กลุ่มเกษตรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ยื่น คสช.หลังเกิดสุญญากาศไม่มีกระบวนการตั้ง คกก.ใหม่ กองทุนฟื้นฟู การเมืองเข้ามาแทรกแซง เผยยื่น 3 รอบเรื่องไม่คืบ ขอแก้ด่วนตั้ง คกก.ชั่วคราว พร้อมระงับคดีเกี่ยวกับหนี้เกษตรกร แนะให้ปลูกไม้ ศก.เพื่อนำไปค้ำหนี้แทนที่ดิน-ปธ.บุคลากรการศึกษา ชงข้อเสนอ คสช.ยกระดับครูผู้ช่วยเป็น ขรก. เพื่อความมั่นคง
วันนี้ (4 ส.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นำโดย น.ส.กิมอัง พงษ์นารายณ์ เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะคณะกรรมการกองทุนฯ ได้หมดวาระลงและไม่ได้เข้าสู่กระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เนื่องจากมีการเข้าควบคุมอำนาจการบริหารราชการของ คสช. ซึ่งเดิมนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานกองทุนฯ โดยตำแหน่ง ทำให้เกิดสูญญากาศในการทำงานของกองทุนดังกล่าว ประกอบกับมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงทำให้ดำเนินการได้ล้าช้า และเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ และมีปัญหาหนี้สินถูกเพิกเฉย ไม่สามารถจัดการหนี้จนถูกยึดที่ดินและขายทอดตลาดที่ดินจนไม่มีที่ดินทำกิน
น.ส.กิมอังกล่าวว่า ตนเคยยื่นเรื่องดังกล่าวมาแล้ว 3 ฉบับ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า จึงอยากให้ คสช.แก้ปัญหาโดยเร่งด่วน โดยการตั้งคณะกรรมการชั่วคราวเพื่อให้กองทุนเดินหน้าต่อได้ และขอให้ คสช.ใช้อำนาจในการระงับการบังคับคดีเกี่ยวกับหนี้สินของเกษตรกร และให้มีการผ่อนผันหนี้ให้เกษตรกรออกไปก่อน
นอกจากนี้ ได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้สินให้เกษตร โดยทำให้เกษตรกรมีหลักทรัพย์โดยให้ปลูกไม้เศรษฐกิจที่ใช้เนื้อไม้ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจและให้รัฐรับรองว่าต้นไม้ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่สามารถนำต้นไม้ไปค้ำประกันหนี้สิน แทนที่ดินได้ ซึ่งหากต้นไม้เติบโตให้รัฐยึดต้นไม้แทนที่ดิน แต่ที่ผ่านมาสมาชิกฯ ส่วนใหญ่เอาที่ดินไปจำนองกับเจ้าหนี้ ซึ่งขณะนี้ที่ดินกำลังจะถูกยึด ส่งผลให้เกษตรกรไม่มีที่ดินทำกิน สร้างความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก
ด้านนายปัญญา คิดชัย ประธานชมรมบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย นำตัวแทนบุคลากร เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำข้อเสนอของบุคลากรทางการศึกษาจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ที่ต้องการเป็นข้าราชการตำแหน่งครูผู้ช่วยและพนักงานราชการ เพื่อความมั่นคงในการปฎิบัติหน้าที่
โดยมีข้อเสนอทั้งหมด 5 ข้อ คือ 1. อัตราจ้าง ลูกจ้าง พนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ครูพี่เลี้ยง และวิทยาการสอนศาสนาอิสลามศึกษา ที่มีอายุงานครบ 3 ปี ปรับเป็นข้าราชการทันที 2. อัตราจ้าง ลูกจ้าง ที่มีอายุงานไม่ครบ 3 ปี ปรับเป็นพนักงานราชการ เมื่อมีอายุการทำงานครบ 3 ปี ปรับเป็นข้าราชการ ตามลำดับต่อไป 3. ครูที่มีอายุงานครบ 10 ปีขึ้นไป เมื่อปรับเป็นข้าราชการ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ให้นำอายุงานติดตามตัวไปด้วย 4. บรรจุโดยไม่ระบุวิชาเอก และ 5. เมื่อได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำแหน่งครูผู้ช่วย ให้ตัดตำแหน่งเดิมออกทันทีเพื่อลดปัญหาการร้องขอในอนาคต
วันนี้ (4 ส.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นำโดย น.ส.กิมอัง พงษ์นารายณ์ เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะคณะกรรมการกองทุนฯ ได้หมดวาระลงและไม่ได้เข้าสู่กระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เนื่องจากมีการเข้าควบคุมอำนาจการบริหารราชการของ คสช. ซึ่งเดิมนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานกองทุนฯ โดยตำแหน่ง ทำให้เกิดสูญญากาศในการทำงานของกองทุนดังกล่าว ประกอบกับมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงทำให้ดำเนินการได้ล้าช้า และเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ และมีปัญหาหนี้สินถูกเพิกเฉย ไม่สามารถจัดการหนี้จนถูกยึดที่ดินและขายทอดตลาดที่ดินจนไม่มีที่ดินทำกิน
น.ส.กิมอังกล่าวว่า ตนเคยยื่นเรื่องดังกล่าวมาแล้ว 3 ฉบับ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า จึงอยากให้ คสช.แก้ปัญหาโดยเร่งด่วน โดยการตั้งคณะกรรมการชั่วคราวเพื่อให้กองทุนเดินหน้าต่อได้ และขอให้ คสช.ใช้อำนาจในการระงับการบังคับคดีเกี่ยวกับหนี้สินของเกษตรกร และให้มีการผ่อนผันหนี้ให้เกษตรกรออกไปก่อน
นอกจากนี้ ได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้สินให้เกษตร โดยทำให้เกษตรกรมีหลักทรัพย์โดยให้ปลูกไม้เศรษฐกิจที่ใช้เนื้อไม้ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจและให้รัฐรับรองว่าต้นไม้ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่สามารถนำต้นไม้ไปค้ำประกันหนี้สิน แทนที่ดินได้ ซึ่งหากต้นไม้เติบโตให้รัฐยึดต้นไม้แทนที่ดิน แต่ที่ผ่านมาสมาชิกฯ ส่วนใหญ่เอาที่ดินไปจำนองกับเจ้าหนี้ ซึ่งขณะนี้ที่ดินกำลังจะถูกยึด ส่งผลให้เกษตรกรไม่มีที่ดินทำกิน สร้างความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก
ด้านนายปัญญา คิดชัย ประธานชมรมบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย นำตัวแทนบุคลากร เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำข้อเสนอของบุคลากรทางการศึกษาจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ที่ต้องการเป็นข้าราชการตำแหน่งครูผู้ช่วยและพนักงานราชการ เพื่อความมั่นคงในการปฎิบัติหน้าที่
โดยมีข้อเสนอทั้งหมด 5 ข้อ คือ 1. อัตราจ้าง ลูกจ้าง พนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ครูพี่เลี้ยง และวิทยาการสอนศาสนาอิสลามศึกษา ที่มีอายุงานครบ 3 ปี ปรับเป็นข้าราชการทันที 2. อัตราจ้าง ลูกจ้าง ที่มีอายุงานไม่ครบ 3 ปี ปรับเป็นพนักงานราชการ เมื่อมีอายุการทำงานครบ 3 ปี ปรับเป็นข้าราชการ ตามลำดับต่อไป 3. ครูที่มีอายุงานครบ 10 ปีขึ้นไป เมื่อปรับเป็นข้าราชการ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ให้นำอายุงานติดตามตัวไปด้วย 4. บรรจุโดยไม่ระบุวิชาเอก และ 5. เมื่อได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำแหน่งครูผู้ช่วย ให้ตัดตำแหน่งเดิมออกทันทีเพื่อลดปัญหาการร้องขอในอนาคต