รายงานการเมือง
โดย แสงตะวัน
หลังจาก “นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” อำลาเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลรัฐธรรมนูญยื่นใบลาออกเมื่อ 16 ก.ค. 56 แต่ให้มีผล 1 สิงหาคม ที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะมีอะไรกระเพื่อม หรือมีผลให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมากนัก
เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะเหลือ 8 คนหลัง 1 สิงหาคม ก็ยังคงเป็นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเดิมที่กอดคอกันเหนียวแน่นมาร่วม 5 ปีกว่า
แม้บางช่วงอาจมีข่าวเรื่องปัญหาเรื่อง “คลื่นใต้น้ำ” ในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ยุคมีที่ทำการใหญ่อยู่ที่บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ย่านพาหุรัด จนย้ายมาศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ บางเวลาก็โดนคนภายนอกแต่เป็นพวกของคนในศาลรัฐธรรมนญกันเองเล่นกันแรงถึงขั้นมีอดีตคนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนไปรับงานนักการเมืองบางพรรคเข้าไปร่วมรู้เห็นแอบอัดคลิปภาพและเสียงในห้องประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปเผยแพร่ในช่วงก่อนตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ จนต้องถูกอัปเปหิออกไปจากศาลรัฐธรรมนูญ
หรือที่ว่ามีช่วงหนึ่งมีการทวงถามความสง่างามและการรักษาคำพูดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ตระบัดสัตย์ที่ให้ไว้ต่อที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องการรับตำแหน่งสำคัญในศาลรัฐธรรมนูญ จนมีข่าวว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนต้องประท้วงเดินออกจากที่ประชุมกันมาแล้ว
อาจมีคลื่นใต้น้ำในศาลรัฐธรรมนูญบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับรุนแรง จนกลายเป็นความแตกแยก เพราะสุดท้ายก็ปรับความเข้าใจกันได้ในบางเรื่อง
และหลังจากวันที่ 1 ส.ค.วันที่ไร้ วสันต์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะเหลือนั่งทำงานด้วยกัน 8 คนคือ นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายจรูญ อินทจาร, นายสุพจน์ ไข่มุกด์, นายเฉลิมพล เอกอุรุ, นายนุรักษ์ มาประณีต, นายบุญส่ง กุลบุปผา, นายชัช ชลวร และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ใหญ่ด้วยกันทั้งสิ้น หลายคนผ่านตำแหน่งใหญ่ในบ้านเมืองกันมาก็มากแล้ว ส่วนใหญ่ก็มาจากสายศาลฎีกา จึงรู้จักกันตั้งแต่ยังเป็นผู้พิพากษาศาลยุติธรรมหลายคนรู้จักกันมาร่วม 30-40 ปี เป็นลูกศิษย์อาจารย์กันเลย นั่งถกเถียงข้อกฎหมายกันแบบเป็นกันเองเลยก็ว่าได้
ต่อไป การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมี “ประมุขศาลรัฐธรรมนูญ” คนใหม่ เป็นคนที่ 3 ตามโครงสร้างศาลรธน.ชุดปัจจุบันที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 40 ต่อจากชัช ชลวร-วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ที่ตามข่าวตอนนี้ หากดูจากความเป็นอาวุโสกันในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คน เต็งหนึ่งก็น่าจะเป็น
จรูญ อินทจาร
เว้นแต่เจ้าตัวที่มีบุคลิกเงียบๆ ไม่ยอมเป็นข่าวอะไรทั้งสิ้น จะขอผ่านไม่ประสงค์ลงชิงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการทำงานของตัวเองไปไม่อยากมีตำแหน่งอะไร ซึ่งก็อาจมีโอกาสเป็นไปได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่แน่ ต้องรอการตัดสินใจจากนายจรูญซึ่งเป็นคนเก็บตัวก่อน ว่าสนใจจะลงชิงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
หากจรูญ ไม่ขอลงชิงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ โอกาสการชิงตำแหน่งประมุขศาลรธน.ก็จะเปิดกว้างทันที เพราะเท่ากับปลดล็อกเรื่องความอาวุโสออกไป ก็อาจมีคนประสงค์จะขอลงชิงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา ที่ไม่ใช่นายจรูญอีก 1-2 คนก็เป็นไปได้
อย่างที่หลายคนจับตามองก็เช่น นายนุรักษ์ มาประณีต อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ขณะเดียวกันก็มีคนจับจ้องไปที่ จรัญ ภักดีธนากุล ไม่น้อย
แม้ดูลำดับอาวุโสแล้ว นายจรัญถือว่าอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเวลานี้ แต่ว่ากันตามจริงเรื่องหลักอาวุโสในศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ถือว่าจำเป็นมากนัก แม้ส่วนใหญ่ในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเวลานี้ จะมาจากสายตุลาการ อดีตผู้พิพากษาเกือบทั้งหมดยกเว้น สุพจน์ ไข่มุกด์ และ เฉลิมพล เอกอุรุ ที่เป็นอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศเก่า
ความจริงอันหนึ่งที่ทุกคนรู้ ก็คือวงการศาล-แวดวงตุลาการ จะให้ความสำคัญกับเรื่องหลักอาวุโสมาเป็นอันดับหนึ่ง เรื่องการข้ามหัวกันในวงการศาลมีน้อยมากไม่เหมือนพวกทหาร-ตำรวจ-มหาดไทย
แต่สำหรับที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว หลักเรื่องอาวุโส ก็มีบางคนบอกว่าก็ไม่จำเป็นเสมอไป ขึ้นอยู่กับการยอมรับระหว่างกันรวมถึงการตกลงคุยกันเองของที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าใครเหมาะสม
ซึ่งการคุยกันก็เป็นการคุยกันแบบผู้ใหญ่ หากมีคนลงสมัครเกินกว่าหนึ่งคน ก็ลงมติลับใครได้คะแนนมากกว่าก็ชนะไป ไม่มีบรรยากาศความขัดแย้งการช่วงชิงตำแหน่งอะไรอย่างองค์กรอื่น
ก็น่าลุ้นว่าแล้วใครจะมาเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ต่อจากวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ดูแล้วเรื่องนี้ ประเมินในทางข่าว หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดต้องการให้บรรยากาศทุกอย่างออกมาดี ภาพของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความเป็นเอกภาพ ทางตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดคงต้องคุยกันนอกรอบให้สะเด็ดน้ำเสียก่อน ที่จะนำไปหารือในที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลรธน.มีข่าวว่านัดกันไว้จะประชุม 31 ก.ค.นี้
แต่เมื่อเกิดกรณีนายวสันต์ลาออกแบบนี้ก็ไม่รู้ว่า จะมีการเรียกประชุมอะไรขึ้นมาเป็นวาระพิเศษหรือไม่
ประเด็นที่จะหารือที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดต้องคุยกันให้ดีก็คือ จะประชุมเลือกประธานศาลรธน.คนใหม่กันเลยหรือไม่ หลัง 1 ส.ค. หรือว่าจะรอให้มีการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่จะมาแทนนายวสันต์ให้เสร็จสิ้นก่อน เพื่อจะได้ครบ 9 คนแล้วค่อยมาเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งหากใช้วิธีการนี้ก็ไม่เสียหายอะไรเพราะระหว่างที่ยังไม่มีประธานศาลรธน.เบื้องต้นคงจะให้นายจรูญ ที่มีอาวุโสสูงสุดทำหน้าที่รักษาการประธานในที่ประชุมไปก่อน แต่ตุลาการทั้ง 8 คนก็ต้องประเมินด้วยว่าระยะเวลาที่จะต้องรอตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่จะมาแทนนายวสันต์ที่ก็กินเวลาพอสมควร
เพราะกว่าจะเปิดรับสมัครผู้สนใจเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วก็นำชื่อและผลการตรวจสอบคุณสมบัติส่งไปยังคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อกรรมการสรรหาคัดเลือกใครแล้ว กว่าจะส่งชื่อไปยังวุฒิสภาให้ลงมติให้ความเห็นชอบแล้วต้องเสนอเรื่องไปตามขั้นตอนทางกฎหมายอีก
ต้องใช้เวลาพอสมควรน่าจะเกินกว่าสองเดือนแน่นอน ระหว่างนี้หากไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลอะไรต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่?
เชื่อว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คนคงขบคิดกันหนัก แม้จะมีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะมีการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่เลยโดยไม่รอตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่จะมาแทนนายวสันต์ ซึ่งก็ต้องรอดูการหารือกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คนต่อจากนี้จะว่าอย่างไร
แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้น ถึงต่อให้วสันต์ไม่อยู่ศาลรัฐธรรมนูญแต่ก็เชื่อได้ว่า ยังไง องคาพยพศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอยู่ในเวลานี้ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือแน่นอน
กระนั้นก็ตาม น่าจะมีใครบางคนในศาลรัฐธรรมนูญ อาจรู้สึกหน้าชาเล็กๆ ที่ วสันต์ แสดงให้เห็นถึงการรักษาคำพูดให้ปรากฏต่อสังคม เพราะมีข่าวยืนยันแล้วว่าที่นายวสันต์ลาออกครั้งนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเหตุผลการเมืองในศาลรัฐธรรมนูญ
หรือเพราะเบื่อเรื่องกระแสกดดันการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจากภายนอก โดยเฉพาะพวกแดงเศษสวะที่เคยมาปักหลักกินนอนกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ที่หน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
แต่เป็นการลาออกเพื่อรักษาสัจจะที่เคยให้ไว้ตอนได้รับเลือกจากที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อสิงหาคม 2554 ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไม่ครบวาระ หากเข้าไปจัดองค์กรศาลรัฐธรรมนูญให้ดีขึ้นกว่าก่อนเข้ารับตำแหน่ง ก็จะลาออกจากตำแหน่ง จะได้ให้เพื่อน-พี่-น้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นได้เข้ามาทำหน้าที่บ้าง
ดังนั้น เมื่อมาถึงช่วงจะครบสองปีหลังได้รับเลือกเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญก็เลยใช้โอกาสนี้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเสียเลยโดยไม่ได้แค่ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังลาออกจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย ผิดกับบางคนที่เคยบอกจะลาออกจากทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่ถึงเวลาจริงๆ ก็ไม่ทำตามสัญญา
การลาออกของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์จึงมีเสียงบ่นเสียดายตามมามากมาย
โดย แสงตะวัน
หลังจาก “นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” อำลาเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลรัฐธรรมนูญยื่นใบลาออกเมื่อ 16 ก.ค. 56 แต่ให้มีผล 1 สิงหาคม ที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะมีอะไรกระเพื่อม หรือมีผลให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมากนัก
เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะเหลือ 8 คนหลัง 1 สิงหาคม ก็ยังคงเป็นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเดิมที่กอดคอกันเหนียวแน่นมาร่วม 5 ปีกว่า
แม้บางช่วงอาจมีข่าวเรื่องปัญหาเรื่อง “คลื่นใต้น้ำ” ในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ยุคมีที่ทำการใหญ่อยู่ที่บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ย่านพาหุรัด จนย้ายมาศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ บางเวลาก็โดนคนภายนอกแต่เป็นพวกของคนในศาลรัฐธรรมนญกันเองเล่นกันแรงถึงขั้นมีอดีตคนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนไปรับงานนักการเมืองบางพรรคเข้าไปร่วมรู้เห็นแอบอัดคลิปภาพและเสียงในห้องประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปเผยแพร่ในช่วงก่อนตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ จนต้องถูกอัปเปหิออกไปจากศาลรัฐธรรมนูญ
หรือที่ว่ามีช่วงหนึ่งมีการทวงถามความสง่างามและการรักษาคำพูดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ตระบัดสัตย์ที่ให้ไว้ต่อที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องการรับตำแหน่งสำคัญในศาลรัฐธรรมนูญ จนมีข่าวว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนต้องประท้วงเดินออกจากที่ประชุมกันมาแล้ว
อาจมีคลื่นใต้น้ำในศาลรัฐธรรมนูญบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับรุนแรง จนกลายเป็นความแตกแยก เพราะสุดท้ายก็ปรับความเข้าใจกันได้ในบางเรื่อง
และหลังจากวันที่ 1 ส.ค.วันที่ไร้ วสันต์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะเหลือนั่งทำงานด้วยกัน 8 คนคือ นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายจรูญ อินทจาร, นายสุพจน์ ไข่มุกด์, นายเฉลิมพล เอกอุรุ, นายนุรักษ์ มาประณีต, นายบุญส่ง กุลบุปผา, นายชัช ชลวร และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ใหญ่ด้วยกันทั้งสิ้น หลายคนผ่านตำแหน่งใหญ่ในบ้านเมืองกันมาก็มากแล้ว ส่วนใหญ่ก็มาจากสายศาลฎีกา จึงรู้จักกันตั้งแต่ยังเป็นผู้พิพากษาศาลยุติธรรมหลายคนรู้จักกันมาร่วม 30-40 ปี เป็นลูกศิษย์อาจารย์กันเลย นั่งถกเถียงข้อกฎหมายกันแบบเป็นกันเองเลยก็ว่าได้
ต่อไป การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมี “ประมุขศาลรัฐธรรมนูญ” คนใหม่ เป็นคนที่ 3 ตามโครงสร้างศาลรธน.ชุดปัจจุบันที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 40 ต่อจากชัช ชลวร-วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ที่ตามข่าวตอนนี้ หากดูจากความเป็นอาวุโสกันในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คน เต็งหนึ่งก็น่าจะเป็น
จรูญ อินทจาร
เว้นแต่เจ้าตัวที่มีบุคลิกเงียบๆ ไม่ยอมเป็นข่าวอะไรทั้งสิ้น จะขอผ่านไม่ประสงค์ลงชิงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการทำงานของตัวเองไปไม่อยากมีตำแหน่งอะไร ซึ่งก็อาจมีโอกาสเป็นไปได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่แน่ ต้องรอการตัดสินใจจากนายจรูญซึ่งเป็นคนเก็บตัวก่อน ว่าสนใจจะลงชิงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
หากจรูญ ไม่ขอลงชิงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ โอกาสการชิงตำแหน่งประมุขศาลรธน.ก็จะเปิดกว้างทันที เพราะเท่ากับปลดล็อกเรื่องความอาวุโสออกไป ก็อาจมีคนประสงค์จะขอลงชิงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา ที่ไม่ใช่นายจรูญอีก 1-2 คนก็เป็นไปได้
อย่างที่หลายคนจับตามองก็เช่น นายนุรักษ์ มาประณีต อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ขณะเดียวกันก็มีคนจับจ้องไปที่ จรัญ ภักดีธนากุล ไม่น้อย
แม้ดูลำดับอาวุโสแล้ว นายจรัญถือว่าอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเวลานี้ แต่ว่ากันตามจริงเรื่องหลักอาวุโสในศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ถือว่าจำเป็นมากนัก แม้ส่วนใหญ่ในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเวลานี้ จะมาจากสายตุลาการ อดีตผู้พิพากษาเกือบทั้งหมดยกเว้น สุพจน์ ไข่มุกด์ และ เฉลิมพล เอกอุรุ ที่เป็นอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศเก่า
ความจริงอันหนึ่งที่ทุกคนรู้ ก็คือวงการศาล-แวดวงตุลาการ จะให้ความสำคัญกับเรื่องหลักอาวุโสมาเป็นอันดับหนึ่ง เรื่องการข้ามหัวกันในวงการศาลมีน้อยมากไม่เหมือนพวกทหาร-ตำรวจ-มหาดไทย
แต่สำหรับที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว หลักเรื่องอาวุโส ก็มีบางคนบอกว่าก็ไม่จำเป็นเสมอไป ขึ้นอยู่กับการยอมรับระหว่างกันรวมถึงการตกลงคุยกันเองของที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าใครเหมาะสม
ซึ่งการคุยกันก็เป็นการคุยกันแบบผู้ใหญ่ หากมีคนลงสมัครเกินกว่าหนึ่งคน ก็ลงมติลับใครได้คะแนนมากกว่าก็ชนะไป ไม่มีบรรยากาศความขัดแย้งการช่วงชิงตำแหน่งอะไรอย่างองค์กรอื่น
ก็น่าลุ้นว่าแล้วใครจะมาเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ต่อจากวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ดูแล้วเรื่องนี้ ประเมินในทางข่าว หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดต้องการให้บรรยากาศทุกอย่างออกมาดี ภาพของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความเป็นเอกภาพ ทางตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดคงต้องคุยกันนอกรอบให้สะเด็ดน้ำเสียก่อน ที่จะนำไปหารือในที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลรธน.มีข่าวว่านัดกันไว้จะประชุม 31 ก.ค.นี้
แต่เมื่อเกิดกรณีนายวสันต์ลาออกแบบนี้ก็ไม่รู้ว่า จะมีการเรียกประชุมอะไรขึ้นมาเป็นวาระพิเศษหรือไม่
ประเด็นที่จะหารือที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดต้องคุยกันให้ดีก็คือ จะประชุมเลือกประธานศาลรธน.คนใหม่กันเลยหรือไม่ หลัง 1 ส.ค. หรือว่าจะรอให้มีการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่จะมาแทนนายวสันต์ให้เสร็จสิ้นก่อน เพื่อจะได้ครบ 9 คนแล้วค่อยมาเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งหากใช้วิธีการนี้ก็ไม่เสียหายอะไรเพราะระหว่างที่ยังไม่มีประธานศาลรธน.เบื้องต้นคงจะให้นายจรูญ ที่มีอาวุโสสูงสุดทำหน้าที่รักษาการประธานในที่ประชุมไปก่อน แต่ตุลาการทั้ง 8 คนก็ต้องประเมินด้วยว่าระยะเวลาที่จะต้องรอตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่จะมาแทนนายวสันต์ที่ก็กินเวลาพอสมควร
เพราะกว่าจะเปิดรับสมัครผู้สนใจเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วก็นำชื่อและผลการตรวจสอบคุณสมบัติส่งไปยังคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อกรรมการสรรหาคัดเลือกใครแล้ว กว่าจะส่งชื่อไปยังวุฒิสภาให้ลงมติให้ความเห็นชอบแล้วต้องเสนอเรื่องไปตามขั้นตอนทางกฎหมายอีก
ต้องใช้เวลาพอสมควรน่าจะเกินกว่าสองเดือนแน่นอน ระหว่างนี้หากไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลอะไรต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่?
เชื่อว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คนคงขบคิดกันหนัก แม้จะมีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะมีการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่เลยโดยไม่รอตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่จะมาแทนนายวสันต์ ซึ่งก็ต้องรอดูการหารือกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คนต่อจากนี้จะว่าอย่างไร
แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้น ถึงต่อให้วสันต์ไม่อยู่ศาลรัฐธรรมนูญแต่ก็เชื่อได้ว่า ยังไง องคาพยพศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอยู่ในเวลานี้ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือแน่นอน
กระนั้นก็ตาม น่าจะมีใครบางคนในศาลรัฐธรรมนูญ อาจรู้สึกหน้าชาเล็กๆ ที่ วสันต์ แสดงให้เห็นถึงการรักษาคำพูดให้ปรากฏต่อสังคม เพราะมีข่าวยืนยันแล้วว่าที่นายวสันต์ลาออกครั้งนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเหตุผลการเมืองในศาลรัฐธรรมนูญ
หรือเพราะเบื่อเรื่องกระแสกดดันการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจากภายนอก โดยเฉพาะพวกแดงเศษสวะที่เคยมาปักหลักกินนอนกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ที่หน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
แต่เป็นการลาออกเพื่อรักษาสัจจะที่เคยให้ไว้ตอนได้รับเลือกจากที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อสิงหาคม 2554 ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไม่ครบวาระ หากเข้าไปจัดองค์กรศาลรัฐธรรมนูญให้ดีขึ้นกว่าก่อนเข้ารับตำแหน่ง ก็จะลาออกจากตำแหน่ง จะได้ให้เพื่อน-พี่-น้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นได้เข้ามาทำหน้าที่บ้าง
ดังนั้น เมื่อมาถึงช่วงจะครบสองปีหลังได้รับเลือกเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญก็เลยใช้โอกาสนี้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเสียเลยโดยไม่ได้แค่ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังลาออกจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย ผิดกับบางคนที่เคยบอกจะลาออกจากทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่ถึงเวลาจริงๆ ก็ไม่ทำตามสัญญา
การลาออกของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์จึงมีเสียงบ่นเสียดายตามมามากมาย