รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รับทราบมะกันบี้แก้ปัญหาแรงงานประมง ชี้ขั้นตอนต้องเชิญเจ้าของเรือมาคุย หวั่นอียูมองขัดระเบียบจะยิ่งส่งผลกระทบชาติ เชื่อความตั้งใจรัฐบาลแก้ค้ามนุษย์จริงจัง หวังบรรเทาความไม่พอใจได้ แต่รับทำเพียงไม่กี่เดือนต้องใช้เวลา พร้อมเร่งทำข้อมูลส่งสหรัฐสิ้นเดือนนี้ ยังพูดไม่ได้มีผลต่อส่งออกหรือไม่ วอนทุกฝ่ายช่วยกัน
วันนี้ (26 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 15.00 น. นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมช.ต่างประเทศ กล่าวกรณีที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลไทย เร่งแก้ปัญหาการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมง ว่า รับทราบเรื่องแล้ว รัฐบาลพยายามเร่งหาทางแก้ไขในทุกทาง สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ เชิญเจ้าของเรือที่ถูกระบุว่ามีการใช้แรงงานทาสบนเรือมาให้ข้อมูล และยืนยันข้อเท็จจริงนอกจากที่เป็นข่าวทางสำนักข่าวต่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างครบถ้วน ยืนยันว่า ถ้าเรื่องดังกล่าวถ้าเป็นจริงต้องจัดการแก้ไขอย่างเด็ดขาด ปล่อยเอาไว้ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ
นายดอน กล่าวยอมรับว่า เรื่องดังกล่าวจะส่งผลต่อการพิจารณาของรัฐบาลสหรัฐฯที่จัดทำรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี ที่อาจจะนำกรณีของแรงงานบนเรือไปเชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ หากเรื่องไปสหภาพยุโรปนำไปพิจารณาแล้วเห็นว่าขัดกับกฎระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน ไร้การควบคุมหรือกฎระเบียบ (ไอยูยู) จะยิ่งส่งผลกระทบกับไทยมากขึ้น เราเชื่อว่าความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่แก้ค้ามนุษย์และเรือประมงอย่างจริงจัง จะทำให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเพิ่มความจริงจังในการแก้ปัญหาในอดีต ขณะเดียวกัน จะทำให้นานาประเทศเห็นความตั้งใจจริงของเรา และบรรเทาความไม่พอใจ หรือมาตรการที่จะกระทบต่อไทย อาทิ การที่จัดทำให้อียูเลื่อนการให้ใบเหลืองต่อไทยออกไป สิ่งที่รัฐบาลนี้ทำไปเพียงไม่กี่เดือน ต้องใช้เวลาจึงยังไม่เห็นผลทันทีในขณะนี้ ขณะเดียวกัน เรากำลังจัดทำข้อมูลเรื่องการค้ามนุษย์เพิ่มเติมส่งให้รัฐบาลสหรัฐฯภายในวันที่ 31 มี.ค. นี้ โดยจะเพิ่มเรื่องการแก้ปัญหาแรงงานประมงเข้าไปด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรามีการแก้ไข
เมื่อถามว่า ปัญหาการใช้แรงงานบนเรือประมงจะส่งผลส่งต่อออกอาหารทะเลของไทยมีปัญหาหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า ยังพูดล่วงหน้าไม่ได้ ต้องดูเนื้อหาของข่าวที่สำนักข่าวเอพี ที่สหรัฐฯนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงจริงเท็จแค่ไหน และทางการไทยต้องกลับมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับข้อมูลที่มีการนำเสนอเป็นข่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกจากส่งข้อมูลไปให้สหรัฐฯและอียูต้องส่งทีมไปชี้แจงเพิ่มอีกหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า วิธีนี้อยู่ในแผนรัฐบาลอยู่แล้ว ขณะนี้ไทยพูดคุยทั้งสหรัฐฯและอียูในหลายระดับโดยทำควบคู่ไปอย่างต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้ช่วย
วันนี้ (26 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 15.00 น. นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมช.ต่างประเทศ กล่าวกรณีที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลไทย เร่งแก้ปัญหาการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมง ว่า รับทราบเรื่องแล้ว รัฐบาลพยายามเร่งหาทางแก้ไขในทุกทาง สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ เชิญเจ้าของเรือที่ถูกระบุว่ามีการใช้แรงงานทาสบนเรือมาให้ข้อมูล และยืนยันข้อเท็จจริงนอกจากที่เป็นข่าวทางสำนักข่าวต่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างครบถ้วน ยืนยันว่า ถ้าเรื่องดังกล่าวถ้าเป็นจริงต้องจัดการแก้ไขอย่างเด็ดขาด ปล่อยเอาไว้ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ
นายดอน กล่าวยอมรับว่า เรื่องดังกล่าวจะส่งผลต่อการพิจารณาของรัฐบาลสหรัฐฯที่จัดทำรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี ที่อาจจะนำกรณีของแรงงานบนเรือไปเชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ หากเรื่องไปสหภาพยุโรปนำไปพิจารณาแล้วเห็นว่าขัดกับกฎระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน ไร้การควบคุมหรือกฎระเบียบ (ไอยูยู) จะยิ่งส่งผลกระทบกับไทยมากขึ้น เราเชื่อว่าความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่แก้ค้ามนุษย์และเรือประมงอย่างจริงจัง จะทำให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเพิ่มความจริงจังในการแก้ปัญหาในอดีต ขณะเดียวกัน จะทำให้นานาประเทศเห็นความตั้งใจจริงของเรา และบรรเทาความไม่พอใจ หรือมาตรการที่จะกระทบต่อไทย อาทิ การที่จัดทำให้อียูเลื่อนการให้ใบเหลืองต่อไทยออกไป สิ่งที่รัฐบาลนี้ทำไปเพียงไม่กี่เดือน ต้องใช้เวลาจึงยังไม่เห็นผลทันทีในขณะนี้ ขณะเดียวกัน เรากำลังจัดทำข้อมูลเรื่องการค้ามนุษย์เพิ่มเติมส่งให้รัฐบาลสหรัฐฯภายในวันที่ 31 มี.ค. นี้ โดยจะเพิ่มเรื่องการแก้ปัญหาแรงงานประมงเข้าไปด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรามีการแก้ไข
เมื่อถามว่า ปัญหาการใช้แรงงานบนเรือประมงจะส่งผลส่งต่อออกอาหารทะเลของไทยมีปัญหาหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า ยังพูดล่วงหน้าไม่ได้ ต้องดูเนื้อหาของข่าวที่สำนักข่าวเอพี ที่สหรัฐฯนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงจริงเท็จแค่ไหน และทางการไทยต้องกลับมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับข้อมูลที่มีการนำเสนอเป็นข่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกจากส่งข้อมูลไปให้สหรัฐฯและอียูต้องส่งทีมไปชี้แจงเพิ่มอีกหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า วิธีนี้อยู่ในแผนรัฐบาลอยู่แล้ว ขณะนี้ไทยพูดคุยทั้งสหรัฐฯและอียูในหลายระดับโดยทำควบคู่ไปอย่างต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้ช่วย