เผยสาระสำคัญ พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน มี 4 หน้า 19 มาตรา ให้อำนาจ ก.คลังกู้เงินสูงสุด 2 ล้านล้าน ยาวนานถึงปี 2563 พร้อมปรับโครงสร้างหนี้ได้ ดึง สศช.-สำนักงบประมาณ กรองโครงการก่อนอนุมัติพอเป็นพิธี พร้อมจัดฉากรายงานรัฐสภา ทุกสิ้นปีงบประมาณภายใน 120 วัน
วันนี้ (22 มี.ค.) ที่รัฐสภา มีรายงานว่า หลังจากนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เตรียมบรรจุวาระเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ในวันที่ 27 มี.ค.นั้น ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีเนื้อหา 4 หน้า รวม 19 มาตรา โดยมีมาตราที่สำคัญ ได้แก่ หมวด 1 การกู้เงินและบริหารจัดการเงินกู้ มาตรา 5 ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาท หรือเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ตามยุทธศาสตร์และแผนงาน และภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.นี้ โดยวงเงินกู้รวมกันไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ภายในกำหนดเวลาไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2563
มาตรา 6 บัญญัติให้ไม่ต้องนำเงินที่กู้ส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง มาตรา 9 ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยดำเนินการกู้เงินรายใหม่ เพื่อชำระหนี้เดิมแปลงหนี้ ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดชำระ ขยายหรือย่นระยะเวลาการชำระหนี้ ต่ออายุซื้อคืน หรือไถ่ถอนตราสารหนี้ของรัฐบาลหรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้
ขณะที่มาตรา 10 กำหนดว่าการปรับโครงสร้างหนี้จะกระทำได้เฉพาะเพื่อเป็นการประหยัด ลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน หรือกระจายภาระการชำระหนี้ โดยจะกู้เป็นสกุลเงินแตกต่างจากหนี้เดิมก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ให้นับรวมเข้าไปวงเงิน 2 ล้านล้านบาท และต้องไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ยังค้างชำระ
อย่างไรก็ตาม หากหนี้เงินกู้ที่จะทำการปรับโครงสร้างหนี้มีจำนวนเงินมาก และกระทรวงการคลังเห็นว่า ไม่สมควรกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในคราวเดียวกัน อาจทยอยกู้เงินเป็นการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน ก่อนถึงกำหนดวันชำระหนี้ได้ โดยมาตรา 11 กำหนดให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศทำหน้าที่บริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนมาตรา 12 กำหนดให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ทำหน้าที่บริหารและจัดการการกู้เงินการเบิกจ่าย การชำระหนี้ที่เกี่ยวกับการกู้เงิน
สำหรับหมวด 2 การเสนอและการบริหารจัดการโครงการ มาตรา 14 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำรายละเอียดของโครงการ เสนอให้ ครม.อนุมัติ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังก่อน มาตรา 18 กำหนดให้กระทรวงเจ้าสังกัดของโครงการต้องจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลโครงการและแผนงาน และรายงานผลต่อกระทรวงการคลังด้วย และมาตรา 19 กำหนดว่าให้ ครม.ต้องรายงานผลการกู้เงินและการดำเนินงานต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
วันนี้ (22 มี.ค.) ที่รัฐสภา มีรายงานว่า หลังจากนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เตรียมบรรจุวาระเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ในวันที่ 27 มี.ค.นั้น ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีเนื้อหา 4 หน้า รวม 19 มาตรา โดยมีมาตราที่สำคัญ ได้แก่ หมวด 1 การกู้เงินและบริหารจัดการเงินกู้ มาตรา 5 ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาท หรือเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ตามยุทธศาสตร์และแผนงาน และภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.นี้ โดยวงเงินกู้รวมกันไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ภายในกำหนดเวลาไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2563
มาตรา 6 บัญญัติให้ไม่ต้องนำเงินที่กู้ส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง มาตรา 9 ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยดำเนินการกู้เงินรายใหม่ เพื่อชำระหนี้เดิมแปลงหนี้ ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดชำระ ขยายหรือย่นระยะเวลาการชำระหนี้ ต่ออายุซื้อคืน หรือไถ่ถอนตราสารหนี้ของรัฐบาลหรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้
ขณะที่มาตรา 10 กำหนดว่าการปรับโครงสร้างหนี้จะกระทำได้เฉพาะเพื่อเป็นการประหยัด ลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน หรือกระจายภาระการชำระหนี้ โดยจะกู้เป็นสกุลเงินแตกต่างจากหนี้เดิมก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ให้นับรวมเข้าไปวงเงิน 2 ล้านล้านบาท และต้องไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ยังค้างชำระ
อย่างไรก็ตาม หากหนี้เงินกู้ที่จะทำการปรับโครงสร้างหนี้มีจำนวนเงินมาก และกระทรวงการคลังเห็นว่า ไม่สมควรกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในคราวเดียวกัน อาจทยอยกู้เงินเป็นการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน ก่อนถึงกำหนดวันชำระหนี้ได้ โดยมาตรา 11 กำหนดให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศทำหน้าที่บริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนมาตรา 12 กำหนดให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ทำหน้าที่บริหารและจัดการการกู้เงินการเบิกจ่าย การชำระหนี้ที่เกี่ยวกับการกู้เงิน
สำหรับหมวด 2 การเสนอและการบริหารจัดการโครงการ มาตรา 14 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำรายละเอียดของโครงการ เสนอให้ ครม.อนุมัติ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังก่อน มาตรา 18 กำหนดให้กระทรวงเจ้าสังกัดของโครงการต้องจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลโครงการและแผนงาน และรายงานผลต่อกระทรวงการคลังด้วย และมาตรา 19 กำหนดว่าให้ ครม.ต้องรายงานผลการกู้เงินและการดำเนินงานต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ