ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพรุ่งนี้ ซักคำร้องวินิจฉัยงบปี 57 ลดงบตุลาการขัดกฎหมายหรือไม่ จับตารับคำร้องเบรกนายกฯ ทูลเกล้าฯ แก้ รธน.ที่มา ส.ว.หรือไม่ ด้านนักกฎหมายเชื่อสำนักราชเลขาฯ รอคำวินิจฉัยก่อน ชี้ ม.216 ระบุชัดคำสั่งมีผลผูกพันทุกองค์กร
วันนี้ (1 ต.ค.) มีรายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่า การประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประจำสัปดาห์ในพรุ่งนี้ (2 ต.ค.) นอกจากคณะตุลาการฯ จะเปิดโอกาสให้ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีสภาผู้แทนราษฏร และผู้แทน สำนักงบประมาณ สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานป.ป.ช.เข้าชี้แจง กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยคำร้องที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของ ส.ว.และส.ส.ประชาธิปัตย์ รวม 112 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2557 มาตรา 27 ในส่วนของสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง มาตรา 28 ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขัดหรือแย้ง รัฐธรรมนูญมาตรา 168 วรรคแปด วรรคเก้า หรือไม่ แล้ว
ยังมีวาระเรื่องที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา กับคณะ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร กับคณะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. เข้าข่ายเป็นการเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ และมีคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวสั่งนายกรัฐมนตรีให้ระงับการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งต้องรอดูว่าศาลฯ จะมีคำสั่งรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ และจะพิจารณาอย่างไรกับคำขอกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้ลงนามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพื่อทูลเกล้าแล้ว
ทั้งนี้ เบื้องต้นทางสำนักงานฯยืนยันว่าแม้จะมีการชุมนุมของกลุ่มมวลชนต่างๆ คณะตุลาการก็จะยังประชุมที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดหากมีการยกระดับการชุมนุม หรือเล็งเห็นว่าอาจมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นก็จะมีการแจ้งให้ทางสำนักงานพิจารณาว่าจะต้องย้ายสถานที่ประชุม ซึ่งอาจจะไปประชุมที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเดิม ย่านพาหุรัดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นจากนักกฎหมายมหาชน ต่อกรณีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ หลังนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ขึ้นทูลเกล้าฯ ว่า สถานการณ์ขณะนี้เหมือนต่างฝ่าย ต่างทำหน้าที่ตามอำนาจที่ตนเองมี ซึ่งการตรากฎหมายในทางปฏิบัติแล้วเมื่อฝ่ายบริหารมีการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้า ร่างกฎหมายจะถูกส่งไปยังสำนักราชเลขาธิการซึ่งก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องและความชอบของร่างกฎหมายดังกล่าว ก่อนที่จะเสนอความเห็นกราบบังคมทูล และเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีเวลาในขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธย 90 วัน ซึ่งเชื่อว่าทางสำนักราชเลขาธิการน่าจะที่รอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่คาดว่าไม่น่าจะใช้เวลาการพิจารณายาวนานเกินกว่า 90 วัน
อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญมาตรา 216 ก็ได้กำหนดแล้วว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ดังนั้นก็จะมีผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป นอกจากนี้ไม่เชื่อว่าการวินิจฉัยกรณีดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นหลังทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะผู้ร้องร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และขอให้ศาลฯ สั่งระงับการกระทำนั้น ศาลรัฐธรรมนูญย่อมต้องพิจารณาโดยเร็วและคำนึงว่าการจะปฏิบัติตามคำขอคือสั่งระงับนั้น จะต้องไม่ใช่ปล่อยให้สถานการณ์ล่วงเลยไปจนการสั่งระงับนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไร
วันนี้ (1 ต.ค.) มีรายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่า การประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประจำสัปดาห์ในพรุ่งนี้ (2 ต.ค.) นอกจากคณะตุลาการฯ จะเปิดโอกาสให้ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีสภาผู้แทนราษฏร และผู้แทน สำนักงบประมาณ สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานป.ป.ช.เข้าชี้แจง กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยคำร้องที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของ ส.ว.และส.ส.ประชาธิปัตย์ รวม 112 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2557 มาตรา 27 ในส่วนของสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง มาตรา 28 ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขัดหรือแย้ง รัฐธรรมนูญมาตรา 168 วรรคแปด วรรคเก้า หรือไม่ แล้ว
ยังมีวาระเรื่องที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา กับคณะ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร กับคณะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. เข้าข่ายเป็นการเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ และมีคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวสั่งนายกรัฐมนตรีให้ระงับการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งต้องรอดูว่าศาลฯ จะมีคำสั่งรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ และจะพิจารณาอย่างไรกับคำขอกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้ลงนามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพื่อทูลเกล้าแล้ว
ทั้งนี้ เบื้องต้นทางสำนักงานฯยืนยันว่าแม้จะมีการชุมนุมของกลุ่มมวลชนต่างๆ คณะตุลาการก็จะยังประชุมที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดหากมีการยกระดับการชุมนุม หรือเล็งเห็นว่าอาจมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นก็จะมีการแจ้งให้ทางสำนักงานพิจารณาว่าจะต้องย้ายสถานที่ประชุม ซึ่งอาจจะไปประชุมที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเดิม ย่านพาหุรัดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นจากนักกฎหมายมหาชน ต่อกรณีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ หลังนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ขึ้นทูลเกล้าฯ ว่า สถานการณ์ขณะนี้เหมือนต่างฝ่าย ต่างทำหน้าที่ตามอำนาจที่ตนเองมี ซึ่งการตรากฎหมายในทางปฏิบัติแล้วเมื่อฝ่ายบริหารมีการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้า ร่างกฎหมายจะถูกส่งไปยังสำนักราชเลขาธิการซึ่งก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องและความชอบของร่างกฎหมายดังกล่าว ก่อนที่จะเสนอความเห็นกราบบังคมทูล และเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีเวลาในขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธย 90 วัน ซึ่งเชื่อว่าทางสำนักราชเลขาธิการน่าจะที่รอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่คาดว่าไม่น่าจะใช้เวลาการพิจารณายาวนานเกินกว่า 90 วัน
อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญมาตรา 216 ก็ได้กำหนดแล้วว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ดังนั้นก็จะมีผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป นอกจากนี้ไม่เชื่อว่าการวินิจฉัยกรณีดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นหลังทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะผู้ร้องร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และขอให้ศาลฯ สั่งระงับการกระทำนั้น ศาลรัฐธรรมนูญย่อมต้องพิจารณาโดยเร็วและคำนึงว่าการจะปฏิบัติตามคำขอคือสั่งระงับนั้น จะต้องไม่ใช่ปล่อยให้สถานการณ์ล่วงเลยไปจนการสั่งระงับนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไร