“อลินา มิรอง” ยันแผนที่ 85d ของจริง ไม่ปลอมแปลง ศาลโลกปี 2505 ก็เคยใช้ ซัดแผนที่ภาคผนวก 1 ที่เขมรใช้อ้างมีหลายฉบับ ไม่รู้จะใช้อันไหน แถมก็คลาดเคลื่อนจากสภาพความเป็นจริง ใช้วิธีการเทียมๆ เขียนขึ้นมาใหม่ อย่าเอามาอ้างทำเส้นแบ่งเขตแดน
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง ทีมทนายความฝ่ายไทยให้การโดยวาจาต่อศาลโลก ในคดีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิทหาร
วันนี้ (19 เม.ย.) น.ส.อลินา มิรอง (Alina Miron) ทนายความฝ่ายไทย ได้ให้การโดยวาจาต่อศาลโลก ในคดีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิทหาร ต่อจาก ศ.อแลง แปลเลต์ โดยกล่าวว่า กัมพูชาพยายามจะเปลี่ยนคำร้องให้เป็นการตีความเรื่องเขตแดนโดยอ้างแผนที่ตามภาคผนวก 1 ซึ่งไม่รู้ว่าตีพิมพ์เมื่อใด อย่างไรก็ตาม ได้มีการขยายจากแผนที่เดิมมาเป็นแผนที่ตามภาคผนวกที่ 49 ซึ่งทำขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2011-2012 นี่เอง
น.ส.มิรองกล่าวอีกว่า แผนที่ตามภาคผนวก 1 นั้นมีหลายฉบับ กัมพูชาบอกว่าฉบับที่สำคัญที่สุดคือฉบับที่ยื่นต่อศาลในปี 1959 (พ.ศ. 2502) ซึ่งนายบันดี ทนายความกัมพูชาบอกเมื่อวานนี้ว่าเป็นฉบับที่ถูกต้อง โดยอ้างถึงป้าย ซึ่งก็เป็นเพียงป้ายบ่งชี้ถึงเอกสารในศาล เมื่อทีมกฎหมายฝ่ายไทยไปดู พบว่า เอกสารที่นายบันดีกล่าวถึงคล้ายกับที่ยื่นในปี 2011 นอกจากนี้ ยังพบว่ากัมพูชาได้ยื่นเอกสารแผนที่หลายๆ ฉบับ ตามทั้งแผนที่ตามภาคผนวก 1 ซึ่งต้องตีพิมพ์ส่งให้คู่ความ ฝ่ายไทยได้เอกสารนี้ 3 ชุดจากกัมพูชา เมื่อเดือนมกราคม 1960 ดังนั้น ถ้าจะถืออย่างเป็นทางการ แผนที่ตามภาคผนวก 1 ไม่มีหรอก เราไม่สามารถบอกได้ว่ากัมพูชาจะใช้ฉบับไหน เพราะมีหลายฉบับ
น.ส.มิรองกล่าวอีกว่า ต่อมากัมพูชาได้ทำการขยายภาพแผนที่เป็น map sheet 3 ซึ่งเมื่อวันจันทร์ ตนได้บอกว่า กัมพูชาอยากจะเลิกใช้แผนที่นี้ และไปใช้แผนที่ของไอบีอาร์ยู ซึ่งแผนที่นั้นทำขึ้นเมื่อปี 2011 โดยกัมพูชาเบี่ยงเบนจุดประสงค์ของผู้เชี่ยวชาญ เพราะคนทำต้องการบอกว่า เรื่องห้วยโอตาเซ็ม (ที่กัมพูชาอ้างเป็นเส้นเขตแดนในการสู้คดีปี 2505) นั้น มันบิดเบือนอย่างไร แต่กัมพูชาก็นำไปบิดเบือนเป็นอย่างอื่นตามที่ตนต้องการ นอกจากนี้ ตามแผนที่ขยาย กัมพูชาไม่เอาพื้นที่ทางตะวันออก เพราะถ้าเอาตามนั้นพื้นที่จะเป็นของไทย
ส่วนแผนที่ 85d ซึ่งตัดมาจากแผนที่ใหญ่ หรือ big map ที่ตนนำมาแสดงเมื่อวันที่ 17 เม.ย.และกัมพูชากล่าวหาว่าเราปลอมแผนที่นั้น เราไม่ได้ปลอม เราเสนอไปตามความเป็นจริง เพราะพื้นที่ทางตะวันออกเราไม่สามารถหาแผนที่ได้ เราจึงสร้างแผนที่เพิ่มเติมจากแผนที่ 1 และแผ่นที่ 2 ที่อยู่ตรงข้ามส่วนที่อยู่ในหอเอกสาร
ที่ทนายความกัมพูชาอ้างว่าในการพิพากษาคดีปี 2505 ศาลไม่ได้เอ่ยถึงแผนที่นี้นั้น ยืนยันว่าแต่ในปี 2505 มีการพิจารณาแผนที่นี้ เพราะทนายความทั้งสองฝ่ายก็ใช้แผนที่นี้ในการนำเสนอของตน และติดตั้งอยู่บนกำแพงตรงข้ามนี้ ตั้งแต่วันที่ 9-28 มีนาคม ทำไมกัมพูชาไม่บอกว่า ศาลสั่งให้ตัดเอาแผนที่นี้มาตีพิมม์ประกอบความเข้าใจคำพิพากษา
น.ส.มิรองกล่าวอีกว่า แผนที่ตามภาคผนวกที่ 1 มีปัญหาในการถ่ายทอดเส้นจากแผนที่เก่ามาใส่แผนที่ใหม่ที่ตรงตามสภาพความภูมิประเทศที่เป็นจริงในปัจจุบัน ทนายความกัมพูชาพยายามใช้ภาพขยายของแผนที่ และให้ตีความว่าบริเวณใกล้เคียงปราสาทว่าเป็นเส้นเดียวกับเส้นในแผนที่ผนวก 1 โดยใช้ภาพขยายตาม map sheet 3 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นแผนที่ที่แม่นย้ำน้อยที่สุด เพราะเป็นแผนที่ที่คลาดเคลื่อนจากภูมิประเทศที่แท้จริง
กัมพูชาจึงทำแผนที่ใหม่อีกเป็น map sheet 4 แต่ในความเป็นจริง แม่น้ำ ลำธาร ก็ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ตามความเป็นจริง ไม่แสดงภูมิประเทศที่แท้จริง ไม่พูดถึงวิธีการนำเส้นในแผนที่มาลงสู่โลกความเป็นจริง ปฏิเสธการใช้เส้นสันปันน้ำ เป็นการีไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาปี 1904 และ 1908 ที่ตกลงจะใช้เส้นสันปันน้ำ
“กัมพูชาเลือกใช้วิธีการอื่น ที่เรียกว่าวิธีการเทียม เราไม่สามรถบอกได้ว่าเขาใช้วิธีใด แต่สิ่งที่ถ่ายทอดมาบนแผนที่ มันไม่ความเป็นจริง มันมีหลายเส้นเขตแดน จึงยากลำบากในการใช้เส้นแบบนี้” น.ส.มิรองกล่าว และว่า ดังนั้น แผนที่ตามภาคผนวก 1 จึงไม่สามรถถ่ายทอดลงแผนที่ตามสภาพปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การปักปันเขตแดนได้ เพราะการถ่ายทอดออกมา มันไม่ถูกต้อง
น.ส.มิรองย้ำอีกว่า ไอบีอาร์ยูเองก็บอกว่าวิธีแบบนี้มันไม่เหมาะสม แผนที่ตามภาคผนวก 1 กับแผนที่ปัจจุบัน มันมีจุดร่วมกันน้อยมาก มันมีแต่กิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นที่พอจะตรงบ้าง เช่น วัด ส่วนภูเขา แม่น้ำ คลาดเคลี่อนหมด ฝ่ายกัมพูชาพยายามให้มันตรงกับปัจจุบัน โดยใช้จีพีเอส 85 แต่จุดร่วมก็ไม่ได้อยู่ในจุดเดียวกัน บางจุดอยู่อยู่ใกลกันมาก มันเป็นการบิดเบือน และเบี่ยงเบนจากเส้นสันปันน้ำมาก ซึ่งไม่เที่ยงตรง