สัมมนาความเห็นนักวิชาการแก้ร่างรัฐธรรมนูญ อาจารย์ มช.-มสธ.ค้านกลุ่มการเมือง ทำ รบ.อ่อนแอ ขออย่าดูถูกประชาชนเลือกตั้ง มองโอเพนลิสต์ไม่เหมาะไทย เหตุกระจายอำนาจยังไม่ทั่ว ติง คกก.กลั่นกรอง ส.ว.ขัดหลักเลือกตั้งแท้จริง นักวิชาการหลายเสียงหนุนตัดทิ้ง แต่เสียงแตกเชียร์ กจต.-กกต. กมธ.ปฏิรูปการเมืองสรุป ส่วนใหญ่ค้านกลุ่มการเมือง-โอเพนลิสต์-คกก.กลั่นกรอง ส.ว.-นายกฯ คนนอก-ม.181-182
วันนี้ (18 พ.ค.) ที่ห้องประชุม 215-216 อาคารรัฐสภา 2 คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง (กมธ.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จัดการสัมมนาเรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ” โดยมีคณบดี รองคณบดี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ เข้าร่วมกว่า 20 สถาบัน โดยนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กล่าวว่า กมธ.จะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่ได้รับข้อคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นจากนักการเมือง ภาคประชาชน นักวิชาการ เพื่อนำมาปรับปรุง และเตรียมแปรญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะรวบรวมให้แล้วเสร็จในวันที่ 21 พ.ค. ก่อนนำเข้าที่ประชุม กมธ.ปฏิรูปการเมือง เพื่อจัดเตรียมร่างแก้ไข และส่งให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ภายในวันที่ 22 พ.ค.นี้
จากนั้นนายชาตรี เรืองเดชณรงค์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยต่อการบัญญัติให้กลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาซื้อตัวผู้สมัคร และอาจเป็นตัวเร่งปัญหาในระดับพรรคการเมืองได้ อาจมีการต่อรองกันระหว่างพรรคการเมืองกับกลุ่มการเมือง ทำให้ในอนาคตการเมืองจะอ่อนแอมาก แม้ตนจะเข้าใจว่าโจทย์ของการเขียนรัฐธรรมนูญครั้งนี้คือพรรคการเมืองต้องไม่เข้มแข็งมากนัก แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือไม่ว่าพรรคการเมืองจะเข้มแข็งอย่างไรก็ตาม ถ้าสร้างกลไกการตรวจสอบที่เข้มแข็งก็จะเดินไปได้ แต่ถ้าเขียนแบบนี้ก็ไม่แน่ใจว่าจะสวนทางความจริงหรือไม่ เพราะพรรคการเมืองได้พัฒนามาระดับหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ ตนห่วงว่าเวลาเขียนรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลอ่อนแอ กลไกตรวจสอบเข้มแข็ง ไม่แน่ใจว่าจะถล่มประเทศไทยหรือไม่ถ้าเราเจออาการที่รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ ดังนั้น เวลาที่เราสร้างกลไกตรวจสอบอำนาจรัฐ ควรต้องมีการคุ้มครองการใช้อำนาจรัฐด้วย ต้องหาความพอดีให้ได้ หากรัฐบาลอ่อนแอ แต่กลไกตรวจสอบเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆก็จะเป็นปัญหาเหมือนรัฐธรรมนูญ 50
นายชาตรีกล่าวถึงประเด็นที่มานายกรัฐมนตรีว่า จากงานวิจัยพบว่าไม่มีระบบการเลือกตั้งไหนที่ไม่มีการซื้อเสียง แต่ปัจจุบันประชาชนมีวิจารณญาณ อย่าดูถูกประชาชน ประชาชนต้องเรียนรู้ในการถ้าเลือกรัฐบาล ถ้าเลือกผิดเขาจะได้รู้ เชื่อว่าประชาชนจะไม่เลือกผิดไปตลอด แต่หากเราไปบล็อกไว้ ประชาชนจะไม่เกิดการเรียนรู้ทางการเมือง ปัญหาจะวนไปวนมา ถ้าเราเชื่อว่าประชาชนเป็นใหญ่เราต้องเชื่อว่าระบบการเลือกตั้งจะพัฒนาคนด้วย
ด้านนายยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างฯ อยู่บนพื้นฐานความขัดแย้งทางการเมืองมา 10 กว่าปี และความไม่ไว้วางใจนักการเมือง แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าการบัญญัติให้กลุ่มการเมืองเข้ามามีบทบาท คือ การทำอย่างไรให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง แม้ว่าจะเป็นเจตนารมณ์ที่ดีที่บัญญัติให้กลุ่มการเมืองเข้ามาในสภา เป็น ส.ส.ที่มาจากภาคประชาชน แต่เนื่องจากพรรคการเมืองไทยไม่ได้เติบโตโดยธรรมชาติ แต่เติบโตด้วยการมีกฎหมายมาควบคุม และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ความเป็นตัวแทนของพรรคกับตัวแทนประชาชนไม่สมดุลกัน วันนี้สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรที่ทำให้กลุ่มการเมืองไม่ต้องเข้ามาในสภาก็ได้ แต่สามารถเป็นเครื่องมือของประชาชนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้
นายยุทธพรกล่าวต่อว่า ส่วนระบบเลือกตั้งแบบโอเพนลิสต์ ข้อดีเป็นการเปิดโอกาสพรรคเล็กมากขึ้น สะท้อนความเป็นจริงของคะแนนเสียง แต่จุดอ่อนคืออาจไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะการกระจายอำนาจยังไม่ครบถ้วน อีกทั้งเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าประโยชน์จะตกที่พรรคขนาดเล็กจริงๆ ไม่ใช่พรรคการตลาด ขณะที่ในส่วนของ มาตรา 121 ที่มา ส.ว. เห็นว่าต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการมี ส.ว.ที่ผ่านมา ส.ว.อาจเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในแต่ละยุค กระทั่งปี 40 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่วุฒิสภากลายเป็นสภาตรวจสอบ โดย ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เกิดความสมดุลระหว่างที่มาและอำนาจหน้าที่ ขณะที่ปี 50 เป็นแบบผสมทั้งเลือกตั้งและสรรหา แต่อำนาจหน้าที่เท่าเดิม ทำให้เสียสมดุล ส่วนรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างบัญญัติให้เลือกตั้งโดยอ้อม ขณะที่อำนาจหน้าที่มากขึ้น จึงต้องนึกถึงที่มากับอำนาจหน้าที่ด้วย หากใช้ฐานเดียวกับ ส.ส.ก็ไม่ต้องมี ส.ว.เพราะปัจจุบันสภาคู่มีไม่กี่ประเทศทั่วโลก
นายยุทธพรกล่าวต่อว่า วันนี้ถ้าจะบอกว่า ส.ว.ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง แต่ให้มีคณะกรรมการสรรหาแต่ละจังหวัด จะไม่เป็นไปตามหลักการเลือกตั้งตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ต้องมีความเป็นอิสระ เสมอภาค และเป็นการลงคะแนนลับ ดังนั้น การกลั่นกรองก่อนของคณะกรรมการสรรหาจะขัดหลักการเลือกตั้งอย่างแท้จริง ส่วน ส.ว.แบบสรรหา ควรต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน โปร่งใสเพื่อไม่ให้เกิดระบบอุปถัมภ์ในการสรรหา โดยที่ไม่ตั้งเกณฑ์วิชาชีพอย่างเดียว
ทั้งนี้ ประเด็นที่มา ส.ว.ในวงสัมมนามีการแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวางซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นควรให้ตัดคณะกรรมการกลั่นกรองออก แต่ควรให้ประชาชนเลือกตั้งโดยตรง
ส่วนการแสดงความเห็นในมาตรา 268 คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) ซึ่งในวงเสวนามีการแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งสนับสนุนให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งต่อไป เนื่องจากเห็นว่ากกต.มีพัฒนาการมาระยะหนึ่งแล้ว หากตั้งหน่วยงานใหม่จะเป็นการใช้งบประมาณเพิ่มเติม ต้องสร้างคนใหม่ และเสียความไว้วางใจ จึงไม่อยากให้ขยายงานใหม่ ดังนั้น ควรให้เวลา กกต.ได้ทำหน้าที่ต่อไป แต่ต้องพยายามเชื่อมโยงกับเอ็นจีโอในการสร้างเครือข่ายการตรวจสอบ ขณะที่บางส่วนเห็นว่าควรให้มีกจต.ทำหน้าที่แทน กกต.เพราะมองว่า กกต.จังหวัด ตกอยู่ในการครอบงำทางการเมืองท้องถิ่น
ภายหลังการสัมมนา นายนิรันดร์ พันทรกิจ กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง แถลงผลการสัมมนาว่า เสียงส่วนใหญ่ของนักวิชาการเห็นว่าควรตัดกลุ่มการเมืองออก เพราะพรรคการเมืองในประเทศไทยมีการพัฒนามาเป็นระยะแล้ว กลุ่มการเมืองอาจมีได้แต่ไม่ใช่บทบาทในการส่งสมัครรับเลือกตั้ง อีกทั้งการตั้งพรรคการเมืองในปัจจุบันไม่ได้มีความซ้ำซ้อน สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งได้ง่ายอยู่แล้ว ส่วนระบบเลือกตั้งมีการตั้งข้อสังเกตว่า ในกระบวนการเลือกตั้งที่ใช้ระบบสัดส่วนผสมมีอุปสรรค ปัญหา อะไรบ้าง ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่าควรตัดระบบโอเพนลิสต์ทิ้ง เนื่องจากทำให้พรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง จัดตั้งรัฐบาลได้ยุ่งยาก ส่วนที่มา ส.ว.เห็นร่วมกันเกือบเป็นเอกฉันท์ว่า หากจะให้ประชาชนเลือกตั้งก็ไม่ควรมีคณะกรรมการกลั่นกรอง ขณะเดียวกัน ประเด็นที่มานายกฯ ส่วนใหญ่เห็นว่านายกฯควรเป็น ส.ส.ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน โดยไม่เห็นด้วยที่นายกฯจะมาจากคนนอก นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้ตัดมาตรา 181 และ 182 ออก เพราะทำให้ระบบตรวจสอบถ่วงดุลบกพร่อง ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป
วันนี้ (18 พ.ค.) ที่ห้องประชุม 215-216 อาคารรัฐสภา 2 คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง (กมธ.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จัดการสัมมนาเรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ” โดยมีคณบดี รองคณบดี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ เข้าร่วมกว่า 20 สถาบัน โดยนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กล่าวว่า กมธ.จะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่ได้รับข้อคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นจากนักการเมือง ภาคประชาชน นักวิชาการ เพื่อนำมาปรับปรุง และเตรียมแปรญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะรวบรวมให้แล้วเสร็จในวันที่ 21 พ.ค. ก่อนนำเข้าที่ประชุม กมธ.ปฏิรูปการเมือง เพื่อจัดเตรียมร่างแก้ไข และส่งให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ภายในวันที่ 22 พ.ค.นี้
จากนั้นนายชาตรี เรืองเดชณรงค์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยต่อการบัญญัติให้กลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาซื้อตัวผู้สมัคร และอาจเป็นตัวเร่งปัญหาในระดับพรรคการเมืองได้ อาจมีการต่อรองกันระหว่างพรรคการเมืองกับกลุ่มการเมือง ทำให้ในอนาคตการเมืองจะอ่อนแอมาก แม้ตนจะเข้าใจว่าโจทย์ของการเขียนรัฐธรรมนูญครั้งนี้คือพรรคการเมืองต้องไม่เข้มแข็งมากนัก แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือไม่ว่าพรรคการเมืองจะเข้มแข็งอย่างไรก็ตาม ถ้าสร้างกลไกการตรวจสอบที่เข้มแข็งก็จะเดินไปได้ แต่ถ้าเขียนแบบนี้ก็ไม่แน่ใจว่าจะสวนทางความจริงหรือไม่ เพราะพรรคการเมืองได้พัฒนามาระดับหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ ตนห่วงว่าเวลาเขียนรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลอ่อนแอ กลไกตรวจสอบเข้มแข็ง ไม่แน่ใจว่าจะถล่มประเทศไทยหรือไม่ถ้าเราเจออาการที่รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ ดังนั้น เวลาที่เราสร้างกลไกตรวจสอบอำนาจรัฐ ควรต้องมีการคุ้มครองการใช้อำนาจรัฐด้วย ต้องหาความพอดีให้ได้ หากรัฐบาลอ่อนแอ แต่กลไกตรวจสอบเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆก็จะเป็นปัญหาเหมือนรัฐธรรมนูญ 50
นายชาตรีกล่าวถึงประเด็นที่มานายกรัฐมนตรีว่า จากงานวิจัยพบว่าไม่มีระบบการเลือกตั้งไหนที่ไม่มีการซื้อเสียง แต่ปัจจุบันประชาชนมีวิจารณญาณ อย่าดูถูกประชาชน ประชาชนต้องเรียนรู้ในการถ้าเลือกรัฐบาล ถ้าเลือกผิดเขาจะได้รู้ เชื่อว่าประชาชนจะไม่เลือกผิดไปตลอด แต่หากเราไปบล็อกไว้ ประชาชนจะไม่เกิดการเรียนรู้ทางการเมือง ปัญหาจะวนไปวนมา ถ้าเราเชื่อว่าประชาชนเป็นใหญ่เราต้องเชื่อว่าระบบการเลือกตั้งจะพัฒนาคนด้วย
ด้านนายยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างฯ อยู่บนพื้นฐานความขัดแย้งทางการเมืองมา 10 กว่าปี และความไม่ไว้วางใจนักการเมือง แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าการบัญญัติให้กลุ่มการเมืองเข้ามามีบทบาท คือ การทำอย่างไรให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง แม้ว่าจะเป็นเจตนารมณ์ที่ดีที่บัญญัติให้กลุ่มการเมืองเข้ามาในสภา เป็น ส.ส.ที่มาจากภาคประชาชน แต่เนื่องจากพรรคการเมืองไทยไม่ได้เติบโตโดยธรรมชาติ แต่เติบโตด้วยการมีกฎหมายมาควบคุม และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ความเป็นตัวแทนของพรรคกับตัวแทนประชาชนไม่สมดุลกัน วันนี้สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรที่ทำให้กลุ่มการเมืองไม่ต้องเข้ามาในสภาก็ได้ แต่สามารถเป็นเครื่องมือของประชาชนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้
นายยุทธพรกล่าวต่อว่า ส่วนระบบเลือกตั้งแบบโอเพนลิสต์ ข้อดีเป็นการเปิดโอกาสพรรคเล็กมากขึ้น สะท้อนความเป็นจริงของคะแนนเสียง แต่จุดอ่อนคืออาจไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะการกระจายอำนาจยังไม่ครบถ้วน อีกทั้งเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าประโยชน์จะตกที่พรรคขนาดเล็กจริงๆ ไม่ใช่พรรคการตลาด ขณะที่ในส่วนของ มาตรา 121 ที่มา ส.ว. เห็นว่าต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการมี ส.ว.ที่ผ่านมา ส.ว.อาจเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในแต่ละยุค กระทั่งปี 40 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่วุฒิสภากลายเป็นสภาตรวจสอบ โดย ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เกิดความสมดุลระหว่างที่มาและอำนาจหน้าที่ ขณะที่ปี 50 เป็นแบบผสมทั้งเลือกตั้งและสรรหา แต่อำนาจหน้าที่เท่าเดิม ทำให้เสียสมดุล ส่วนรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างบัญญัติให้เลือกตั้งโดยอ้อม ขณะที่อำนาจหน้าที่มากขึ้น จึงต้องนึกถึงที่มากับอำนาจหน้าที่ด้วย หากใช้ฐานเดียวกับ ส.ส.ก็ไม่ต้องมี ส.ว.เพราะปัจจุบันสภาคู่มีไม่กี่ประเทศทั่วโลก
นายยุทธพรกล่าวต่อว่า วันนี้ถ้าจะบอกว่า ส.ว.ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง แต่ให้มีคณะกรรมการสรรหาแต่ละจังหวัด จะไม่เป็นไปตามหลักการเลือกตั้งตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ต้องมีความเป็นอิสระ เสมอภาค และเป็นการลงคะแนนลับ ดังนั้น การกลั่นกรองก่อนของคณะกรรมการสรรหาจะขัดหลักการเลือกตั้งอย่างแท้จริง ส่วน ส.ว.แบบสรรหา ควรต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน โปร่งใสเพื่อไม่ให้เกิดระบบอุปถัมภ์ในการสรรหา โดยที่ไม่ตั้งเกณฑ์วิชาชีพอย่างเดียว
ทั้งนี้ ประเด็นที่มา ส.ว.ในวงสัมมนามีการแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวางซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นควรให้ตัดคณะกรรมการกลั่นกรองออก แต่ควรให้ประชาชนเลือกตั้งโดยตรง
ส่วนการแสดงความเห็นในมาตรา 268 คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) ซึ่งในวงเสวนามีการแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งสนับสนุนให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งต่อไป เนื่องจากเห็นว่ากกต.มีพัฒนาการมาระยะหนึ่งแล้ว หากตั้งหน่วยงานใหม่จะเป็นการใช้งบประมาณเพิ่มเติม ต้องสร้างคนใหม่ และเสียความไว้วางใจ จึงไม่อยากให้ขยายงานใหม่ ดังนั้น ควรให้เวลา กกต.ได้ทำหน้าที่ต่อไป แต่ต้องพยายามเชื่อมโยงกับเอ็นจีโอในการสร้างเครือข่ายการตรวจสอบ ขณะที่บางส่วนเห็นว่าควรให้มีกจต.ทำหน้าที่แทน กกต.เพราะมองว่า กกต.จังหวัด ตกอยู่ในการครอบงำทางการเมืองท้องถิ่น
ภายหลังการสัมมนา นายนิรันดร์ พันทรกิจ กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง แถลงผลการสัมมนาว่า เสียงส่วนใหญ่ของนักวิชาการเห็นว่าควรตัดกลุ่มการเมืองออก เพราะพรรคการเมืองในประเทศไทยมีการพัฒนามาเป็นระยะแล้ว กลุ่มการเมืองอาจมีได้แต่ไม่ใช่บทบาทในการส่งสมัครรับเลือกตั้ง อีกทั้งการตั้งพรรคการเมืองในปัจจุบันไม่ได้มีความซ้ำซ้อน สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งได้ง่ายอยู่แล้ว ส่วนระบบเลือกตั้งมีการตั้งข้อสังเกตว่า ในกระบวนการเลือกตั้งที่ใช้ระบบสัดส่วนผสมมีอุปสรรค ปัญหา อะไรบ้าง ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่าควรตัดระบบโอเพนลิสต์ทิ้ง เนื่องจากทำให้พรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง จัดตั้งรัฐบาลได้ยุ่งยาก ส่วนที่มา ส.ว.เห็นร่วมกันเกือบเป็นเอกฉันท์ว่า หากจะให้ประชาชนเลือกตั้งก็ไม่ควรมีคณะกรรมการกลั่นกรอง ขณะเดียวกัน ประเด็นที่มานายกฯ ส่วนใหญ่เห็นว่านายกฯควรเป็น ส.ส.ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน โดยไม่เห็นด้วยที่นายกฯจะมาจากคนนอก นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้ตัดมาตรา 181 และ 182 ออก เพราะทำให้ระบบตรวจสอบถ่วงดุลบกพร่อง ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป