ASTVผู้จัดการ - กระทรวงต่างประเทศเผย คนไทย 121 คนประสงค์ย้ายออกจากอิสราเอล โดยออกจากพื้นที่ไปแล้ว 85 คน เสนอ คสช. หนุนแก้ปัญหางาช้าง ยันคนไทย 3,500 คนไม่ได้รับผลกระทบจากก๊าซระเบิดในเกาสง ไต้หวัน เตือนคนไทยหลีกเลี่ยงไปกินี เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย เหตุอีโบลาระบาด
นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในอิสราเอล ล่าสุดช่วงเย็นวันที่ 1 ส.ค.สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้แจ้งข้อมูลล่าสุดเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน มีแรงงานแจ้งความประสงค์ในการเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่แล้วจำนวน 121 คน ในจำนวนนี้ ย้ายออกจากพื้นที่แล้ว 85 คน รอรับการเคลื่อนย้าย 12 คน และเปลี่ยนใจขอทำงานที่เดิม 24 คน ซึ่งหากมีคนไทยแจ้งขอย้ายเพิ่มเติม สถานเอกอัครราชทูตฯ และฝ่ายแรงงานจะเร่งรัดดำเนินการในโอกาสแรก ทั้งนี้ ทางการอิสราเอลได้สร้างที่หลบภัยเพิ่มเติมในนิคมเกษตรกรรมที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีตามที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ร้องขอด้วย
• เสนอ คสช.หนุนแก้ปัญหาค้างาช้าง
นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงปัญหาการค้างาช้างโดยผิดกฎหมาย
ตามที่การประชุมอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 มีมติให้ไทยต้องรายงานความคืบหน้าในการดาเนินการตามแผนปฏิบัติการของประเทศในการป้องกันการค้างาช้าง (National Ivory Action Plan - NIAP) ต้องรายงานความคืบหน้าใน 3 ระยะ นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ได้รวบรวมประเด็นการปรับกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เสนอหัวหน้าฝ่ายสังคมของ คสช. พิจารณาแล้ว ซึ่งหากไทยสามารถดำเนินการปรับกฎระเบียบและบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้อย่างจริงจังโดยเร็ว ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาการค้างาช้างโดยผิดกฎหมายลง และสามารถดาเนินการได้ตามกำหนดของ CITES
• สหรัฐ อียู เริ่มเข้าใจเอกชน-ภาครัฐไทย เร่งแก้ปัญหาค้ามนุษย์ เน้นอุตสาหกรรมประมง
นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์
ขณะนี้ไทยได้เร่งดำเนินการตามหลักการ 5P ได้แก่ การดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย (Prosecution) การคุ้มครองและเยียวยา (Protection and Recovery) การป้องกัน (Prevention) การกำหนดนโยบายและกลไกผลักดันนโยบาย (Policy and Mechanism) การสร้างหุ้นส่วนกับภาคประชาสังคมและระหว่างประเทศ (Partnership) นอกจากนี้ ภาครัฐและเอกชนของไทยได้ดำเนินการชี้แจงต่อต่างประเทศมาโดยตลอด โดยในช่วงที่ผ่านมามีกิจกรรมหลายประการ อาทิ การเยือนสหรัฐอเมริกาของคณะผู้แทนไทยนำโดยอธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้เพื่อเข้าพบและชี้แจงให้ข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐฯ ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งบริษัทผู้ซื้อสินค้าประมงรายสำคัญ ซึ่งได้รับผลตอบรับในเชิงบวกและภาคเอกชนสหรัฐฯ ได้แสดงความเข้าใจและเชื่อมั่นต่อไทยและยังยืนยันที่จะสั่งซื้อสินค้าไทยต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการเยือนไทยของคณะผู้ค้าปลีกต่างประเทศที่สั่งซื้อสินค้าประมงไทยเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 ซึ่งบริษัทของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร (Tesco Lotus) และผู้ซื้อสินค้าของบริษัท CPF ทั่วยุโรป มาดูอุตสาหกรรมประมงไทยทำให้เกิดความเชื่อมั่นโดยบริษัทในสหรัฐฯ ยังคงสั่งซื้อสินค้าประมงไทยต่อไป ไม่มีการสั่งห้ามซื้อสินค้าเหล่านี้ ขณะที่ทางบริษัทฝ่ายอียูมีความหวั่นไหวอยู่บ้าง แต่ไม่มีผลกระทบในวงกว้าง
ในส่วนของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังได้มีการจัดเวทีสื่อสารสาธารณะเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ที่โรงแรม Plaza Athenee (ในวันที่ 1 สิงหาคม 2557) เพื่อสื่อสารความคืบหน้าในการดำเนินการของภาครัฐและกระทรวงแรงงานก็กำลังเสนอ คสช. ในการปรับกฏกระทรวงแรงงานให้คุ้มครองแรงงานประมงในทุกมิติและออกคาสั่งให้เจ้าของเรือประมงต้องส่งบัญชีเรือและรายชื่อแรงงานในเรือให้ทางราชการเพื่อจัดทำฐานข้อมูลเรือและแรงงานโดยละเอียดด้วย สำหรับมาตรการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวนั้น ปัจจุบันไทยได้จัดตั้งศูนย์ One-Stop Service (OSS) แล้ว 33 แห่งทั่วประเทศ และเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 กระทรวงการต่างประเทศก็ได้นำคณะสื่อมวลชนกัมพูชามาเยี่ยมชมศูนย์ดังกล่าวที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เพื่อสร้างความมั่นใจในนโยบายของรัฐบาลไทยในการคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างชาติด้วย
• ไทยย้ำมาตรา 4 รธน.ชั่วคราวหนุนความสัมพันธ์ต่างประเทศ
นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการสร้างความเข้าใจให้ต่อองค์การด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ยังคงมีข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้ให้ความสาคัญต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ระบุชัดเจนกว่าที่ผ่านมา ว่าประเทศไทยเคารพสิทธิมนุษยชนและจะปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีอยู่ทุกประการ
• 3,500 คนไทยในไต้หวันไม่ได้รับผลกระทบก๊าซระเบิด
นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงเหตุการณ์ท่อส่งสารปิโตรเคมีระเบิด ที่เมืองเกาสง ไต้หวัน
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557เวลา 23.55 น. ได้เกิดเหตุท่อส่งสารปิโตรเคมีระเบิด ที่เมืองเกาสง ทางตอนใต้ของไต้หวัน โดยส่งผลมีผู้เสียชีวิต 24 ราย และผู้บาดเจ็บ 271 ราย ซึ่งสานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยในไทเป ได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า ไม่มีคนไทยเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว และไม่พบความเสียหายหรือผลกระทบใดๆ ต่อคนไทยในไต้หวัน ทั้งนี้ เมืองเกาสงมีคนไทยอาศัยอยู่ประมาณ 3,500 คน โดยเป็นแรงงานกว่า 2,700 คน ส่วนใหญ่ทางานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ประเภทกิจการโลหะภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ เครื่องกล
• เตือนคนไทยไป “กินี เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย” ระวังเชื้ออีโบลา
นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก กระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกคำแนะนำในการเดินทางไปภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา โดยขอให้คนไทยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย อาทิ กินี เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย และติดตามสถานะการระบาดของโรคจากเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ หากมีความจาเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด ขอให้ลงทะเบียนการเดินทางรวมถึงเที่ยวบินขาเข้า-ออก รายละเอียดที่พัก และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ให้กับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล
สาหรับมาตรการในการป้องกันการระบาดในประเทศไทย สานักงานตรวจคนเข้าเมืองและด่านควบคุมโรคท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ดาเนินมาตรการคัดกรองผู้ถือหนังสือเดินทางที่มาจากประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส