อดีตเลขาฯ สมช.เพื่อนร่วมรุ่น “แม้ว” ยกคุยบีอาร์เอ็น สังคมรับรู้แยกดินแดนปัญหาหลัก เชื่อหยุดป่วนรอมฎอนสังคมให้อภัย แนะอย่าให้น้ำหนักข้อเสนอ หวั่นได้คืบเอาศอก มั่นใจไม่ล้มโต๊ะ จี้ รบ.อย่ายอมแค่หยุดป่วน ต้องกลับไทยวางอาวุธ หยุดบิดเบือนศาสนา เปรียบนั่งรถเมล์เปลี่ยนสายเพื่อจุดหมาย แนะศึกษาวิทยานิพนธ์ ปธ.เบอร์ซาตูระบุขบวนการยังไร้เอกภาพ ใต้คล้ายไข้เลือดออก ลดไข้ไม่หาย “นัจมุดดิน” สะกิด สมช.ไม่รับข้อเสนอบีอาร์เอ็น ข้องใจคนให้ข่าวหวังล้มโต๊ะ
วันนี้ (26 มิ.ย.) พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็นเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า การพูดคุยถือเป็นแนวทางที่เดินมาถูกต้องแล้ว เพราะทำให้สังคมมีความกระจ่าง เพราะก่อนหน้านี้มีความพยายามจะทำให้เข้าใจว่าปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดจากความไม่ยุติธรรม และการกดขี่ข่มเหง ซึ่งตรงนี้เป็นเพียงแค่ปลีกย่อยของปัญหาเท่านั้น แต่ความกระจ่างที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือ มีแนวคิดแบ่งแยกดินแดน หากดูจากข้อเรียกร้องของกลุ่มบีอาร์เอ็นจะเห็นชัดว่าต้องการให้มีการแบ่งแยกดินแดน ดังนั้น การพูดคุยจะทำให้เกิดการปรากฎตัวตนและสังคมได้ตระหนักถึงความเป็นจริง ถ้าเราเดินตามสิ่งที่บีอาร์เอ็นยื่นขอมาอาจเป็นเรื่องที่ไม่เท่าเทียมกัน เขาอาจรวมตัวกันหยุดก่อเหตุในช่วงเดือนรอมฎอนได้ แต่เมื่อไม่พอใจก็กลับมาก่อเหตุใหม่ เพราะเขามีแต่ได้กับได้ เขาอาจเล่นละครหลอกเราก็ได้ และตนเชื่อว่าถ้าเขาสามารถหยุดก่อเหตุในช่วงเดือนรอมฎอนได้ สังคมก็พร้อมที่จะให้อภัยเขา แต่หากเขาได้พื้นที่เป็นเขตปกครองพิเศษ ต่อไปอาจขยายเพื่อแบ่งแยกดินแดนได้ ซึ่งข้อแสนอดังกล่าวเป็นกลยุทธ์ในการพูดคุย อย่าไปให้น้ำหนักมาก
“มั่นใจว่าการที่รัฐบาลไทยออกมาปฏิเสธข้อเรียกร้อง ทางกลุ่มบีอาร์เอ็นจะไม่ล้มโต๊ะการพูดคุย การที่เรายอมตามข้อเสนอของเขา โดยที่เขายังอยู่เฉยๆ มันยังไม่พอ เพราะเราจะไม่ได้อะไรเลย มีแต่เสียมากหรือเสียน้อย ขั้นตอนต่อไปไม่ใช่แค่เพียงเรียกร้องให้เขาหยุดก่อเหตุ แต่จะต้องทำให้เขากลับคืนสู่สังคมไทยในปกติ มีการส่งมอบอาวุธ และหยุดการอบรมทางศาสนาที่ไม่ถูกต้อง ผมคิดว่า ทางรัฐบาลเองจะต้องนำไปสู่จุดนี้ เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องผิด เดินมาถูกต้องแล้ว เปรียบเหมือนกับการนั่งรถเมล์ หากต้องการไปสู่จุดหมายปลายทางบางครั้งต้องมีการเปลี่ยนสายรถเมล์บ้าง ถ้านั่งเพียงสายเดียวจะไปไม่ถึงที่หมาย ต้องหาโอกาสเปลี่ยนสายในจังหวะที่เหมาะสม เพื่อรักษาทิศทางที่เราต้องการไป ทั้งนี้ผมแนะนำให้ผู้เกี่ยวข้องไปอ่านวิทยานิพนธ์ของ ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมาน ประธานกลุ่มเบอร์ซาตู ได้ศึกษาและเปรียบเทียบอย่างละเอียดเกี่ยวกับขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่ามีลักษณะอย่างไร ใช้ประเด็นอะไรในการระดมคน รวมถึงการสร้างความสนใจจากนานาชาติ และมีวัตถุประสงค์สุดท้ายอย่างไร จากรายงานจะเห็นว่าขบวนการของเขาไม่มีความเป็นเอกภาพ แต่ถ้าเมื่อไรมีความเป็นเอกภาพ และมีตัวแทนขึ้นมา การพูดคุยต่อรองหรือการให้ผลประโยชน์ทุกอย่างก็จะจบ ถ้าไม่ศึกษาจะกลายเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อ เนื่องจากเรื่องภาคใต้เปรียบเสมือนการเป็นไข้เลือดออก ไม่ใช่ไข้ธรรมดา การรักษาโดยการลดไข้ที่ดูเหมือนว่าจะหายนั้น แต่อาจจะเกิดปฏิกิริยากลับทำให้เราตายในที่สุด” อดีตเลขาฯ สมช.กล่าว
ด้านนายนัจมุดดิน อูมา ที่ปรึกษา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง 7 ข้อเสนอบีอาร์เอ็นว่า การที่จะให้ถอนทหารคงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งก็ข้องใจว่าขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการพุดคุยก็น่าจะเสนอบนโต๊ะพูดคุย เมื่อเสนอมาอย่างนี้ฝ่ายพูดคุยที่นำโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ต้องตอบไปว่ารับไม่ได้ โดยเฉพาะการถอนทหาร ที่ขณะนี้มีการตั้งกองพลทหารที่ 15 ขึ้นมา เพื่อเอาคนในพื้นที่มาทำงาน แต่จะมาให้ถอนทันทีคงทำไม่ได้ แต่ถ้ามีการเสนอว่ารัฐบาลค่อยๆ ปรับถอนออกไปก็อาจจะทำได้ ทั้งนี้ เท่าที่ทราบจากสื่อถ้าเป็นจริงตามที่ประกาศก็น่าคิดว่าคนที่พูดเช่นนี้จะออกมาขัดขวางการพูดคุยหรือไม่ และเป็นการไม่สมควร เพราะกำลังมีการพูดคุยกันอยู่ ซึ่งประชาชนก็ตกใจว่ามีข่าวเช่นนี้ออกมาได้อย่างไร
นอกจากนี้ จากการทำวิจัยประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่รัฐบาลพูดคุย แต่กระบวนการปฏิบัติต้องใช้เวลา และมั่นใจว่าจะเดินไปต่อได้ อย่างไรก็ตาม ในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์ ทุกฝ่ายน่าจะทำความดี และมีแนวทางที่ดีเพื่อประชาชน
วันนี้ (26 มิ.ย.) พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็นเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า การพูดคุยถือเป็นแนวทางที่เดินมาถูกต้องแล้ว เพราะทำให้สังคมมีความกระจ่าง เพราะก่อนหน้านี้มีความพยายามจะทำให้เข้าใจว่าปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดจากความไม่ยุติธรรม และการกดขี่ข่มเหง ซึ่งตรงนี้เป็นเพียงแค่ปลีกย่อยของปัญหาเท่านั้น แต่ความกระจ่างที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือ มีแนวคิดแบ่งแยกดินแดน หากดูจากข้อเรียกร้องของกลุ่มบีอาร์เอ็นจะเห็นชัดว่าต้องการให้มีการแบ่งแยกดินแดน ดังนั้น การพูดคุยจะทำให้เกิดการปรากฎตัวตนและสังคมได้ตระหนักถึงความเป็นจริง ถ้าเราเดินตามสิ่งที่บีอาร์เอ็นยื่นขอมาอาจเป็นเรื่องที่ไม่เท่าเทียมกัน เขาอาจรวมตัวกันหยุดก่อเหตุในช่วงเดือนรอมฎอนได้ แต่เมื่อไม่พอใจก็กลับมาก่อเหตุใหม่ เพราะเขามีแต่ได้กับได้ เขาอาจเล่นละครหลอกเราก็ได้ และตนเชื่อว่าถ้าเขาสามารถหยุดก่อเหตุในช่วงเดือนรอมฎอนได้ สังคมก็พร้อมที่จะให้อภัยเขา แต่หากเขาได้พื้นที่เป็นเขตปกครองพิเศษ ต่อไปอาจขยายเพื่อแบ่งแยกดินแดนได้ ซึ่งข้อแสนอดังกล่าวเป็นกลยุทธ์ในการพูดคุย อย่าไปให้น้ำหนักมาก
“มั่นใจว่าการที่รัฐบาลไทยออกมาปฏิเสธข้อเรียกร้อง ทางกลุ่มบีอาร์เอ็นจะไม่ล้มโต๊ะการพูดคุย การที่เรายอมตามข้อเสนอของเขา โดยที่เขายังอยู่เฉยๆ มันยังไม่พอ เพราะเราจะไม่ได้อะไรเลย มีแต่เสียมากหรือเสียน้อย ขั้นตอนต่อไปไม่ใช่แค่เพียงเรียกร้องให้เขาหยุดก่อเหตุ แต่จะต้องทำให้เขากลับคืนสู่สังคมไทยในปกติ มีการส่งมอบอาวุธ และหยุดการอบรมทางศาสนาที่ไม่ถูกต้อง ผมคิดว่า ทางรัฐบาลเองจะต้องนำไปสู่จุดนี้ เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องผิด เดินมาถูกต้องแล้ว เปรียบเหมือนกับการนั่งรถเมล์ หากต้องการไปสู่จุดหมายปลายทางบางครั้งต้องมีการเปลี่ยนสายรถเมล์บ้าง ถ้านั่งเพียงสายเดียวจะไปไม่ถึงที่หมาย ต้องหาโอกาสเปลี่ยนสายในจังหวะที่เหมาะสม เพื่อรักษาทิศทางที่เราต้องการไป ทั้งนี้ผมแนะนำให้ผู้เกี่ยวข้องไปอ่านวิทยานิพนธ์ของ ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมาน ประธานกลุ่มเบอร์ซาตู ได้ศึกษาและเปรียบเทียบอย่างละเอียดเกี่ยวกับขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่ามีลักษณะอย่างไร ใช้ประเด็นอะไรในการระดมคน รวมถึงการสร้างความสนใจจากนานาชาติ และมีวัตถุประสงค์สุดท้ายอย่างไร จากรายงานจะเห็นว่าขบวนการของเขาไม่มีความเป็นเอกภาพ แต่ถ้าเมื่อไรมีความเป็นเอกภาพ และมีตัวแทนขึ้นมา การพูดคุยต่อรองหรือการให้ผลประโยชน์ทุกอย่างก็จะจบ ถ้าไม่ศึกษาจะกลายเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อ เนื่องจากเรื่องภาคใต้เปรียบเสมือนการเป็นไข้เลือดออก ไม่ใช่ไข้ธรรมดา การรักษาโดยการลดไข้ที่ดูเหมือนว่าจะหายนั้น แต่อาจจะเกิดปฏิกิริยากลับทำให้เราตายในที่สุด” อดีตเลขาฯ สมช.กล่าว
ด้านนายนัจมุดดิน อูมา ที่ปรึกษา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง 7 ข้อเสนอบีอาร์เอ็นว่า การที่จะให้ถอนทหารคงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งก็ข้องใจว่าขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการพุดคุยก็น่าจะเสนอบนโต๊ะพูดคุย เมื่อเสนอมาอย่างนี้ฝ่ายพูดคุยที่นำโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ต้องตอบไปว่ารับไม่ได้ โดยเฉพาะการถอนทหาร ที่ขณะนี้มีการตั้งกองพลทหารที่ 15 ขึ้นมา เพื่อเอาคนในพื้นที่มาทำงาน แต่จะมาให้ถอนทันทีคงทำไม่ได้ แต่ถ้ามีการเสนอว่ารัฐบาลค่อยๆ ปรับถอนออกไปก็อาจจะทำได้ ทั้งนี้ เท่าที่ทราบจากสื่อถ้าเป็นจริงตามที่ประกาศก็น่าคิดว่าคนที่พูดเช่นนี้จะออกมาขัดขวางการพูดคุยหรือไม่ และเป็นการไม่สมควร เพราะกำลังมีการพูดคุยกันอยู่ ซึ่งประชาชนก็ตกใจว่ามีข่าวเช่นนี้ออกมาได้อย่างไร
นอกจากนี้ จากการทำวิจัยประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่รัฐบาลพูดคุย แต่กระบวนการปฏิบัติต้องใช้เวลา และมั่นใจว่าจะเดินไปต่อได้ อย่างไรก็ตาม ในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์ ทุกฝ่ายน่าจะทำความดี และมีแนวทางที่ดีเพื่อประชาชน