“ปานเทพ” ตั้งคำถาม สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 รัฐ มีข้อมูลชัดแล้ว 6 แปลงในอ่าวไทย มีน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ มูลค่าเกือบ 6.2 แสนล้านบาท แต่กลับยังใช้วิธีให้สัมปทาน แทนที่จะบริหารให้กรรมสิทธิ์เป็นของรัฐ ซ้ำกำหนดเงินลงทุนให้เปล่าขั้นต่ำวันลงนามสัญญาแค่ 330 ล้าน น้อยกว่ามูลค่าจริงเกือบ 2 แสนเปอร์เซ็นต์ และยังเพิ่มค่า K ให้เอกชนจ่ายผลตอบแทนพิเศษน้อยลงไปอีก
วันนี้ (11 มี.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. ที่ผ่านมา นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 ได้โพสต์ข้อความในแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยตั้งหัวข้อว่า “ไหนว่ากระเปาะเล็ก?” ทั้งหมด 3 ตอน มีใจความสรุปได้ว่า การที่ประเทศไทยจะเลือกใช้สัมปทาน แบ่งปันผลผลิต หรือจ้างผลิตนั้น ในเบื้องต้น ถ้าเห็นว่ารัฐไม่มีข้อมูลพื้นฐานว่ามีศักยภาพเลย การเปิดให้สัมปทานไปเลยก็คงไม่มีใครว่าอะไร ยกเว้นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิของชุมชน แต่ถ้าเรารู้ว่าพื้นที่ใดจะมีศักยภาพ รัฐก็ควรจะจ้างสำรวจตามมา เพื่อให้ข้อมูลตกเป็นของรัฐ และในการสำรวจที่ลึกลงไปอีกในขั้นต่อมา คือ การตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบ 2 มิติ หรือละเอียดลงไปกว่านั้น คือ การตรวจแบบ 3 มิติ จึงจะทำให้รู้ข้อมูลว่าพื้นที่เหล่านั้นมีศักภาพหรือไม่? มีปริมาณเท่าไหร่? และมีความน่าจะเป็นเท่าไหร่? เมื่อรู้ 2 ข้อมูลสำคัญนี้แล้ว จึงจะนำมาสู่การประเมินความคุ้มค่าในผลตอบแทนของการลงทุนได้ และถ้ารู้ถึงขั้นนั้นได้ก็จะเกิดการตัดสินใจได้ว่ารัฐควรจะเปิดให้มีการแข่งขันราคากันจ้างเอกชนเพื่อผลิตปิโตรเลียม หรือรัฐควรเปิดประมูลให้เกิดการแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิตว่า “ใครให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด”? โดยให้ปิโตรเลียมตกเป็นของรัฐ
นายปานเทพ ยังได้ตั้งคำถามและข้อสังเกตจากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ซึ่งพบว่า รัฐมีข้อมูลการสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้ว ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พบว่ามีศักยภาพ จึงมานำเสนอต่อผู้ลงทุน ดังนั้น การอ้างว่าไม่ต้องสำรวจเพราะจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น จริงหรือไม่?
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวระบุว่า ทั้ง 6 แปลงสัมปทานในอ่าวไทย ล้วนแล้วแต่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีการสำรวจแล้วทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พอสมควรจนถึงขั้นประเมินมูลค่าปิโตรเลียมว่าจะมีน้ำมัน 191 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 362,258 ล้านบาท และมีก๊าซอีกประมาณ 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 257,280 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 619,538 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการประเมินทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยของกระทรวงพลังงานที่สูงมาก
“ข้ออ้างที่ว่ากระเปาะเล็ก จะพบปิโตรเลียมน้อย จึงขัดแย้งกับข้อมูลของภาครัฐอย่างสิ้นเชิงใช่หรือไม่? และเมื่อรู้ปริมาณและมูลค่าสูงเช่นนี้ รัฐจึงควรพิจารณาบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐไม่ใช่เปิดสัมปทาน ทั้งๆ ที่รัฐประเมินปริมาณและมูลค่าอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วจริงหรือไม่?” นายปานเทพ ระบุ
นายปานเทพ ยังตั้งคำถามอีกว่า เมื่อรัฐรู้มูลค่าทรัพย์สินเฉพาะในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 (เฉพาะในอ่าวไทย) สูงถึง 619,000 ล้านบาท แต่เหตุใดรัฐกลับกำหนดหรือประเมินการลงทุนเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา ที่เรียกว่า Minimum Signature Bonus รวมกันทุกแปลงในอ่าวไทยเพียงแค่ 330 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะยกให้เอกชนผู้รับสัมปทานถึง 187,475%
จากเอกสารรายละเอียดของกระทรวงพลังงานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ในอ่าวไทย 6 แปลงนั้นมีปริมาณงานและเงินขั้นต่ำ ซึ่งเป็นข้อผูกพันช่วงที่ 1 ในการสำรวจ คือ แปลงละ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (112 ล้านบาท) รวม 6 แปลง ก็เพียงแค่ 672 ล้านบาท ต่อให้มีการจ่ายเงินรวมกับค่าเงินให้เปล่าในการลงนามสัญญา 6 แปลง อีก 330 ล้านบาท ก็ได้เพียง 1,002 ล้านบาท สำหรับค่าเปิดขุมทรัพย์ 619,000 ล้านบาท อย่างนี้หรอกหรือที่เขาเรียกว่าคุ้มค่า?
นายปานเทพ ระบุอีกว่า ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่รัฐแจ้งกับประชาชนว่าเราจะได้มากนั้น แท้ที่จริงแล้วจากตารางดังกล่าวยังได้ระบุค่า K (ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ) ซึ่งจะนำค่านี้ไปรวมกับ ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะทั้งหมด (เมตร) ก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไหร่แล้วจึงนำไปเป็นตัวหารกับจำนวนรายได้ต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้ออกมาต่ำกว่าที่กำหนดผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับการยกเว้นเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษทันที เพราะเหตุใดในปี 2532 รัฐกำหนดค่า K ในอ่าวไทยเอาไว้เพียง 150,000 เมตร บัดนี้รัฐได้เพิ่มตัวช่วยหารนี้มากถึง 600,000 เมตร จะเป็นผลทำให้รัฐจะได้ผลตอบแทนพิเศษน้อยกว่าเดิมมากจริงหรือไม่? และเป็นการเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนมากไปหรือไม่?
“จากข้อมูลและเหตุผลข้างต้น เมื่อมีข้อมูลรู้ว่าแปลงสัมปทานในอ่าวไทยมีศักยภาพเช่นนี้ รัฐจึงควรกำหนดเป็นนโยบายในการทำให้ปิโตรเลียมเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเอง มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพื่อการสำรวจเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่กระทรวงพลังงานประเมินเองกว่า 600,000 ล้านบาท แม้จะอ้างว่ารัฐบาลไทยไม่มีความสามารถที่จะสำรวจหรือผลิตเอง รัฐบาลก็สามารถจ้างเอกชนสำรวจได้ (เงินมีอยู่แล้วในกองทุนน้ำมันที่รัฐเก็บจากประชาชนจนกำไรไป 35,000 กว่าล้านบาท) เมื่อพบว่ามีปิโตรเลียมมากก็สามารถจ้างเอกชนเพื่อผลิตได้ และหากมีเหตุอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนในการขุดเจาะก็สามารถเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแล้วแข่งกันเสนอผลตอบแทนให้รัฐในระบบแบ่งปันผลผลิตได้ จริงไหม?”นายปานเทพสรุปในตอนท้าย
รายละเอียดบทความในเฟซบุ๊ก “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์”
ไหนว่ากระเปาะเล็ก? (ตอนที่ 1) /โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
การที่ประเทศไทยจะเลือกใช้สัมปทาน แบ่งปันผลผลิต จ้างผลิต นั้นน่าจะมีการพิจารณาดังต่อไปนี้
หลักการแรก ได้มีการสำรวจแล้วหรือยัง ถ้ายังควรจะมีการจ้างสำรวจเองหรือไม่? หรือควรใช้ระบบสัมปทานคือให้สำรวจแล้วได้สิทธิสัมปทานไปเลย
ในประเด็นนี้จึงอยู่ที่ว่าเราประเมินว่าพื้นที่เหล่านั้นมีศักยภาพแค่ไหนในเบื้องต้น ถ้าเห็นว่ารัฐไม่มีข้อมูลพื้นฐานว่ามีศักยภาพเลย การเปิดให้สัมปทานไปเลยก็คงไม่มีใครว่าอะไร ยกเว้นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิของชุมชน
หลักการที่สอง เมื่อถามว่าพื้นที่ไหนที่ควรยกให้มีการสัมปทาน คำตอบที่ได้คือ เราควรให้สัมปทานเมื่อเราไม่รู้ข้อมูลพื้นฐานว่าจะมีปิโตรเลียมได้เลย เช่น การสำรวจความน่าจะเป็นเบื้องต้นของ Magnetic Anomaly Map แล้วเห็นว่าเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในแผนที่เลย หรือไม่อยู่แอ่งฟอสซิลใดๆ เลย เป็นต้น ผมจึงเห็นด้วยว่าถ้าไร้ข้อมูลว่าจะมีศักยภาพอย่างสิ้นเชิงก็ควรเปิดให้มีการสัมปทานได้
แต่ถ้าเรารู้ว่าพื้นที่ใดจะมีศักยภาพ รัฐก็ควรจะจ้างสำรวจตามมา “เพื่อให้ข้อมูลตกเป็นของรัฐ” ปัจจัยที่ควรจะนำไปสู่การสำรวจคือ
“อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีการสำรวจเบื้องต้นโดย Magnetic Anomaly Map แล้วพบว่าอยู่ในแอ่งฟอสซิลที่จะมีปิโตรเลียม และอยู่แปลงข้างเคียงแปลงสัมปทานเดิมที่มีศักยภาพ”
หลักการที่สาม ในการสำรวจที่ลึกลงไปอีกในขั้นต่อมา คือการตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบ 2 มิติ ที่เรียกว่า 2D Seismic หรือละเอียดลงไปกว่านั้นคือการตรวจแบบ 3 มิติ เรียกว่า 3 D Seismic จึงจะทำให้รู้ข้อมูลว่าพื้นที่เหล่านั้นมีศักภาพหรือไม่? มีปริมาณเท่าไหร่? และมีความน่าจะเป็นเท่าไหร่?
เมื่อรู้ 2 ข้อมูลสำคัญในหลักการที่สามแล้ว จึงจะนำมาสู่การประเมินความคุ้มค่าในผลตอบแทนของการลงทุนได้ และถ้ารู้ถึงขั้นนั้นได้ก็จะเกิดการตัดสินใจได้ว่ารัฐควรจะเปิดให้มีการแข่งขันราคากันจ้างเอกชนเพื่อผลิตปิโตรเลียม หรือรัฐควรเปิดประมูลให้เกิดการแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิตว่า “ใครให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด"”? โดยให้ปิโตรเลียมตกเป็นของรัฐ
ดังนั้น ระหว่างการ “รู้ข้อมูล” กับ “ไม่รู้ข้อมูล” จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าถึงขั้นมีการสำรวจและรู้ข้อมูลแล้ว และหากยิ่งรู้ว่ามีศักยภาพ ยิ่งไม่น่าจะมีเหตุผลต้องกลับไปหาระบบสัมปทานอีก
จากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 มีประเด็นคำถามและข้อสังเกตดังต่อไปนี้
ลิงค์อ้างอิง : http://www.dmf.go.th/petroleum_forum/2014/Petroleum%20Potential%20of%20Thailand%20for%20the%2021st%20Bidding%20Round_Gulf%20of%20Thailand%20By%20Mr.%20Trin%20Intaraprasong.pdf
1. รัฐมีข้อมูลการสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้ว ทั้ง 2 มิติ (2D) และ 3 มิติ (3D) พบว่ามีศักยภาพ จึงมานำเสนอต่อผู้ลงทุน ดังนั้นการอ้างว่าไม่ต้องสำรวจเพราะจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น จริงหรือไม่? ดังนี้
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G1/57 อยู่แอ่งระยองตอนเหนือ ติดแปลงสัมปทานเดิม(จัสมินและบานเย็น) มีข้อมูลการสำรวจ 3 มิติแล้ว (3 D Seismic) จำนวน 451 ตารางกิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 4 หลุม มีน้ำมันและก๊าซ 2 หลุม และไม่พบ 2 หลุม และประเมินว่ามีน้ำมัน 5 ล้านบาร์เรล (มูลค่าประมาณ 9,440 ล้านบาท) และมีก๊าซ 40,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 7,680 ล้านบาท) มูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซ แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G1/2557 ได้ประมาณ 17,120 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G2/2557 A และ B อยู่แอ่งปัตตานี อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติ แล้ว (2D seismic) 185 กิโลเมตร ยังไม่มีข้อมูลจากหลุมใด แต่กระทรวงพลังงานประเมินเสนอต่อผู้ที่จะมาสัมทปานว่ามีน้ำมันประมาณ 7 ล้านบาร์เรล (มูลค่าประมาณ 13,216 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 40,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 7,680 ล้านบาท) มูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G2/2557 ได้ประมาณ 20,896 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G3/2557 อยู่แอ่งปัตตานี อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติแล้ว (2D seismic) 383 กิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 3 หลุม กระทรวงพลังงานประเมินเสนอต่อผู้ที่จะมาสัมปทานว่ามีน้ำมัน 20 ล้านบาร์เรล (มูลค่าประมาณ 37,760 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 120,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 75,840 ล้านบาท) มูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G3/2557 ได้ประมาณ 113,600 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G4/2557 อยู่แอ่งปัตตานี อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติแล้ว (2D seismic) 107 กิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 5 หลุม กระทรวงพลังานได้ประเมินรายงานต่อผู้ที่จะมาสัมปทานว่ามีน้ำมัน 75 ล้านบาร์เรล (141,660 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 400,000 ลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 76,800 ล้านบาท) รวมมูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G4/2557 ได้ประมาณ 218,460 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G5/2557 A และ B อยู่แอ่งมาเลย์เหนือ อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติแล้ว (2D seismic) 186 กิโลเมตร และยังมีข้อมูลการสำรวจสำหรับ 3 มิติ (3D seismic) อีก 653 ตารางกิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 10 หลุม (พบก๊าซ 9 หลุม) กระทรวงพลังงานประเมินต่อผู้ที่จะมาสัมปทานว่ามีน้ำมัน 80 ล้านบาร์เรล (143,360 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 600,000 ลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 115,200 ล้านบาท) รวมมูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G5/2557 ได้ประมาณ 258,560 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G6/2557 อยู่แอ่งมาเลย์เหนือ อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติแล้ว (2D seismic) 104 กิโลเมตร และยังมีข้อมูลการสำรวจสำหรับ 3 มิติ (3D seismic) อีก 350 ตารางกิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 2 หลุม กระทรวงพลังงานประเมินต่อผู้ที่จะมาสัมปทานว่ามีน้ำมัน 4 ล้านบาร์เรล (7,552 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 140,000 ลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 26,880 ล้านบาท) รวมมูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G6/2557 ได้ประมาณ 34,432 ล้านบาท
รวม 6 แปลงในอ่าวไทย ล้วนแล้วแต่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีการสำรวจแล้วทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พอสมควรจนถึงขั้นประเมินมูลค่าปิโตรเลียมว่าจะมีน้ำมัน 191 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 362,258 ล้านบาท และมีก๊าซอีกประมาณ 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 257,280 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 619,538 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการประเมินทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยของกระทรวงพลังงานที่สูงมาก
ยังสมควรอยู่หรือไม่ที่จะยังใช้ระบบสัมปทานโดยอ้างว่าเพราะเราไม่มีข้อมูล ลงทุนสำรวจ เพื่อใช้ระบบจ้างผลิตหรือแบ่งปันผลผลิตแล้วจะไม่คุ้มเพราะเราจะพบปิโตรเลียมน้อย?
ไหนว่ากระเปาะเล็ก? (ตอนที่ 2) /โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 มีประเด็นคำถามและข้อสังเกต เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
ลิงค์อ้างอิง : http://www.dmf.go.th/petroleum_forum/2014/Petroleum%20Potential%20of%20Thailand%20for%20the%2021st%20Bidding%20Round_Gulf%20of%20Thailand%20By%20Mr.%20Trin%20Intaraprasong.pdf
2. รัฐได้นำเสนอต่อเอกชนในปริมาณการเปิดแปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เฉพาะในอ่าวไทย ทั้ง 6 แปลงซึ่งอยู่รายล้อมแปลงสัมปทานเดิมแล้ว กระทรวงพลังงานประเมินให้เอกชนผู้ที่จะเข้ามารับสัมปทานทราบว่าจะมีปริมาณน้ำมันรวมทั้งสิ้น 191 ล้านบาเรล และก๊าซธรรมชาติอีก 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมมูลค่าในปัจจุบันประมาณมากกว่า 619,000 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมาก
ข้ออ้างที่ว่ากระเปาะเล็ก จะพบปิโตรเลียมน้อย จึงขัดแย้งกับข้อมูลของภาครัฐอย่างสิ้นเชิงใช่หรือไม่? และเมื่อรู้ปริมาณและมูลค่าสูงเช่นนี้ รัฐจึงควรพิจารณาบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐไม่ใช่เปิดสัมปทานทั้งๆ ที่รัฐประเมินปริมาณและมูลค่าอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วจริงหรือไม่?
3. เมื่อรัฐรู้มูลค่าทรัพย์สินเฉพาะในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 (เฉพาะในอ่าวไทย)สูงถึง 619,000 ล้านบาท แต่เหตุใดรัฐกลับกำหนดหรือประเมินการลงทุนเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา ที่เรียกว่า Minimum Signature Bonus รวมกันทุกแปลงในอ่าวไทยเพียงแค่ 330 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะยกให้เอกชนผู้รับสัมปทานถึง 187,475 %
ถามว่าเมื่อเทียบกับความคุ้มค่าในการรับเงินค่า “เปิดขุมทรัพย์ที่มีข้อมูลอยู่แล้ว” ว่ามีศักยภาพมีแตกต่างกันขนาดนี้ รัฐควรลงทุนจ้างเอกชนให้ผลิตเอง หรือใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตเพื่อให้ปิโตรเลียมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ หรือควรยกกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่มากมายมหาศาลเช่นนี้ให้กับเอกชนในรูปแบบของสัมปทาน?
อาจจะมีคำถามว่ามีเงินอีกตั้งแยะ เช่น ปริมาณงานและเงินขั้นต่ำ ค่าภาคหลวง ค่าภาษีรายได้ ภาษีกำไร ผลตอบแทนพิเศษ ฯลฯ เงินเหล่านี้ไม่สำคัญหรือไม่นับร่วมไปด้วยหรอกหรือ? ไม่ใช่ว่าไม่เห็นผลตอบแทนเหล่านั้น เพราะเรื่องผลตอบแทนเหล่านั้นก็ถือเป็นเรื่องปกติของระบบสัมปทานที่เราไม่มีข้อมูลปิโตรเลียมมาก่อน ดังนั้น จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะกล่าวถึง เพราะประเด็นความสำคัญในเรื่องนี้คือ “การรู้ข้อมูลว่ามีศักยภาพแล้วต่างหาก” จึงจะเป็นมูลค่าที่สำคัญ การเพิ่มผลตอบแทนว่าสมควรจะใช้รูปแบบเดิมที่เราเคยให้สัมปทานเพราะเราไม่รู้ข้อมูลมากเท่านี้หรือไม่?
ลองคิดดูว่าจากเอกสารรายละเอียดของกระทรวงพลังงานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ในอ่าวไทย 6 แปลงนั้นมีปริมาณงานและเงินขั้นต่ำ ซึ่งเป็นข้อผูกพันช่วงที่ 1 ในการสำรวจ คือ แปลงละ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (112 ล้านบาท) รวม 6 แปลง ก็เพียงแค่ 672 ล้านบาท ต่อให้มีการจ่ายเงินรวมกับค่าเงินให้เปล่าในการลงนามสัญญา 6 แปลง อีก 330 ล้านบาท ก็ได้เพียง 1,002 ล้านบาท สำหรับค่าเปิดขุมทรัพย์ 619,000 ล้านบาท อย่างนี้หรอกหรือที่เขาเรียกว่า คุ้มค่า?
ด้วยเพราะกระทรวงพลังงานได้รู้ข้อมูลแล้วว่าพื้นที่ใดมีศักยภาพ จึงสามารถกำหนดเกณฑ์ เงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature Bonus) ให้ไม่เท่ากันตามเอกสารในหน้าที่ 9 ที่ระบุว่า G3/57, G5/57 และ G6/57 เงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature Bonus) 100 ล้านบาท L6/57, และ L23/57 เงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา 2 ล้านบาท
ส่วนแปลงอื่นๆ ที่เหลือรวมถึง G1/57, G2/57, G4/57 เงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา 10 ล้านบาท
การที่จำแนกในการจ่ายเงินให้เปล่าในวันลงนามในสัญญาที่ไม่เท่ากัน กระทรวงพลังงานย่อมรู้อยู่แล้วว่าปริมาณและโอกาสของแต่ละแปลงสัมปทานมีไม่เท่ากันจริงหรือไม่จากการมีข้อมูลสำรวจเบื้องต้นแล้ว
ลองคิดดูว่าผู้ที่จะรับสัมปทานที่อยู่ดีๆ จะมาจ่ายเงินให้เปล่าในวันลงนามในสัญญาถึง 100 ล้านให้กับแปลงสัมปทาน G3/57, G5/57 และ G6/57 เพื่ออะไร? ทั้งๆ ที่ในทะเล ยังมีแปลงสัมปทานในทะเลอื่นๆ คือ G1/57, G2/57 และ G4/57 ที่จะต้องจ่ายเงินให้เปล่าในวันลงนามในสัญญาเพียงแค่แปลงละ 10 ล้านบาท ถ้าศักยภาพไม่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จริงหรือไม่?
ด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ ในหน้าที่ 9 ของเอกสารชิ้นนี้ ถึงต้องตั้งคำถามแทนผู้ที่จะมารับสัมปทานว่า
Are these minimum signature bonus worth paying for it?
หรือแปลเป็นไทยก็คือ “เงินให้เปล่าในวันลงนามในสัญญาเหล่านี้คุ้มค่าที่จะจ่ายหรือไม่?”
และนั่นเป็นเหตุผลตามมาที่ทำให้กระทรวงพลังงานจึงได้เปิดเผยการมีข้อมูลการสำรวจในแปลงสัมปทานหลายแปลงให้ผู้รับสัมปทานทราบ ใช่หรือไม่?
นั่นย่อมแปลว่ากระทรวงพลังงานย่อมมีข้อมูลอยู่แล้วว่าแปลงใดมีศักยภาพมากกว่าแปลงใดจากการสำรวจแล้วนั่นเอง จึงนำเสนอให้ผู้ที่จะรับสัมปทานยอมรับได้ว่าเหตุใดผู้รับสัมปทานแต่ละแปลงจึงจ่ายเงินให้เปล่าในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature bonus) ไม่เท่ากัน จริงหรือไม่?
แต่บางครั้งก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ทำไมแปลงที่ G4/2557 ซึ่งกระทรวงพลังงานประเมินมูลค่าน้ำมันและปิโตรเลียม ได้ประมาณ 218,460 ล้านบาท จึงได้พิจารณาให้จ่ายเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature Bonus) เพียงแค่ 10 ล้านบาท !!!?
ทั้งๆ ที่แปลงสัมปทาน G3/2557 ซึ่งกระทรวงประเมินปิโตรเลียมว่าจะมีมูลค่าประมาณ 113,600 ล้านบาท และ แปลงสัมปทาน G6/2557 ซึ่งกระทรวงพลังงานประเมินมูลค่าเอาไว้ที่ 34,432 ล้านบาท ซึ่งล้วนแล้วแต่ต่ำกว่า G4/2557 ทั้งสิ้น แต่กลับต้องจ่ายเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature Bonus) ถึงแปลงละ 100 ล้านบาท ใช่หรือไม่?
ใครเห็นข้อมูลนี้ก็ต้องตั้งคำถามว่า ตกลงแล้ว แปลงสัมปทาน G4/2557 มีดีพิเศษอย่างไร ถึงได้มีการประเมินมูลค่าสูงกว่า แต่จ่ายเงินในวันลงนามในสัญญาต่ำกว่า? ทั้งๆ ที่นอกจากจะอยู่ในแอ่งปัตตานีแล้ว ยังอยู่รายล้อมด้วยพื้นที่ซึ่งมีการผลิตอยู่แล้ว เช่น แหล่งไพลิน ฯลฯ อีกด้วย?
การที่เราใช้ระบบสัมปทานเพราะเราเชื่อว่า เราไม่ควรสำรวจเอง มีความเสี่ยงที่จะไม่พบ กระเปาะเล็ก ไม่มีศักยภาพ แต่ถึงขนาดที่กระทรวงพลังงานแยกแยะความคุ้มค่าและการเรียกเก็บเงินในวันลงนามในสัญญาแตกต่างๆ กันได้แล้วนั้น เมื่อมีการสำรวจแล้วพบว่าทรัพยากรปิโตรเลียมมีศักยภาพในแปลงใดแล้ว เหตุใดจึงไม่เปลี่ยนระบบให้ปิโตรเลียมในแปลงที่มีศัยกภาพเหล่านั้นให้ตกเป็นของรัฐ ในระบบแบ่งปันผลผลิต หรือในระบบจ้างผลิต แทนการสัมปทานที่อ้างว่าเราไม่มีข้อมูลและมีความเสี่ยงว่าจะไม่พบปิโตรเลียม จริงไหม?
ไหนว่ากระเปาะเล็ก? (ตอนที่ 3) /โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 มีประเด็นคำถามและข้อสังเกต เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
ลิงค์อ้างอิง : http://www.dmf.go.th/petroleum_forum/2014/Petroleum%20Potential%20of%20Thailand%20for%20the%2021st%20Bidding%20Round_Gulf%20of%20Thailand%20By%20Mr.%20Trin%20Intaraprasong.pdf
4. ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่รัฐแจ้งกับประชาชนว่าเราจะได้มากนั้น แท้ที่จริงแล้วจากตารางดังกล่าวยังได้ระบุค่า K (ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ) ซึ่งจะนำค่านี้ไปรวมกับ ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะทั้งหมด (เมตร) ก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไหร่แล้วจึงนำไปเป็นตัวหารกับจำนวนรายได้ต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้ออกมาต่ำกว่าที่กำหนดผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับการยกเว้นเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ทันที เพราะเหตุใดในปี 2532 รัฐกำหนดค่า K ในอ่าวไทยเอาไว้เพียง 150,000 เมตร บัดนี้รัฐได้เพิ่มตัวช่วยหารนี้มากถึง 600,000 เมตร จะเป็นผลทำให้รัฐจะได้ผลตอบแทนพิเศษน้อยกว่าเดิมมากจริงหรือไม่? และเป็นการเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนมากไปหรือไม่?
5. ในปี 2532 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 18 เหรียญต่อบาร์เรล รัฐได้กำหนดให้ส่วนลดพิเศษ (Special Reduction หรือในตารางคือค่า SR) ให้กับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่ต้องจ่ายให้รัฐอยู่ที่ 0% เพราะเห็นว่าผู้ลงทุนเอกชนไม่จำเป็นต้องได้ส่วนลดพิเศษใดๆ แล้ว แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 59.27 เหรียญต่อบาเรล เหตุใดตารางที่นำเสนอให้เอกชนจึงระบุให้ค่าส่วนลดพิเศษสูงขึ้นไปทุกแปลงถึง 35%?
ยังไม่นับคำถามอีกมากถึงจุดอ่อนในระบบสัมปทานปัจจุบัน ที่คิดค่าภาคหลวงบนฐานของรายได้จาการขายปิโตรเลียม ถ้าเพียงแค่ผู้รับสัมปทานขายไปให้บริษัทลูกหรือบริษัทในเครือในราคาต่ำกว่าราคาตลาดเพื่อลดรายได้ หลบเหลี่ยงค่าภาคหลวง หลีกเลี่ยงผลตอบแทนพิเศษ หลบเลี่ยงภาษีเงินได้ แล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ?
จากข้อมูลและเหตุผลข้างต้น เมื่อมีข้อมูลรู้ว่าแปลงสัมปทานในอ่าวไทยมีศักยภาพเช่นนี้ รัฐจึงควรกำหนดเป็นนโยบายในการทำให้ปิโตรเลียมเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเอง มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพื่อการสำรวจเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่กระทรวงพลังงานประเมินเองกว่า 600,000 ล้านบาท แม้จะอ้างว่ารัฐบาลไทยไม่มีความสามารถที่จะสำรวจหรือผลิตเอง รัฐบาลก็สามารถจ้างเอกชนสำรวจได้ (เงินมีอยู่แล้วในกองทุนน้ำมันที่รัฐเก็บจากประชาชนจนกำไรไป 35,000 กว่าล้านบาท) เมื่อพบว่ามีปิโตรเลียมมากก็สามารถจ้างเอกชนเพื่อผลิตได้ และหากมีเหตุอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนในการขุดเจาะก็สามารถเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแล้วแข่งกันเสนอผลตอบแทนให้รัฐในระบบแบ่งปันผลผลิตได้ จริงไหม?
วันนี้ (11 มี.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. ที่ผ่านมา นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 ได้โพสต์ข้อความในแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยตั้งหัวข้อว่า “ไหนว่ากระเปาะเล็ก?” ทั้งหมด 3 ตอน มีใจความสรุปได้ว่า การที่ประเทศไทยจะเลือกใช้สัมปทาน แบ่งปันผลผลิต หรือจ้างผลิตนั้น ในเบื้องต้น ถ้าเห็นว่ารัฐไม่มีข้อมูลพื้นฐานว่ามีศักยภาพเลย การเปิดให้สัมปทานไปเลยก็คงไม่มีใครว่าอะไร ยกเว้นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิของชุมชน แต่ถ้าเรารู้ว่าพื้นที่ใดจะมีศักยภาพ รัฐก็ควรจะจ้างสำรวจตามมา เพื่อให้ข้อมูลตกเป็นของรัฐ และในการสำรวจที่ลึกลงไปอีกในขั้นต่อมา คือ การตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบ 2 มิติ หรือละเอียดลงไปกว่านั้น คือ การตรวจแบบ 3 มิติ จึงจะทำให้รู้ข้อมูลว่าพื้นที่เหล่านั้นมีศักภาพหรือไม่? มีปริมาณเท่าไหร่? และมีความน่าจะเป็นเท่าไหร่? เมื่อรู้ 2 ข้อมูลสำคัญนี้แล้ว จึงจะนำมาสู่การประเมินความคุ้มค่าในผลตอบแทนของการลงทุนได้ และถ้ารู้ถึงขั้นนั้นได้ก็จะเกิดการตัดสินใจได้ว่ารัฐควรจะเปิดให้มีการแข่งขันราคากันจ้างเอกชนเพื่อผลิตปิโตรเลียม หรือรัฐควรเปิดประมูลให้เกิดการแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิตว่า “ใครให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด”? โดยให้ปิโตรเลียมตกเป็นของรัฐ
นายปานเทพ ยังได้ตั้งคำถามและข้อสังเกตจากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ซึ่งพบว่า รัฐมีข้อมูลการสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้ว ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พบว่ามีศักยภาพ จึงมานำเสนอต่อผู้ลงทุน ดังนั้น การอ้างว่าไม่ต้องสำรวจเพราะจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น จริงหรือไม่?
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวระบุว่า ทั้ง 6 แปลงสัมปทานในอ่าวไทย ล้วนแล้วแต่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีการสำรวจแล้วทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พอสมควรจนถึงขั้นประเมินมูลค่าปิโตรเลียมว่าจะมีน้ำมัน 191 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 362,258 ล้านบาท และมีก๊าซอีกประมาณ 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 257,280 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 619,538 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการประเมินทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยของกระทรวงพลังงานที่สูงมาก
“ข้ออ้างที่ว่ากระเปาะเล็ก จะพบปิโตรเลียมน้อย จึงขัดแย้งกับข้อมูลของภาครัฐอย่างสิ้นเชิงใช่หรือไม่? และเมื่อรู้ปริมาณและมูลค่าสูงเช่นนี้ รัฐจึงควรพิจารณาบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐไม่ใช่เปิดสัมปทาน ทั้งๆ ที่รัฐประเมินปริมาณและมูลค่าอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วจริงหรือไม่?” นายปานเทพ ระบุ
นายปานเทพ ยังตั้งคำถามอีกว่า เมื่อรัฐรู้มูลค่าทรัพย์สินเฉพาะในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 (เฉพาะในอ่าวไทย) สูงถึง 619,000 ล้านบาท แต่เหตุใดรัฐกลับกำหนดหรือประเมินการลงทุนเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา ที่เรียกว่า Minimum Signature Bonus รวมกันทุกแปลงในอ่าวไทยเพียงแค่ 330 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะยกให้เอกชนผู้รับสัมปทานถึง 187,475%
จากเอกสารรายละเอียดของกระทรวงพลังงานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ในอ่าวไทย 6 แปลงนั้นมีปริมาณงานและเงินขั้นต่ำ ซึ่งเป็นข้อผูกพันช่วงที่ 1 ในการสำรวจ คือ แปลงละ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (112 ล้านบาท) รวม 6 แปลง ก็เพียงแค่ 672 ล้านบาท ต่อให้มีการจ่ายเงินรวมกับค่าเงินให้เปล่าในการลงนามสัญญา 6 แปลง อีก 330 ล้านบาท ก็ได้เพียง 1,002 ล้านบาท สำหรับค่าเปิดขุมทรัพย์ 619,000 ล้านบาท อย่างนี้หรอกหรือที่เขาเรียกว่าคุ้มค่า?
นายปานเทพ ระบุอีกว่า ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่รัฐแจ้งกับประชาชนว่าเราจะได้มากนั้น แท้ที่จริงแล้วจากตารางดังกล่าวยังได้ระบุค่า K (ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ) ซึ่งจะนำค่านี้ไปรวมกับ ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะทั้งหมด (เมตร) ก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไหร่แล้วจึงนำไปเป็นตัวหารกับจำนวนรายได้ต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้ออกมาต่ำกว่าที่กำหนดผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับการยกเว้นเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษทันที เพราะเหตุใดในปี 2532 รัฐกำหนดค่า K ในอ่าวไทยเอาไว้เพียง 150,000 เมตร บัดนี้รัฐได้เพิ่มตัวช่วยหารนี้มากถึง 600,000 เมตร จะเป็นผลทำให้รัฐจะได้ผลตอบแทนพิเศษน้อยกว่าเดิมมากจริงหรือไม่? และเป็นการเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนมากไปหรือไม่?
“จากข้อมูลและเหตุผลข้างต้น เมื่อมีข้อมูลรู้ว่าแปลงสัมปทานในอ่าวไทยมีศักยภาพเช่นนี้ รัฐจึงควรกำหนดเป็นนโยบายในการทำให้ปิโตรเลียมเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเอง มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพื่อการสำรวจเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่กระทรวงพลังงานประเมินเองกว่า 600,000 ล้านบาท แม้จะอ้างว่ารัฐบาลไทยไม่มีความสามารถที่จะสำรวจหรือผลิตเอง รัฐบาลก็สามารถจ้างเอกชนสำรวจได้ (เงินมีอยู่แล้วในกองทุนน้ำมันที่รัฐเก็บจากประชาชนจนกำไรไป 35,000 กว่าล้านบาท) เมื่อพบว่ามีปิโตรเลียมมากก็สามารถจ้างเอกชนเพื่อผลิตได้ และหากมีเหตุอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนในการขุดเจาะก็สามารถเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแล้วแข่งกันเสนอผลตอบแทนให้รัฐในระบบแบ่งปันผลผลิตได้ จริงไหม?”นายปานเทพสรุปในตอนท้าย
รายละเอียดบทความในเฟซบุ๊ก “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์”
ไหนว่ากระเปาะเล็ก? (ตอนที่ 1) /โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
การที่ประเทศไทยจะเลือกใช้สัมปทาน แบ่งปันผลผลิต จ้างผลิต นั้นน่าจะมีการพิจารณาดังต่อไปนี้
หลักการแรก ได้มีการสำรวจแล้วหรือยัง ถ้ายังควรจะมีการจ้างสำรวจเองหรือไม่? หรือควรใช้ระบบสัมปทานคือให้สำรวจแล้วได้สิทธิสัมปทานไปเลย
ในประเด็นนี้จึงอยู่ที่ว่าเราประเมินว่าพื้นที่เหล่านั้นมีศักยภาพแค่ไหนในเบื้องต้น ถ้าเห็นว่ารัฐไม่มีข้อมูลพื้นฐานว่ามีศักยภาพเลย การเปิดให้สัมปทานไปเลยก็คงไม่มีใครว่าอะไร ยกเว้นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิของชุมชน
หลักการที่สอง เมื่อถามว่าพื้นที่ไหนที่ควรยกให้มีการสัมปทาน คำตอบที่ได้คือ เราควรให้สัมปทานเมื่อเราไม่รู้ข้อมูลพื้นฐานว่าจะมีปิโตรเลียมได้เลย เช่น การสำรวจความน่าจะเป็นเบื้องต้นของ Magnetic Anomaly Map แล้วเห็นว่าเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในแผนที่เลย หรือไม่อยู่แอ่งฟอสซิลใดๆ เลย เป็นต้น ผมจึงเห็นด้วยว่าถ้าไร้ข้อมูลว่าจะมีศักยภาพอย่างสิ้นเชิงก็ควรเปิดให้มีการสัมปทานได้
แต่ถ้าเรารู้ว่าพื้นที่ใดจะมีศักยภาพ รัฐก็ควรจะจ้างสำรวจตามมา “เพื่อให้ข้อมูลตกเป็นของรัฐ” ปัจจัยที่ควรจะนำไปสู่การสำรวจคือ
“อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีการสำรวจเบื้องต้นโดย Magnetic Anomaly Map แล้วพบว่าอยู่ในแอ่งฟอสซิลที่จะมีปิโตรเลียม และอยู่แปลงข้างเคียงแปลงสัมปทานเดิมที่มีศักยภาพ”
หลักการที่สาม ในการสำรวจที่ลึกลงไปอีกในขั้นต่อมา คือการตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบ 2 มิติ ที่เรียกว่า 2D Seismic หรือละเอียดลงไปกว่านั้นคือการตรวจแบบ 3 มิติ เรียกว่า 3 D Seismic จึงจะทำให้รู้ข้อมูลว่าพื้นที่เหล่านั้นมีศักภาพหรือไม่? มีปริมาณเท่าไหร่? และมีความน่าจะเป็นเท่าไหร่?
เมื่อรู้ 2 ข้อมูลสำคัญในหลักการที่สามแล้ว จึงจะนำมาสู่การประเมินความคุ้มค่าในผลตอบแทนของการลงทุนได้ และถ้ารู้ถึงขั้นนั้นได้ก็จะเกิดการตัดสินใจได้ว่ารัฐควรจะเปิดให้มีการแข่งขันราคากันจ้างเอกชนเพื่อผลิตปิโตรเลียม หรือรัฐควรเปิดประมูลให้เกิดการแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิตว่า “ใครให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด"”? โดยให้ปิโตรเลียมตกเป็นของรัฐ
ดังนั้น ระหว่างการ “รู้ข้อมูล” กับ “ไม่รู้ข้อมูล” จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าถึงขั้นมีการสำรวจและรู้ข้อมูลแล้ว และหากยิ่งรู้ว่ามีศักยภาพ ยิ่งไม่น่าจะมีเหตุผลต้องกลับไปหาระบบสัมปทานอีก
จากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 มีประเด็นคำถามและข้อสังเกตดังต่อไปนี้
ลิงค์อ้างอิง : http://www.dmf.go.th/petroleum_forum/2014/Petroleum%20Potential%20of%20Thailand%20for%20the%2021st%20Bidding%20Round_Gulf%20of%20Thailand%20By%20Mr.%20Trin%20Intaraprasong.pdf
1. รัฐมีข้อมูลการสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้ว ทั้ง 2 มิติ (2D) และ 3 มิติ (3D) พบว่ามีศักยภาพ จึงมานำเสนอต่อผู้ลงทุน ดังนั้นการอ้างว่าไม่ต้องสำรวจเพราะจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น จริงหรือไม่? ดังนี้
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G1/57 อยู่แอ่งระยองตอนเหนือ ติดแปลงสัมปทานเดิม(จัสมินและบานเย็น) มีข้อมูลการสำรวจ 3 มิติแล้ว (3 D Seismic) จำนวน 451 ตารางกิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 4 หลุม มีน้ำมันและก๊าซ 2 หลุม และไม่พบ 2 หลุม และประเมินว่ามีน้ำมัน 5 ล้านบาร์เรล (มูลค่าประมาณ 9,440 ล้านบาท) และมีก๊าซ 40,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 7,680 ล้านบาท) มูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซ แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G1/2557 ได้ประมาณ 17,120 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G2/2557 A และ B อยู่แอ่งปัตตานี อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติ แล้ว (2D seismic) 185 กิโลเมตร ยังไม่มีข้อมูลจากหลุมใด แต่กระทรวงพลังงานประเมินเสนอต่อผู้ที่จะมาสัมทปานว่ามีน้ำมันประมาณ 7 ล้านบาร์เรล (มูลค่าประมาณ 13,216 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 40,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 7,680 ล้านบาท) มูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G2/2557 ได้ประมาณ 20,896 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G3/2557 อยู่แอ่งปัตตานี อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติแล้ว (2D seismic) 383 กิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 3 หลุม กระทรวงพลังงานประเมินเสนอต่อผู้ที่จะมาสัมปทานว่ามีน้ำมัน 20 ล้านบาร์เรล (มูลค่าประมาณ 37,760 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 120,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 75,840 ล้านบาท) มูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G3/2557 ได้ประมาณ 113,600 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G4/2557 อยู่แอ่งปัตตานี อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติแล้ว (2D seismic) 107 กิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 5 หลุม กระทรวงพลังานได้ประเมินรายงานต่อผู้ที่จะมาสัมปทานว่ามีน้ำมัน 75 ล้านบาร์เรล (141,660 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 400,000 ลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 76,800 ล้านบาท) รวมมูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G4/2557 ได้ประมาณ 218,460 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G5/2557 A และ B อยู่แอ่งมาเลย์เหนือ อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติแล้ว (2D seismic) 186 กิโลเมตร และยังมีข้อมูลการสำรวจสำหรับ 3 มิติ (3D seismic) อีก 653 ตารางกิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 10 หลุม (พบก๊าซ 9 หลุม) กระทรวงพลังงานประเมินต่อผู้ที่จะมาสัมปทานว่ามีน้ำมัน 80 ล้านบาร์เรล (143,360 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 600,000 ลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 115,200 ล้านบาท) รวมมูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G5/2557 ได้ประมาณ 258,560 ล้านบาท
แปลงที่จะเปิดสัมปทาน G6/2557 อยู่แอ่งมาเลย์เหนือ อยู่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีข้อมูลการสำรวจ 2 มิติแล้ว (2D seismic) 104 กิโลเมตร และยังมีข้อมูลการสำรวจสำหรับ 3 มิติ (3D seismic) อีก 350 ตารางกิโลเมตร มีข้อมูลแล้ว 2 หลุม กระทรวงพลังงานประเมินต่อผู้ที่จะมาสัมปทานว่ามีน้ำมัน 4 ล้านบาร์เรล (7,552 ล้านบาท) และมีก๊าซประมาณ 140,000 ลูกบาศก์ฟุต (มูลค่าประมาณ 26,880 ล้านบาท) รวมมูลค่ารวมน้ำมันและก๊าซแปลงที่จะเปิดสัมปทาน G6/2557 ได้ประมาณ 34,432 ล้านบาท
รวม 6 แปลงในอ่าวไทย ล้วนแล้วแต่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีการสำรวจแล้วทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พอสมควรจนถึงขั้นประเมินมูลค่าปิโตรเลียมว่าจะมีน้ำมัน 191 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 362,258 ล้านบาท และมีก๊าซอีกประมาณ 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 257,280 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 619,538 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการประเมินทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยของกระทรวงพลังงานที่สูงมาก
ยังสมควรอยู่หรือไม่ที่จะยังใช้ระบบสัมปทานโดยอ้างว่าเพราะเราไม่มีข้อมูล ลงทุนสำรวจ เพื่อใช้ระบบจ้างผลิตหรือแบ่งปันผลผลิตแล้วจะไม่คุ้มเพราะเราจะพบปิโตรเลียมน้อย?
ไหนว่ากระเปาะเล็ก? (ตอนที่ 2) /โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 มีประเด็นคำถามและข้อสังเกต เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
ลิงค์อ้างอิง : http://www.dmf.go.th/petroleum_forum/2014/Petroleum%20Potential%20of%20Thailand%20for%20the%2021st%20Bidding%20Round_Gulf%20of%20Thailand%20By%20Mr.%20Trin%20Intaraprasong.pdf
2. รัฐได้นำเสนอต่อเอกชนในปริมาณการเปิดแปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เฉพาะในอ่าวไทย ทั้ง 6 แปลงซึ่งอยู่รายล้อมแปลงสัมปทานเดิมแล้ว กระทรวงพลังงานประเมินให้เอกชนผู้ที่จะเข้ามารับสัมปทานทราบว่าจะมีปริมาณน้ำมันรวมทั้งสิ้น 191 ล้านบาเรล และก๊าซธรรมชาติอีก 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมมูลค่าในปัจจุบันประมาณมากกว่า 619,000 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมาก
ข้ออ้างที่ว่ากระเปาะเล็ก จะพบปิโตรเลียมน้อย จึงขัดแย้งกับข้อมูลของภาครัฐอย่างสิ้นเชิงใช่หรือไม่? และเมื่อรู้ปริมาณและมูลค่าสูงเช่นนี้ รัฐจึงควรพิจารณาบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐไม่ใช่เปิดสัมปทานทั้งๆ ที่รัฐประเมินปริมาณและมูลค่าอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วจริงหรือไม่?
3. เมื่อรัฐรู้มูลค่าทรัพย์สินเฉพาะในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 (เฉพาะในอ่าวไทย)สูงถึง 619,000 ล้านบาท แต่เหตุใดรัฐกลับกำหนดหรือประเมินการลงทุนเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา ที่เรียกว่า Minimum Signature Bonus รวมกันทุกแปลงในอ่าวไทยเพียงแค่ 330 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะยกให้เอกชนผู้รับสัมปทานถึง 187,475 %
ถามว่าเมื่อเทียบกับความคุ้มค่าในการรับเงินค่า “เปิดขุมทรัพย์ที่มีข้อมูลอยู่แล้ว” ว่ามีศักยภาพมีแตกต่างกันขนาดนี้ รัฐควรลงทุนจ้างเอกชนให้ผลิตเอง หรือใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตเพื่อให้ปิโตรเลียมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ หรือควรยกกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่มากมายมหาศาลเช่นนี้ให้กับเอกชนในรูปแบบของสัมปทาน?
อาจจะมีคำถามว่ามีเงินอีกตั้งแยะ เช่น ปริมาณงานและเงินขั้นต่ำ ค่าภาคหลวง ค่าภาษีรายได้ ภาษีกำไร ผลตอบแทนพิเศษ ฯลฯ เงินเหล่านี้ไม่สำคัญหรือไม่นับร่วมไปด้วยหรอกหรือ? ไม่ใช่ว่าไม่เห็นผลตอบแทนเหล่านั้น เพราะเรื่องผลตอบแทนเหล่านั้นก็ถือเป็นเรื่องปกติของระบบสัมปทานที่เราไม่มีข้อมูลปิโตรเลียมมาก่อน ดังนั้น จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะกล่าวถึง เพราะประเด็นความสำคัญในเรื่องนี้คือ “การรู้ข้อมูลว่ามีศักยภาพแล้วต่างหาก” จึงจะเป็นมูลค่าที่สำคัญ การเพิ่มผลตอบแทนว่าสมควรจะใช้รูปแบบเดิมที่เราเคยให้สัมปทานเพราะเราไม่รู้ข้อมูลมากเท่านี้หรือไม่?
ลองคิดดูว่าจากเอกสารรายละเอียดของกระทรวงพลังงานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ในอ่าวไทย 6 แปลงนั้นมีปริมาณงานและเงินขั้นต่ำ ซึ่งเป็นข้อผูกพันช่วงที่ 1 ในการสำรวจ คือ แปลงละ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (112 ล้านบาท) รวม 6 แปลง ก็เพียงแค่ 672 ล้านบาท ต่อให้มีการจ่ายเงินรวมกับค่าเงินให้เปล่าในการลงนามสัญญา 6 แปลง อีก 330 ล้านบาท ก็ได้เพียง 1,002 ล้านบาท สำหรับค่าเปิดขุมทรัพย์ 619,000 ล้านบาท อย่างนี้หรอกหรือที่เขาเรียกว่า คุ้มค่า?
ด้วยเพราะกระทรวงพลังงานได้รู้ข้อมูลแล้วว่าพื้นที่ใดมีศักยภาพ จึงสามารถกำหนดเกณฑ์ เงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature Bonus) ให้ไม่เท่ากันตามเอกสารในหน้าที่ 9 ที่ระบุว่า G3/57, G5/57 และ G6/57 เงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature Bonus) 100 ล้านบาท L6/57, และ L23/57 เงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา 2 ล้านบาท
ส่วนแปลงอื่นๆ ที่เหลือรวมถึง G1/57, G2/57, G4/57 เงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา 10 ล้านบาท
การที่จำแนกในการจ่ายเงินให้เปล่าในวันลงนามในสัญญาที่ไม่เท่ากัน กระทรวงพลังงานย่อมรู้อยู่แล้วว่าปริมาณและโอกาสของแต่ละแปลงสัมปทานมีไม่เท่ากันจริงหรือไม่จากการมีข้อมูลสำรวจเบื้องต้นแล้ว
ลองคิดดูว่าผู้ที่จะรับสัมปทานที่อยู่ดีๆ จะมาจ่ายเงินให้เปล่าในวันลงนามในสัญญาถึง 100 ล้านให้กับแปลงสัมปทาน G3/57, G5/57 และ G6/57 เพื่ออะไร? ทั้งๆ ที่ในทะเล ยังมีแปลงสัมปทานในทะเลอื่นๆ คือ G1/57, G2/57 และ G4/57 ที่จะต้องจ่ายเงินให้เปล่าในวันลงนามในสัญญาเพียงแค่แปลงละ 10 ล้านบาท ถ้าศักยภาพไม่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จริงหรือไม่?
ด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ ในหน้าที่ 9 ของเอกสารชิ้นนี้ ถึงต้องตั้งคำถามแทนผู้ที่จะมารับสัมปทานว่า
Are these minimum signature bonus worth paying for it?
หรือแปลเป็นไทยก็คือ “เงินให้เปล่าในวันลงนามในสัญญาเหล่านี้คุ้มค่าที่จะจ่ายหรือไม่?”
และนั่นเป็นเหตุผลตามมาที่ทำให้กระทรวงพลังงานจึงได้เปิดเผยการมีข้อมูลการสำรวจในแปลงสัมปทานหลายแปลงให้ผู้รับสัมปทานทราบ ใช่หรือไม่?
นั่นย่อมแปลว่ากระทรวงพลังงานย่อมมีข้อมูลอยู่แล้วว่าแปลงใดมีศักยภาพมากกว่าแปลงใดจากการสำรวจแล้วนั่นเอง จึงนำเสนอให้ผู้ที่จะรับสัมปทานยอมรับได้ว่าเหตุใดผู้รับสัมปทานแต่ละแปลงจึงจ่ายเงินให้เปล่าในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature bonus) ไม่เท่ากัน จริงหรือไม่?
แต่บางครั้งก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ทำไมแปลงที่ G4/2557 ซึ่งกระทรวงพลังงานประเมินมูลค่าน้ำมันและปิโตรเลียม ได้ประมาณ 218,460 ล้านบาท จึงได้พิจารณาให้จ่ายเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature Bonus) เพียงแค่ 10 ล้านบาท !!!?
ทั้งๆ ที่แปลงสัมปทาน G3/2557 ซึ่งกระทรวงประเมินปิโตรเลียมว่าจะมีมูลค่าประมาณ 113,600 ล้านบาท และ แปลงสัมปทาน G6/2557 ซึ่งกระทรวงพลังงานประเมินมูลค่าเอาไว้ที่ 34,432 ล้านบาท ซึ่งล้วนแล้วแต่ต่ำกว่า G4/2557 ทั้งสิ้น แต่กลับต้องจ่ายเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา (Minimum Signature Bonus) ถึงแปลงละ 100 ล้านบาท ใช่หรือไม่?
ใครเห็นข้อมูลนี้ก็ต้องตั้งคำถามว่า ตกลงแล้ว แปลงสัมปทาน G4/2557 มีดีพิเศษอย่างไร ถึงได้มีการประเมินมูลค่าสูงกว่า แต่จ่ายเงินในวันลงนามในสัญญาต่ำกว่า? ทั้งๆ ที่นอกจากจะอยู่ในแอ่งปัตตานีแล้ว ยังอยู่รายล้อมด้วยพื้นที่ซึ่งมีการผลิตอยู่แล้ว เช่น แหล่งไพลิน ฯลฯ อีกด้วย?
การที่เราใช้ระบบสัมปทานเพราะเราเชื่อว่า เราไม่ควรสำรวจเอง มีความเสี่ยงที่จะไม่พบ กระเปาะเล็ก ไม่มีศักยภาพ แต่ถึงขนาดที่กระทรวงพลังงานแยกแยะความคุ้มค่าและการเรียกเก็บเงินในวันลงนามในสัญญาแตกต่างๆ กันได้แล้วนั้น เมื่อมีการสำรวจแล้วพบว่าทรัพยากรปิโตรเลียมมีศักยภาพในแปลงใดแล้ว เหตุใดจึงไม่เปลี่ยนระบบให้ปิโตรเลียมในแปลงที่มีศัยกภาพเหล่านั้นให้ตกเป็นของรัฐ ในระบบแบ่งปันผลผลิต หรือในระบบจ้างผลิต แทนการสัมปทานที่อ้างว่าเราไม่มีข้อมูลและมีความเสี่ยงว่าจะไม่พบปิโตรเลียม จริงไหม?
ไหนว่ากระเปาะเล็ก? (ตอนที่ 3) /โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 มีประเด็นคำถามและข้อสังเกต เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
ลิงค์อ้างอิง : http://www.dmf.go.th/petroleum_forum/2014/Petroleum%20Potential%20of%20Thailand%20for%20the%2021st%20Bidding%20Round_Gulf%20of%20Thailand%20By%20Mr.%20Trin%20Intaraprasong.pdf
4. ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่รัฐแจ้งกับประชาชนว่าเราจะได้มากนั้น แท้ที่จริงแล้วจากตารางดังกล่าวยังได้ระบุค่า K (ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ) ซึ่งจะนำค่านี้ไปรวมกับ ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะทั้งหมด (เมตร) ก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไหร่แล้วจึงนำไปเป็นตัวหารกับจำนวนรายได้ต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้ออกมาต่ำกว่าที่กำหนดผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับการยกเว้นเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ทันที เพราะเหตุใดในปี 2532 รัฐกำหนดค่า K ในอ่าวไทยเอาไว้เพียง 150,000 เมตร บัดนี้รัฐได้เพิ่มตัวช่วยหารนี้มากถึง 600,000 เมตร จะเป็นผลทำให้รัฐจะได้ผลตอบแทนพิเศษน้อยกว่าเดิมมากจริงหรือไม่? และเป็นการเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนมากไปหรือไม่?
5. ในปี 2532 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 18 เหรียญต่อบาร์เรล รัฐได้กำหนดให้ส่วนลดพิเศษ (Special Reduction หรือในตารางคือค่า SR) ให้กับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่ต้องจ่ายให้รัฐอยู่ที่ 0% เพราะเห็นว่าผู้ลงทุนเอกชนไม่จำเป็นต้องได้ส่วนลดพิเศษใดๆ แล้ว แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 59.27 เหรียญต่อบาเรล เหตุใดตารางที่นำเสนอให้เอกชนจึงระบุให้ค่าส่วนลดพิเศษสูงขึ้นไปทุกแปลงถึง 35%?
ยังไม่นับคำถามอีกมากถึงจุดอ่อนในระบบสัมปทานปัจจุบัน ที่คิดค่าภาคหลวงบนฐานของรายได้จาการขายปิโตรเลียม ถ้าเพียงแค่ผู้รับสัมปทานขายไปให้บริษัทลูกหรือบริษัทในเครือในราคาต่ำกว่าราคาตลาดเพื่อลดรายได้ หลบเหลี่ยงค่าภาคหลวง หลีกเลี่ยงผลตอบแทนพิเศษ หลบเลี่ยงภาษีเงินได้ แล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ?
จากข้อมูลและเหตุผลข้างต้น เมื่อมีข้อมูลรู้ว่าแปลงสัมปทานในอ่าวไทยมีศักยภาพเช่นนี้ รัฐจึงควรกำหนดเป็นนโยบายในการทำให้ปิโตรเลียมเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเอง มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพื่อการสำรวจเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่กระทรวงพลังงานประเมินเองกว่า 600,000 ล้านบาท แม้จะอ้างว่ารัฐบาลไทยไม่มีความสามารถที่จะสำรวจหรือผลิตเอง รัฐบาลก็สามารถจ้างเอกชนสำรวจได้ (เงินมีอยู่แล้วในกองทุนน้ำมันที่รัฐเก็บจากประชาชนจนกำไรไป 35,000 กว่าล้านบาท) เมื่อพบว่ามีปิโตรเลียมมากก็สามารถจ้างเอกชนเพื่อผลิตได้ และหากมีเหตุอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนในการขุดเจาะก็สามารถเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแล้วแข่งกันเสนอผลตอบแทนให้รัฐในระบบแบ่งปันผลผลิตได้ จริงไหม?