เครือข่ายเกษตรกรเพื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าและยั่งยืน จ.สงขลา ร้องหัวหน้า คสช. หลังเดือดร้อนโครงการเลี้ยงกุ้งกุลาดำไม่โปร่งใส ถูกยกเลิกก่อนหมดสัญญา จี้จัดการ
วันนี้ (9 ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 09.00 น. เครือข่ายเกษตรกรเพื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าและยั่งยืน จ.สงขลา นำโดยนายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานเครือข่ายฯ ได้มายื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อน หลังจากได้เข้าร่วมโครงการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ กับบริษัท แอควาสตาร์ จำกัด เมื่อปี 2531 ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการถึง 779 ราย จำนวน 1.060 บ่อ แต่เนื่องจากการบริหารโครงการไม่โปร่งใส มีการทุจริต และมีการยกเลิกโครงการก่อนกำหนด ซึ่งกำหนดโครงการ 25 ปี ทำสัญญาครั้งแรก 10 ปี แต่ทำมาได้ 7 ปี ทางบริษัทกลับสั่งตัดน้ำ ตัดไฟ ไม่สูบน้ำให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายและเดือดร้อนมากเนื่องจากถูกธนาคารฟ้องร้องดำเนินคดียึดทรัพย์และฟ้องล้มละลายตั้งแต่ปี 2540 และยังไม่มีส่วนราชการใดเข้ามาแก้ปัญหา
นายกาจบัณฑิตกล่าวต่อว่า ขอเรียกร้องให้คสช.สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบข้อเท็จจริงกับบริษัทเอกชนที่ไม่ดำเนินการตามสัญญา ดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ คณะผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องที่ทุจริตฉ้อโกง ให้กรมที่ดินแบ่งแยกที่ดินเป็นรายบ่อตามเอกสารบ่อกุ้ง ตรวจสอบเงินค้ำประกันสัญญาบ่อบริษัท ประมาณ 175 ล้านบาท และสนับสนุนงบประมาณให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร รับซื้อที่ดินจากธนาคาร และนำมาให้เกษตรกรที่ต้องการจะซื้อคืน โดยขายเกษตรกรในราคาร้อยละ 40 ของราคาที่กองทุนซื้อมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไม่ให้มีหนี้สิน ไม่ต้องล้มละลายจากการกระทำของกลุ่มที่หาประโยชน์บนคราบน้ำตาของเกษตรกร
วันนี้ (9 ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 09.00 น. เครือข่ายเกษตรกรเพื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าและยั่งยืน จ.สงขลา นำโดยนายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานเครือข่ายฯ ได้มายื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อน หลังจากได้เข้าร่วมโครงการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ กับบริษัท แอควาสตาร์ จำกัด เมื่อปี 2531 ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการถึง 779 ราย จำนวน 1.060 บ่อ แต่เนื่องจากการบริหารโครงการไม่โปร่งใส มีการทุจริต และมีการยกเลิกโครงการก่อนกำหนด ซึ่งกำหนดโครงการ 25 ปี ทำสัญญาครั้งแรก 10 ปี แต่ทำมาได้ 7 ปี ทางบริษัทกลับสั่งตัดน้ำ ตัดไฟ ไม่สูบน้ำให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายและเดือดร้อนมากเนื่องจากถูกธนาคารฟ้องร้องดำเนินคดียึดทรัพย์และฟ้องล้มละลายตั้งแต่ปี 2540 และยังไม่มีส่วนราชการใดเข้ามาแก้ปัญหา
นายกาจบัณฑิตกล่าวต่อว่า ขอเรียกร้องให้คสช.สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบข้อเท็จจริงกับบริษัทเอกชนที่ไม่ดำเนินการตามสัญญา ดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ คณะผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องที่ทุจริตฉ้อโกง ให้กรมที่ดินแบ่งแยกที่ดินเป็นรายบ่อตามเอกสารบ่อกุ้ง ตรวจสอบเงินค้ำประกันสัญญาบ่อบริษัท ประมาณ 175 ล้านบาท และสนับสนุนงบประมาณให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร รับซื้อที่ดินจากธนาคาร และนำมาให้เกษตรกรที่ต้องการจะซื้อคืน โดยขายเกษตรกรในราคาร้อยละ 40 ของราคาที่กองทุนซื้อมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไม่ให้มีหนี้สิน ไม่ต้องล้มละลายจากการกระทำของกลุ่มที่หาประโยชน์บนคราบน้ำตาของเกษตรกร