xs
xsm
sm
md
lg

กกต.จำลองลงคะแนนแบบโอเพนลิสต์ ก่อนชงปัญหาให้ กมธ.ยกร่าง รธน.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กกต.จำลองการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และโอเพนลิสต์ ก่อสรุปปัญหาอุปสรรคให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา ขณะที่ “ศุภชัย” ห่วงประชาชนสับสน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (18 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดสาธิตการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ หรือโอเพนลิสต์ ตามที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่กำหนด โดยในการสาธิตได้มีการจำลองหน่วยเลือกตั้งที่มีกรรมการประจำหน่วยจำนวน 9 คนตามที่กฎหมายกำหนด มีการนำบัตรเลือกตั้งตัวอย่างที่จัดทำขึ้นจำนวน 200 ฉบับมาให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กกต.ทดลองคะแนน โดยเริ่มเปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา 09.00-10.00 น.

อย่างไรก็ตาม บัตรเลือกตั้งตัวอย่างทั้งสองรูปแบบนั้น แบบแบ่งเขตเลือกตั้งยังเป็นลักษณะเดิมคือมีหมายเลขผู้สมัครและช่องกากบาท แต่บัตรเลือกตั้งโอเพนลิสต์นั้น จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นช่องสำหรับลงคะแนนพรรคหรือกลุ่มการเมืองซึ่งในบัตรจะมีชื่อและภาพสัญลักษณ์ของแต่ละพรรคปรากฏตามหมายเลขที่แต่ละพรรคจะได้รับพร้อมช่องทำเครื่องหมายที่ไว้ให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้เลือกกากบาท และช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน

ส่วนที่ 2 จะเป็นช่องหมายเลขของผู้สมัคร และช่องทำเครื่องหมายให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกากบาทว่าจะเลือกผู้สมัครหมายเลขใดของพรรคหรือกลุ่มการเมือง ที่ผู้สมัครกากบาทในส่วนแรก และช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิกากบาทเลือกพรรคหรือกลุ่มการเมืองแล้ว แต่ไม่ได้กากบาทในช่องเลือกผู้สมัครหมายเลขใด ก็ไม่ถือว่าเป็นบัตรเสีย โดยคะแนนที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งพรรคก็จะถูกนำไปรวมคำนวนเป็นจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคหรือกลุ่มการเมืองนั้นในภายหลัง แต่กรณีไม่มีการเลือกพรรคแต่เลือกผู้สมัครจะถือว่าเป็นบัตรเสีย

สำหรับการนับคะแนนนั้น แบบแบ่งเขตยังเป็นรูปแบบเดิม แต่แบบโอเพนลิสต์จะมีการนับคะแนนแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกจะนับคะแนนของแต่ละพรรคหรือกลุ่มการเมืองก่อน และแยกบัตรดีของแต่ละพรรคออก ก่อนที่จะนับคะแนนในขั้นตอนที่ 2 คือนับคะแนนของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อแต่ละหมายเลข โดยจะแยกนับทีละพรรค ก่อนจะนำคะแนนที่ได้มาจัดลำดับบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคหรือกลุ่มการเมือง โดยเรียงตามผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดไปหาต่ำสุด เพื่อรอนำไปคำนวณต่อไป

ทั้งนี้ นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงการสาธิตลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ว่า เหมือนการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบทั่วไป แต่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะต้องจำหมายเลยผู้สมัครที่ตนชื่นชอบ เนื่องจากบัตรลงคะแนนเลือกตั้งแบบโอเพนลิสต์ จะมีช่องให้ลงคะแนนให้กับพรรคและลงคะแนนเลือกผู้สมัครของพรรคหรือกลุ่มการเมืองนั้นๆ ที่ตนชื่นชอบด้วย ภายหลังการสาธิตในวันนี้ กกต.จะสรุปอุปสรรคปัญหาและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป หากในรัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้ระบบโอเพนลิสต์ก็จะเขียนรายละเอียดในร่าง พ.ร.ป.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. และกำหนดในระเบียบวิธีปฏิบัติของ กกต.ด้วย

ขณะที่นายนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.มองว่าการเลือกตั้งระบบโอเพนลิสต์อาจสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน และเกิดความยุ่งยากในการนับคะแนน เพราะขั้นตอนการนับคะแนนจะแยกนับคะแนนแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ โดยแบบบัญชีรายชื่อจะแยกเป็นรายพรรค ก่อนและนับคะแนนอีกครั้งในแต่ละพรรค เพื่อจัดลำดับที่ประชาชนต้องการ ดังนั้นระยะเวลาในการนับคะแนนจึงต้องเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังต้องเพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละหน่วยด้วย เพราะต้องจัดเตรียมให้พอกับพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง

























คำขอแก้ไขจาก “ครม.-คสช.” หมากบังคับ กก.ร่างรัฐธรรมนูญ
คำขอแก้ไขจาก “ครม.-คสช.” หมากบังคับ กก.ร่างรัฐธรรมนูญ
... ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 173 ที่ถูก สปช.ท้วงติงว่าจะเปิดช่องให้มีการเลือกคนที่ไม่ได้เป็น ส.ส.มาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่จำเป็นต้องใช้เสียง 2 ใน 3 เพราะแม้ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคสาม จะบัญญัติว่า หากสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกคนที่ไม่ได้เป็น ส.ส.ต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ที่มากกว่า การเลือก ส.ส.มาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ให้ใช้เสียงแค่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. แต่ในมาตรา 173 มีคำอภิปรายจาก สปช.ว่า หากเกิดกรณีที่ถ้าพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 172 วรรคสาม ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความขึ้นกราบบังคมทูลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี...
กำลังโหลดความคิดเห็น