สวนดุสิตโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ในหัวข้อรัฐบาลและฝ่ายค้าน ณ วันนี้ ในสายตาประชาชน ชี้จุดด้อย รบ.ไม่สามารถแก้ปัญหาของแพงและพืชผลเกษตรตกต่ำได้ ร้อยละ 42.3 ขณะที่มีจุดเด่นด้านประชาชนิยม 42.8% ส่วนฝ่ายค้านมีคนเก่ง มีความรู้ มีประสบการณ์ทางการเมืองมานานร้อยละ 41.30 แต่ขาดแนวร่วม ขาดคนสนับสนุน ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวร้อยละ 43.55 ปชช.ไม่เชียร์ทั้งสองฝ่ายเหตุเบื่อการเมืองมัวแต่ทะเลาะเบาะแว้ง แก่งแย่งชิงดี มุ่งหวังแต่อำนาจผลประโยชน์ ส่วนเมืองจะดีขึ้น นักการเมืองต้องมีจิตสำนึก ขณะที่ ศก.จะดีขึ้นต้องมีการปรับโครงสร้างทาง ศก.ให้เข้มแข็ง ไม่ฟุ่มเฟือย ด้านสังคมจะดีขึ้นต้องรักและสามัคคีกัน
รัฐบาลและฝ่ายค้าน ณ วันนี้ ในสายตาประชาชน ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยเฉพาะกรณีการปฏิรูปประเทศโดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีการแตกประเด็นการปฏิรูปเป็น 3 รูปแบบโดยครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งขณะนี้คณะผู้ร่วมปฏิรูปทั้ง 3 ฝ่าย กำลังช่วยกันหาแนวทางการปฏิรูปที่จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อประเทศชาติและส่วนรวม และเป็นที่พึงพอใจแก่ทุกๆฝ่าย เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชน ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,328 คน ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2556 สรุปผล ดังนี้
1. “จุดเด่น-จุดด้อย” ของ “รัฐบาล” ณ วันนี้ในสายตาประชาชน มีนโยบายประชานิยมที่มุ่งช่วยเหลือประชาชนเป็นสำคัญ 42.8%, ไม่สามารถแก้ปัญหาของแพง ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ 42.37%, เน้นการทำงานตามนโยบายและไปในทิศทางเดียวกัน 30.16%, ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการต่างๆโดยเฉพาะจำนำข้าว 28.81%, มีนายกฯ ที่มีความตั้งใจในการทำงาน 15.87%, ช่วยเหลือพวกพ้อง เครือญาติ 18.65%, มีเสียงข้างมากและมีฐานเสียงของประชาชน 11.11%, ไม่สามารถชี้แจงในบางเรื่องที่ถูกพาดพิงหรือโจมตีได้ 10.17%
2. “จุดเด่น-จุดด้อย” ของ “ฝ่ายค้าน” ณ วันนี้ในสายตาประชาชน มีคนเก่ง มีความรู้ มีประสบการณ์ทางการเมืองมานาน 41.30%, ขาดแนวร่วม ขาดคนสนับสนุน ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว 43.55%, ยึดมั่นในจุดยืนและหลักการอย่างมั่นคง 31.75%, การกล่าวหา การค้านทุกเรื่องโดยบางครั้งไม่มีหลักฐาน 27.42%, มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย 17.46%, มีเสียงน้อยกว่า 19.35%, ตัวผู้นำฝ่ายค้าน นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ 9.49%, การบริหารงานภายในพรรคเริ่มมีปัญหา 9.68%
3. ระหว่าง “ฝ่ายรัฐบาล” กับ “ฝ่ายค้าน” ประชาชนเชียร์ใคร อันดับ 1 ไม่เชียร์ทั้งสองฝ่าย 31.96% เพราะเบื่อการเมือง มัวแต่ทะเลาะเบาะแว้ง แก่งแย่งชิงดี มุ่งหวังแต่อำนาจและประโยชน์ส่วนตน ฯลฯ อันดับ 2 เฉยๆ 26.80% เพราะรูปแบบการเมืองไทยเป็นอย่างนี้มานานแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักการเมืองต่อไป ฯลฯ อันดับ 3 เชียร์รัฐบาล 16.49% เพราะชอบนายกฯ พอใจการทำงานของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน ในรัฐบาลมีคนเก่งอยู่มาก ฯลฯ
อันดับ 4 เชียร์ทั้งสองฝ่าย 13.40% เพราะมีนักการเมืองที่ชื่นชอบอยู่ทั้งสองฝ่าย เป็นพรรคที่มีบทบาทและมีความสำคัญต่อประเทศ ฯลฯ อันดับ 5 เชียร์ฝ่ายค้าน 11.35% เพราะชอบหัวหน้าพรรค ชอบฝ่ายค้าน มีหลักการ ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลได้ดี ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไร “การเมืองไทย” จึงจะดีขึ้น อันดับ 1 นักการเมืองต้องมีจิตสำนึก มีความจริงใจ ร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อบ้านเมืองและส่วนรวม 74.70% อันดับ 2 หยุดการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ การทำงานโปร่งใสตรวจสอบได้ 72.29% อันดับ 3 ยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่าง มีความไว้เนื้อเชื่อใจ หยุดการทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย 68.07% อันดับ 4 มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เข้มแข็ง นักการเมืองเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย 59.94% อันดับ 5 ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับนักการเมือง ล้มเลิกความคิดแบบเดิมๆ 55.72%
5. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไร “เศรษฐกิจไทย” จึงจะดีขึ้น อันดับ 1 ปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศให้เข็มแข็ง สนับสนุนสินค้าของไทย ไม่ฟุ่มเฟือย 75.30% อันดับ 2 เน้นการส่งออก ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เจาะกลุ่มตลาดต่างประเทศ มุ่งสู่ตลาดโลก 73.19% อันดับ 3 หยุดโกงกิน ทุจริตคอร์รัปชัน การเอารัดเอาเปรียบเพื่อประโยชน์ส่วนตน 72.59% อันดับ 4 สร้างความเชื่อมั่น มั่นใจให้แก่นักลงทุน โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรม 56.63% อันดับ 5 มีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหา สาเหตุที่ทำให้เกิดต้นทุน กำไรอย่างละเอียด 51.51%
6. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไร? “สังคมไทย” จึงจะดีขึ้น อันดับ 1 คนไทยทุกคนจะต้องมีความรักและสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาสร้างสรรค์สังคมไทยให้น่าอยู่ เห็นแก่อนาคตของลูกหลานเป็นสำคัญ 83.43% อันดับ 2 นักการเมืองเลิกทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ประชาชนไม่เข้าร่วมการชุมนุม หยุดการเคลื่อนไหว ไม่สร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง 79.82%
อันดับ 3 กฎหมายต้องยุติธรรม มีบทลงโทษที่เด็ดขาด เข้มงวด ทุกคนเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายและยึดระเบียบของสังคม 76.81% อันดับ 4 ภาครัฐส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาให้ทั่วถึง ขยายโอกาสทางการศึกษา สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในทุกบทเรียน 69.88% อันดับ 5 จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม58.13%
รัฐบาลและฝ่ายค้าน ณ วันนี้ ในสายตาประชาชน ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยเฉพาะกรณีการปฏิรูปประเทศโดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีการแตกประเด็นการปฏิรูปเป็น 3 รูปแบบโดยครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งขณะนี้คณะผู้ร่วมปฏิรูปทั้ง 3 ฝ่าย กำลังช่วยกันหาแนวทางการปฏิรูปที่จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อประเทศชาติและส่วนรวม และเป็นที่พึงพอใจแก่ทุกๆฝ่าย เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชน ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,328 คน ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2556 สรุปผล ดังนี้
1. “จุดเด่น-จุดด้อย” ของ “รัฐบาล” ณ วันนี้ในสายตาประชาชน มีนโยบายประชานิยมที่มุ่งช่วยเหลือประชาชนเป็นสำคัญ 42.8%, ไม่สามารถแก้ปัญหาของแพง ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ 42.37%, เน้นการทำงานตามนโยบายและไปในทิศทางเดียวกัน 30.16%, ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการต่างๆโดยเฉพาะจำนำข้าว 28.81%, มีนายกฯ ที่มีความตั้งใจในการทำงาน 15.87%, ช่วยเหลือพวกพ้อง เครือญาติ 18.65%, มีเสียงข้างมากและมีฐานเสียงของประชาชน 11.11%, ไม่สามารถชี้แจงในบางเรื่องที่ถูกพาดพิงหรือโจมตีได้ 10.17%
2. “จุดเด่น-จุดด้อย” ของ “ฝ่ายค้าน” ณ วันนี้ในสายตาประชาชน มีคนเก่ง มีความรู้ มีประสบการณ์ทางการเมืองมานาน 41.30%, ขาดแนวร่วม ขาดคนสนับสนุน ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว 43.55%, ยึดมั่นในจุดยืนและหลักการอย่างมั่นคง 31.75%, การกล่าวหา การค้านทุกเรื่องโดยบางครั้งไม่มีหลักฐาน 27.42%, มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย 17.46%, มีเสียงน้อยกว่า 19.35%, ตัวผู้นำฝ่ายค้าน นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ 9.49%, การบริหารงานภายในพรรคเริ่มมีปัญหา 9.68%
3. ระหว่าง “ฝ่ายรัฐบาล” กับ “ฝ่ายค้าน” ประชาชนเชียร์ใคร อันดับ 1 ไม่เชียร์ทั้งสองฝ่าย 31.96% เพราะเบื่อการเมือง มัวแต่ทะเลาะเบาะแว้ง แก่งแย่งชิงดี มุ่งหวังแต่อำนาจและประโยชน์ส่วนตน ฯลฯ อันดับ 2 เฉยๆ 26.80% เพราะรูปแบบการเมืองไทยเป็นอย่างนี้มานานแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักการเมืองต่อไป ฯลฯ อันดับ 3 เชียร์รัฐบาล 16.49% เพราะชอบนายกฯ พอใจการทำงานของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน ในรัฐบาลมีคนเก่งอยู่มาก ฯลฯ
อันดับ 4 เชียร์ทั้งสองฝ่าย 13.40% เพราะมีนักการเมืองที่ชื่นชอบอยู่ทั้งสองฝ่าย เป็นพรรคที่มีบทบาทและมีความสำคัญต่อประเทศ ฯลฯ อันดับ 5 เชียร์ฝ่ายค้าน 11.35% เพราะชอบหัวหน้าพรรค ชอบฝ่ายค้าน มีหลักการ ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลได้ดี ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไร “การเมืองไทย” จึงจะดีขึ้น อันดับ 1 นักการเมืองต้องมีจิตสำนึก มีความจริงใจ ร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อบ้านเมืองและส่วนรวม 74.70% อันดับ 2 หยุดการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ การทำงานโปร่งใสตรวจสอบได้ 72.29% อันดับ 3 ยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่าง มีความไว้เนื้อเชื่อใจ หยุดการทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย 68.07% อันดับ 4 มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เข้มแข็ง นักการเมืองเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย 59.94% อันดับ 5 ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับนักการเมือง ล้มเลิกความคิดแบบเดิมๆ 55.72%
5. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไร “เศรษฐกิจไทย” จึงจะดีขึ้น อันดับ 1 ปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศให้เข็มแข็ง สนับสนุนสินค้าของไทย ไม่ฟุ่มเฟือย 75.30% อันดับ 2 เน้นการส่งออก ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เจาะกลุ่มตลาดต่างประเทศ มุ่งสู่ตลาดโลก 73.19% อันดับ 3 หยุดโกงกิน ทุจริตคอร์รัปชัน การเอารัดเอาเปรียบเพื่อประโยชน์ส่วนตน 72.59% อันดับ 4 สร้างความเชื่อมั่น มั่นใจให้แก่นักลงทุน โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรม 56.63% อันดับ 5 มีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหา สาเหตุที่ทำให้เกิดต้นทุน กำไรอย่างละเอียด 51.51%
6. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไร? “สังคมไทย” จึงจะดีขึ้น อันดับ 1 คนไทยทุกคนจะต้องมีความรักและสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาสร้างสรรค์สังคมไทยให้น่าอยู่ เห็นแก่อนาคตของลูกหลานเป็นสำคัญ 83.43% อันดับ 2 นักการเมืองเลิกทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ประชาชนไม่เข้าร่วมการชุมนุม หยุดการเคลื่อนไหว ไม่สร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง 79.82%
อันดับ 3 กฎหมายต้องยุติธรรม มีบทลงโทษที่เด็ดขาด เข้มงวด ทุกคนเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายและยึดระเบียบของสังคม 76.81% อันดับ 4 ภาครัฐส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาให้ทั่วถึง ขยายโอกาสทางการศึกษา สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในทุกบทเรียน 69.88% อันดับ 5 จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม58.13%