เผยคำร้อง ปชป.ร่าง พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ขัดรัฐธรรมนูญ เผย ครม.ให้กู้เงินเป็นการเฉพาะ ไม่ต้องส่งคลัง ชี้กู้เงินนอกระบบงบประมาณที่ใหญ่ที่สุด 4 เท่าของไอเอ็มเอฟ ต้องเสียดอกเบี้ยมหาศาลถึง 3 ล้านล้านบาท ในเวลา 50 ปี แถมระหว่างการพิจารณา ส.ส.เพื่อไทยเจ้าเดิมเสียบบัตรแทนกัน
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ มีรายงานว่าในร่างคำร้องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 154 ของรัฐธรรมนูญว่าร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้อง ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคเตรียมที่จะยื่นไปนั้นมีสาระสำคัญคือ การที่รัฐบาลอ้างเหตุขอกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างด้านคมนาคม และรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจการลงทุนทั้งในและระหว่างประเทศ แต่คณะรัฐมนตรีกลับมีมติให้กู้เงินเป็นการเฉพาะ นอกเหนือว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สินสาธารณะ และกำหนดวิธีการใช้จ่ายเงินเป็นการเฉพาะนอกงบประมาณรายจ่าย กฎหมายเกี่ยวกับการเงินและการคลัง ซ้ำยังเป็นการกู้เงินนอกระบบงบประมาณที่ไม่ต้องนำส่งคลังของกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และยังสามารถโยกเงินระหว่างแผนงานได้อีก
จึงน่าสังเกตว่า พ.ร.บ.กู้เงินนี้เป็นการกู้เงินนอกระบบงบประมาณที่ใหญ่ที่สุดคือมากกว่า 4 เท่าของประเทศไทยที่เคยกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และต้องเสียดอกเบี้ยมหาศาลถึง 3 ล้านล้านบาท ในเวลา 50 ปีอนาคต เป็นการย้ำชัดว่าร่าง พ.ร.บ.ขอกู้เงินนี้ไม่ได้ทำตามกรอบวินัยการเงินการคลังที่ ส.ส.หรือผู้แทนปวงชนในรัฐสภาไม่มีอำนาจแม้จะเสนอเป็น พ.ร.บ.โดยรัฐสภาให้ความเห็นชอบเพียงครั้งเดียวที่จะขอกู้เงินมหาศาลมาใช้จ่ายใน 7 ปี พบว่ามีมูลค่าเกินครึ่งของงบลงทุนตามงบประมาณประจำปีปกติ ที่รัฐสภามีสิทธิกลั่นกรองทุกปี ที่เฉลี่ยตกปีละ 2.8 แสนล้านบาท แต่งบปี 56 กลับอยู่ที่ 4.4 แสนล้านบาท จึงเป็นการใช้เงินแผ่นดินที่ไม่มีการถ่วงดุลจากรัฐสภา นอกจากนี้ยังไม่มีรายละเอียดของโครงการต่างๆ ว่าจะใช้จ่ายเท่าไหร่ กลับเป็นเพียงกรอบการลงทุนพื้นฐานที่ไร้ความชัดเจนเป็นรูปธรรม
คำร้องยังระบุต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัญหาอีกว่าในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วาระ 2 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา ในช่วงที่มีการพิจารณามาตรา 6 เสร็จสิ้น ประธานในที่ประชุมขณะนั้นคือ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาคนที่ 2 ทำหน้าที่อยู่ ได้สั่งให้ ส.ส.กดบัตรเพื่อแสดงตัวก่อนลงมติในมาตรา 6 ปรากฏว่า นายนริศร ทองธิราช ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ได้กดบัตรแสดงตนแทนเพื่อน ส.ส.รายอื่นอีก 4-5 คน และเมื่อประธานในที่ประชุมให้สัญญาณเพื่อให้ ส.ส.ลงมติในมาตรา 6 ปรากฏว่า นายนริศรได้กดบัตรเพื่อลงคะแนนเห็นชอบในมาตรา 6 แทน ส.ส. อื่นอีก 3-4 คน โดยมีคลิปบันทึกภาพและเสียงเป็นหลักฐานที่ได้ยื่นเป็นหลักฐานในการนี้ด้วย
ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 130 มาตรา 126 ทำให้ผลโหวตเป็นโมฆะ และยังขัดแย้งต่อประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ฉะนั้นร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ จึงตราขึ้นไม่ถูกตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและเป็นอันตกไปทั้งฉบับตามมาตรา 154 ของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งร่าง พ.ร.บ.นี้ ยังตราไม่ถูกต้องตามกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ โดยมีความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 3 มาตรา 57 มาตรา 66, 67 และมาตรา 169 อีกด้วย
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ มีรายงานว่าในร่างคำร้องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 154 ของรัฐธรรมนูญว่าร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้อง ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคเตรียมที่จะยื่นไปนั้นมีสาระสำคัญคือ การที่รัฐบาลอ้างเหตุขอกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างด้านคมนาคม และรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจการลงทุนทั้งในและระหว่างประเทศ แต่คณะรัฐมนตรีกลับมีมติให้กู้เงินเป็นการเฉพาะ นอกเหนือว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สินสาธารณะ และกำหนดวิธีการใช้จ่ายเงินเป็นการเฉพาะนอกงบประมาณรายจ่าย กฎหมายเกี่ยวกับการเงินและการคลัง ซ้ำยังเป็นการกู้เงินนอกระบบงบประมาณที่ไม่ต้องนำส่งคลังของกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และยังสามารถโยกเงินระหว่างแผนงานได้อีก
จึงน่าสังเกตว่า พ.ร.บ.กู้เงินนี้เป็นการกู้เงินนอกระบบงบประมาณที่ใหญ่ที่สุดคือมากกว่า 4 เท่าของประเทศไทยที่เคยกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และต้องเสียดอกเบี้ยมหาศาลถึง 3 ล้านล้านบาท ในเวลา 50 ปีอนาคต เป็นการย้ำชัดว่าร่าง พ.ร.บ.ขอกู้เงินนี้ไม่ได้ทำตามกรอบวินัยการเงินการคลังที่ ส.ส.หรือผู้แทนปวงชนในรัฐสภาไม่มีอำนาจแม้จะเสนอเป็น พ.ร.บ.โดยรัฐสภาให้ความเห็นชอบเพียงครั้งเดียวที่จะขอกู้เงินมหาศาลมาใช้จ่ายใน 7 ปี พบว่ามีมูลค่าเกินครึ่งของงบลงทุนตามงบประมาณประจำปีปกติ ที่รัฐสภามีสิทธิกลั่นกรองทุกปี ที่เฉลี่ยตกปีละ 2.8 แสนล้านบาท แต่งบปี 56 กลับอยู่ที่ 4.4 แสนล้านบาท จึงเป็นการใช้เงินแผ่นดินที่ไม่มีการถ่วงดุลจากรัฐสภา นอกจากนี้ยังไม่มีรายละเอียดของโครงการต่างๆ ว่าจะใช้จ่ายเท่าไหร่ กลับเป็นเพียงกรอบการลงทุนพื้นฐานที่ไร้ความชัดเจนเป็นรูปธรรม
คำร้องยังระบุต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัญหาอีกว่าในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วาระ 2 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา ในช่วงที่มีการพิจารณามาตรา 6 เสร็จสิ้น ประธานในที่ประชุมขณะนั้นคือ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาคนที่ 2 ทำหน้าที่อยู่ ได้สั่งให้ ส.ส.กดบัตรเพื่อแสดงตัวก่อนลงมติในมาตรา 6 ปรากฏว่า นายนริศร ทองธิราช ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ได้กดบัตรแสดงตนแทนเพื่อน ส.ส.รายอื่นอีก 4-5 คน และเมื่อประธานในที่ประชุมให้สัญญาณเพื่อให้ ส.ส.ลงมติในมาตรา 6 ปรากฏว่า นายนริศรได้กดบัตรเพื่อลงคะแนนเห็นชอบในมาตรา 6 แทน ส.ส. อื่นอีก 3-4 คน โดยมีคลิปบันทึกภาพและเสียงเป็นหลักฐานที่ได้ยื่นเป็นหลักฐานในการนี้ด้วย
ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 130 มาตรา 126 ทำให้ผลโหวตเป็นโมฆะ และยังขัดแย้งต่อประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ฉะนั้นร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ จึงตราขึ้นไม่ถูกตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและเป็นอันตกไปทั้งฉบับตามมาตรา 154 ของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งร่าง พ.ร.บ.นี้ ยังตราไม่ถูกต้องตามกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ โดยมีความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 3 มาตรา 57 มาตรา 66, 67 และมาตรา 169 อีกด้วย