ของ “สถาบันส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน” ที่จะเป็นกลไกในการทำหน้าที่เชื่อมโยงสนับสนุนส่งเสริมให้ ข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานล่าง ประสานงานและบูรณาการ พลังของภาคธุรกิจและชุมชน อย่างมีเป้าหมายร่วมกันโดยใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง
ทั้งนี้ ระบบสัมมาชีพชุมชนที่ควรจะเป็นนั้น มีฐานแนวคิด 5 ฐาน ประกอบด้วย1 การพัฒนาร่วมกันโดยยึดพื้นที่เป็นตัว มุ่งเน้นให้เกิดการรวมกลุ่มกันของคน องค์กร เครือข่ายที่มีเป้าหมาย ในการสนับสนุนการทางานของชุมชน โดยยึดทุนและพื้นที่ในการตัดสินใจเป็นหลัก 2 ใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ มุ่งเน้นการพัฒนาที่ใช้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในชุมชนมี การถอดบทเรียนและยกระดับผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 3 ร่วมทำงานแบบภาคียุทธศาสตร์ ที่มีการทำงาน บนหลักการ “ความร่วมมือ” ของกลุ่มที่มีใจและให้การสนับสนุน เป็นกลุ่มที่มีส่วนช่วยคิด ช่วยฝัน ร่วมกันวางยุทธศาสตร์การทางาน เป็นคน กลุ่มคนหรือองค์กรที่อยากมีฝันหรือวิสัยทัศน์เดียวกัน เป็นภาคีที่มีใจและให้การสนับสนุนงบประมาณ แนวคิด นโยบายหรือเป็นที่ปรึกษาในบางครั้ง คอยช่วยเหลืออยู่ห่าง ๆ เป็นภาคีที่ช่วยคิด ช่วยฝันร่วมกันวางกลยุทธ์ เพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุน ชุมชนเป้าหมายให้บรรลุพันธกิจหรือวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้
4 มุ่งเน้นสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ให้ ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีดุลยภาพทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เกื้อกูลและไม่เกิด ความขัดแย้งซึ่งกันและกัน มีการพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีคุณภาพและแข่งขันได้โดยคำนึง ถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สามารถสงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์ได้ อย่างยาวนาน ใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยไม่ส่งผลเสียต่อ ความต้องการของคนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และ 5ประกอบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ที่หมายถึงการดำเนินธุรกิจที่มิได้แสวงกำไรเพียงอย่างเดียว แต่มี ความรับผิดชอบ คือการทำให้ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมมีสมดุล อยู่รวมกันได้อย่างยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ในการบริหารกิจการให้มีผลกาไรเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน รวมถึงสามารถขยายกิจการ ให้เจริญเติบโตในสังคมและชุมชนที่ธุรกิจดำเนินอยู่ในระยะยาวมุ่งไปสู่ “ความยั่งยืนในการประกอบ ธุรกิจสู่ความยั่งยืนของการพัฒนา” ในที่สุด
“จากฐานคิดของระบบสัมมาชีพชุมชนทั้ง 5 ฐานคิดข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีกลไกหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการสานพลังองค์กรภาคีต่างๆ ให้เข้ามาทำงานร่วมกัน แบบภาคยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะกับองค์กรภาคธุรกิจ ที่ปัจจุบันมีการดำเนินการ บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม เข้ามาทำงานร่วมกันโดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง และใช้กระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติเป็นเครื่องมือ ซึ่งกระบวนการพัฒนาตามแนวทางนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีดุลยภาพทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เกื้อกูล และไม่เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน อันเป็นภาพที่พึงประสงค์ของทุกฝ่าย”
ทั้งนี้สมาชิกได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น โดย ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับรายงานฯ และได้มีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในประเด็นต่างๆ อาทิ เรื่องความซับซ้อนในการทำงานของสถาบันส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต รวมถึงปัญหาในการบริหารจัดการ และผู้ที่จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ เนื่องจากองค์การมหาชนเป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านบริการ ประสานงาน เป็นหลัก แต่บางหน่วยงานยังคงประสบปัญหาความล้มเหลว ไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น จึงขอเสนอแนะการทำงานในรูปของโปรแกรม โดยบริหารจัดการภายใต้โปรแกรมควบคุม เริ่มต้นจากการใช้โปรแกรม และค่อยๆ ศึกษา พัฒนา แก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากนั้นจึงนำไปผสานการทำงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ และให้ภาครัฐเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแล นอกจากนั้น ยังควรพิจารณาในเรื่องของบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาดำเนินงาน แหล่งที่มา ของเงินทุน ตลอดจนการหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการตลาด และควรส่งเสริมระบบสหกรณ์ ให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งมีระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม เพื่อนำมาช่วยขับเคลื่อนการจัดการ สัมมาชีพชุมชน ให้แข่งขันกับตลาดโลกได้
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับหลักการของร่างรายงานฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ เสนอด้วยคะแนน 174 เสียง ไม่เห็นชอบด้วยคะแนน 4 เสียง งดออกเสียง 16 เสียง โดยให้กรรมาธิการฯ นารายงานไปปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวระบบสัมมาชีพชุมชน ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน และจะนำรายงานฯ พร้อมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่สมาชิกได้อภิปราย ส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป