xs
xsm
sm
md
lg

อนุ กมธ.เสนอตรากฎหมายกระจายอำนาจให้ชัดเจน - “โภคิน” แจงข้อเสนอปฏิรูป 12 ธ.ค.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โภคิน พลกุล (ภาพจากแฟ้ม)
เผยอนุ กมธ.การกระจายอำนาจ เสนอให้มีกฎหมายเป็นกระบวนการต่อเนื่องชัดเจน และเป็นหน่วยงานหลักจัดบริการสาธารณะพื้นฐานในท้องถิ่น รวมทั้งมีอิสระในการบริหารจัดการ มีโครงสร้างรูปแบบที่หลากหลาย แต่ยึดโยงกับประชาชน เผยที่ผ่านมาไม่มีการตรากฎหมายประกอบไว้ให้ชัดเจน อีกด้าน “โภคิน” และก๊วนเพื่อไทยแจงข้อเสนอเรื่องการปฏิรูป 12 ธ.ค.นี้


วันนี้ (8 ธ.ค.) พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาข้อเสนอกรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญในส่วนของภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 7 การกระจายอำนาจ และการปกครองท้องถิ่น ที่มี นพ.กระแส ชนะวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ โดยเห็นว่าการกระจายอำนาจมีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม ที่ผ่านมามีปัญหาการแก้ไขปัญหาการกระจายอำนาจขาดความต่อเนื่องไม่ชัดเจน เพราะฝ่ายบริหารไม่ให้ความสำคัญอย่างแท้จริง

อนุกรรมการฯ จึงเห็นควรให้มีการบรรจุหลักการสำคัญเกี่ยวกับการกระจายอำนาจไว้ในร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 1. การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นมีความจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและสร้างประชาธิปไตยในระดับรากฐาน 2. ให้มีกฎหมายที่มีสาระสำคัญที่จะทำให้การกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน ชุมชนโดยเป็นกระบวนการต่อเนื่องมีทิศทางที่ชัดเจน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นหน่วยงานหลักในการจัดบริการสาธารณะพื้นฐานในท้องถิ่น และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของท้องถิ่น

4. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขประเด็นปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ 5. ปรับปรุงระบบการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกด้านเช่น ด้านการคลัง การจัดการรายได้ และการบริหารงานบุคคลเป็นต้น 6. เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอิสระในการบริหารจัดการ การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐ ต้องทำเท่าที่จำเป็นตามกรอบกฎหมาย และมีมาตรฐานกลาง 7. ต้องปรับระบบระหว่างราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ให้ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ 8. เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีโครงสร้างรูปแบบที่หลากหลาย แต่ยึดโยงกับประชาชน และมีศักยภาพในการให้บริการกับท้องถิ่น 9. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการเป็นเจ้าของ เช่นให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจในบริการสาธารณะที่มีผลกระทบกับประชาชน

“แม้ในรัฐธรรมนูญปี 50 จะมีบทบัญญัติที่ระบุถึงการกระจายอำนาจโดยกว่า 10 มาตรา โดยให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร แต่ก็ไม่มีการตรากฎหมายประกอบไว้ให้ชัดเจน ทำให้การบังคับใช้ที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอนุกรรมาธิการก็ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าอยากให้บัญญัติกฎหมายเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบต่างๆ ไมว่าจะเป็นกฎหมายรายได้ กฎหมายบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ทั้งนี้อนุกรรมาธิการยังไม่ได้มีการเสนอในเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง หรือการปรับโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนถิ่น ที่ในสังคมมีข้อเสนอให้ยุบองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพราะมีภารกิจทับซ้อน โดยทางอนุฯ ต้องรับฟังความคิดเห็นของที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเสียก่อน” พล.อ.เลิศรัตน์กล่าว

พล.อ.เลิศรัตน์ยังกล่าวอีกว่า ในวันพรุ่งนี้ (9 ธ.ค.) กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะได้มีการพิจารณาข้อเสนอในเรื่องการสร้างความปรองดอง ของอนุกรรมาธิการชุดที่มีนายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน จากนั้นในวันที่ 11 ธ.ค.ก็จะพิจารณาข้อเสนอของอนุกรรมาธิการชุดที่ 8 ในเรื่องขององค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ และในวันที่ 12 ธ.ค. เวลา 09.00 น. จะได้มีการรับฟังข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปจากนายโภคิน พลกุล คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยและผู้แทน


กำลังโหลดความคิดเห็น