xs
xsm
sm
md
lg

ยุบโครงการ “ประชาล่มจม” ที่ทำชาติเสียหายก่อนดีไหม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รายงานการเมือง

ยิ่งนาน ยิ่งเสื่อม จริง ๆ สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐบาลที่ถูกบงการผ่านการไสกป์ของนักโทษ เพราะยิ่งคนไทยได้รู้จัก “ยิ่งลักษณ์” ก็รู้ว่า “ยิ่งเละ” ของจริงเป็นอย่างไร

ตัวผู้นำไปจีบปากจีบคออ่านโพยทำร้ายประเทศ ก่อนกลับมาแถว่า “มันเป็นอุทธาหรณ์” ซึ่งก็อาจจะจริง เพราะปฏิกิริยาโต้กลับอย่างรุนแรงของคนไทยใจรักชาติที่ดาหน้าออกมาวิพากษ์อย่างรุนแรงโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็น วลีเด็ดของ ชัย ราชวัตร ที่ว่า “โปรดเข้าใจ กะหรี่ไม่ใช่หญิงชั่ว กะหรี่แค่เร่ขายตัว แต่หญิงคนชั่วเที่ยวเร่ขายชาติ”

กระทั่งพัฒนาไปสู่การท้าทายไอซีทีที่ขู่จะปิดเว็บไซด์ที่วิจารณ์นายกรัฐมนตรี จากการแฮกเว็บสำนักนายกสะเทือนถึงตึกไทยคู่ฟ้า พร้อมข้อความประนามผู้นำหญิงเป็นภาษาอังกฤษ I'm a slutty moron และ I know that I am the worst Prime Minister ever in Thailand history!!! ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า “ฉันรู้ว่าฉันคือนายกรัฐมนตรีที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศไทย!!!”

สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงศรัทธาที่เสื่อมถอยถึงขีดสุด ซึ่ง ยิ่งลักษณ์และคณะต้องตระหนักว่า ประชาชนที่ทนไม่ไหวกำลังลุกขึ้นมาแสดงสิทธิและทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลขี้ฉ้อ

ความวัวยังไม่ทันหายความควายก็เข้ามาแทรก ด้วยการออกมา “ฆ่าตัวตาย” ของ พงษ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ที่เคยถูกเสกสรรปั้นแต่งให้ดูเลอเลิศเก่งกาจจากสื่อบางค่ายที่หันไปเป็น “ขี้ข้าทักษิณ”อย่างถาวรว่า มีความเก่งกาจนักหนา แต่กลับสิ้นคิดประกาศยุบโรงเรียนขนาดเล็ก 14,186 แห่ง โดยอ้างเหตุผลว่า

“การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อลดการต่อต้าน ต้องชี้แจ้งให้ชุมชนเข้าใจว่า รัฐบาลไม่มีกำลังงบประมาณจะพัฒนาโรงเรียนทุกแห่ง และไม่สามารถนำงบประมาณจากเงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียมกัน”

หากคำพูดนี้ออกจากปากรัฐบาลที่มีการบริหารประเทศโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่ากับภาษีของประชาชน ผู้คนก็คงพอจะมีความเข้าใจอยู่บ้าง แต่เมื่อออกมาจากปากรัฐมนตรีในรัฐบาลที่บ้าคลั่งกับการทำประชาล่มจม จากนโยบายลดแลกแจกแถม ใช้เงินภาษีประชาชนไปซื้อเสียงทางการเมืองให้กับตัวเอง จึงทำให้เกิดคำถามตามมามากมายว่า

ก่อนที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก รัฐบาลยุบโครงการประชาล่มจมที่ทำชาติเสียหายก่อนจะดีไหม เพราะหากทำได้จะสามารถประหยัดงบประมาณได้หลายแสนล้านบาท ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้ และปัญหาเรื่องงบประมาณก็จะหมดไป

แต่รัฐบาลที่กล้าใช้เงินราว 3 พันล้านบาทไปกับการซื้อแท็บเล็ตมาแจกให้กับเด็ก ป.1 ซึ่งในบางพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ กลับบอกว่ามีความจำเป็นต้องประหยัดงบประมาณด้วยการยุบโรงเรียนขนาดเล็กทิ้ง!

จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมแรงกระเพื่อมที่เคลื่อนออกมต่อต้านเรื่องนี้จึงดูหนักหน่วงและรุนแรงกว่าเรื่องอื่น ๆ

ความจริงแนวคิดเรื่องการยุบโรงเรียนขนาดเล็กนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะตามแผนปฏิรูปการศึกษาระยะที่สอง ตั้งแต่ปีพ.ศ.2553-2563 นั้น มีการระบุไว้ว่าจะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก 7 พันแห่งจากทั้งหมด 14,186 แห่ง หรือพูดง่าย ๆ ว่ายุบไปครึ่งหนึ่ง

แต่ทำไมจึงไม่เกิดกระแสต่อต้านรุนแรงเท่าครั้งนี้ ?

สาเหตุที่ไม่มีแรงต่อต้านเพราะรัฐบาลในขณะนั้นคิดอย่างเป็นระบบ เล็งเห็นถึงความจำเป็นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้หลากหลายวิธี ไม่ใช่เอาเรื่องจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 60 คน เป็นหลักอย่างที่ พงษ์เทพ ทำ

มีการเตรียมความพร้อม สร้างโรงเรียนดีประจำตำบล มาเป็นแรงจูงใจให้ผู้ปกครองย้ายลูกหลานจากโรงเรียนเล็ก ๆ ไปศึกษาหาความรู้ในโรงเรียนที่มีคุณภาพมากกว่า

มีการกำหนดแนวทางชัดเจนว่าจะไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล มีปัญหาด้านภูมิศาสตร์ในการเดินทาง เพราะจะกลายเป็นการผลักเด็กออกจากระบบการศึกษา

มีแนวคิดชัดเจนว่านอกจากคิดที่จะยุบแล้วต้องคิดที่จะพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กไปพร้อม ๆ กันด้วย หากโรงเรียนไหนสุดจะฉุดรั้งให้พัฒนาขึ้นได้ก็ค่อยมาคิดเรื่องการยุบ

และยังมีการกำหนดนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการศึกษาในชุมชนด้วย ประชาชนต้องร่วมกันตัดสินอนาคตของชาติ อย่าปล่อยให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำลายโอกาสทางการศึกษาที่เหลือน้อยนิดของเด็กในถิ่นทุรกันดาร ยากจน และด้อยโอกาส

หากกระทรวงศึกษาธิการหมดปัญญาในการบริหารจัดการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพก็ยกให้ชุมชน องค์กรปกครองถิ่น ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน บริหารจัดการโรงเรียนแทนจะดีกว่า

คำกล่าวที่ว่า คุณภาพรัฐบาลสะท้อนประชาชนในประเทศนั้น จึงเป็นเรื่องจริง ในเมื่อคนส่วนใหญ่เห็นแก่เงิน และวัตถุ มากกว่า การพัฒนารากฐานของชาติ ก็ย่อมได้รัฐบาลที่คิดแต่เรื่องประโยชน์่ทางการเมือง มากกว่าการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

เราจึงแทบไม่เห็นนโยบายด้านการศึกษาที่โดดเด่นจากรัฐบาลชุดนี้ นอกจาก แจกแท็บเล็ต ยกเลิกการตัดผมเกรียน ลดการบ้านให้เด็ก กระทั่งมาถึงการยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน

ในความเป็นจริงโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ก็ล้วนแต่มีเด็กไม่ถึง 60 คนทั้งสิ้น ซึ่งอาจทำให้ รัฐบาลที่เน้นธุรกิจมากกว่าสร้างปัญญามองว่า ไม่คุ้มค่าต่อการจัดงบประมาณ ทั้งที่การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับประเทศ คือการลงทุนกับการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เยาวชนเติบโตขึ้นมาเป็นประชากรที่คุณภาพ มีวิจารณญาณที่ดีในการเลือกผู้ปกครองที่ดีและมีคุณภาพด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาธิปไตยมีคุณภาพและเข้มแข็งตามไปด้วย

แต่ตราบใดที่เรายังมีพลเมืองไร้คุณภาพย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพประชาธิปไตยในประเทศเช่นเดียวกัน เราจึงได้เห็นความคิดแปลก ๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ละเมิดสิทธิของคนอื่นเป็นว่าเล่น ในทำนองว่า หากอ้างประชาธิปไตยแล้วจะทำอะไรก็ได้แม้กระทั่งการก่ออาชญากรรม

และนี่คงเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่สนใจพัฒนาการศึกษาไทย แต่มุ่งที่จะทำลายความเข้มแข็งทางปัญญาซึ่งเป็นฐานรากสำคัญของประเทศ

เพราะคนโง่ปกครองง่าย และคนโง่จะพึ่งพาตัวเองไม่ได้ เข้าทางต้องมาคอยรับความอุปถัมภ์จากรัฐบาลตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้พรรคเพื่อไทยครองอำนาจได้อย่างยาวนาน จากนโยบายประชาล่มจม ใช้เงินแผ่นดินซื้อคะแนนเสียง สร้างกองกำลังนอกกฎหมาย
กำลังโหลดความคิดเห็น