xs
xsm
sm
md
lg

เครือข่าย ปชช.จี้อนุ กมธ.ปฏิรูปทรัพยากรน้ำ เข้มอันตราย เหมืองแร่-ขุดปิโตรเลียม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เครือข่าย Stop Fracking Thailand ยื่นหนังสือต่ออนุ กมธ.ปฏิรูปทรัพยากรน้ำ จี้ควบคุมการดำเนินการกระทบสิ่งแวดล้อมในแผนจัดการน้ำ สอบเหมืองแร่ทุกขั้นตอน ทำผิดให้มีการลงโทษ แก้ไขเยียวยา ห้ามทำที่อนุรักษ์ รวมถึงห้ามการขุดเจาะปิโตรเลียมจนกว่าจะไร้ผลกระทบ ยกเหตุเหมืองแร่ “อัครอ สร้างอันตรายจนประชาชนต้องอพยพหนี

วันนี้ (14 พ.ค.) ตัวแทนเครือข่าย Stop Fracking Thailand ได้ยื่นหนังสือถึงนายปราโมทย์ ไม้กลัด ประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรน้ำ ในคณะกรรมการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อขอเรียกร้องให้กำหนดการห้าม การควบคุม และการตรวจสอบการดำเนินกิจการต่างที่จะเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบน้ำในแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ โดยนายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ผู้ช่วยเลขานุการ กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับหนังสือแทน

สำหรับข้อเสนอของทางกลุ่มระบุว่า ให้กำหนดข้อห้าม ให้มีการควบคุมตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบาดาล น้ำฝน และน้ำท่า ทั้งระบบ จากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน เนื่องจากการใช้สารเคมีหรือปฏิกิริยาของวัสดุสินแร่และสารต่างๆ ที่อยู่ต่างธรรมชาติ โดยให้มีใจความไปครอบคลุมไปถึงการลงโทษผู้กระทำผิด การแก้ไขป้องกันเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และการห้ามทำเหมืองอย่างเด็ดขาดในพื้นที่สำคัญและพื้นที่อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และขอให้กำหนดแผนแม่บทที่รวมไปถึงการดำเนินการติดตั้งแท่นขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมด้วยสารเคมี ที่จะมีการใช้สารอันตรายและใช้นำเป็นปริมานมาก โดยกำหนดห้ามทำการสำรวจจนว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่เกิดผลกระทบต่อน้ำใต้ดิน และปริมาณการใช้น้ำของภาคประชาชน

ทางกลุ่มตัวแทนเครือข่ายฯ ได้ยกตัวอย่างการทำเหมืองแร่ “อัครา” ที่มีการทำเหมืองแร่ทองคำใน 3 จังหวัด คือ พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ซึ่งขณะนี้ได้รับการขยายสัมปทานไปยัง จ.นครสวรรค์ พื้นที่เพิ่มเป็น 1 ล้านไร่ มีการใช้สารไซยาไนต์ ในการแยกสินแร่ทองคำออกจากสารโลหะหนักที่รวมอยู่ด้วยกันในธรรมชาติอันได้แก่สารหนู แมงกานีส และทองแดง โดยมีการนำกากแร่ไปขุดฝังไว้ในบ่อระดับต่ำกว่าน้ำใต้ดิน ไม่มีการป้องกันผลกระทบ ทำให้เกิดอันตรายต่อประชาชน เพราะบริโภคน้ำที่มีสารพิษจนเจ็บป่วย ต้องอพยพทิ้งบ้านเรือน โรงเรียน วัด โดยประชาชนกว่าครึ่งที่เข้ารับการตรวจรักษาพบว่ามีสารโลหะหนักเกินมาตรฐาน ขณะที่การขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมภาคอีสาน เช่น ต.นามูล จ.ขอนแก่น มีการใช้สารเคมีกว่า 12 ชนิดในการขุดเจาะทั้งที่ประเทศอื่นมีการออกกฎหมายสั่งห้ามไม่ให้ใช้แล้ว













กำลังโหลดความคิดเห็น