xs
xsm
sm
md
lg

ชาวเน็ตยื่น สปช.-กมธ.ยกร่างฯ ร้องทบทวน กม.เศรษฐกจดิจิตอล ชี้ละเมิดสิทธิ์ชัด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง พร้อมเครือข่าย นำทีมยื่นจดหมายโฆษก กมธ.ยกร่างฯ และประธาน กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารฯ เรียกร้องทบทวนร่าง กม.เศรษฐกิจดิจิตอล ชี้ละเมิดสิทธิกว้างขวาง เน้นความมั่นคงมากกว่าส่งเสริมเศรษฐกิจ ขาดกลไกตรวจสอบอำนาจรัฐ ส่อคุกคามเสรีภาพชัด แถมไม่ฟังความเห็นชาวบ้าน “จุมพล” บอกไม่ต้องกังวล “คำนูณ” พร้อมชง กมธ.ศึกษา



วันนี้ (3 ก.พ.) ที่รัฐสภา น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง พร้อมองค์กรเครือข่าย สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน มูลนิธิโลกสีเขียว และสมาคมตาบอดแห่งประเทศไทยเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายจุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ ​นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเรียกร้องให้มีการพิจารณาทบทวน และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไปต่อชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล

น.ส.สฤณีกล่าวว่า กฎหมายชุดนี้ไม่ใช่กฎหมายทั่วไปที่ว่าด้วยการทำงานของรัฐแต่เป็นกฎหมายเชิงโครงสร้างและเชิงปฏิรูป ที่จะยกเครื่องการทำงานด้านทรัพยากรคลื่นความถี่ การสื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งยังเป็นการวางรากฐาน “เศรษฐกิจดิจิตอล” เป็นครั้งแรกดังนั้นสภาปฏิรูปหรือฝ่ายต่างๆ ควรรับรู้และหาทางแก้ไข ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสี่ยงในการบริหารประเทศ นอกจากนี้ สาระสำคัญของชุดกฎหมายละเมิดสิทธิอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิในการแสดงออก สิทธิส่วนบุคคล คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สปช. ควรเข้ามาพิจารณาและหาแนวทางเพื่อทำงานกับรัฐบาลหรือฝ่ายยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะท้ายที่สุดแล้วกฎหมายชุดนี้ อาจจะไปละเมิดสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหลัง ครม.มีมติเห็นชอบชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล หลายฝ่ายแสดงความกังวลต่อชุดกฎหมายดังกล่าวจำนวนมากว่ากระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง แม้ว่าภาครัฐจะชี้แจงว่ายังอยู่ในขั้นตอนรับหลักการเท่านั้น แต่น่าสังเกตว่าชุดร่างกฎหมายนี้สะท้อนเรื่องความมั่นคงมากว่าการส่งเสริมเศรษฐกิจ สาระของร่างกฎหมายดังกล่าวมีข้อกังวลที่อาจกระทบสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานหลายประการ อาทิ การให้อำนาจหน่วยงานและเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวาง การขาดกลไกตรวจสอบอำนาจรัฐและกลไกคุ้มครองสิทธิที่ชัดเจนอาจคุกคามหรือรอนสิทธิภาพต่าๆง นอกจากนี้ ยังไม่มีการรับประกันสัดส่วนจากผู้แทนด้านสิทธิ เช่น คณะกรรมการตามร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ไม่มีกรรมการโดยตำแหน่งที่มาจากด้านสิทธิเสรีภาพหรือการคุ้มครองผู้บริโภคเลยแม้แต่ตำแหน่งเดียว

นอกจากนี้ กระบวนการร่างกฎหมายทั้งหมด ไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นและไม่มีกระบวนการการมีส่วนร่วมจากประชาชน แม้ว่า ณ ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางภาครัฐได้ดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห้นเพื่อรวมรวมส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ถือได้ว่ายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ที่จะทำให้ประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มเข้ามีมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง

อีกทั้งเครือข่ายพลเมือเน็ตรณรงค์ให้มีการหยุดชุดกฎหมาย “ความมั่นคงดิจิตอล” เมื่อวันที่ 22 ม.ค. ผ่านเว็บไซต์ change.org และมีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแล้ว 20,678 ราย เพื่อเรียกร้องให้มีการชะลอกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชาชนจากทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายนี้ โดยที่มีกลไกหรือกติการ่วมให้ภาคประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นได้ในรูปแบบที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่ากฎหมายชุดนี้จะไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และจะสารมารถสร้างเศรษฐกิจดิจิตอลได้

นางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธานสภาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน กล่าวถึงภาพรวมของชุดกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นการย้อนกลับของอำนาจในการจัดสรรคลื่นที่เป็นทรัพยากรของชาติ ให้กลับไปอยู่ในอำนาจของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่สวนทางกับแนวทางการปฏิรูปสื่อและกิจการโทรคมนาคมต่างๆ แม้ว่าที่ผ่านมานับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 การปฏิรูปดังกล่าวจะยังไม่เห็นผลตามเจตนารมณ์มากนัก เพราะการจะปฏิรูปให้สำเร็จเป็นสิ่งที่จะต้องใช้เวลา และการให้เวลาถือเป็นสิ่งที่จะพิสูจน์ความจริงใจต่อการปฏิรูปของประเทศ หากกฎหมายชุดนี้ผ่านก็สรุปได้เลยว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่แอบอิงอยู่กับอำนาจของหน่วยงานภาครัฐมากกว่าการทำเพื่อพัฒนาประเทศ รวมถึงยังเป็นการตอกย้ำว่า การปฏิรูปที่ไม่เกิดผลที่ผ่านมาเพราะมีอำนาจดังเดิมเขามาแทรกแซงอยู่เสมอ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าการปฏิรูปถือเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยภายในประเทศไทย

ด้านนายจุมพลกล่าวว่า ตนในนามประธาน กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี เรื่องที่นำมายื่น อยู่ในกระบวนการการศึกษาเพื่อที่จะนำมาเป็นแนวคิดหรือแนวทางในเรื่องของการปฏิรูปสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศในอนาคต รวมถึงเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ ต้องบอกว่าเราได้นำมาพิจารณาแล้ว จึงอยากฝากบอกว่าไม่ต้องกังวล เราได้รับหนังสือไว้และพร้อมที่จะนำเอาไปเป็นข้อคิดหรือเป็นแนวในการศึกษาด้วย

ขณะที่นายคำนูณกล่าวว่า ในฐานะโฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญตนจะนำจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ไปทำสำเนาแจกให้ กมธ.ยกร่างฯ ทั้ง 36 คนพิจารณาศึกษาต่อไป เพราะเรื่องเสรีภาพเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐธรรมนูญ 2550 ร่วมถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่าง มีความมุ่งหมายที่จะขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยกันทั้งนั้น เรายินดีที่จะรับไปศึกษา







กำลังโหลดความคิดเห็น