“ม.ล.กรกสิวัฒน์”ย้ำรัฐบาลขึ้นราคาแอลพีจีเอื้อธุรกิจปิโตรเคมีของ ปตท. พร้อมแฉคนจนไม่ได้รับการช่วยเหลือจริง ชำแหละภาคปิโตรเคมีเอาเปรียบอุตสาหกรรมอื่น ซื้อแอลพีจีแค่ 16-17 บาท แต่ รมว.พลังงานอ้างว่าซื้อ 24 บาท แถมไม่เสีย VAT จ่ายกองทุนน้ำมันแค่ 1 บาท ขณะภาคอื่นจ่าย 12 บาท ชี้แค่เก็บเงินจากปิโตรฯ เท่าภาคอื่น ก็ไม่ต้องขึ้นราคาแอลพีจีเป็นภาระประชาชน
รายการ สภาท่าพระอาทิตย์ ทางเอเอสทีวี วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2556 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ดำเนินรายการ ได้สนทนากับ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงานของวุฒิสภา ในประเด็นต้นทุนก๊าซแอลพีจีที่ทางกระทรวงพลังงานอ้างถึงความจำเป็นต้องขึ้นราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนหรือก๊าซหุงต้มนั้นเป็นความจริงหรือคำหลอกลวงกันแน่
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวว่า การขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีครั้งนี้ ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจปิโตรเคมีในกลุ่มของ ปตท. เพราะไม่ได้ขึ้นในธุรกิจปิโตรเคมีเลย และยังให้ข้อมูลที่เป็นเท็จผ่านสื่อต่างๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน(นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล)อ้างว่าการขึ้นราคาแอลพีจีครั้งนี้คนจนไม่เดือดร้อนแต่ในความเป็นจริงร้านอาหารต่างพากันขึ้นราคาไปหมดแล้ว ส่วนที่กระทรวงพลังงานอ้างว่า คนจน 7.6 ล้านครัวเรือนจะได้รับความช่วยเหลือโดยใมห้สิทธิในการซื้อราคาเดิมนั้น คนที่ได้สิทธิ์นี้ คือคนที่ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วย ซึ่งที่บ้านจะมีหม้อหุงข้าวหรือมีเตารีดยังยาก เพราะฉะนั้นคนที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือก็คือคนที่จนมากๆ และไม่ได้ใช้ก๊าซแอลพีจีอยู่แล้ว
นอกจากนี้การให้สิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือ 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน ในความเป็นจริงก็ไม่มีใครซื้อได้ 18 กิโลกรัม เพราะถังแก๊สมีแต่ขนาด 15 หรือ 7 หรือ 4 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นก็จะไม่สามารถซื้อเต็มตามสิทธิที่ได้รับ ส่วนร้านค้าแผงลอยที่ให้ซื้อได้ 150 กก.ต่อเดือน ก็ระบุว่าต้องใช้ถังไม่เกิน 15 กิโลกรัม คือต้องใช้ 10 ถัง ทั้งที่ตามปกติร้านค้าเหล่านี้ใช้ถังใหญ่ 48 กิโลกรัมคือ 3 ถังต่อเดือนก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นแบบ 10 ถังต่อเดือน ซึ่งเป็นเรื่องจุกจิกมาก
ส่วนคำพูดของ รมว.พลังงานที่อ้างว่า ราคาขายจากโรงแยกก๊าซ 18 บาทเป็นราคาที่ขาดทุนนั้น จากข้อมูลแหล่งก๊าซสิริกิติ์ เป็นแหล่งก๊าซขนาดไม่ใหญ่ ยังผลิตก๊าซหุงต้มขายพียง 9.37 ต่อกิโลกรัมบวกกำไรแล้ว ต้องถามว่า แหล่งเล็กๆ อย่างนี้ ยังขายได้ราคานี้ แล้วโรงแยกก๊าซขนาดใหญ่ที่ระยองมันขาดทุนได้อย่างไร ก็ต้องถามว่า การจัดสร้างโรงแยกก๊าซมีทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่
ม.ล.กรณ์กสิวัฒน์กล่าวต่อว่า ราคาก๊าซแอลพีจีที่ภาคปิโตรเคมีใช้นั้น รมว.พลังงานได้ตอบคำถามเรื่องนี้ตอนจัดรายการคุยกับตัวเองโดยมี ปตท.เป็นผู้สนับสนุน บอกว่าต้องนำเข้าจากต่างประเทศบวกค่ากองทุนเป็น 24 บาทต่อ กก. แต่พอไปตอบในสภาเมื่อเดือน พ.ย.55 บอกว่า ได้นำราคานำเข้ากับราคาที่ขุดจากอ่าวไทยมาเฉลี่ยกัน ทำให้ขายปิโตรเคมีราคาประมาณ 16.20 บาท พูด 2 ครั้งต่างถึง 8 บาท คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตได้ออกหนังสือไปถามนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. และนายไพรินทร์ได้ตอบมาเป็นเอกสาร ราคา 1 ปีย้อนหลังระหว่างกรกฎาคม 55 ถึงมิถุนายน 56 อยู่ระหว่าง 16-18 บาท นั่นแสดงว่าปิโตรเคมีซื้อก๊าซหุงต้มเพียง 16-18 บาท
อย่างไรก็ตาม ต่อมานายไพรินทร์ได้ส่งเอกสารชี้แจงเพิ่มเติมว่า ได้ซื้อแอลพีจีที่โรงกลั่นด้วยในราคา 28 บาท ซึ่งก็เกิดคำถามว่า แหล่งหนึ่งขาย 17 บาท อีกแหล่งหนึ่งขาย 28 บาท จะเลือกซื้ออันไหน ก็ต้องเลือกซื้อของที่ถูกที่สุด และที่สำคัญคือว่า มันเป็นบริษัทในเครือเดียวกันที่มีคนได้ประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปซื้อในราคาถูกๆ ถูกกว่าตลาดที่้เขาขายกัน
ม.ล.กรณ์กสิวัฒน์กล่าวต่อว่าเมื่อนายไพรินทร์ตอบมาแล้ว กรรมาธิการฯ จึงส่งหนังสือให้อีกฉบับหนึ่ง ขอทราบปริมาณแอลพีจีที่รงแยกก๊าซขายให้ปิโตรเคมีที่ว่าแพงๆ กี่ตัน แต่นายไพรินทร์ไม่ตอบ อ้างว่าเป็นความลับทางการค้า
เมื่อนักข่าวถาม รมว.พลังงานเรื่องนี้ ก็อ้างว่า ต้นทุน 24 บาทอ้างจากกองทุนน้ำมัน และที่ปืโตรเคมีซื้อต่ำกว่าอุตสาหกรรมอื่นก็เพราะไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)เพราะแอลพีจีเป็นวัตถุดิบและไปเก็บ VAT จากสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่มีมูลค่าสูงสุด วิธีคิดเรื่องนี้ให้ไปถามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งที่จุฬาฯ ไม่เคยศึกษาเรื่องนี้ เคยศึกษาแต่ก๊าซเอ็นจีวีเท่านั้น
และที่อ้างว่าปิโตรเคมีซื้อต่ำกว่าอุตสาหกรรมทั่วไป เพราะปิโตรเคมีไม่ต้องจ่ายภาษี VAT ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะการเสียภาษี VAT นั้นเสียตอนขายโดยผู้ขายจะบวกรวมเข้าไปในราคาสินค้า แล้วกรณีนี้ทำไมปิโตรเคมีได้สิทธิพิเศษว่าให้ซื้อโดยไม่รวม VAT ทั้งที่อุตสาหกรรมอื่นต้องรวม VAT เช่น โรงงานเซรามิกหรือกระจก ตอนซื้อวัตถุดิบก็เสีย พอขายเป็นผลิตภัณฑ์ก็เสีย VAT
นอกจากนี้ปิดโตรเคมียังจ่ายเงินเข้ากองทุนจากการใช้แอลพีแค่ กก.ละ 1 บาท ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นจ่าย 12 บาท ซึ่งไม่ยุติธรรม แม้จะอ้างว่าอุตสาหกรรมอื่นซื้อจากโรงกลั่นแค่ 10 บาท แต่เมื่อรวมค่าการตลาดและค่าอื่นๆ อุตสาหกรรมก็จ่ายแพงกว่า แม้หักภาษีออกไปแล้ว และสุดท้ายผลประโยชน์ก็วนกลับไปที่ธุรกิจน้ำมันทั้งสิ้น การเก็บเงินกองทุนจากภาคปิโตรเคมทีที่ต่ำทำให้เงินขาดหายไป 30,000 ล้าน เท่ากับตัวเลขการขาดทุนของกองทุนน้ำมัน กรณีนี้เพียงแค่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากปิโตรเคมีในอัตราที่เท่าอุตสาหกรรมอื่น ก็ไม่ต้องขึ้นราคาแอลพีจีแล้ว
ส่วนที่รัฐมนตรีพูดว่า ก๊าซอ่าวไทยผลิตแอลพีจีได้ 150,000 ตันต่อเดือน ไม่พอต่อการใช้ของครัวเรือนที่มีประมาณ 180,000 ตัน ยังไงก็ต้องนำเข้าแม้ไม่มีการใช้ในภาคปิโตรเคมีนั้น แสดงว่ารัฐมนตรีมีความรู้เรื่องพลังงานในประเทศไทยน้อยมาก เพราะในความเป็นจริง ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานเอง ปี 55 โรงแยกก๊าซที่แยกก๊าซจากอ่าวไทยผลิตแอลพีจีได้ 3.3 แสนตัน หายไปกว่าครึ่ง ครัวเรือนใช้ประมาณ 250,000 ตันยังไงก็พอ นอกจากนี้หากมีการตั้งโรงแยกก๊าซให้พอก็จะมีก๊าซใช้เพียงพอในทุกอุตสาหกรรมโดยไม่ต้องน้ำเข้า แต่ ปตท.ก็ไม่ทำ ทั้งที่ลงทุนแค่ 2 หมื่นล้าน ขณะที่ ปตท.มีกำไรปีละ 1 แสนกว่าล้าน
ข้ออ้างที่ว่าต้องขึ้นราคา เพื่อป้องกันการลักลอบนำออกไปขายต่างประเทศ ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้น่าจะอยู่ที่การจับกุมมากกว่า ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยการขึ้นราคาเอากับคนทั้งประเทศ
คำต่อคำ “ม.ล.กรกสิวัฒน์” เจาะต้นทุนแอลพีจี จับโกหก รมว.พลังงาน
ปานเทพ - สวัสดีครับ ท่านผู้ชมครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ สภาท่าพระอาทิตย์นะครับ ประจำวันเสาร์ที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2556 กับผม ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ รับหน้าที่ดำเนินรายการ เรายังคงต้องติดตามสถานการณ์บ้านเมือง โดยเฉพาะเรื่องของพลังงาน แต่ก่อนที่เราจะไปพูดคุยเรื่องพลังงานในวันนี้ เราจะขออนุญาตประชาสัมพันธ์โครงการดีๆ จากพันธมิตรรักคุณเท่าฟ้า ที่จัดทำมาอย่างต่อเนื่อง
เสื้อที่ผมใส่อยู่ขณะนี้มีเขียนว่า สัญญาใจ เป็นเสื้อตัวหนึ่งที่จัดทำขึ้นโดยพันธมิตรรักคุณเท่าฟ้า และมีหลายสีมากนะครับ ไม่ว่าสีเหลืองที่ผมใส่อยู่ในขณะนี้ สีเขียว สีชมพู สีฟ้า สีม่วง และสีส้ม และท่านผู้ชมที่สนใจนะครับ เรียนให้ทราบว่า ตามวัตถุประสงค์ของ กลุ่มพันธมิตรรักคุณเท่าฟ้า ได้จัดทำเสื้อตัวนี้ขึ้นมาด้วยความปราถนาดีว่า ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปแค่ไหน ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใด ความมั่นคงต่ออุดมการณ์ของเราไม่เคยเปลี่ยนแปลง และเมื่อถึงเวลาเราต่างที่จะมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่ต้องนัดหมาย เพราะสัญญาที่มีต่อกัน เป็นสัญญาใจ
วันที่ 7 ตุลาคมนี้ นะครับ จะมาถึง เรามีจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 5 ที่บ้านเจ้าพระยา วันที่ 6 ในกิจกรรมที่มีชื่อเรียกว่า พันธมิตรสัมพันธ์ และวันที่ 7 ตุลาคม จะเป็นวันที่เรารำลึกครึ่งทศวรรษของการรำลึกการจากไปของ คุณอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ และสารวัตรจ๊าบ และวีรชนอีกหลายคน พันธมิตรรักคุณเท่าฟ้าจึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกันสวมเสื้อสัญญาใจ เพื่อรำลึกถึงสิ่งดีๆ ที่เราร่วมทำกันมา เป็นเสื้อคอกลม 8 สี ในราคา 250 บาท 300 บาท และ 350 บาท ส่วนเสื้อคอปกด้านหลัง เป็นเสื้อคอปกที่ทำขึ้นมานะครับ ด้านหน้าก็พันธมิตรรักคุณเท่าฟ้า ด้านหลังเป็นข้อความว่า เรารักในหลวง ลายมือของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล นะครับ มีทั้งหมด 5 สี นะครับ สีส้ม สีเขียว สีม่วง และสีเหลือง อย่างนี้นะครับ เป็นลายมือของคุณสนธิด้านหลังนะครับ เป็นเสื้อโปโลคอปกนะครับ
ท่านผู้ชมที่สนใจนะครับ ราคา 350 บาท และ 400 บาท โดยจะนำมาให้สนับสนุนที่บ้านเจ้าพระยา ในวันเสาร์ คือวันนี้ และวันพรุ่งนี้ และอีกครั้งหนึ่งคือ สัปดาห์หน้า วันที่ 28 และ 29 กันยายน เฉพาะตั้งแต่เวลานี้ จนถึงเวลา 15.00 น. และรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้กับ ASTV ทีวีที่รักของเรา และที่ยืนหยัดในการต่อสู้ เพื่อความถูกต้องเสมอมา ขอขอบพระคุณทุกท่านในการสนับสนุนที่มีให้มาเสมอนะครับ จากพันธมิตรรักคุณเท่าฟ้านะครับ ท่านผู้ชมที่สนใจก็เรียนเชิญได้ตั้งแต่เวลานี้ จนถึงสามโมงนะครับ มีจำนวนจำกัดในช่วงวันนี้ พรุ่งนี้ และสัปดาห์หน้าในวันเสาร์และวันอาทิตย์นะครับ
วันนี้ เราจะยังคงตามติดในเรื่องพลังงานนะครับ โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่เคลื่อนไหวตั้งแต่หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งที่หน้า ปตท. ที่กระทรวงพลังงาน เพื่อทวงความเป็นธรรมในเรื่องของการขึ้นราคาก๊าซ หนึ่งในนั้นมีนักวิชาการท่านหนึ่งที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องนะครับ ท่านเป็นอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงานของวุฒิสภา ซึ่งวันนี้จะมาให้ความเห็นประเด็นต่อประเด็นนะครับกับ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ครับ สวัสดีครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - สวัสดีครับ
ปานเทพ- ต้องขออนุญาตเริ่มต้นก่อนว่า ต้องถามก่อนว่า ตลอดระยะตั้งแต่นำมวลชนไปที่ ปตท. และกระทรวงพลังงาน มีความรู้สึกอย่างไรบ้างครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - ผมคิดว่า ในกระทรวงน่าจะเกิดความหวั่นไหว แม้แต่รัฐมนตรีเองน่าจะเกิดความหวั่นไหว เพราะว่า ผมคิดว่าสิ่งที่เราต่อสู้ เราบอกมาตลอดว่า เราไม่ได้มาต่อสู้ว่า ก๊าซต้องราคาถูกๆ น้ำมันต้องราคาถูกๆ เปล่าเลย เรามาต่อสู้ในมุมที่ว่า พวกเราคนไทยทุกคนเป็นเจ้าของบ่อก๊าซ บ่อน้ำมันนะ และผู้จัดการมรดกตัวดี คือ ข้าราชการกระทรวงพลังงาน กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้จัดการมรดกของแผ่นดิน ถูกไหมครับ จัดการยังไงไม่รู้เดือดร้อนกันทั้งแผ่นดินนะครับ เงินจากการขุดก๊าซ ขุดน้ำมันก็ไม่เคยเห็นนะครับ มันไม่ได้กลับมาเป็นการศึกษา ไม่ได้กลับมาเป็นการรักษาพยาบาล หรือสวัสดิการสังคมใดๆ ก็ต้องกราบเรียนว่า วันนี้เดือดร้อนกันไปหมด ดังนั้นเอง จุดยืนของเราชัดเจน เรามาต่อต้านการกระทำใดๆ ที่ส่อไปในทางทุจริตเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำมันและก๊าซ นี่คือความชัดเจน ดังนั้นเรื่องถูกเรื่องแพงอาจไม่สำคัญนะครับ ความเป็นธรรมในราคาสำหรับประชาชนเจ้าของบ่อน้ำมัน บ่อก๊าซนั่นนะ สำคัญกว่า
ปานเทพ- พูดถึงมวลชน และกิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ตอนนี้ ทำอะไรบ้าง และคืบหน้าไปแค่ไหนแล้วครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - ครับ ตอนนี้ กิจกรรมที่ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 เป็นต้นมา คือล่ารายชื่อปลดท่านรัฐมนตรี ปลดรัฐมนตรี ปลดข้าราชการกระทรวงพลังงานระดับสูง 5 คน ไม่ว่าจะเป็นปลัด จะเป็นรองปลัด จะเป็นอธิบดีต่างๆ นะครับ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ต้องปลด ที่ต้องปลดเพราะว่า อย่างที่ผมบอก เหตุผลที่ผมบอกไปว่า การกระทำในการขึ้นราคาครั้งนี้ มันดูแล้วส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจปิโตรเคมีในกลุ่มของ ปตท. ต้องเรียนตามตรงว่า การขึ้นราคาครั้งนี้ ไม่เห็นขึ้นในธุรกิจปิโตรเคมีเลยนะ ไม่มี เงียบสนิทนะครับ และเดี๋ยวผมจะพาไปดูหลักฐานต่างๆ
ปานเทพ - ก่อนจะไปดูหลักฐานนะครับ ถามต่อเพื่อให้ท่านผู้ชมตามสถานการณ์ได้ทันด้วย การล่ารายชื่อตอนนี้ไปถึงไหนและเพียงพอหรือยัง
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - ประมาณ 30,000 รายชื่อ เป้าหมายคือ 50,000 นะครับ ไม่ไกลหรอก ผมคิดว่าได้นะครับ หลายคนเพิ่งเข้ามาได้ยินได้รู้ ก็ทุกคนก็อยาก
ปานเทพ - ถ้าใครสนใจอยากไปเข้าร่วมในการลงลายมือชื่อเพื่อถอดถอนด้วยนี่ ไปที่ไหน และทำอย่างไรครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - ตอนนี้มีในเฟซบุ๊ก จะมีเฟซบุ๊ก กูสู้โกง กูสู้โกงนี่ภาษาอังกฤษนะครับ สะกดภาษาอังกฤษเลย และนั่นคือของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเฟซบุ๊กของผม คุยกับหม่อมกร ก็ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ หรือไปอีกที่ มีที่สวนลุม มีภาคประชาชนเขาไปช่วยทำให้ ที่นั่นก็ได้ แวะไปที่สวนลุมก็กรอกได้ อะไรทุกอย่างได้นะครับ ทำได้หลายวิธี และสุดท้ายคือ ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเลยก็ได้
ปานเทพ - การล่ารายชื่อเราคาดหวังอะไรครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - เราจะเสนอตามขั้นตอนตามกฎหมายว่า เสนอที่ทางวุฒิสภา และที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่เราจะไปเสนอ เราเสนอหลายๆ ที่เท่าที่จะมีช่องทางไปได้ เพราะเราต้องการชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ท่านทำกันอยู่ อย่างที่บอก เราไม่ได้เรียกร้องว่า ต้องใช้ก๊าซถูกน้ำมันถูก แต่เราเป็นเจ้าของทรัพยากร วันนี้การกระทำการบริหารมันส่อไปในทางที่ดูแล้วไม่สบายใจว่า จะเป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนหรือไม่
ปานเทพ - ผมเคยติดตามข้อมูลที่ ม.ล.กรกสิวัฒน์ ไปออกรายการบางสถานีที่เขาให้โอกาสออกอากาศนี่นะ ดูเหมือนว่ามีความพยายามเหมือนกันที่อยากให้รัฐมนตรี หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือคน ปตท. มาตอบคำถามประเด็นต่อประเด็น เราจะได้รับผลตอบแทนอย่างไรบ้างไหมครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - นั่นคือสิ่งที่ต้องการสูงสุดนะครับว่า ถ้ามันเกิดจากความไม่เข้าใจ ผมคิดว่า เราควรมานั่งคุยอย่างนี้แหละ ออกทีวีก็ได้ และใครมีหลักฐานก็เอาวางเสนอ ไม่ใช่อ้างอย่างเดียวนะ ควรมีหลักฐานประกอบด้วย เพื่อชี้แจงในเรื่องเหล่านี้ ปรากฏว่าไม่ได้รับความร่วมมือเลย สิ่งที่กระทรวงพลังงาน และกลุ่มบริษัทพลังงานต้องการจะทำคือ ต้องการออกทีวีฝ่ายเดียว ต้องการพูดฝ่ายเดียว และไม่เคยเสนอหลักฐานนะ มีแต่คำกล่าวอ้างว่า อย่างนู้น อย่างนี้ ปิโตรเคมีซื้อ ราคานู้นราคานี้ แต่ไม่เคยมีหลักฐานเลย เราไม่อยากเห็นการคุยกันแบบนี้ เพราะว่า ข้อมูลข้อเท็จจริงในคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตมันคนละเรื่อง ข้อมูลที่ท่านยื่นกรรมาธิการ กับข้อมูลที่ท่านออกข่าว มันไม่ตรงกัน
เพราะฉะนั้น เราต้องการทำให้ความจริงปรากฏ แต่คนที่ฝ่ายกระทรวงเอง ฝ่ายรัฐมนตรีเอง ฝ่ายกลุ่มพลังงานเอง หลบเลี่้ยงที่จะเผชิญหน้าตลอดเวลา ผมก็เลยสงสัยมันไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความไม่เข้าใจแล้ว มันน่าจะเป็นการกระทำที่ส่ออะไรที่ไม่สุจริต จึงไม่ยอมเผชิญหน้าเลย ฉันจะเอาสมบัติของแผ่นดินไปยังไง แบบไหน บริหารยังไง ฉันก็ทำไปเรื่อยๆ ประชาชนจะท้วงติงอย่างไรก็ไม่สนใจ ผมคิดว่าการกระทำตอนนี้มันค่อนข้างชัดว่า เขาหลบเลี่ยงมาก เมื่อหลบเลี่ยงมากเราทำได้หลายวิธีนะครับ เชิญออกรายการทีวีก็ไม่ออก ด้วยกันก็ไม่ออก แล้วอาจมีโฟนอินมาบ้าง และหายไป หรือเราไปที่อย่างที่การชุมนุมครั้งล่าสุดนี่นะครับ เราไปเชิญท่านรัฐมนตรี และเชิญกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ล่วงหน้านะ ขอให้ขึ้นเวที จะให้เวลาเท่าๆ กัน ให้ท่านพูดเต็มที่เลย ปล่อยให้พูดเต็มที่เลยทุกอย่าง ไม่มา ยังไงก็ไม่มา
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้คนที่หนีความจริงกลายเป็นกระทรวงพลังงาน ที่อยากจะพูดฝ่ายเดียว อยากเอาเงินหลวงมาพิมพ์แผ่นพับ โดยอ้างอิงลอยๆ ที่ผมพูดครั้งนี้ เพราะผมเชิญเขามาในคณะกรรมาธิการ ราคาที่ปิโตรเคมีซื้อ เขาก็อ้างลอยๆ ว่า ซื้อ 24 25 บาท ไรก็ตาม แต่เอกสารไม่มีนะครับ เพราะฉะนั้น วันนี้ก็เหมือนกับว่า สิ่งที่ผมรู้สึกคือ ทุน ของกลุ่มทุนพลังงานมันเข้าไปที่สื่อเรียบร้อยแล้ว จำนวนมหาศาล
ดังนั้นเขาเชื่อว่าเขาไปได้ทุกสื่อนะครับ เขาจะสามารถให้ข้อมูลความจริงแบบของเขาได้ในทุกสื่อ เพื่อที่จะดำเนินการให้ผลประโยชน์ตกแก่เขาอย่างที่เคยเป็นมา ก็ดำเนินไปเรื่อยๆ แต่ผมเชื่อว่า ในที่สุดมันต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ผมบอกได้เลยว่า มันเป็นประเทศหลังๆ ในโลกแล้วนะ หลังๆ ในโลกที่เป็นแบบนี้ ต้องบอกอเมริกาใต้เปลี่ยนหมดแล้วนะครับ เรื่องระบบการบริหารจัดการพลังงาน ในอาเซียนเขาเปลี่ยนมาก่อนเรานานมาก อินโดนีเซียตั้งแต่ 40-50 ปีที่แล้ว ส่วนประเทศอื่นๆ นอกจากอินโดฯ เขาจะยึดแบบอินโดฯ กันหมดเลย ยกเว้นประเทศไทย ผมก็มานั่งคิดว่าทำไมระบบของอินโดฯ มันถึงดี ระบบของพม่า ระบบของเขมร ของมาเลย์มันถึงดี ก็พบว่าประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเมืองขึ้น ประเด็นนี้น่าสนใจนะครับ
ปานเทพ- ทำไมครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- คืออินโดฯ เคยสัมปทานแบบประเทศไทย สัมปทานการขุดเจาะก๊าซ ขุดเจาะน้ำมัน แบบประเทศไทย ฝรั่งมาทำตอนที่เขาเป็นเมืองขึ้น เขาก็รู้สึกว่ายิ่งขุดยิ่งจน ดังนั้นระบบนี้ต้องถูกปฏิรูปแล้ว ไอ้ระบบสัมปทานที่ไทยใช้อยู่ มันต้องถูกปฏิรูปเพราะเขาใช้มาก่อน เขาเห็นว่าคนอินโดฯ ไม่ได้อะไรเลย ดังนั้นต่อไปคงต้องเปลี่ยนวิธี เขาก็ไปดูเรื่องสินค้าเกษตรว่า เขาทำกันยังไง ลักษณะเจ้าของสวนกับผู้มาเก็บผลไม้ว่ามีระบบแบ่งปันผลผลิตไหม คิดจากระบบการเกษตรของเขา แล้วหลังจากนั้นสิ่งที่อินโดฯ ทำก็มาที่มาเลเซีย ไปที่เวียดนาม ไปที่พม่า ไปที่เขมร ทุกคนยึดแบบนี้หมด ไม่มีใครเดินตามแบบไทยเลย ขณะที่ไทยเป็นประเทศมีเอกราชนะ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า ก็ยังโดนต่างชาติ ต้องบอกว่าสมัยก่อนสัมปทานเป็นของต่างชาติ มาเอาสัมปทานแบบนี้ที่ขึ้นในประเทศที่เคยเป็นประเทศที่อยู่ในเครือข่ายของเขาเอามาใช้กับประเทศไทย แล้วข้าราชการไทยก็ยอม ก็ยอมให้ใช้ระบบนี้ เพราะระบบของไทยคือ การยกทรัพยากรไปให้เขา ทั้งที่เราเป็นประเทศมีเอกราช แต่ยังโดนชิงทรัพยากรไปได้ด้วยคำว่าสัมปทาน
ดังนั้นเองไทยจึงเป็นประเทศโดดเดี่ยวมากในอาเซียน ไม่รู้เกิดขึ้นได้ไง แล้วก็ยังเดินหน้าที่จะใช้สัมปทานแบบนี้ คือยกสมบัติของแผ่นดินไปให้เขาต่อไปนะครับ วันนี้ก็เกิดการประท้วงในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่อีสาน ที่กาฬสินธุ์ ดงมูลนะครับ ตอนนี้ต้องบอกว่าหลายหมู่บ้านไม่เห็นด้วย เขาก็ไปหาหมู่บ้านที่เขาจะพอจัดตั้งมวลชนได้ ก็ทำให้ประชาชนทะเลาะกันเองยังงี้ ซึ่งถามว่าภาครัฐหรือคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ควรจะทำหรือเปล่า ภาครัฐอาจเป็นคนที่ไม่ได้ทำเอง แต่เป็นคนที่เห็นภาพเกิดขึ้น อีกที่หนึ่งก็คือหล่มสัก เพชรบูรณ์ ก็มีเรื่องอย่างนี้ ตอนนี้มันจะเกิดขึ้นในแผ่นดินไทยเยอะมากนะครับ ต้องบอกว่าวันนี้คนเห็นแล้ว ว่าขุดแล้วไม่รวยขึ้นเลยจนเหมือนเดินนะครับ แล้วก็ใช้ก๊าซแทนน้ำมันแพง ผมคิดว่าภาพอย่างนี้กระทรวงพลังงาน หรือธุรกิจพลังงานหยุดภาพพวกนี้ไม่ได้หรอก และประชาชนจะตื่นรู้ๆ จริงๆ ผมบอกกระทรวงหลายครั้งนะครับ ผมไม่ได้มาหาคนผิด แต่วันนี้เราควรจะไปในแนวทางที่ถูกต้องได้แล้ว ผมมาหาคนถูก แต่ท่านก็ยังที่จะดื้อดึงที่จะเดินไปทางนี้ ผมก็เชื่อว่าถ้าเป็นแบบนี้ท่าทางจะลำบากนะครับ
ปานเทพ- ถ้าอย่างนั้นเราลองมาดูเพื่อให้เกิดข้อมูล 2 ด้าน ซึ่งเรามีโอกาสน้อยมากที่จะเห็นรัฐมนตรีพูดแล้วมี ม.ล.กร อยู่ หรือ ม.ล.กร รัฐมนตรีมานั่งควบคู่ด้วย ยากมากยังไม่เคยเห็นเลยนะครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ยากครับๆ
ปานเทพ- เพราะฉะนั้นเราลองมาดูวันนี้ว่า ถ้าเราหยิบยกคำต่อคำที่รัฐมนตรีพูดนะครับ ในฐานะที่เขาอยากชี้แจงฝ่ายเดียวมาแสดงให้ท่านผู้ชมได้เห็น และ ม.ล.กร ลองตอบดูว่าสิ่งที่เขาพูดอยู่จริงหรือไม่จริงอย่างไร จะดีไหมครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ดีครับ
ปานเทพ- เรามาเริ่มต้นดูไหมครับ เชิญครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- คลิปแรกผมอธิบายสักหน่อยว่าเขาจะบอกว่าคนจนไม่เดือดร้อน แล้วก็ราคาที่ขายคนไทย 18 บาท โรงแยกก๊าซขาดทุน ทีนี้ก่อนไปคลิปผมให้ดูภาพนี้นิดนึง เห็นไหมครับว่ามันขึ้นราคาหมดแล้ว
ปานเทพ- ลองดูนะครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์-ร้านอาหารต่างๆ
ปานเทพ- ขอปรับราคาเนื่องจากหมู เครื่องใน และวัตถุดิบหลายอย่างขึ้นราคา ธรรมดา 40 บาท พิเศษ 50 บาท ราคาเริ่มเมนูใหม่ 10 บาททุกเมนูบวกขึ้นไปนะครับ แล้วก็แน่นอนนะครับก๋วยเตี๋ยว 40-50-60 บาท เกาเหลา 50-60 บาท แล้วก็มีลูกชิ้น มีลูกค้าร้านบี่เฮียงบอกว่าทุกอย่างจะขึ้น 5 บาท คือมันไม่ใช่ความรู้สึกแล้ว
ม.ล.กรกสิวัฒน์- มันไม่ใช่ความรู้สึกแล้ว
ปานเทพ- เราไปทุกที่ก็แพงหมด
ม.ล.กรกสิวัฒน์- แล้วถามว่าร้านพวกนี้คนจนกินใช่ไหม ใช่แน่นอน
ปานเทพ- ครับผม
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ร้านอาหารที่มันกินแพงๆ คนรวยกินจานละ 100 มัน มีผลน้อยมาก แต่จริงๆ แล้วของคนจนมันขึ้นหมดนะครับ แล้วการที่จริงๆ แล้วไปดูให้ทางร้านต่างๆ ใช้ราคาเดิม แต่อย่าลืมวัตถุดิบละ คนที่ผลิตวัตถุดิบต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบ ดังนั้นเองมันย่อยเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่อยู่ดีนะครับ แต่พอฟังท่านรัฐมนตรีแล้วผมฟังแล้วสึกรู้สึก ฟังแล้วเหนื่อยใจ
ปานเทพ- เราลองไปฟังเสียงท่านนะครับ
(วิดีโอคลิป)
พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล(รมว.พลังงาน) -ทีนี้การขึ้นราคาคราวนี้นะครับ การขึ้นราคาเนี่ยประการแรกคนจนไม่ถูกขึ้นราคานะครับ ครัวเรือนที่ใช้ก๊าซหุงต้มไม่ถูกขึ้นราคา เราจะขึ้นราคาเฉพาะคนรวยนะครับ คนจน 7.6 ล้านครัวเรือนจะไม่ถูกขึ้นราคาอันนี้ขอย้ำ ไม่ถูกขึ้นราคาไม่มีผลกระทบเลย แล้วก๊าซหุงต้มที่มันชดเชยไปทุกวันนี้ ก๊าซแอลพีจีเราไปเก็บเงินจากคนที่ใช้น้ำมัน ใช้โซลาร์ ใช้เบนซินมาชดเชยคนใช้ก๊าซ ซึ่งไม่เป็นธรรมเลย ยังคนจนๆ คนขี่มอไซค์ ขี่สามล้อ ขี่ตุ๊กตุ๊ก เราต้องถูกเก็บเงินเข้ากองทุนแล้วก็ชดเชยให้ก๊าซ ท่านรู้ไหมครับแก็สหุงต้มมีการขายเนี่ย บางคนเอาแก๊สหุงต้มไปเติมรถยนต์ก็มี ซื้อก๊าซราคาถูกไปเติมรถยนต์เราก็ไปชดเชยตลอด เพราะราคา 18.13 บาท มันขาดทุน
นั้นประการนี้กองทุนน้ำมันก็เก็บมาจากพวกคนที่ใช้น้ำมัน งั้นการขึ้นราคาทำให้เกิดความเป็นธรรมเกิดขึ้น ทีนี้ต้นทุนต่อค่าอาหารนะครับ อาหารจานหนึ่ง ข้าวแกงที่ขายตามหาบเร่ แผงลอย ถุงหนึ่ง 30 บาท ต้นทุนประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ผมไปสอบถามคุยกับแม่ค้า คุยด้วยตัวเองนะครับ ตกลงประมาณ 30 สตางค์เอง งั้นการขึ้นราคาตรงนี้เราขึ้น 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม เท่ากับต้นทุนขึ้นประมาณ 1.5 สตางค์เท่านั้นเอง ซึ่งไม่กระทบต่อผู้ใช้ของครัวเรือน ผู้มีรายได้น้อย แต่ประการสำคัญที่ต้องย้ำก็คือว่า คนจนที่หาบเร่แผงลอยเราไม่ขึ้นราคา
ผู้สัมภาษณ์- เข้าใจค่ะ
พงษ์ศักดิ์ - คนจนไม่ขึ้นราคาเลย
ผู้สัมภาษณ์- คือฉันเข้าใจเลยที่ท่านพูดถึงคนที่มีรายได้น้อยคือ อิงตามคนที่ใช้ไฟน้อยนะคะ หาบเร่แผงลอยนะคะไม่ต้องกลัวต้นทุนไม่สูง
ปานเทพ- ครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ก็ต้องบอกว่าจริงหรือครับที่ท่านพูด มันจริงหรือเปล่า ทีนี้มาดูว่า เขาบอกว่าคนจนคือใคร ผมให้ดูใบแผ่นผับของทางกระทรวงพลังงานเองนะครับ ใครมีสิทธิ์ เขาก็บอกว่าคนที่ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วย คนใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วย บ้านจะมีหม้อหุงข้าว หรือมีเตารีดยังยากเลย บ้านที่เป็นแบบนั้นผมว่าส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้ก๊าซแล้วใช้ฟืน เพราะว่ายากจนมาก ดังนั้นจริงๆ แล้วคนที่ท่านช่วยคือคนที่จนมาก และอาจไม่ได้ใช้ก๊าซด้วยซ้ำไปนะครับ แต่ข้อสำคัญที่ผมอยากให้ดูนะว่า แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เขาก็ยังเอาเปรียบคนไทย
ปานเทพ- ยังไงครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ดูนะครับเขาเขียนว่า 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน ดูนะครับคนมีรายได้น้อยจะได้สิทธิ์ 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน
ปานเทพ- ในการซื้อก๊าซราคาเท่าเดิม
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ราคาเท่าเดิม แพงเท่าเดิม 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน ผลก็คือไม่มีถังใดบรรจุได้ 18 กิโลกรัมเลย นั้นหมายความว่าคุณไม่ได้ 18 กิโลกรัมจริง ก็ถ้าเป็น 15 กิโลกรัมก็ขาดไป 3 กิโลกรัม ถ้าใช้ 7 กิโลกรัม 7 คูณ 2 เท่ากับ 14 ก็ขาดไปอีก 4 กิโลกรัม ถ้าใช้ถัง 4 กิโลกรัม 4 คูณ 4 เท่ากับ 16 ก็ยังไม่ได้ 18 กิโลกรัมอีก ก็จะเห็นได้ว่าท่านให้มา 18 กิโลกรัม ไม่มีใครซื้อได้ 18 กิโลกรัมเลย เพราะก๊าซหุงต้มไม่สามารถซื้อที่ละกิโลกรัม มันไม่ได้ถูกต้องไหมครับ วิธีเดียวที่จะทำได้ก็คือต้องแบบนี้ 2 ถัง แล้วแบบนี้ถังหนึ่ง ก็คือเปลืองค่ามัดจำ เปลืองค่าขนส่งเข้าไปอีก ดังนั้นการที่ให้ 18 กิโลกรัม แค่นี้ก็หลอกกันแล้ว ตรงๆ ก็คือมันไม่สามารถมีใครที่จะซื้อได้สิทธิ์เต็ม ชัดเจนไหมครับ นี้เรื่องหนึ่งคือใช้สิทธิ์ไม่มีวันเต็ม จะใช้สิทธิ์ครบถ้วนเป็นไปไม่ได้นะครับ ข้อที่หนึ่ง
ข้อที่สองมาดูเรื่องหาบเร่แผงลอยกันหน่อย ร้านค้าหาบเร่แผงลอย ผมว่าหาบเร่แผงลอยอาจไม่มีปัญหาเรื่องนี้ แต่ร้านค้าผมว่ามีปัญหา เพราะเขาให้ร้านค้า 150 กิโลกรัมต่อเดือน แต่เขาระบุไว้ว่าต้องใช้ถังไม่เกิน 15 กิโลกรัม ดูดีนะ 150 กิโลกรัมใช้ถุงไม่เกิน 15 กิโลกรัม ก็คือ 10 ถัง เหมือนดีๆ แต่ร้านค้าเหล่านี้ไม่ได้ใช้ถังนี้ครับ เขาใช้ถังใหญ่ ดังนั้นคนที่ใช้ถังใหญ่ก็คือ 3 ถังต่อเดือนใช่ไหมครับ คุณก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นแบบนี้ 10 ถังต่อเดือน
ปานเทพ- ซึ่งไม่มีเหตุผลเลยที่ร้านอาหารจะมาทำแบบนั้น
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ร้านมันก็เล็กอยู่แล้ว แล้วต้องไปเปลี่ยนเป็น 10 ถัง เกะกะมาก เสียค่าขนส่ง เสียค่ามัดจำมากขึ้น สรุปสิทธิ์นี้ให้จริงหรือเปล่าครับ แค่การให้สิทธิ์มันก็มีข้อจำกัดหยุม หยิมจนฉันไปขึ้นราคาดีกว่าไหม มันง่ายกว่า เดิมใช้แบบนี้ 3 ถัง ก็คือเกือบๆ 150 กิโลรัม ไปเป็นแบบนี้ 10 ถัง เกะกะร้าน ค่าขนส่งมากขึ้น อะไรต่างๆ เนี่ย
ปานเทพ- ซึ่งความเป็นจริงมันจะเกิดขึ้นได้ยากมากถ้าทำแบบนั้น
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ผมว่าร้านเขาไม่ทำมันจุกจิกมาก แค่กดรหัสเอสเอ็มเอสของเขาก็ปวดหัวแล้ว แล้วก็ขนาดถังก็ไม่พอดีสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นของภาคประชาชน หรือร้า นค้าเอง
ปานเทพ- มันก็ไม่สมเหตุสมผลเลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เห็นไหมครับว่าแค่นี้ก็ไม่มีความจริงใจนะครับ ต้องไประบุรายละเอียดให้ทุกคนใช้ยากทั้งสิน อันนี้สิทธิ์ของคนจนก็สิทธิ์ไม่เต็ม ของร้านค้าเขาใช้ถัง 48 กิโลกรัม คุณก็เปลี่ยนให้เขาใช้ 15 กิโลกรัม ก็เห็นชัดเจนไหมครับว่าแม้แต่เรื่องสิทธิ์เล็กๆ น้อยๆ
ปานเทพ- ยังมีเล่ห์เหลี่ยมเลย แม้กระทั่งเรื่องสิทธิ์ที่จะให้กับประชาชน ที่บอกว่าจะช่วยคนจน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกต้อง สรุปว่าอย่างไรก็ตามร้านค้าก็คิดว่า เอาสะดวกดีกว่า ก็คือใช้ขึ้นราคาก็ขึ้น งั้นก็ปรับราคาสินค้าอย่างที่เราเห็น ถูกต้องไหมครับ อีกประเด็นหนึ่งยังมีคำพูดอยู่คำหนึ่งว่า จากโรงแยกก๊าซ 18 บาทขาดทุน ผมจึงต้องย้ำเสมอว่า อันนี้แหล่งสิริกิติ์ เป็นแหล่งก๊าซขนาดไม่ใหญ่ ยังผลิตก๊าซหุงต้ม เห็นไหมครับก๊าซหุงต้มที่ผมซูมภาพมา ก๊าซหุงต้ม 9.37 ต่อกิโลฯ อันนี้คือบวกกำไรแล้ว
ปานเทพ- มีกำไรแล้ว
ม.ล.กรกสิวัฒน์- มีกำไรแล้ว ดังนั้นมาขายส่งถึงบ้าน 20 ก็ถือว่า ราคาสูงแล้วกำไรแล้ว เขาก็บอกว่า โรงแยกก๊าซ 18 บาท ยังขาดทุน ผมก็ต้องถามว่า ไอ้แหล่งเล็กๆ อย่างนี้ ได้ราคานี้ ไอ้แหล่งใหญ่ๆ โรงแยกก๊าซขนาดใหญ่ที่ระยองมันขาดทุนได้อย่างไร ก็ต้องถามว่า การจัดสร้างโรงแยกก๊าซมีทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหรือเปล่า ในการก่อสร้างหรือเปล่า ก็ต้องมีคำถามแบบนั้น เพราะว่าทุกอย่างเป็นการอ้าง จะเห็นไหมครับท่านรัฐมนตรีอ้าง บริษัทพลังงานอ้าง ต่างคนต่างอ้าง แต่ไม่เคยมีการตรวจสอบจริง ไม่เคยมีเอกสาร และข้าราชการกระทรวงพลังงานก็นั่งเป็นกรรมการ จะตรวจกันได้อย่างไร
ทีนี้ไปอีกเรื่องหนึ่ง อันนี้เราจะไปที่ราคาที่ปิโตรเคมีใช้ พบว่าท่านรัฐมนตรีตอบเรื่องราคาปิโตรเคมีซื้อก๊าซหุงต้ม 2 ครั้ง ต่างกันถึง 8 บาท ครั้งหนึ่งบอก 16 บาท อีกครั้งหนึ่งบอก 24 บาท อันไหนจริงอันไหนเท็จ ไปดูไหมครับ
ปานเทพ- ลองดูครับ ก็ต้องบอกว่ามาจากคนๆ คนเดียวกัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ใช่
ปานเทพ- เชิญครับ
(คลิป)
พงษ์ศักดิ์- ที่เขาซื้อมาประมาณ 700 เหรียญ ก็คูณ 30 เข้าไปก็ประมาณ 21 บาท ปัจจุบันเขาซื้ออยู่ประมาณ 24 บาทกว่า เพราะบวกค่าเข้ากองทุน 1 บาท
ปานเทพ- ให้ฟังอีกครังนะครับ ชัดเจนนะครับ
(คลิป)
พงษ์ศักดิ์- ที่เขาซื้อมาประมาณ 700 เหรียญ ก็คูณ 30 เข้าไปก็ประมาณ 21 บาท ปัจจุบันเขาซื้ออยู่ประมาณ 24 บาทกว่า เพราะบวกค่าเข้ากองทุน 1 บาท
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ชัดเจนนะครับ 24 บาท รัฐมนตรีพลังงานจัดรายการคุยกับตัวเองบอกว่า ปิโตรเคมีซื้อราคา 24 บาท รายการนี้สนับสนุนรายการโดย ปตท. เมื่อกี้ไปดูสังเกตดีๆ จะเห็นนะครับ ทีนี้เราไปดูท่านไปตอบในสภาฯ ว่าอย่างไร
(คลิป)
พงษ์ศักดิ์- ความเข้าใจตรงกัน คือเรื่องแก๊สแอลพีจีนะครับ ตามที่เราในอดีตนะครับ เราได้นำราคานำเข้ามาเฉลี่ยกับราคาที่ขุดจากอ่าวไทยมาเฉลี่ยกันนะครับ ทำให้เราขายปิโตรเคมีราคาเป็นจริงก็คือประมาณ 16.20 บาท
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เห็นไหมครับ ขออีกทีนะครับ เพื่อความชัดเจน
(คลิป)
พงษ์ศักดิ์- ความเข้าใจตรงกัน คือเรื่องแก๊สแอลพีจีนะครับ ตามที่เราในอดีตนะครับ เราได้นำราคานำเข้ามาเฉลี่ยกับราคาที่ขุดจากอ่าวไทยมาเฉลี่ยกันนะครับ ทำให้เราขายปิโตรเคมีราคาเป็นจริงก็คือประมาณ 16.20 บาท
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ชัดเจนนะครับ
ปานเทพ- พูดไม่เหมือนกัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- พูดไม่เหมือนกัน 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งพูดว่า 24 อีกครั้งหนึ่งพูดว่า 16.20 บาท
ปานเทพ- มันก็ต้องมีอันใดอันหนึ่งเท็จ ถูกไหมครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- มันต้องมีอันใดอันหนึ่งเท็จแน่นอน เพราะมันต่างถึง 8 บาท ทีนี้เราไปดูนะครับ ออกทีวีเมื่อกี้ผมบอกแล้ว ออกทีวีจัดรายการเองบอกว่า 24 แต่ไปตอบในสภาฯ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 กล่าวว่า ปิโตรเคมีซื้อแอลพีจี 16.20 บาท เมื่อเกิดคำถามแบบนี้ว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ เราที่อยู่ในคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตก็เลยออกหนังสือไปที่บริษัทพลังงานไปถามคุณไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ตกลง ปตท.ขายก๊าซให้ปิโตรเคมีราคาเท่าไร ถามเลย เขาตอบมาดังนี้ครับ เป็นเอกสารของคุณไพรินทร์เอง ที่ยื่นต่อคณะกรรมาธิการฯ ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลการซื้อขายแอลพีจีระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกับ ปตท.ชัดเจนนะครับ
ปานเทพ- ครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ชัดเจนนะครับ ผมจะให้ดูราคาเลยนะครับ นี้ครับคือราคา 1 ปีย้อนหลังระหว่างกรกฎาคม 55 ถึงมิถุนายน 56 ถือว่าใหม่นะครับ ถือว่าใหม่แล้ว จะเห็นได้ว่าราคาอยู่ระหว่าง 16 17 18 ประมาณนี้เอง ผมก็เลยบอกว่า จริงๆ เห็นไหมครับ ปตท.แจ้งว่าปิโตรเคมีซื้อก๊าซหุงต้มเพียง 16-18 บาท แต่กลับพิมพ์เอกสารออกมาว่าซื้อมาประมาณ 24 ทีนี้ 24 มันรวมภาษีด้วย ผมก็หักภาษีให้เหลือ 22 บาท
ปานเทพ- เหลือ 22 บาท
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เหลือ 22 บาทกว่า เพราะฉะนั้น 2 อันตอบไม่ตรงกันนะครับ แต่ว่าไอ้ 16 บาท มันมาตรงกับเอกสารของ ปตท.เอง ที่รัฐมนตรีพูดในสภาฯ ผมว่าอันนั้นคือจริง
ปานเทพ- ครับ คือที่เราหยิบยกมาเพื่อบอกให้เห็นว่า เวลาประชาสัมพันธ์ว่าประชาชนเดือดร้อนต้องขึ้นราคา มักจะมีคนถามบอกว่าแล้วทำไมปิโตรเลียมถึงซื้อในราคา
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ปิโตรเคมี
ปานเทพ- ปิโตรเคมีถึงได้ซื้อในราคาที่ไม่แพง ก็มีบอกไม่ใช่ไม่แพง เขาซื้อแพง 22.30 บาท แต่พอมาตรวจสอบจริงๆ มันไม่ใช่ยังงั้น
ม.ล.กรกสิวัฒน์- มันไม่ใช่ แล้วการตอบในสภาฯ ก็ไม่ใช่ ก็มีคนมาจับคำพูดว่าท่านรัฐมนตรีพูดว่าในอดีต 16.20 บาท เราจึงออกเอกสารมาจะเห็นได้ว่าไม่ใช่ใสนอดีตแล้วปี 56 วันนั้นที่ตอบท่านตอบแถวๆ นี้ พฤศจิกายนท่านตอบว่า 16.20 ไม่เป็นไรมันห่างกันนิดหน่อย ก็ต้องบอกว่าวันนี้เรามีข้อมูลใหม่ถึงมิถุนายน 56 แล้วนะ มันก็ 17 บาท ดังนั้นโดยราคาเฉลี่ยก็ประมาณ 17 บาท ดังนั้นนี้คือข้อมูลข้อเท็จจริง แต่อย่างไรก็ดีหลังจากที่ทางคุณไพรินทร์เห็นอันนี้ ก็ตอบใหม่อีก
ปานเทพ - ตอบมา
ม.ล.กรกสิวัฒน์- บอกว่าจริงๆ 16-17 บาท มันมี แต่ว่าซื้อที่โรงกลั่นด้วยที่ 28 สรุปซื้อที่โรงแยกก๊าซ 16-17 บาท แล้วปิโตรเคมีก็ไปซื้อที่โรงกลั่นด้วยราคา 28 ผมถามกลับ
ปานเทพ- มันจะเกิดคำถามทันทีเลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ว่าสมมติเราเป็นนักธุรกิจ เราได้ซื้อวัตถุดิบคือแก๊สหุงต้ม แหล่งหนึ่งขายเรา 17 บาท อีกแหล่งหนึ่งขายเรา 28 บาท คุณปานเทพจะเลือกซื้ออันไหน
ปานเทพ- ผมก็ต้องเลือกซื้อของที่ถูกที่สุด
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกต้องในทางธุรกิจเราต้องซื้อให้มากที่สุด
ปานเทพ- เท่าที่กำลังการผลิตจะผลิตได้
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกต้อง
ปานเทพ- แล้วข้อสำคัญก็คือว่า มันเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ที่มีคนได้ประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่ง
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกต้อง
ปานเทพ- คือกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปซื้อในราคาถูกๆ ถูกกว่าตลาดที่้เขาขายกัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกต้อง
ปานเทพ- มันยิ่งมีคำถามที่เกิดข้อโต้แย้งกันขึ้นไปอีก
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกต้อง เพราะฉะนั้นในทางธุรกิจต่อให้มีราคา 28 บาทจริงที่โรงกลั่น แต่ผมเป็นปิโตรเคมีผมได้สิทธิ์ซื้อ 17 บาท ผมย่อยซื้อ 17 บาทให้เต็มเหนี่ยว หรือ 100 เปอร์เซ็นต์เลยก็ได้ ดังนั้นที่คุณไพรินทร์ตอบมาผมสงสัยนะ ว่าโอเคมีราคาที่โรงกลั่นจริง แต่ท่านซื้อจริงหรือเปล่า
ปานเทพ- ซื้อจริงหรือเปล่า ซื้อปริมาณ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- แล้วเมื่อท่านพูดแบบนี้ ท่านต้องมีความรับผิดชอบถูกไหมครับ ถ้าท่านไพรินทร์ตอบมาแล้ว กรรมาธิการฯ จึงส่งหนังสือให้อีกฉบับหนึ่ง บอกว่าในเมื่อท่านพูดแบบนี้ขอรู้ได้ไหมปริมาณที่ท่านขายให้ปิโตรเคมี ที่ปิโตรเคมีลูกของท่านซื้อ ซื้อจากโรงแยกก๊าซกี่ตัน ซื้อจากโรงกลั่นที่ว่าแพงๆ กี่ตัน
ปานเทพ- จะเห็นเลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ส่งไปแล้วนะครับ ตอบกลับมาแล้วครับ
ปานเทพ- เป็นยังไงครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ไม่ตอบครับ
ปานเทพ- ไม่ตอบ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ไม่ตอบแล้วตอบว่าเป็นความลับทางการค้า เห็นหรือยังว่าเราได้พยายามให้เขาแสดงเอกสารว่าอะไรคือจริงอะไรคือเท็จ ถ้ามันออกเป็นจริงตามเขาเราก็จะพูดให้เขา ถูกไหมครับ
ปานเทพ- ครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- วันนี้พูดมาว่ามีทั้ง 17 ทั้ง 28 แสดงสิว่าเท่าไร
ปานเทพ- แสดงว่าซื้อปริมาณเท่าไร
ม.ล.กรกสิวัฒน์- แสดงไม่ได้ บอกเป็นความลับนะครับ ครั้งแรกตอบมาว่าเป็นความลับทางการค้า เราก็ตอบกลับไปว่างั้นไม่เอาลูกค้าคนอื่นเอาเฉพาะลูก ปตท. ซึ่งรัฐวิสาหกิจถือหุ้นต้องให้ข้อมูลกับกรรมาธิการฯ ได้ ถูกไหมครับ ก็กลับมาเหมือนเดิมครับ ความลับทางการค้า
ปานเทพ- นอกจากคำถามความลับทางการค้าแล้วก็ต้องถามด้วยว่า ปตท.มใช้สิทธิ์อะไรในการเอาทรัพย์พยากรไปขายต่ำกว่าราคาตลาดที่โรงกลั่นอื่นเขาขาย ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ใช่ไหมครับ มันก็ต้องเกิดคำถามโดยปริยาย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกๆ ที่นี้ต้องบอกว่าหลังจากที่ตอบไม่ตรงกัน รัฐมนตรีตอบไม่ตรงกันนะครับ นักข่าวมีช่องหนึ่งก็เอาไปถามรัฐมนตรีในการรัฐมนตรีโฟนอิน รัฐมนตรีก็คงไม่ได้เตรียมตัวนะ ไปฟังท่านว่า
ปานเทพ- ท่านตอบว่ายังไง
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ท่านว่ายังไง ฟังแล้วพวกเราก็อาจมีรอยยิ้มว่า มันเป็นแบบนี้ได้ยังไงกัน
ปานเทพ- ลองดูนะครับ
(คลิป)
ผู้สัมภาษณ์- เมื่อสักครู่นะคะที่รัฐมนตรีท่านบอกถึงตัวเลข พอต้นทุนเสร็จแล้วบวกๆ เนี่ยนะคะ มันกลายเป็นตัวเลข 18 บาทกว่าตอนนี้ แล้วก็เตรียมจะขึ้น 1 กันยายน ที่ละ 50 สตางค์ คำถามคือว่า 18 บาทกว่านี้ ตกลงตัวเลขที่ ปตท. ซื้อแอลพีจีตัวเลขมันไม่ตรงกันเพราะว่า ในรายการมีอนุกรรมาธิการฯ ของวุฒิสภาฯ นะคะ ท่านน่าจะรู้จักชื่อดี ม.ล.กรกสิวัฒน์ ท่ามีเอกสาร 2 ตัว ตัวหนึ่งกระทรวงพลังงานพิมพ์ค่ะท่าน แล้วในตารางบอกว่าทางปิโตรเคมีใช้ในราคา 24.93 คือซื้อด้วยราคานี้ งั้นปัดไป 25 25 ตัวหนึ่ง อันนี้เอกสารกระทรวงท่านนะคะ ส่วนเอกสารอีกตัวหนึ่ง อนุกรรมาธิการฯ วุฒิฯ เขาได้เอกสารชี้แจงจาก ปตท.มีรายเซ็นคุณไพรินทร์ด้วย เขาบอกว่าตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขมันอยู่ที่ 16 17 18 คำถามคือว่าเอกสารจาก ปตท.และเอกสารของกระทรวงพลังงานที่พูดถึงราคาที่ ปตท.ซื้อแอลพีจีทำไมไม่ตรงกันค่ะ รัฐมนตรี
พงษ์ศักดิ์- คือคุณจับประเด็นคำพูดอย่างนี้เนี่ยนะครับ มาถามไม่ถูกต้อง วิธีการเอาประเด็นตัวเลขมาสอบถาม ท่านจะต้องเอาตั้งดูเลยตัวเลขที่ไพรินทร์เขาบอก 16 บาทกว่า ก็ต้องประชุมกันเลย ตั้งประชุมไพรินทร์เลยนะครับ ว่า 16 มาจากไหน ต้นทุนมายังไง อันนี้ผมไม่ทราบ อันนี้ตัวผมไม่ทราบ แต่ต้นทุน 24 บาท ที่กระทรวงยืนยันจากกองทุนน้ำมันเนี่ยนะครับ ที่ประชุมกันอยู่ที่ขายให้กับปิโตรเคมี 24.93 บาท ราคาที่ปิโตรเคมีขายราคานี้เขาไม่บวก VAT เขาไม่มี VAT เพราะว่า VAT เขาวัตถุดิบ พอผลิตเป็นสินค้าพลาสติกแล้วเขาไปบวก VAT ทีหลัง ไปบวกค่าการตลาดทีหลัง ไปเก็บภาษีทีหลัง นั้นมูลค่าเพิ่มที่มาสมมติกิโลกรัมละ 24 บาท เขาทำพลาสติกมาที่หนึ่งกิโลกรัมหนึ่ง 3,000 10,000 30,000 ไปเก็บ VAT ตรงนั้นได้ภาษีมากกว่า เขาเลยไม่เก็บต้นทางเขาไปเก็บตอนโปรดักซ์ หรือผลิตที่ผลิตได้แล้ว การเก็บภาษีมันเก็บคนละตอน คุณมาคิดคนละตอนมาพูดคนละตอนอย่างนี้มันเป็นตัวเลขที่ใช่ไม่ได้ แล้วก็หลักการทักษะในการพูดนะครับ จูงใจโน้มน้าว จับตัวเลขแล้วมาถามเป็นอย่างนี้คงตอบไม่ได้ เพราะคงยาว วิธีการคิดเราให้ที่ปรึกษาคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาลัยมีชื่อเสียง ทำการวิเคราะห์ต้นทุนนะครับ กองทุนน้ำมันได้จ้างจุฬาลงกรณ์ให้คิดหลักฐานมีทั้งหมด ทำไมท่านไม่ไปถามที่ปรึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เถียงกันเลยว่าตัวเลขนี้มายังไง ไปเถียงกันตัวเลข แต่เป็นการประโคมไปหลอกลวงชาวบ้านว่าตัวเลขจับตรงนี้มาหลอก อย่างนี้คุยกันไม่รู้เรื่องครับ
ผู้สัมภาษณ์- อย่างนี้นะคะ ให้ท่านชี้แจงแบบนี้จะได้ให้เข้าใจว่าตกลงเป็นข้อกล่าวหา ก็รุนแรงนะคะท่าน คำถามคืดว่าตัวเลขที่
พงษ์ศักดิ์- ผมก็ตอบเท่าที่ตอบได้ครับ
ผู้สัมภาษณ์- ได้ค่ะ
พงษ์ศักดิ์- คือผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการคิดนะครับ ก็บอกตรงๆ นะครับ แต่ผมว่ากำกับผมก็ต้องเชื่อถือองค์กรที่สำคัญมีความน่าเชื่อถือ
ผู้สัมภาษณ์- เข้าใจค่ะ
พงษ์ศักดิ์- ที่จะเอาตัวเลขมาโชว์ คือเราทำงานถ้ามีความผิดในการที่คนที่ไปโกงกันจับติดคุกหมดแล้ว ไม่ต้องรอถึงปัจจุบันหรอกครับ
ผู้สัมภาษณ์- เข้าใจค่ะ
พงษ์ศักดิ์- ด่ากันมา 2 ปีกว่าแล้ว ผมเพิ่งมาทำงานอยู่ไม่ถึงปี
ผู้สัมภาษณ์- เข้าใจค่ะ
พงษ์ศักดิ์- ผมต้องมานั่งแก้ปัญหาได้ทั้งหมดนะครับ
ปานเทพ- เป็นอย่างไรครับฟังแล้ว
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ก็ไปพูดถึงเรื่อง VAT ไปเรื่องของวงเงินอื่นๆ ก็บอกว่า บอกด้วยซ้ำว่า อาจจะเป็นข้อมูลที่หลอกด้วยซ้ำไป
ปานเทพ- ใช่ครับ แต่ที่สำคัญที่สุดท่านบอกว่า ให้ไปถามจุฬาฯ หลังจากที่ตอบ 2 ครั้งไม่กัน มาเจอนักข่าวถามทีนี้ไม่ตอบแล้ว เพราะว่า
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ให้ไปถามที่ปรึกษากันเอง
ปานเทพ- ใช่ครับ ต้องกราบเรียนว่า เรื่องไปถามจุฬาฯ มันเป็นเรื่องที่ผมมีรอยยิ้มทุกครั้ง จุฬาฯ ไม่เคยทำครับ จุฬาฯ ไม่เคยทำศึกษาเรื่องราคาก๊าซหุงต้ม สิ่งที่เขาจ้างจุฬาฯ ทำนะครับ คือราคาก๊าซเอ็นจีวี ท่านรัฐมนตรีถือว่า
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ลักไก่นะ อย่างนี้ลักไก่
ปานเทพ- ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่ผมก็ขำนะว่า ท่านก็ไปได้เรื่อยๆ ของท่าน เมื่อท่านตอบราคาไม่ตรงกันวันนี้ ท่านก็ไม่ตอบเลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ท่านก็ไปโบ้ยให้คนอื่น
ปานเทพ- ท่านก็บอกว่า ท่านไม่รู้เรื่องราคา ซึ่งถ้าท่านไม่รู้เรื่องราคา ท่านก็ไม่ควรขึ้นราคาถูกไหมครับ ท่านยังไม่แม่นเลยนะ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ยังไม่รู้เรื่องราคาจะไปขึ้นราคาได้อย่างไร
ปานเทพ- ถูกต้อง ต่อไปบอกไล่ให้ไปถามจุฬาฯ จุฬาฯ เขาก็ไม่เคยทำวิเคราะห์เรื่องราคาของก๊าซหุงต้ม แต่เป็นเรื่องเอ็นจีวีไม่ใช่ก๊าซแอลพีจี จะเห็นได้ว่า การตอบของท่านตกลงใครหลอกประชาชน ใครให้ข้อมูลที่มันไม่กระจ่างต่อประชาชน ผมต้องเรียนถาม ผมรู้สึกว่าเป็นท่านรัฐมนตรีนะครับที่มัน 1.ไม่ชัดเจน ตอบ 2 ครั้งไม่ตรงกัน พอนักข่าวไล่บี้มีหลักฐานก็โบ้ยเลยไม่ตอบ ไล่ไปที่จุฬาฯ ซึ่งจุฬาฯ เขาก็ไม่ได้ทำเรื่องนี้ ดังนั้นวันนี้จะเห็นได้ว่า คุยกับท่านรัฐมนตรีเราจะไม่ได้ข้อเท็จจริง ท่านจะเบี่ยงหนี เมื่อเราไล่จน ท่านจะเบี่ยงหนีๆ แล้วก็ไปในข้อมูลที่มัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ไปเป็นประเด็นอื่น
ปานเทพ- ประเด็นอื่นไปเลย และก็มากล่าวหา ยังดีนะท่านยังไม่ได้พูดชื่อว่าใครที่บอกหลอกประชาชน ถ้าพูดชื่อนะ ผมว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะถูกฟ้อง เพราะว่าเรามองว่า จริงๆ แล้วพวกเรากำลัง ภาคประชาชนกำลังต่อสู้การกระทำที่ส่อไปในทุจริต เอื้อประโยชน์ต่อบางธุรกิจมากเกินไป มากกว่าประโยชน์สูงสุดของประชาชน
ดังนั้นสิ่งที่ท่านพยายามกล่าวหา แหมผมว่า หนักใจ ผมคิดว่ามันจะประเด็นกลับไปที่ตัวท่านเองมากกว่า
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เชิญต่อเลยครับ
ปานเทพ- ทีนี้อันนี้ท่านพูดนิดนึงให้ไปถามคุณไพรินทร์เลย จำได้ไหมครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- จำได้ครับ
ปานเทพ- เราไปเชิญเลยนะ เชิญทั้งท่านรัฐมนตรี เชิญทั้งท่านไพรินทร์ จะเห็นว่าเอกสารในซองเชิญ 2 ท่าน เพราะรัฐมนตรีพูดเองว่า ให้เชิญคุณไพรินทร์มาประชุมเลย เราไปที่หน้ากระทรวงฯ ก่อนชุมนุมนะหลายวันเหมือนกัน บอกว่ามาเลยมาดีเบตกัน เพราะท่านรัฐมนตรีก็ออกข่าวมาแล้วว่า ให้เชิญคุณไพรินทร์มาคุยได้เลย เราก็ไปตามทำนองคลองธรรมทั้งหมด ไม่มีคำตอบอะไรกลับมา นี่แหละครับตกลงฝ่ายไหนจริงใจ ฝ่ายไหนไม่จริงใจ ภาคประชาชนชาวบ้านทั้งนั้นนะครับ ผมก็รู้สึกว่า วันนี้เราจะถามหาความจริงจากเขามันยากเต็มที
ทีนี้มาคลิปต่อไป รัฐมนตรีบอกว่า ที่ปิโตรเคมีซื้อต่ำกว่าอุตสาหกรรมทั่วไป เพราะปิโตรเคมีไม่ต้องจ่ายภาษี ราคาจึงแตกต่างกัน วันนี้อุตสาหกรรมทั่วไปจ่ายราคา 30.13 บาท 30 บาทเลยนะครับ อุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นเซรามิก หรือกระจก หรืออุตสาหกรรมไหนที่ใช้ก๊าซหุงต้มก็ตาม จะต้องจ่ายกิโลกรัมละ 30 บาทกว่า แต่ปิโตรเคมีเราก็เห็นแล้ว เอกสารมาคือประมาณ 17 บาท ท่านก็มาเถียงว่า เป็นเพราะปิโตรเคมีไม่ต้องจ่ายภาษี จึงแตกต่างกัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ลองมาดูกัน
ปานเทพ- เราไปฟังคลิปนะครับ ที่ท่านพูดเป็นหลักฐานว่า ท่านพูดไว้ว่าอย่างไร
(คลิป)
พงษ์ศักดิ์- ซึ่งปิโตรเคมีเมื่อซื้อไป เหตุที่เขาราคาไม่แพงขึ้น มากกว่าอุตสาหกรรม เพราะว่าเขาไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องเสีย VAT เพราะเป็นวัตถุดิบ เขาจะเสียภาษีต่อเมื่อเอาแอลพีจีไปผลิตเป็นเม็ดพลาสติกแล้ว ซึ่งเม็ดพลาสติกมีมูลค่าสูงเช่น 3,000 กิโลฯ 30,000 เป็นต้นนะครับ VAT เขาจะคูณจาก 3,000 30,000 เขาจะได้ VAT มากกว่าที่เก็บตอนต้นทาง เขาได้เก็บ VAT ทีหลัง หลังจากเป็นผลผลิตไปแล้ว คือจัดเก็บแบบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งมีมูลค่าสูงสุด ทีนี้อุตสาหกรรมอื่นเอาก๊าซแอลพีจีไปเผา อย่างโรงงานเซรามิก ก็ต้องเก็บภาษีทั้ง VAT ภาษีสรรพสามิตก็ทำให้ราคาขึ้นไปถึงกิโลละ 30 บาท เหล่านี้ก็เป็นเชื้อเพลิง ก็คือเก็บที่ต้นทางเลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- นี่คือเหตุผลที่ท่านรัฐมนตรีบอกนะครับ
ปานเทพ- เพราะว่าเรื่องภาษีจึงแตกต่างกัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ก็ต้องบอกว่าจริงๆ เป็นอย่างไร เดี๋ยวผมจะให้ดูนะครับ คือฟังแล้วถามว่า ฟังขึ้นไหมต้องถามคุณปานเทพก่อน ธุรกิจอื่นเขาเสีย VAT คือ VAT ขายกันไม่ใช่หรอ
ปานเทพ - ทุกคนก็ต้องซื้อครับ ต้องซื้อต้องขายในทุกธุรกรรม
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - แต่ปิโตรเคมีได้รับการยกเว้น
ปานเทพ- ต้องถามว่า ทำไม ข้อแรกในแง่ของภาษีของประชาชนที่จ่ายไปให้ไปรัฐ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ทำไมจึงได้สิทธิพิเศษว่า VAT ซื้อไม่ต้องเสีย อันนี้ข้อนึงนะครับที่ผมสงสัยมากเลยว่า เอ๊ะมันสิทธิพิเศษอะไรกัน ทีนี้สมมุติเราเป็นโรงงานเซรามิก หรือกระจกก็แล้วกัน VAT ซื้อเราก็เสีย พอ VAT ขายเป็นผลิตภัณฑ์กระจก จะเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิก VAT ขายเสียไหมครับ
ปานเทพ- ต้องเสีย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ก็เสียอยู่ดี ดังนั้นธุรกิจอื่นเขาเสีย 2 เลย ทั้ง VAT ซื้อ VAT ขาย และจริงๆ VAT ขายส่วนใหญ่ก็คือ ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายคือ ประชาชนที่มาซื้อของ ไอ้ๆ ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกเหมือนกัน VAT ซื้อคุณไม่เสีย คุณบอกไปเสีย VAT ขายแพงกว่า แต่ VAT ขาย เดี๋ยวคนซื้อเขาก็คือไปบวกในราคาอยู่แล้ว เท่ากับคุณไม่ได้เสียอะไรเลยนะ แปลกไหมครับ
ปานเทพ- ใช่ครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ดังนั้นที่มาอ้างว่า เม็ดพลาสติกกิโลละ 30,000 เมื่อกี้ได้ยินไหมครับ แปลกไหมครับกิโลละ 30,000 อย่างนี้ถังน้ำใบหนึ่งใบละแสนเลยเปล่า คือมันไม่ใช่สิ่งที่ท่านพูด ถ้าตันละ 30,000 ก็พอเชื่อ บอกกิโลละ 30,000 นี่ฟังแล้วไม่ค่อยน่าเชื่อ และที่สำคัญที่สุดเท่ากับภาษีเหมือนไม่เสียเลย VAT ซื้อก็ไม่เสีย VAT ขายก็ผลักให้ผู้ซื้อถูกไหมครับ เพราะฉะนั้นฟังแล้วฟังไม่ขึ้น
ปานเทพ- VAT ซื้อก็ไม่ต้องเสีย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เมื่อกี้บอกไม่เสีย บอกที่คนอื่น อุตสาหกรรมอื่นเขาจ่ายค่าแอลพีจีแพงเพราะว่า ต้องไปเสีย VAT แต่ปิโตรเคมีไม่ต้องเสีย VAT
ปานเทพ- VAT ขายก็บวกไปในราคาเสร็จไปเคลม VAT มาได้อีก เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วก็คือ ไม่ได้เสียอะไรเลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ไม่ได้เสียอะไรเลย แปลกไหมครับ และจริงๆ ผมอยากจะพิสูจน์อย่างนี้ให้เห็นเลยว่า จริงๆ มันเป็นจริงหรือเปล่า จริงๆ สิ่งที่ท่านพูด ผมไม่คิดว่าเป็นจริง เพราะราคาก่อนภาษี ปิโตรเคมีก็จ่ายต่ำกว่าอยู่แล้ว ผมเลยแยกภาษีออกก่อนเลยนะ
ปานเทพ- หักออกเอาดูเลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เพื่อให้ภาษีไม่เป็นประเด็นในการถกเถียงไง หักภาษีออกก่อนเลย หักภาษีแยกไปเป็นบรรทุกสุดท้าย จะเห็นว่า ปิโตรเคมีซื้อ 16-17 บวกกองทุนรวมแล้วประมาณ 17 บาทกว่า อุตสาหกรรมอื่นเสียอย่างนี้นะครับ 10 บาท และเจอกองทุนน้ำมัน 12 และเจอค่าการตลาด 3 บาท รวมเป็น 25.78 จะเห็นได้ว่า ราคาก่อนภาษีในอุตสาหกรรมทั่วไปจ่ายแพงกว่า
ปานเทพ- แค่นี้ก็ไม่แฟร์แล้ว เฉพาะถ้าพิจารณาจากแผนภูมินี้นะครับ คือตารางนี้ เฉพาะกองทุนน้ำมันปิโตรเคมีจ่าย 1 อุตสาหกรรมจ่าย 12 บาท ก็ไม่มีเหตุผลแล้วว่า ทำไมหน่วยธุรกิจที่ทำการค้า เพื่อธุรกิจแสวงหาผลกำไรถึงต้องจ่ายไม่เท่ากันในเรื่องของกองทุนน้ำมันนะครับ และราคาที่ซื้อของต้นทุนเลย เอาเนื้อก๊าซก่อน ราคาที่แจ้ง 16.20 กับอุตสาหกรรม 10 บาท อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาบอกว่า เห็นไหมมันไม่เท่ากันตรงนี้ แต่มันไม่มีเหตุผลที่ทำไมกองทุนน้ำมันถึงจ่ายได้ไม่เท่ากัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ใช่ ต้องกราบเรียนว่า ตรงนี้เวลาที่เขาไปเสนอท่านรัฐมนตรี เขาจะเสนอแค่บรรทัดเดียว
ปานเทพ- ท่อนแรกเลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ให้เห็นว่า
ปานเทพ- อุตสาหกรรมเนี้ย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- อุตสาหกรรมพวกนี้มันได้เปรียบจ่ายแค่ 10 บาทเอง
ปานเทพ- จ่ายถูกมาก
ม.ล.กรกสิวัฒน์- แต่ปิโตรเคมีเขาจ่ายแพง แต่ไปดูไส้สิครับ สุดท้ายไอ้ตรงข้างล่างมันวนกลับไปที่ธุรกิจน้ำมันทั้งสิ้น ดังนั้นเขาใช้กองทุนน้ำมันเป็นตัวเร่ง เป็นตัวซ่อนแหล่งรายได้ของธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจพลังงาน ดังนั้นเองก็ดูตรงนี้ให้ดูว่า เห็นไหมครับ ตรงนี้อุตสาหกรรมอื่นเขาได้เปรียบ และมาดูบรรทัดกองทุนมันน้ำสิครับ จะเห็นได้ว่ากองทุนน้ำมันมันชัดเจนมากเลยว่า ทำไมคนอื่นเขาจ่าย 12 บาทกว่า ทำไมปิโตรเลียม
ปานเทพ- คือเอาบรรทัดแรกมาพูดกับประชาชน เพราะว่าถ้าไม่มีบรรทัดแรกพูดได้ยาก อธิบายกับประชาชนยาก ก็เอาบรรทัดแรกมาพูดกับประชาชนให้มากว่า เห็นไหมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อราคาแพง
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ไม่ใช่แค่นั้นด้วยนะครับ บรรทัดแรกพูดกับประชาชน และเสนอเวลาที่เข้าประชุมต่างๆ ดังนั้นมันจึงออกมาเป็นแบบนี้ ดังนั้นเองวิธีดูที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้สับสน ดูบรรทัดเดียวนี้เลยว่า ใครจ่ายแพงใครจ่ายถูก จะเห็นได้ว่า ปิโตรเคมีได้เปรียบเขาด้วยเหตุอันใด ทำไมจึง ตรงนี้คือเรื่องความเป็นธรรมนะครับ จะมาอ้างว่า ธุรกิจปิโตรเคมีมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจกระจกเขาไม่ดีหรอ ธุรกิจเซรามิกของประชาชนเขาไม่ดีอย่างไร ดังนั้นจริงๆ แล้ว มันต้องใช้เรื่องความเป็นธรรมมากกว่าว่า อะไรคือความเป็นธรรมในการกำหนดราคา และที่สำคัญที่สุดที่คุณปานเทพ แตะตรงนี้ เรื่องกองทุน เมื่อเป็นเช่นนี้นะครับ เงินมันขาดหายไป 30,000 ล้าน จากการจ่ายกองทุนน้ำมันที่ต่ำ หรือจากราคาที่แตกต่างกันเงินหายไป 30,000 กว่าล้าน เงินตรงนั้นเท่ากับว่าที่กองทุนน้ำมันขาดทุนอยู่ครับ ดังนั้นการแก้ปัญหาเรื่องก๊าซหุงต้ม และเรื่องราคาน้ำมันแก้ง่ายมาก
ปานเทพ- เพิ่มกองทุนน้ำมันที่ปิโตรเคมี
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เพียงปรับราคาให้เท่ากัน รับรองเลยว่า กองทุนน้ำมันไม่เป็นหนี้เลย
ปานเทพ- จบเลย ไม่ต้องมาเก็บจากประชาชน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ไม่ต้องเก็บจากน้ำมันเบนซิน และดีเซลด้วย ที่รัฐมนตรีพูดว่า ทุกวันนี้ไม่เป็นธรรม เพราะมาเก็บกองทุนน้ำมันกับผู้ใช้น้ำมัน ทั้งที่จริงๆ เราอุ้มก๊าซหุงต้ม ถามเนี้ยอุ้มให้ใคร ตอบตรงนี้ให้ชัด และถ้าเกิดเก็บจากปิโตรเคมีเท่ากับคนอื่นเมื่อไหร่นะครับ ราคาน้ำมันเบนซินลดทันที 10 บาท
ปานเทพ- โดยที่เราไม่ต้องจ่ายกองทุนน้ำมัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ไม่ต้องทำอะไรแล้ว 10 บาทจะหายไปเลย ราคาน้ำมันลดทันที เฮทั้งประเทศ ผมว่ารัฐบาลไหนกล้าทำ คนก็เลือกพรรคนั้นตลอดแหละครับ แต่ทำไมวันนี้แก้ปัญหาจึงผิดจุด จึงไปผลักให้ประชาชนทั้งๆ ที่ ควรจะให้อุตสาหกรรมทั้งคู่ ถ้าเชื่อว่า 30 บาท เป็นราคาที่เหมาะสม
ปานเทพ- ปิโตรเคมีก็ต้องขึ้นสิ มีสิทธิอะไรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีถึงได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนอื่นเขา
ม.ล.กรกสิวัฒน์- จะเห็นได้ว่า คำพูดของท่านรัฐมนตรีนั้น เห็นไหมครับมันพิสูจน์ได้หมดว่า ท่านพูดแล้วมันไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
ปานเทพ- หรือหยิบเป็นส่วนๆ มา
ม.ล.กรกสิวัฒน์- หยิบเป็นส่วนๆ มา
ปานเทพ- เดี๋ยวเราพักกันสักครู่ และมาช่วงหน้าติดตามประเด็นนี้กันต่อนะครับ อย่างใกล้ชิด พักกันสักครู่นะครับ
ปานเทพ - ช่วงสุดท้ายของรายการสภาท่าพระอาทิตย์นะครับ เรากำลังสนทนาอยู่กับ ม.ล.กรกสิวัฒน์ อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และก็ย้ำอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่เวลานี้ จนถึงเวลาบ่ายสาม ทั้งวันนี้ พรุ่งนี้ และสัปดาห์หน้า วันเสาร์และวันอาทิตย์นะครับ ทางพันธมิตรรักคุณเท่าฟ้าได้ทำเสื้อสัญญาใจขึ้นมา เพื่อเป็นการรำลึกถึงสิ่งดีๆ นะครับ เป็นเสื้อคอกลม 8 สี เพื่อรองรับกับงานวันที่ 5 วันที่ 6 ซึ่งเป็นงานพันธมิตรสัมพันธ์ และวันที่ 7 ตุลา ในราคา 250 บาท และ 300 บาท ส่วนคอปกนะครับที่เขียนลายมือคุณสนธิ เรารักในหลวงนะครับ ราคา 350 บาท และ 400 บาท รายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้กับเอเอสทีวีนะครับ ท่านผู้ชมที่สนใจ เวลานี้ จนถึงเวลา 15.00 น. มาช่วงที่ 2 กับ มล.กรกสิวัฒน์ กันนะครับ เชิญครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ครับ ต้องบอกว่า ในรายการของท่าน ถ้าใครที่มีความรู้เรื่อง ความจริงในเรื่องนี้ ฟังแล้วจะรู้สึกว่า
ปานเทพ - แค้นใจใช่ไหม
ม.ล.กรกสิวัฒน์- มันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้บ้าง และคนที่เป็นรัฐมนตรี ถ้าท่านพูดด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็ถามว่าท่านไม่รู้เรื่องในทรัพยากรเราเลย
ปานเทพ - และที่สำคัญคือว่า สมมติตัดเรื่องฉ้อฉล สมมติแค่ไม่รู้นะครับ จะไปขึ้นราคากับประชาชนได้ไง ใช่ไหมครับ คือถ้าไม่รู้แล้ว ผมไม่รู้อันนั้น ผมไม่แน่ใจอันนี้ อันนี้ตอบเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยๆ จะไปมีความชอบธรรมได้ไง ที่จะไปขึ้นราคาโดยที่มีประชาชนออกมาต่อต้านอยู่
ม.ล.กรกสิวัฒน์- จริงๆ แล้วที่เราท้วงติงเพราะเราเชื่อว่า ข้อมูลที่ท่านใช้มันไม่ถูกต้อง สมมุติเราเชื่อว่าท่านบริสุทธิ์ใจนะครับ ท่านก็น่าจะเอะใจว่า สิ่งที่เราได้รับข้อมูลจากกระทรวงมันถูกต้องหรือเปล่า เพราะกระทรวงวันนี้ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นกรรมการในธุรกิจพลังงานหมดแล้ว ท่านน่าจะตระหนักว่าสิ่งที่ท่านได้รับอาจไม่ถูกต้องก็ได้ ขอลองฟังภาคประชาชนหน่อยไหม และจริงๆ ต้องกราบเรียนว่า เรื่องแบบนี้ ที่ผมพูดทั้งหมด กับคุณปานเทพ ทุกคนตรวจสอบได้หมดแหละว่า ข้อมูลเป็นยังไงบ้าง ฟังแล้วมันมีเหตุผลหรือไม่มี ผมว่าทุกคนฟังได้ ผมก็พยายามสร้างความเป็นธรรมกับท่านรัฐมนตรีนะครับ และสอบข้อมูลทุกอย่างให้ชัดเจน เพราะว่า ต้องอย่าลืมว่าการต่อสู้เรื่องพลังงาน เรากำลังต่อสู้กับทุนที่เขามีกำไรปีละเป็นแสนล้าน เขามีฝ่ายกฎหมายขนาดใหญ่ ที่เขาฟ้องร้องพวกเราได้แบบชนิดที่เรียกว่า เต็มเหนี่ยว
ปานเทพ - และมีโฆษณาได้อีกเยอะแยะในการประชาสัมพันธ์
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เพราะฉะนั้น ถ้าทางเราไม่มั่นใจ เราจะไม่ทำ เราต้องสอบแล้วสอบอีกในเรื่องนี้ เราคิดว่าเรื่องนี้ภาคประชาชนมั่นใจว่า มีความไม่ถูกต้องแน่นอน อย่างในคลิปต่อไป ท่านรัฐมนตรีพูดว่า ก๊าซอ่าวไทยผลิตแอลพีจีได้ 150,000 ตันต่อเดือน นะครับต่อเดือน นะครับ แล้วก็ไม่พอต่อการใช้ของครัวเรือน ยังไงก็ต้องนำเข้า ครัวเรือนใช้มากกว่านี้ ต่อให้ไม่มีปิโตรเคมียังไงก็ไม่พอ ประมาณนี้นะ เขาพูดประมาณนี้ เดี๋ยวเราไปดูว่า ความจริงเป็นเช่นไร ฟังคลิปท่านรัฐมนตรีก่อนนะครับ
ผู้สัมภาษณ์- ท่านครับมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการเอาไปใช้ในธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาก เลยทำให้ครัวเรือนต้องนำเข้า ได้รับผลกระทบ มันเท็จจริงยังไงครับ
พงษ์ศักดิ์ - ปัจจุบันแก๊สอ่าวไทย ผลิตสำหรับใช้ในประเทศ แอลพีจีในประเทศได้เดือนละประมาณ 150,000 ตัน ซึ่งครัวเรือนเราใช้แก๊สประมาณ 180,000 ตัน ยังไงก็ต้องนำเข้าอยู่แล้ว
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ก็ต้องบอกว่า ท่านพูด บอกเลยว่า ไม่พอ
ปานเทพ - เพื่อจะบอกให้เห็นว่า ยังไงเราก็ต้องนำเข้า
ม.ล.กรกสิวัฒน์- คือจะพยายามบอกว่า ของมันไม่พอ ไม่เกี่ยวกับปิโตรเคมี มันก็ไม่พออยู่แล้ว อยากรู้ความจริงไหมครับ
ปานเทพ- เชิญครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- อันนี้ผมรู้สึกว่าท่าน ถ้าท่านจริงใจนะ ผมว่าท่านไม่เหมาะเป็นรัฐมนตรีแล้ว เพราะท่านมีความรู้เรื่องพลังงานในอ่าวไทยน้อยมาก และพลังงานในประเทศไทยน้อยมาก ความเป็นจริงนะครับ วันนี้ ปี 55 โรงแยกก๊าซที่แยกก๊าซจากอ่าวไทย ผลิตแอลพีจีได้ 3.3 แสน ท่านพูดว่า 150,000 เองนะ หายไปกว่าครึ่ง ครัวเรือนใช้ประมาณ 250,000 ยังไงก็พอ
ปานเทพ - ยังไงก็พอใช้ ถ้าไม่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ใช่ ยังไงก็พอใช้ ไม่ต้องนำเข้าแม้แต่หยดเดียว และอีกอย่างหนึ่ง จริงๆ จะพอมากกว่านี้อีก เพราะว่า จริงๆ ยังมีก๊าซอีกประมาณ 2 ล้านตันต่อปีนะครับ เป็นแสนนะ แสนตันต่อเดือนที่ยังไม่ถูกแยกมา คือมันผลิตก๊าซธรรมชาติเข้ามาได้ แต่ว่าโรงแยกแก๊สไม่พอ
ปานเทพ- และโรงแยกแก๊สไม่พอ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ผมพาไปดูตารางนี้นะ ตารางนี้ท่านรัฐมนตรีดาวน์โหลดได้เลย
ปานเทพ - จากเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงานเอง
ม.ล.กรกสิวัฒน์- กระทรวงพลังงานเองนะครับ เดี๋ยวจะพิสูจน์ให้ดูว่า ไอ้ตรง 3.3 แสนตันต่อเดือน ที่รัฐมนตรีพูดว่าแสนห้า ท่านพูดไม่จริงอย่างไร ไปดูตารางนะครับ ผมเอาตารางมาให้ดูเลย
ปานเทพ- เชิญครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ตารางหมายเลขนี้ เห็นคำนี้ไหมครับ GSP คือโรงแยกก๊าซ ผลิตได้ 4 ล้านตันต่อปี 4 ล้านตันต่อปีนี่ หางจริงๆ คือ 3.3 แสนตันต่อเดือน เอาหาร 12 ง่ายๆ เลย 4 ล้าน หาร 12 ออกมา 3.3 แสนตันต่อเดือน เห็นไหมครับ พิสูจน์แค่นี้ก็รู้แล้วว่า รัฐมนตรีพูดไม่ตรงความเป็นจริง
ปานเทพ- เป็นตารางของกระทรวงพลังงานเองด้วย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ใช่ครับ ชัดเจนนะ ตัวเลขนี้ท่านลองหารดูเอง ท่านจะพบว่า ท่านรัฐมนตรีหลอกเราอีกแล้ว จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้ว ก๊าซที่นำเข้านะครับ ตรงนี้ ล้านเจ็ด ถูกไหมครับ 1 ล้าน 7 แสนตัน นะครับ ที่นำเข้า ตรงนี้จริงๆ แล้วเรายังมีก๊าซอ่าวไทยที่ผลิตแอลพีจีได้ 2 ล้านตัน
ปานเทพ - แต่ยังไม่ถูกแยกออกมา
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ไม่ถูกแยกออกมานะครับ ก๊าซอ่าวไทยนี่้ข้อมูลกระทรวงพลังงานเอง จะเห็นว่าก๊าซจากอ่าวไทยมันเพิ่มขึ้นๆ วันนี้ ก็เพิ่มขึ้นไปอีกนะครับก็ต้องบอกว่า ตรงนี้ครับ ที่ผมบอก วันนี้ก๊าซขึ้นมา 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต เข้าโรงแยกก๊าซได้แค่ 60% อีก 40% เข้าไม่ได้ ไอ้ 40% ตรงนี้ ที่เข้าไม่ได้ มันมีแอลพีจีอยู่ด้วยประมาณ 2 ล้านตัน ดังนั้นถ้ามีการสร้างโรงแยกก๊าซให้พอไม่ต้องนำเข้าเลย มานานแล้วด้วย วันนี้ก๊าซแอลพีจีจึงปนไปกับก๊าซมีเทน แล้วไปเผาปั่นไฟ ตรงนี้เป็นการทำลายทรัพยากรที่มีค่า
ปานเทพ- สูญเสียไปอย่างที่ควรจะเป็น
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกต้องครับ เพราะก๊าซมีเทน เหมือนเศษไม้ ก๊าซหุงต้มเหมือนไม้สัก ควรแยกออกมาใช้ ก็ไม่แยก เพราะอยากนำเข้า นี่ผมสงสัยนะ อาจเพราะอยากนำเข้าให้เห็นว่าราคาสูง จะได้ปรับราคาได้
ปานเทพ - จะได้ปรับราคาขึ้นได้
ม.ล.กรกสิวัฒน์- และมีการอ้างว่า โรงแยกก๊าซมัน 20,000 ล้านบาทต่อโรง ต้องบอกว่าตอนแปรรูปเขาตีให้โรงละ 800 ล้าน มีอยู่ 4 โรง เขาให้ 3,200 ล้าน เอาแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์นะ โรงละ 800 ล้าน วันนี้จะสร้างใหม่บอก 20,000 ล้าน ผมบอก เอ้า 20,000 ล้าน สมมติผมเชื่อว่าจริง แต่วันนี้ การชดเชยแอลพีจีมันเกิน 20,000 ล้านนะครับ ดังนั้นเอาเงินแทนที่จะชดเชยแอลพีจีมาสร้างโรงแยกก๊าซ สมมติ ปตท. บอกไม่สร้าง เอ้า หลวงสร้างเลย จะมีก๊าซใช้พอ โดยไม่ต้องนำเข้า แต่วันนี้ นำเข้าเงินออกนอกประเทศไป เพียงเพราะอะไร เพราะไม่สร้างโรงแยกก๊าซ ผมต้องบอกว่า ถ้า ปตท.ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ผมจะตำหนิเขายาก เพราะเขาเป็นเอกชน แต่พอเขาเป็นรัฐวิสาหกิจ เขาต้องทำให้พอ และเขากำไรปีละแสนกว่าล้าน ก่อนภาษี เขาสร้างโรงแยกก๊าซ 20,000 ล้าน เขาบอกเขาไม่สร้างนี่ ถามว่า
ปานเทพ- มันจะมีเหตุผลได้ยังไง
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ผู้บริหารเห็นแก่ตัวเกินไปไหมครับ รัฐวิสาหกิจ ประโยชน์สูงสุดของการตั้งรัฐวิสาหกิจคืออะไร เพื่อรับใช้ประชาชนใช่ไหมครับ แต่วันนี้ รัฐวิสาหกิจกลับมาพูดว่า ไม่เอาหรอก ไม่สร้าง กำไรปีละเป็นแสนล้านนะ ไม่สร้างหรอกมันแพง แต่ตัวเองกำไรอยู่นะ ถ้าวันนี้ ปตท.ขาดทุน และพูดว่า ไม่สร้างหรอก เพราะขาดทุน พอรับได้นะ แต่พอกำไรเป็นแสนล้าน และบอกไม่สร้างหรอกมันไม่คุ้ม ตัวเลขไหนถึงจะคุ้ม เพราะวันนี้ ธุรกิจก๊าซที่อยู่ในงบการเงิน ท่านไม่เคยขาดทุนนะ มันเป็นบวก ปีที่แล้วก็บวกประมาณเกือบ 40,000 ล้านบาท นะครับ ถ้ารวมธุรกิจขุดเจาะด้วยอีกแสนกว่าล้าน จะเห็นได้ว่า ความจริงมันพิสูจน์ได้ทุกข้อ ที่ท่านรัฐมนตรีพูดมาทั้งหมด
ทีนี้ ประเด็นต่อมา รัฐมนตรีพลังงานบอกว่า ต้องขึ้นราคาเพราะมีการลักลอบ
ปานเทพ - อันนี้พูดบ่อย มีโฆษณาหลายชิ้น พูดทำนองนี้เรียกว่า ถ้าเราไม่ขึ้นราคา เดี๋ยวคนจะลักลอบไปตามประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เราต้องไปชดเชยให้เพื่อนบ้านอีก
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ก็ต้องถามว่า ก๊าซหุงต้มถังหนึ่ง มันใหญ่ไหมครับ ถังหนึ่งมันใหญ่นะครับ ถัง 15 กิโลมันก็ใหญ่ มันไม่ใช่ยาเสพติดนะ จะได้แอบพกตรงนั้นตรงนี้ และเอาไปขาย
ปานเทพ- มันไม่ใช่ยาบ้า
ม.ล.กรกสิวัฒน์- มันไม่ใช่ยาบ้านะ ถ้าถังหนึ่งมันใหญ่ขนาดนี้และได้กำไรถังละ 300 แต่ถังมันใหญ่มาก เสี่ยงมากนะครับ ผมถามว่ามันผิดที่การจับกุมหรือเปล่า ถ้าวันนี้ ลักลอบกันไม่ถึง 1% ของประเทศ แต่ต้องลงโทษประชาชนด้วยการขึ้นราคาทั้งประเทศ ผมว่าท่านแก้ผิดจุด จริงๆ ควรเน้นที่การจับกุม ถูกไหมครับ และที่สำคัญกว่านี้ มาเลเซีย น้ำมันเบนซิน 19 บาท เบนซินดีเซลประมาณ 19 บาท เอ็นจีวี 6 บาท ทำไมเขาไม่ขึ้นราคาล่ะครับ เดี๋ยวเออีซีจะเปิดแล้วนะ และบรูไน น้ำมัน 6 บาท สงสัยต้องขึ้นราคากันหมด ไม่มีประเทศไหนพูดเลยว่า จะขึ้นราคาเพราะเออีซี อย่างนี้ต้องถามกลับไป ตกลง เออีซี มันดีหรือไม่ดี
ปานเทพ - ถ้ามันดี แล้วทำไม ทำให้เราต้องแย่ลง
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ใช่ครับ และอีกประเด็นเรื่อง ก๊าซหุงต้ม ที่เขาพยายามเปรียบเทียบ ผมต้องบอกเลยว่า ประเทศพม่า ลาว เขมร ผลิตก๊าซหุงต้มไม่ได้ เขาต้องนำเข้าทั้ง 100% ย่อม ใช้แพงถูกต้องไหมครับ
ปานเทพ- ต้องไปบวกเพิ่มอีกตั้งหาก
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ยังไงเขาต้องนำเข้าจากประเทศอื่น ต้องแพง แต่ประเทศไทย เหมือนเราเป็นเจ้าของสวนผลไม้ เราจะกินมะม่วงในสวนเราเอง ต้องกินราคาตลาดโลกหรือเปล่า แล้ววันนี้อย่างที่ผมบอก ก๊าซจากอ่าวไทยมันผลิต LPG เพียงพอ แต่มาบอกว่าวันนี้คนไทยต้องใช้แพงแล้วนะเพราะพม่า ลาว เขมร เขาใช้แพง มันเปรียบเทียบในสิ่งที่ไม่เท่ากัน แล้วที่สำคัญที่สุดประเทศที่ผลิตได้ LPG จะเป็นมาเลเซีย หรืออินโดนีเซียก็ตามก็ราคาประมาณนี้ อย่างมาเลเซีย 20 บาท ส่งถึงบ้าน ของเราบอก 18 บาทใช่ไหมครับ ไม่ใช่ส่งถึงบ้านนะครับ ส่งถึงบ้านก็ 20 บาทเหมือนกัน ดังนั้นจริงๆสำหรับประเทศที่ผลิตก๊าซเองได้ ราคาเท่ากัน แต่อย่าไปเทียบกับประเทศที่ผลิตไม่ได้ แล้วบอกคนไทยต้องใช้แพงนะ
ปานเทพ- เพื่อเป็นข้ออ้างว่าประเทศอื่นๆ ก็ราคาแพงกว่านี้
ม.ล.กรกสิวัฒน์- แต่มันเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่เป็นธรรม ทีนี้ไฟฟังท่านพูดนะครับ จะได้มีความรู้สึกร่วมกับผมว่า แหม พูดแต่ละคำ ผมรู้สึกไม่สบายใจกับคำพูดท่านเลย
(คลิป)
พงษ์ศักดิ์- คนขโมยแก๊สไปขายครับ ราคาต่างกัน อย่างเพื่อนบ้านกิโลฯ นึง 40 กว่าบาท ถังหนึ่งของเราขาย 18 บาท วันหนึ่งได้ 20 บาท ขนไป ถัง 15 กิโลฯ ถังละ 300 10 ถังก็ 3 พัน แป้บเดียว
ผู้สัมภาษณ์- ตอนนี้เท่ากับว่า คนที่ใช้น้ำมันในประเทศ จ่ายเงินให้กับคนใช้แก๊สประเทศเพื่อนบ้าน
พงษ์ศักดิ์- และคนในบ้านเราด้วยที่ขโมยไปขายทำอย่างอื่น
ผู้สัมภาษณ์- ทีนี้ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆมันจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจไหม
พงษ์ศักดิ์- กระทบอย่างมากครับ เพราะทำให้คนหันไปทำอาชีพโดยมิชอบ ผมเคยถามชมรมหลายครั้งให้ตอบผมว่า ตกลงท่านมาคัดค้านการขึ้น LPG ท่านไปต่อต้าน LPG เพื่อคนรวย หรือเพื่อโจรที่ขโมยแก๊สเอาไปขาย มี 2 กลุ่ม คนจนไม่ขึ้นราคา ผมตั้งคำถาม
ผู้สัมภาษณ์- มีมาตรการรองรับผลกระทบแล้ว
พงษ์ศักดิ์- ใช่ครับ
ปานเทพ- นี่เขากล่าวหา ม.ล.กร เลย กับผู้ชุมนุมว่า ไปช่วยโจรหรือเปล่า เพราะว่าคนจนไมได้รับผลกระทบ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ก็ต้องบอกว่า เราต่อสู้เรื่องนี้ จริงๆแล้ว นี่คือคำถามของท่าน ผู้ชุมนุมทั้งหลาย ย้ำอีกครั้ง ผู้ชุมนุมคัดค้านเพื่อคนรวย หรือเพื่อโจรผู้ลักลอบค้าก๊าซ ทีนี้ต้องบอกเลย คำตอบของผมคือ เราต่อต้านการทุจริจในทรัพยากรพลังานของชาติ อะไรที่เอื้อต่อประโยชน์อย่างเช่นครั้งนี้ การขึ้นราคาครั้งนี้มันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจปิโตรเคมีมากกว่าที่ใช้ก๊าซมากในราคาต่ำกว่าอุตสาหกรรมอื่น อย่างที่เราอธิบายไปแล้ว และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการกระทรวงพลังงานในธุรกิจพลังงาน นี่คือสิ่งทีเราต่อต้าน ท่านก็โยนว่าเรา ต่อสู้เพื่อคนรวยหรือเปล่า หรือดจรลักลอบหรือเปล่า เราก็อธิบายแล้วลักลอบมันยากนะครับ ถังแต่ละถัง มันไม่ได้เล็กนะ ไปหยิบยกการต่อสู้
ปานเทพ- เพื่อหาความเป็นธรรมในกรณีที่กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีได้รับประโยชน์สูงสุดกลับไปบอกว่ากลุ่มคนเหล่านี้ กำลังต่อสู้ให้กับโจรลักลอบขายก๊าซหรือเปล่า ทั้งที่เหตุแบบนั้นต้องไปพูดถึงตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับประชาชนกลุ่มนี้เลย
ม.ล.กรกสิวัฒน์- และการลักลอบขายก๊าซให้ได้มากๆ ผมว่ามันไปเป็นถังๆแบบนี้มันยากนะ มันอาจจะไปอะไรที่เป็นคันรถเลยก็ได้ ท่านไม่เห็นจริงๆเหรอ จริงๆ มันเหมือนกับการกวดขันของกรมธุรกิจพลังงานของกระทรวงพลังงานเอง มีปัญหาหรือเปล่า แต่มาผลักภาระให้ประชาชน ผมยังไม่เห็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ที่เขาจะพูดว่า ต้องขึ้นราคาเพราะมีการลักลอบ การลกัลอบก็ต้องไปจัดการการลักลอบ วันนี้ก็เลยบอกว่า ผมต้องถามท่านรัฐมนตรีกลับว่า ท่านกำลังช่วยคนรวยกว่า ประชาชนก็คือ ปิโตรเคมีของ ปตท.หรือเปล่า
ปานเทพ- หรือเปรียบเทียบให้ง่ายขึ้นไปอีก ก็คือกรณีของน้ำมันเบนซินที่มาเลเซีย ซึ่งประมาณ 19 บาทต่อลิตร เบนซิน 95 ประเทศไทยใช้ประมาณตอนนี้เกือบ 50 บาท ทำไมมาเลเซียไม่กลัวเหรอ ว่าจะมีคนลักลอบเอาน้ำมันทั้งประเทศมาให้คนไทยใช้ มันก็หลักการเดียวกัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- จะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการพลังงานของเราไม่เคยเหมือนในอาเซียนอื่นเลย แต่พอดูไปแล้ว ของเราไม่ว่าจัดการด้านไหน ไม่เคยดีกว่าเขาเลย ตั้งแต่สัมปทานก็แย่กว่าอาเซียนอื่น พอมาถึงเรื่องการลักลอบก็แย่กว่าประเทศอื่น ทุกอย่างโยนใส่ประชาชนหมด ต้นทุนต่างๆหรือว่าอยากให้ประชาชนใช้แพงหมด ทีนี้การใช้ก๊าซแพง น้ำมันแพง ผมบอกเลยว่า มันจะไม่เป็นไรเลย ถ้าการซื้อน้ำมัน หรือการเติมก๊าซทุกครั้งกลับมาเป็นโรงเรียนหรือโรงพยาบาล หรือรัฐสวัสดิการ สมมติเราเติมเบนซิน 50 บาท เติมปุ๊บนึกถึงหน้าเด็กๆว่ามีการศึกษาที่ดีขึ้น นึกถึงโรงพยาบาลของรัฐที่ไม่แออัดอย่างนี้เราอาจจะเต็มใจ
ปานเทพ- อย่างน้อยมันก็กลับมาคืนสู่ประชาชนและพวกเราทั้งหมด
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ถูกต้อง เราก็ยิ้มได้เหมือนทำบุญไปด้วย เติมน้ำมัน ซื้อแก๊ส วันนี้มันไม่ใช่นะ มันทำให้คนรวยรวยยิ่งขึ้น แถมเป็นรัฐวิวาหกิจอีกต่างหาก
ปานเทพ- คนจนก็จนขึ้นจากราคาที่สูงขึ้น
ม.ล.กรกสิวัฒน์ - วันนี้ต้องบอวก่าเราต่อสู้อะไรที่มันส่อไปในทางทุจริจเกี่ยวกับทรัพยากรพลังงานของชาติ ซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ดีซึ่งถ้าท่านจริงใจ ต้องขอบคุณ ท่านต้องใจกว้างในการจะรับฟังเรื่องเหล่านี้ ต่อมารัฐมนตรี ก็กล่าวว่า มีการบิดเบือนข้อมูลในเรื่องพลังงาน บิดเบือนกันมากเลย ลองฟังท่านพูด เชิญครับ
(คลิป)
พงษ์ศักดิ์- ผมอยากจะเรียนท่านผู้เข้าร่วมชุมนุมนะครับ ผมอยากให้ท่านศึกษาข้อมูลเรื่องโครงสร้างแกีสอย่างเข้าใจถึงเหตุผล วิเคราะห์ถึงเหตุผล เพราะการทำงานของหน่วยราชการ ไม่ใช่ทำด้วยความอำเภอใจ มีฝ่ายตรวจสอบหลายฝ่าย ไม่ใช่อยู่ๆจะมาทำตัวเลขปลอมๆได้ กระทรวงพลังงานเองกับ ปตท.เอง ชี้แจงสภาฯ มาเกินกว่า 500 ครั้ง เอกสารเต็มๆห้อง ในเอกสารชุดเดิมๆ ชี้แจงไปหลายร้อยครั้ง แต่การนำมาประกาศต่อผู้ชุมนุมหลายคนเอาตัวเลขบางตัวมาบิดเบือนและพูดไม่ตรงกับความจริง ดังนั้นถ้าท่านสงสัย มีใจเป็นธรรมก็มานั่งคุย ปรึกษาตัวเลข ดูตัวเลขที่จริงจังกับที่ปรึกษาต่างๆซึ่งจะทำให้ท่านเข้าใจเหตุผล และไม่ถูกต้อง
ผู้สัมภาษณ์- ถ้าไม่เห็นด้วยก็โทรมาที่กระทรวงพลังงานได้ มีเจ้าหน้าที่ที่จะอธิบายชี้แจงนะครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ก็ต้องบอกว่า รัฐมนตรีบอกว่า บิดเบือน
ปานเทพ- เขาบอกว่าประชาชนกำลังถูกหลอก ที่ ม.ล.กรฯ และคณะ และผู้ชุมนุมที่กำลังทำอยู่ตอนนี้ อาจจะเข้าใจผิดให้โทรถามที่กระทรวงพลังงาน
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ผมก็เลยบอกอย่างนี้ ถ้าท่านรัฐมนตรีบิดเบือน ผมไม่แน่ใจบิดเบือนหรือเปล่า ช่วยโทรไปที่กระทรวงพลังงานได้ไหม 02 140 7000 นะครับ ก็โทรไปบอกเขา วันนี้เราพบการบิดเบือนอยู่พอสมควร ดังนั้นวันนี้ผมว่าประชาชนที่ดูทีวีอยู่น่าจะโทรไปที่กระทรวงพลังงาน ตัวเลขที่เราพูดถึงเมื่อสักครู่นี้ ไปถามเขาว่าอย่างไรกันแน่ พบการบิดเบือนแล้วล่ะน่าจะเป็นการบิดเบือนที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย
ก็ต้องบอกว่า วันนี้เราได้ยินท่านรัฐมนตรีเหมือนเปิดโอกาสให้มีการพูดคุย แต่ในความจริงไม่มีเลย ท่านทราบไหมครับว่า เราเชิญรัฐมนตรีพลังงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม มาที่คณะกรรมการเพื่อชี้แจง ปีที่แล้วนะครับ จนถึงวันนี้ท่านยังไม่มาเลยครับ ท่านพูดเหมือนใจกว้างนะครับ เรามาคุยกันนะ ท่านไมเคยมาครับ ท่านหลีกหนีการประชุมตลอดเวลา จนตอนนี้ในคณะกรรมาธิการก็นั่งคิดว่าจะใช้ พ.ร.บ.คำสั่งเรียกใหม่ เพราะถ้าใช้แล้วท่านจะเป็นรัฐมนตรีคนแรกเลยนะ ที่ได้ใช้กฎหมายฉบับนี้ แล้วถ้าท่านไม่มาก็คือ การแจ้งความดำเนินคดีแล้วนะครับ ท่านยังไม่มีเลย จะเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์หรือเปล่า เราก็มีความเกรงใจนะครับ อยากเชิญท่านมาพูดคุยกันด้วยเหตุผล แต่ท่านออกทีวีเหมือนท่านอยากคุยแต่ท่านไม่เคยมา และมีอีกที่ท่านพยายามบอกว่า ต้องสืบหาข้อมูลข้อเท็จจริง เราศึกษากันมาเยอะ แต่จริงๆเบื้องหลังต่างๆ ผมอยากให้ดูความจริง ย้ำกันอีกทีว่า คนที่ทำให้เกิดปัญหาก๊าซหุงต้มขาดแคลน ก็คือปิโตรเคมี เห็นการใช้ไหมครับ วันนี้มาใกล้ๆครัวเรือนแล้ว ขึ้นสูงอย่างชันเลยนะครับ ใน 5 ปี เพิ่มขึ้น 3 เท่า และราคาให้ตกลงกับ ปตท.เอาเอง ราคาจึงแตกต่างจากคนอื่นหมด ที่รัฐกำหนด ราคาก็ต่ำประมาณ 17 บาท เราก็เห็นไปแล้ว ดังนั้นตรงนี้ทำไมไม่แก้ปัญหาให้ถูกจุด ให้จ่ายเท่ากับอุตสาหกรรมอื่นเขาเสีย
ปานเทพ- ประชาชนก็จะได้ไม่เป็นภาระอีกต่อไป
ม.ล.กรกสิวัฒน์- แล้วที่สำคัญที่สุด ที่เจ็บไปกว่านั้น เขาวางแผนกันมานานแล้วเรื่องนี้ ที่ผมตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะมีการวางแผนมานานแล้ว ในปี 51 มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้กำหนดลำดับในการใช้ก๊าซหุงต้ม ให้ปิโตรเคมีเห็นไหมครับ
ปานเทพ- อยู่กับประชาชนเป็นลำดับแรก
ม.ล.กรกสิวัฒน์- นั่นหมายความว่าเขาสามารถใช้ก๊าซจากอ่าวไทยได้ก่อนคนอื่น แล้วก็บอกว่า ถ้าไม่เหลือ ขนส่งที่เป็นประชาชนจนๆนะ และก็อุตสาหกรรมอื่นให้นำเข้าเอาเองจากต่างประเทศ เห็นไหมครับ ว่าเขาได้ใช้เป็นลำดับแรก เขาเป็นอุตสาหกรรมนะ เหมือนกับอุตสาหกรรมอื่นนะ แต่ทำไมจึงใช้ลำดับเดี่ยวกับครัวเรือน ผมย้ำหลายครั้ง มันเหมือนข้าวหม้อเดียวกัน ก๊าซหุงต้มมาจากอ่าวไทยเหมือนข้าวหม้อเดียวกัน แต่ปิโตรเคมีบอกขอตักข้าวก่อน ตักไปหมดเหลือครัวเรือน ยานยนต์ อุตสาหกรรมใช้ไม่พอ ต้องนำเข้าเอาเอง เขาถึงมาพูดว่าเขาต้องจ่ายกองทุนน้อยๆ จ่ายก็บุญแล้วนะบาทนึง
ฉะนั้นไม่เกี่ยวเขาได้ใช้ก๊าซในประเทศไปก่อนแล้ว ผมก็ต้องถามกลับว่า เขามีสิทธิ์อะไรครับที่ใช้อุตสาหกรรมอื่น เขาเป็นลูกของแผ่นดินหรือ ครัวเรือนต่างหากเป็นของแผ่นดิน ยานยนต์ต่างหากเป็นลูกของแผ่นดิน แต่ทำไมจึงจัดลับดับแบบนี้ อยากดูเหตุผลไหมครับ
ท่านผู้นี้วันนั้นเป็นเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ไปนั่งเป็นกรรมการในธุรกิจในกลุ่ม ปตท. และได้รับเงินเดือนโบนัสแบบนี้
ปานเทพ- 4,500,000 บาท
ม.ล.กรกสิวัฒน์- จะเห็นได้ว่าขณะที่ท่านนั่งเป็น ผอ.สำนักงานนโยบายและแผน ท่านก็เข้าไปรับผลประโยชน์ของเขาด้วย นี่ในช่วง 2-3 ปีที่ท่านเป็นกรรมการใน ปตท.สผ. มันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้นะครับ การกำหนดนโยบายพลังงานมันจะเกิดจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่ดูแลราคาก๊าซ เห็นไหมครับกระทรวงพลังงาน ตรงนี้สำนักงานนโยบายและแผน เป็นฝ่ายเลขาฯ ดังนั้นเขาชงไป ปิโตรเคมีใช้ก่อน ทางนี้ก็อนุมัติ อาจจะด้วยรู้หรือไม่รู้ก็ไม่ทราบ คนตรงนี้ไปนั่งรับผลประโยชน์จากกลุ่มทุนพลังงานแล้ว
ปานเทพ- เป็นการขัดกันทางผลประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุด
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ดังนั้นอะไรที่ออกจาก กบง.หรือ กพช. ถูกควบคุมโดยธุรกิจพลังงานไปแล้วนะครับ และอีกอันที่อยากจะย้ำคือ ภาพนี้ครับ ภาพนี้ทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยคณะเศรษฐศาสตร์ จะบอกว่าเป็นต้นตอของปัญหาหรือเปล่าว่า ข้าราชการ ปลัดกระทรวง ทั้งหลายทั้งแหล่นั่งเป็นกรรมการในธุรกิจพลังงานกันหมด และรับเงินหลายล้านต่อปี
ปานเทพ- ยิ่งกำไรมากยิ่งได้ประโยชน์มาก
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ตรงนี้ทำไมท่านรัฐมนตรีไม่เอะใจว่า เอ๊ะ ผู้ที่เสนอข้อมูลมาให้ท่านล้วนแต่เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจพลังงานทั้งสิ้น รายงานตัวนี้ชื่อ เขาเรียกว่า บริษัทกึ่งรัฐวิสาหกิจกึ่งเอกชน อำนาจและอิทธิพลในการสร้างความยิ่งใหญ่ของทุนพลังงาน หลังวิกฤต 2540 ผมอยากให้ไปหาดาวน์โหลดมาอ่าน ว่าจะเป็นเรื่องนี้ล้วนๆว่าเป็นต้นตอแห่งปัญหาหรือไม่
ปานเทพ- มาช่วง 1 นาทีสุดท้าย มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ม.ล.กรกสิวัฒน์ เคลื่อนไหวครั้งนี้ทำไมมวลชนมีแต่สีเหลืองแล้วทำไมมวลชนคนเสื้อแดงมาหรือเปล่า หรือมายังไม่มากพอหรือเปล่า จะตอบคำถามนี้อย่างไรครับ จะล้มรัฐบาลกับเขาหรือเปล่าหรืออย่างไร
ม.ล.กรกสิวัฒน์- ต้องบอกว่าปัญหาเรื่องพลังงานผ่านมาหลายยุคหลายสมัยรัฐบาล ดังนั้นผมจึงไม่อยาก อย่างที่ผมบอกผมไม่ได้มาหาคนผิดนะ ผมมาหาคนแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ถูกต้อง ดังนั้นผมจะไม่ทำเรื่องนี้เป็นการเมืองเด็ดขาดเพราะถ้าเป็นการเมืองมันจะไม่สำเร็จ คนไทยจะมัวแต่ระแวงกันเองว่าเป็นฝั่งไหน ดังนั้นเรื่องพลังงานผมเชิญทุกกลุ่ม ดังนั้นสีไหนก็มีคนเสื้อแดงถามผมเหมือนกัน ว่าทำไมมีเหลืองเยอะ แล้วเหลืองเขาไม่เดือดร้อนเรื่องพลังงานเหรอ สีแดงผมก็ไม่ห้าม สีเหลืองผมก็ไม่ก้าม สีไหนผมก็ไม่ห้ามทั้งนั้น ต้องถามว่าคุณเดือดร้อนเรื่องพลังงานไหม มาได้ทุกสี แต่ผมขออย่างเดียวว่าอย่ามีข้อความทางการเมืองได้ไหม วันนั้นคนไทยสามัคคีกันสักวัน เพื่อมาทำเรื่องปากท้อง ทรัพยากรที่บรรพบุรุษให้มาให้มาเป็นของประชาชน ขอเป็นอย่างนั้นได้ไหม ผมจึงไม่ห้ามสีใดเลย ขอเพียงอย่างเดียวสัญลักษณ์ทางการเมืองงด 1 วัน วันนั้นเราเป็นสีเดียวกันคือสีธงชาติ สีไหนมามากไม่ห้ามสีไหนมาน้อยอาจจะเพิ่งเริ่มมา ไม่สนิทใจไม่เป็นไร แต่ขอให้ค่อยๆมากัน เพราะมันเป็นเรื่องของเราเองทุกคนจริงๆ
ปานเทพ- สีเดียวกันหมดทั้งประเทศ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- สีธงชาติเท่านั้นที่จะแก้ปัญหา
ปานเทพ- สีก๊าซธรรมชาติก็ LPG ทุกคนก็ใช้สีเดียวกัน ไม่มีสีเหลือง ไม่มีสีแดง ไม่มีสีฟ้า
ม.ล.กรกสิวัฒน์- เพราะไม่ว่าก๊าซหรือน้ำมัน คนไทยทุกคนใช้แพงเท่ากัน
ปานเทพ- มีอะไรจะฝากทิ้งท้ายไหมครับ
ม.ล.กรกสิวัฒน์- สุดท้ายนี้ผมกราบเรียนว่า กลุ่มฉ้อฉลพลังงานไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เขาพยายามทำเรื่องนี้ให้เป็นการเมืองให้ได้ และใครที่พยายามเอาพลังงานไปเป็นการเมืองผมว่าจะล้มเหลวเพราะเข้าทางเขาเลย และอีกอย่างให้ชัดเจนเลย ปัญหาพลังงานหมักหมมมาหลายรัฐบาลแล้ว ไม่ใช่เกิดจากรัฐบาลนี้ แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลนี้ อาจจะต้องรับโจทย์ไปแก้ไข ไม่ควรเดินตามแผนของกลุ่มพลังงานเขา ไม่งั้นจะตกหลุมตกท่อได้นะครับ เพราะฉะนั้นต้องกราบเรียนว่า เรามาหาคนถูกที่จะจัดการเรื่องนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนเสียที ผมว่ามองกันแบบนี้ ผมว่าสบายใจกันทุกฝ่าย ไม่ต้องมาคิดเรื่องสี ไม่ต้องคิดเรื่องฝ่าย คิดว่าทำอย่างไรจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรพลังงานไทย ซึ่งเราได้เป็นมรดกมาตั้งแต่ 2545 บ่อก๊าซบ่อน้ำมัน ขอให้ประโยชน์กับคนไทยเสียที คนไทยจะได้อาจจะได้เงินมาเป็นเรื่องการศึกษาให้กับเด็กๆ ที่ดีกว่านี้ ฟรีกว่านี้ วันนี้ต้องมีเด็กกู้เรียนนะครับ ยังใช้หนี้ไม่ได้ก็มีเยอะ แต่เรามีเงินจากน้ำมันปีนึงเป็นแสนๆ ล้าน อาจจะมีโรงพยาบาลที่ดีกว่านี้ โรงพยาบาลรัฐวันนี้มันแน่นขนัด ก็อาจจะได้เงินมาจากตรงนี้ เราอยากจะทำรถไฟ อยากจะทำอะไรก็ตามมันมีเงินตรงนี้อยู่ แต่เราไม่เคยได้ผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยเลยนะครับ ต้องบอกว่าเงินเหล่านั้นไปอยู่ที่ธุรกิจพลังงานร่ำรวยกันเป็นคนละแสนๆ ล้านกัน
ผมว่าถึงเวลาแก้ไขแล้วครับ ทั้งอาเซียนเขาแก้ไปแล้ว อเมริกาใต้เขาแก้ไปแล้ว ตะวันออกกลางเขาแก้ไปแล้ว ก็เหลือประเทศไทยอย่างนี้เป็นประเทศส่วนน้อยนะครับ ที่ยังใช้ระบบนี้อยู่ ดังนั้นเองต้องกราบเรียนท่านรัฐมนตรีด้วยความเคารพว่า ท่านมีหน้าที่แก้ไขนะครับ และมีหน้าที่ต้องเปิดรับฟังข้อมูลให้ชัดเจนว่า คนรอบตัวท่านเองในกระทรวงล้วนแต่เป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อน ดังนั้นท่านต้องตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลที่ท่านได้มาเป็นข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนหรือไม่ เพียงเท่านี้ผมเชื่อว่า เราแก้ปัญหานี้ได้แน่นอน
ปานเทพ- ขอบพระคุณมากนะครับ พบกันใหม่กับรายการสภาท่าพระอาทิตย์ ทุกวันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ พรุ่งนี้พบกับ ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน และ พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ ลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ