xs
xsm
sm
md
lg

“ราตรี” เปิดใจชีวิตในเรือนจำ ย้ำไม่ได้ล้ำแดนเขมร โกรธ ปชป.เมินรักษาประโยชน์ชาติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“ราตรี” เผยชีวิตในเรือนจำไม่ลำบากมาก ได้รับการดูแลดีกว่านักโทษคนอื่น ย้ำยังมั่นใจเต็มร้อยไม่ได้บุกรุกแผ่นดินเขมร เผยไม่โกรธรัฐบาล ปชป.ที่ไม่ช่วยให้ออกจากคุก แต่โกรธที่ไม่รักษาผลประโยชน์ชาติด้วยการไปยืนยันว่าคนไทยล้ำแดน พร้อมฝากให้ทุกคนทำหน้าที่พลเมืองดี


วันนี้ 3 ก.พ. เมื่อเวลา 20.00 น. น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ พร้อมด้วย ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ และนายตายแน่ มุ่งมาจน ผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ถูกกัมพูชาจับกุมตัวในข้อหาบุกรุกแผ่นดิน ได้ร่วมสนทนาในรายการ “ก่อนจะถึงจันทร์” ออกอากาศทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV

น.ส.ราตรีกล่าวว่า หลังจากศาลกัมพูชาตัดสินในวันที่ 1 ก.พ. 2554 วันที่ 4 ก.พ. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ได้เข้าพบตนกับนายวีระ โดยพูดว่ามาในฐานะเพื่อนไม่ได้มาในฐานะตำแหน่งรัฐมนตรี และเสนอว่าจะให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่ได้บอกว่าจะช่วยรูปแบบไหน แต่ตนก็เข้าใจเองว่าคงเป็นการเจรจาระหว่างรัฐบาลสองประเทศ แล้วจะได้รับการปล่อยตัว ระหว่างที่รอความช่วยเหลือตนก็ทวงถามตลอด ได้คำตอบแต่ว่าต้องรอให้กัมพูชาพิจารณา แต่ติดเงื่อนไขการอภัยโทษ ซึ่งเรายังไม่เข้าหลักเกณฑ์ พออยู่ๆ ไปความหวังก็น้อยลง จนกระทั่งอยู่ได้ 4 เดือนก็เลิกหวัง คิดว่าได้ออกเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น พอคิดอย่างนี้ได้ก็สบาย เพราะก่อนนี้คาดหวังว่าจะได้ออกวันนั้นวันนี้ แต่พอถึงเวลาแล้วมันไม่ได้ตามที่คิดก็ผิดหวัง จึงคิดว่าใช้เวลากับวันนี้ให้ดีที่สุด โดยระหว่างที่อยู่ในเรือนจำสถานทูตไทยในกัมพูชาก็คอยช่วยเหลือตลอดว่าขาดเหลืออะไร ไม่ได้เงียบหายไปเลยซะทีเดียว

น.ส.ราตรีเล่าถึงความเป็นอยู่ในเรือนจำว่า เนื่องจากเป็นชาวอโศก ถูกฝึกให้ลำบากอยู่แล้ว จึงปรับตัวได้ไม่ยาก แล้วทางเรือนจำก็ค่อนข้างดูแลดีกว่านักโทษคนอื่น ห้องที่ถูกขังจากเดิมอยู่กัน 20 คน พอตนเข้าไปเขาก็เคลียร์ให้ โดยอยู่ร่วมกับนักโทษชั้นดีอีก 3 คน

กิจกรรมที่ทำระหว่างอยู่ในเรือนจำก็คืออ่านหนังสือ ถ้าไม่ได้หนังสือคงแย่ แล้วก็ทำอาหารกินเอง เพราะกินมังสวิรัติ แต่มีการห้ามไม่ให้นักโทษคนอื่นมาคุยกับเรา ถ้ามาคุยเขาจะถูกลงโทษ แต่ด้านนายวีระจะลำบากกว่ามาก นอกจากไม่ให้คุยกับใครแล้วยังห้ามไม่ให้เอาหนังสือเข้าไปเลย

ตอนที่รู้ว่าต้องถูกจำคุก ตนห่วงอยู่สองเรื่อง คือ เรื่องงาน และความรู้สึกของครอบครัว ตลอดเวลาก็พยายามพูดคุยเฉพาะเรื่องที่ไม่ให้เขาเป็นห่วง

น.ส.ราตรียังกล่าวด้วยว่า การที่ได้รับการปล่อยตัวครั้งนี้ยังไม่เข้าเงื่อนไขอภัยโทษ ที่ต้องรับโทษ 2 ใน 3 แต่นี่ยังไม่ถึง โดยข่าวที่ได้รับมาเขาบอกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอให้ถึง 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 เลยอ้างถึงโอกาสพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนโรดมสีหนุ รัฐบาลกัมพูชาจึงยอม

น.ส.ราตรีกล่าวถึงความรู้สึกเมื่อได้รับการปล่อยตัวว่า ยังไม่ดีใจเพราะยังมีเพื่อนอยู่ที่นั่นอีกคนหนึ่ง แล้วถึงวันนี้ก็ยังยืนยันว่าไม่ได้รุกล้ำแผ่นดินเขมร ช่วงก่อนขึ้นศาลสู้คดีวันที่ 1 ก.พ. 54 ตนได้หลักฐานเพิ่มหลายอย่าง มีความมั่นใจเต็มร้อยว่าสิ่งที่เราพูดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

เมื่อถามว่าโกรธรัฐบาลอภิสิทธิ์หรือไม่ ที่ยืนยันว่าคนไทยล้ำแดนเขมร ร.ต.แซมดินกล่าวว่า ตนแปลกใจ และงงว่าทำไมไปบอกว่าเป็นของกัมพูชา ไม่ได้โกรธรุนแรง แต่การพูดแบบนั้นไม่เพียงแค่ทำให้เรารับโทษ แต่ทำให้ไทยเสียอธิปไตย เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ไปยอมรับอย่างนั้น ทั้งที่พี่น้องคนไทยที่อยู่ตรงนั้นก็มีเอกสารสิทธิชัดเจน สืบจากยูเอ็น ทหารที่ทำงานอยู่ที่นั่น พี่น้องที่อยู่ตรงนั้น มันก็ชัดเจน ไม่ใช่เรื่องลึกลับสืบยาก แต่ในฐานะนายกฯไปออกทีวี มันชัดเจนว่าไปยอมรับ รองนายกฯก็บอกว่าให้เป็นไปตามกัมพูชา พล.อ.ประวิตรก็มาซ้ำอีก การทำแบบนั้นมันเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศเสียหายรุนแรง

ด้านนายตายแน่กล่าวว่า ปัญหาชายแดนถูกปล่อยปละละเลยมาหลายยุคหลายสมัย กรณีบ้านหนองจาน เกิดหลังจากการที่ยุบศูนย์อพยพแล้ว แต่รัฐบาลไม่เคลียร์คนให้กลับประเทศ พื้นที่ 4.6 ตร.กม.ก็เช่นกัน ปัญหาเกิดมานานแล้ว จะบอกว่าต้องด่าทุกรัฐบาล แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์รู้ปัญหาบ้านหนองจานมาตั้งแต่ตอนเป็นฝ่ายค้านแล้ว เพราะปี 2545 ส.ส.ประชาธิปัตย์เคยตั้งกระทู้ถามสด พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงว่ารู้ปัญหามานานแล้ว แต่พอเป็นรัฐบาลไม่แก้ปัญหา ตนไม่ได้โกรธในตัวบุคคล แต่เราต้องเข้าใจความจริง ต้องพูดความจริง

น.ส.ราตรีกล่าวว่า ตนไม่โกรธว่าทำไมไม่ช่วยเรา แต่โกรธว่าทำไมไม่ดูแลประเทศชาติ เหมือนจะเอาประเทศชาติใส่พานไปถวาย ตนและนายวีระถูกกระทำมันเป็นการเสียอิสรภาพของเรา แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่แค่นั้น ยิ่งกว่านั้นคือผลประโยชน์ประเทศชาติ ที่รัฐบาลไม่ดูแลรักษาไว้ทั้งที่เป็นหน้าที่ ตรงนี้ที่น่าโกรธมากกว่า

“อยากฝากบอกทุกคนว่า ทุกคนมีหน้าที่ ต้องปกป้องสิทธิตัวเอง ที่มากกว่านั้นคือ หน้าที่ปกป้องประเทศชาติบ้านเกิดของตัวเอง ถ้าไม่ทำวันหนึ่งการละเมิดสิทธิก็จะมาถึงตัว อย่ามองว่าชาติบ้านเมืองเป็นเรื่องไกลตัว ฉะนั้นอย่าละเลยทำหน้าที่พลเมืองดี”

น.ส.ราตรียังกล่าวขอบคุณทุกคนที่ให้กำลังใจด้วยว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ตนไม่ท้อแท้ และยิ่งเป็นแรงขับว่าต้องสู้เพื่อแผ่นดิน




คำต่อคำ “ก่อนจะถึงจันทร์” วันที่ 3 ก.พ.2556

จินดารัตน์ - สวัสดีค่ะ คุณผู้ชมคะขอต้อนรับคุณผู้ชมเข้าสู่รายการก่อนจะถึงจันทร์นะคะ ค่ำคืนวันนี้ต้องบอกว่า เป็นค่ำคืนที่พิเศษสุดๆ แล้วเราก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับพี่สาวคนหนึ่งของเรา เราเฝ้ารอค่อยวันนี้มา 2 ปี กับ 1 เดือน เต็มที่ คุณราตรีจะได้เดินทางกลับสู่อิสระภาพกลับสู่แผ่นดินเกิดที่บ้านเรา เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็มีกองทัพสื่อมวลชนแล้วก็พี่น้องคนไทยหัวใจรักชาติ พี่น้องอีกหลายต่อหลายคนไปต้อนรับคุณราตรีเดินทางกลับมาจากกัมพูชา หลังที่ถูกจับไปตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ปี 2553 ค่ะ วันนี้ก็เลยจะเชิญคุณราตรีมาเปิดใจมาถึงความรู้สึกที่ถูกยัดเยียดข้อหาว่าถูกรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของเขมร ทั้งๆที่จริงแล้วเราก็รู้อยู่กันเต็มอก ว่าแผ่นดินนั้นคือแผ่นดินไทยค่ะคุณผู้ชม ที่มันน่าเศร้าคือมันมีคนไทย ร่วมหัวจมท้ายกับคนเขมรเอาคนไทยเข้ามาติดคุกที่นั้น ยังมีพี่ชายเราอีกคนหนึ่งคุณวีระยังอยู่ที่นั้นนะค่ะ เรายังคงมีความหวังค่ะ ว่าพี่วีระจะได้กลับมาแล้วมา นั้งคุยแบบนี้ด้วยเช่นกัน วันนี้เลยเชิญมาทั้ง 3 ท่าน นะค่ะ ท่านแรกคุณราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ท่านต่อมาคุณตายแน่ มุ่งมาจน และท่านสุดท้าย รต.แซมดิน เลิศบุศย์ สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับกลับบ้านค่ะ ยินดีต้อนรับกลับสู่อ้อมกอดคนไทยนะคะ ขอถามความรู้สึกพี่ราตรีก่อนนะคะ ว่าวันแรกคือวันศุกร์ซักประมาณ 3 ทุ่มใช่ไหมค่ะ ลงจากเครื่องแล้วเห็นคนไทยมาต้อนรับรู้สึกอย่างไรบ้าง

ราตรี- ก็ดีใจค่ะ ยังไม่ได้ได้พบเพื่อนๆ

จินดารัตน์- ตื่นเต้นไหมคะ นั่งบนเครื่องมา 1 ชม.

ราตรี- ก็พูดความจริงเลยนะคะไม่ตื่นเต้นค่ะ เพราะว่า จริงๆตั้งแต่รู้ข่าวว่าได้นะ ก็ไม่ได้ยินดี 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเรายังมีห่วงอีกคนหนึ่งอยู่ที่นั้น

จินดารัตน์- พูดแล้วเราก็นะ คือต้องพูดหลายคนเขาบอกว่า กราบหัวใจพี่นะ คือพี่อยู่ 2 ปี 1 เดือนแอนรู้ว่ามันคงจะไม่มีความสุขสบายซักวันหนึ่ง แอนเข้าใจว่าวันที่พี่ๆ เห็นคนไทยไปรับนะ มันที่สุดแล้ว และเพื่อนๆที่มานั่งกันอยู่นี้ แอนว่าพี่ทั้ง 2 คนนี้เฝ้ารอคอยวันนี้เหมือนกัน ใช่ไหมค่ะพี่แซมดิน

แซมดิน- ใช่เลยครับ เราก็พยายามที่จะทำอย่างไร ถึงจะมาได้เราก็รออยู่ ก็มาก็ดีใจไปรับที่สนามบิน แต่เขาก็มองไม่ค่อยชัดเจนนะครับ คนรุมกันเยอะมากเลย

ราตรี- ก็เห็นค่ะ เห็นปุ๊บก็จำได้เลย เพราะคลุมหน้าคลุมตากันอยู่

กมลพร- เบื้องต้นขออัพเดตล่าสุดก่อนที่เราจะไปย้อนเรื่องราวทั้งหมดตอนนี้ สุขภาพเป็นอย่างไรบ้างค่ะพี่ราตรี

ราตรี- ก็แข็งแรงค่ะ ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ

กมลพร- เห็นเหมือนน้ำหนักลดลง

ราตรี- ใช่ค่ะ ลดลง ไปหลายกิโลมาก

แซมดิน- ใช่ครับ 3 โล - 4 โล

ราตรี- มันอาจจะเกี่ยวเนื่องจาก 1. เราทานมื้อเดียว มังสวิรัตินะค่ะ ทานแล้วมันก็จะลงไปอยู่ระดับหนึ่งอยู่แล้ว พอช่วงที่อยู่ได้ซักพักหนึ่ง ก็ประมาณเกือบปีค่ะ ก็เริ่มคิดว่าจะไม่ทานขนมเพราะเริ่มไม่ทานขนมมันก็ลง

กมลพร- เป็นการดูแลสุขภาพตัวเองไว้ด้วย

ราตรี- มันเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งค่ะ ตั้งตบะลดกิเลส ก็ตั้งไว้ว่าจะไม่ทานขนม มันเหมือนไฟต์บังคับว่าต้องทำให้ได้

จินดารัตน์- แล้วอยู่ที่นั้นอาหารการกินที่เขาจัดละค่ะ เราแจ้งเขา

ราตรี- ไม่ค่ะเราทำเองค่ะ ก็มีอาหารของนักโทษอยู่ แต่เราทานไม่ได้ เราทานมังสวิรัติ เราต้องทำเอง ส่วนใหญ่นักโทษหลายคนเขาก็ทำอาหารทานเองที่เขามีเงินนะค่ะ

ตายแน่- ที่นู้นเขาเปิดโอกาสให้ทำนะครับ ให้ทำได้ แต่อาหารของเขา ที่ทำมาเค็มมาก อาหารที่เขาทำมาให้ครัวกลางนะ จะเค็มมาก

จินดารัตน์- เพราะอยู่ด้วยกันมาหมดแล้ว รู้กันดี

ราตรี- เขาฝ่ายชาย เราฝ่ายหญิง

กมลพร- ต้องอยู่แยกกันใช่ไหมค่ะ

ราตรี- ค่ะแยก มันแดนคนละแดนเลย คือมัน อยู่ใกล้กันแต่แยกกำแพงแยกส่วนกันไปเลย

จินดารัตน์- ตอนที่ถูกจับกุมไป มีหมายนี้ คือได้เจอกันเฉพาะวันที่จะต้องขึ้นศาลหรือ ไปอยู่ที่สถานทูตเท่านั้นใช่ไหมค่ะ

ราตรี- ค่ะ แยกแดนก็ไม่เจอกันอีกแล้ว

จินดารัตน์- ก่อนที่จะถึงตรงนั้น แอนขออนุญาตผู้ชมทบทวนความจำกันอีกนิด วันที่ 29 ธันวาคมพี่ๆทั้ง 7 คน ก็ประกอบไปด้วย คุณพนิช วิกิตเศรษฐ์ คุณกิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี พี่แซมดิน พี่นฤมล พี่ราตรี พี่ตายแน่ 7 คน เดินเข้าไปพร้อมกับกล้องวีดีโอตัวเล็ก จุดที่พวกพี่เดินเข้าไปทุกคนมั่นใจ หมด ว่านี้คือผืนแผ่นดินไทย

ตายแน่- มั่นใจครับ เพราะว่ายังไงคุณวีระก็เคยมาแล้ว คุณวีระ ก็จะอธิบายตลอดว่าตรงนี้ แผ่นดินไทยนะ ผืนแผ่นดินไทยนะ ดูซิเราถูกบุกรุกนะครับ จะบอกอย่างนั้น และมันมีเอกสารสิทธิของชาวบ้านคือคนถ่ายภาพนี้ คือผมก็ยังมีสื่อบ้างสื่อ ที่เข้าใจผิดว่าอาราตรีเป็นคนถ่ายภาพ เลยโดนประเด็นเรื่องจารกรรมข้อมูล ที่สื่อหลักๆยังเข้าใจผิดอยู่อย่างนั้น ทั้งที่ในภาพก็มีภาพอาราตรีอยู่ในนั้นด้วย จริงคนที่ถูกจับใน 7 คนนี้ จะไม่มีภาพในนั้นคือผม เพราะผมเป็นคนถ่ายภาพ ผมไปในฐานะนักข่าวชายแดนมานาน ติดตามปัญหาเรื่องชายแดนมา ออกช่องFMTV นะครับ กับคุณวีระนี้ ประเด็นของเรื่อง คือชาวบ้านนะมาร้องเรียนกับอาจารย์วีระว่า ไม่มีที่ดินทำกิน โดยชาวบ้านมีเอกสารสิทธิ ถ้าทีมงานจะขึ้นเอกสารสิทธิให้ชาวบ้านหรือว่าประชาชนได้รู้ก็จะดีนะครับ เอกสารสิทธิของชาวบ้านที่ให้กับอาจารย์วีระเท่าที่ดูก็จะเป็นส.ค.1 แล้วก็มีเอกสารที่ปรากฎมาคือเป็น บ้านหนองจาน เขตอำเภอโคกสูงตอนนั้น ขึ้นอยู่กับอรัญประเทศ ที่ผมเอาให้

จินดารัตน์- ทีมงานมีภาพอยู่แล้วนะคะ ช่วยขึ้นภาพเอกสารสิทธิค่ะ ของชาวบ้านให้ดูนิดหนึ่ง

ตายแน่- นี้ครับ คือภาพเอกสารสิทธิของชาวบ้านที่เขาบอกว่า เขาเคยอยู่ที่บ้านหนองจานนะครับ อำเภอโคกสูง อำเภออรัญประเทศนะขณะนั้น จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งตอนเรื่องราวของบ้านหนองจานเหมือนเดิมคือมี ศูนย์อพยพ เป็นศูนย์อพยพของเขมรที่ในยุคสงคราม 3 ฝ่ายนะครับ เขมรประชาชนก็ถอยออกมาประชิดชายแดนไทย UNเปิดศูนย์อพยพเรียกว่า ศูนย์อพยพหนองจานปี 2523 พอเสร็จสิ้นศูนย์อพยพ

จินดารัตน์- ศูนย์อพยพตรงนั้นUNมาขอพื้นที่ของไทย

ตายแน่- มาขอพื้นที่ไปใช้ แล้วก็อพยพคนไทยออกจากพื้นที่ด้วยเกรงว่าจะอันตราย ชาวบ้านที่เขามีเอกสารสิทธิปรากฎอยู่ขณะนี้ก็ คือ ชาวบ้านที่เคยอยู่ทำกินในพื้นที่ตรงนั้น

จินดารัตน์- ซึ่งASTV เคยเชิญมาครบเลย แล้วมาโชว์เอกสารสิทธิกันเห็นๆเลย

ตายแน่- แล้วผมก้มีหลักฐานอีกประเด็นหนึ่ง ก็คือ มีพื้นที่บ้านหนองจานบริเวณนั้นนี้ เจ้าหน้าที่กูภัยได้รับรู้ปัญหาอยู่แล้ว จากเอกสารที่ผมได้มาก็คือว่าหลังจากศูนย์อพยพบ้านหนองจานได้ยุบลงแล้ว เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เคลียร์พื้นที่หมายความว่าไม่ได้ส่งชาวกัมพูชากลับไปยังประเทศเขมร เนื่องจากเขมร 3 ฝ่าย มันสิ้นสุดลง มันก็เลยเกิดขอร้องเรียนของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบอย่างที่ผมเห็นในภาพคือ ทหารทั้งเจ้าหน้าที่ได้ขึ้นภาพดีดีนะครับ ชาวกัมพูชาพบหนีมาใช้พื้นที่พักอาศัยตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขตแดนบ้านหนองจานฝั่งไทย อันนี้คือบทสรุปของเจ้าหน้าที่ไทยที่ทำขึ้นมา

จินดารัตน์- อันนี้ทหารเขาทำขึ้นใช่ไหมคะ

ตายแน่- อันนี้ทหารเขาทำ แต่การให้ข้อมูลนี้ต้องบอกว่าอาศัยว่าความสามารถส่วนตัว คือถ้าเอาออกไปแล้วเขาอาจไม่ค่อยพอใจ เพราะเป็นความสามารถส่วนตัว ที่จะเอาตัวรอดหลังจากนั้น ต่อมาชาวกัมพูชายังคงอาศัยอยู่ในที่เดิม จะให้ดูภาพถัดไปตรงนี้จะสำคัญมากเลยภาพถัดไปคือว่า ปี 2545 ราษฎรไทยตามแนวชายแดนหลักเขตแดนที่ 46 -47 ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับที่ทำกินจำนวน 11 ราย นั่นก็หมายความว่าพื้นที่บน บริเวณนั้น ตั้งแต่ ปี 2545 นั้น ชาวบ้านได้ร้องเรียนข้าราชการไทยที่เกี่ยวข้องมารับรู้ปัญหานี้ดี จากนั้นหลังจากสงครามในกัมพูชาสิ้นสุดลง ราษฎรไทยไม่สามารถเข้ามาทำกินได้เนื่องจากชาวกัมพูชาถือครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ภาพถัดมา ถ้าทีมงานถัดมาเรื่อยๆนะครับ ภาพเด็ดสุดท้าย อำเภอโคกสูงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบปรากฎว่า มีชาวกัมพูชาอยู่อย่างหนาแน่น ราษฎรไทยไม่สามารถไปทำประโยชน์ได้ มันก็เลยสอดคล้องกับเอกสารสิทธิของชาวบ้าน ประเด็นนี้ละครับ ที่อาจารย์วีระได้รับร้องเรียนจากชาวบ้าน แต่ก่อนหน้าร้องเรียนกับคุณวีระ เขาไปร้องเรียนมาหมดแล้วแต่หามีใครสนใจไม่ จึงมาถึงคุณวีระ คุณวีระก็คอยไปติดตามประเด็นนี้ ก็ด้วยความเชื่อที่ว่าเขามีเอกสารสิทธินี้ละครับ อาจารย์วีระเขาถึงบอกว่านี้ละผืนแผ่นดินไทย ผมให้เห็นขอมูลแบบนี้ก่อน

จินดารัตน์- ส.ส.พนิช ก็ไปดูด้วย ตอนนั้นคุณพนิชเป็น ส.ส. ทุกคนมั่นใจว่า เดินไปเป็นพื้นที่ไทยแน่นอน จนเดินไปถึงจุดที่พบกับทหารเขมร อยู่ใกล้กับบ่อน้ำยูเอ็นหรือยังคะ

แซมดิน- อ่อยังครับ ตอนนั้นยัง คือเราเดินไป พอเราเดินข้ามตรงรั้วที่มีลวดหนามนะครับ แล้วเข้าไปถึงถนนลูกรังแล้วเนี่ย เราก็เดินไปแล้วก็เลี้ยวซ้ายไปนะครับ ตรงเลี้ยวซ้ายไปเนี่ย ตรงหัวมุมเนี่ย จะมีแต่งกายก็ไม่เชิงทหารเต็มเครื่องแบบ กึ่งๆ นะ ก็ได้คุยกันครับ แล้วขณะคุยกันก็จะมีอีกคนเขามาบอกว่า อย่ามาคุย มาห้ามคนที่คุยกับเรา ตรงนั้นก็ยังอยู่ในเขตแดนไทยนะครับ ยังไงก็ยังอยู่ในเขตแดนไทย ตรงบริเวณที่เราซื้อน้ำ

จินดารัตน์ - ค่ะ

แซมดิน- น้ำดื่มอ่ะครับ ซึ่งซื้อน้ำดื่มเนี่ยก็ใช้เงินไทยนะครับ แล้วก็ท่อนมาเป็นเงินไทยนะ หลังจากนั้นพอเดินออกจานั้นได้สักพักหนึ่ง สักระยะหนึ่ง เขาก็มาล้อมเราแล้วก็บอกให้เเราหยุด

จินดารัตน์ - อันนันคือจุดที่ถูกจับกุม

แซมดิน- ครับ ถูกควบคุมแหละ

จินดารัตน์ - ถูกควบคุมตัวทั้งหมด 7 คน แล้ว

แซมดิน- ใช่ครับถูกควบคุมตัวแล้วตอนนั้น

จินดารัตน์- จุดที่ทหารเขมรเดินมาคุยกับเรา พวกพี่ๆ เองก็ยังไม่รู้สึกว่า นี้คืออันตาย

แซมดิน- ที่จริงเราเดินไปคุยกับเขา ไปถามเขา แต่เขาก็พูดไทยไม่ชัดแล้วนะ เขาพูดเขมร ที่อดีตนายกอภิสิทธิ์ บอกว่า เราล้ำไป 50 เมตร มันหมายความว่า เราถูกควบคุมโดยทหารของเขา แล้วก็พาเราเดินเข้าไปและก็พาเราไปถ่ายรูปแล้วก็บอกเราล้ำ ตายแน่เขาก็ยังบอกเลยว่า เอ๊ะถ้าพาเราเดินไปถึงพนมเปญแล้ว ก็บอกว่า เราล้ำก็ได้สิ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราไม่ได้เข้าไปโดยพลการ เขาควบคุมเรา

จินดารัตน์- เราถูกควบคุมตัวไปให้ทำตามคำสั่งเขา

แซมดิน- แล้วเขาก็ไปถ่ายรูป

จินดารัตน์ - ว่า เนี่ยล้ำเข้ามา

แซมดิน- เออว่า เนี่ยล้ำเข้ามานะอย่างงั้น และหลังจากนั้นก็พาเราเดินเข้าไปก็พาเราเดินเข้าไปที่บ่อน้ำยูเอ็น ถึงบ่อน้ำยูเอ็นเนี่ยเรายิ่งมั่นใจใหญ่เลยว่า อ้าว เรายังอยู่ในเขตแผ่นดินไทย ไม่มีประเทศไหนที่เขาไปขุดสระน้ำให้คนที่เข้ามาอยู่ในศูนย์อพยพในประเทศที่กำลังรบกัน เพราะฉะนั้นเขาก็ยังอยู่ในประเทศไทย เราก็เลยเชื่อมั่นว่า แม้ไอ้ตรงที่ถ่ายรูปเราแล้วก็บอกว่า เราล้ำไป 50 เมตร มันก็ยังไม่ใช่

จินดารัตน์ - ก็ยังเป็นพื้นแผ่นดินไทยอยู่

แซมดิน- มันก็ยังไม่ถึง เพราะฉะนั้น เราก็คิดว่า เอ๊ะทำไมผู้ที่มีหน้าที่นะ ไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่เราเป็นประชาชนคนธรรมดายังมีข้อมูล ยังตายแน่ที่เมื่อกี้เอามาออกเลย

ตายแน่- และประเด็นสำคัญอีกประเด็นนี้ก็คือ ที่แกนนำรัฐบาลในยุคนั้น บอกว่า เราล้ำไป 50 เมตร แต่ไม่มีการพดข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งเลยว่า เรา 7 คนเนี่ยถูกกล่าวหาว่า เดินล้ำไป 50 เมตร แต่ชุมชนชาวกัมพูชาที่ปรากฏที่ภาพที่ผมถ่ายเป็นชุมชนเป็นบ้าน เป็นหมู่บ้าน เป็นค่ายทหาร ล้ำดินแดนไทยเท่าไร มีแกนนำรัฐบาลตอนนั้นพูดไหมครับ

จินดารัตน์-ไม่ค่ะ

ตายแน่ - มีแต่บอกว่า 7 คนไทยล้ำไม่ล้ำ ประเด็นทางสังคมก็ถกเถียงกันว่า ตกลงแล้วไอ้ 7 คนเนี่ย ล้ำหรือไม่ล้ำแดน แต่ไม่ได้มองเลยว่า ไอ้ชุมชนเขมรเนี่ย อยู่ในพื้นแผ่นดินไทยจนชาวบ้านไม่มีที่ทำกินเนี่ย มันล้ำไปเท่าไร่ นี้ไง นี้คือประเด็นที่น่าเศร้าไงฮะ

แซมดิน- เศร้ากว่านั้น ทุกวันนี้ไทยเนี่ย คนไทยกลุ่มเนี่ย เขายังไม่ได้ที่ทำกิน

จินดารัตน์- ที่เป็นเจ้าของที่เดิมเนี่ย

แซมดิน- เขายังไม่ได้ และยังถูกละเมิดสิทธิ์

จินดารัตน์- ได้แต่ยืนมองทำตาปริบๆ ให้คนเขมรมาใช้พื้นที่ของตัวเอง

แซมดิน- โดยที่เขาก็ไม่ได้คืน

จินดารัตน์ - ร้องไปไม่รู้กี่หน่วยงานก็แล้ว

แซมดิน- ใช่ครับ

ตายแน่- และในยุคนั้นเนี่ย รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะยึดมั่นใน MOU 2543

จินดารัตน์ - กอดแน่นเลยค่ะ

ตายแน่- กอดแน่นเลยใช่ไหมครับ ในพื้นที่บริเวณหนองจานเนี่ย คุณแอน คุณเก๋รู้ไหมครับ เขมรเขาเรียกว่า อะไร เขาบอกพื้นแผ่นดินเขา แต่มีแต่ฝั่งไทยบอกอะไรรู้ไหมครับ พื้นที่พิพาท พื้นที่ทับซ้อน เหมือนกับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเนี่ย ไม่ถามคนเขมรเขาบอกอะไรรู้ไหมครับ พื้นแผ่นดินเขา

กมลพร - ของเขา

ตายแน่- แต่ฝั่งไทยเนี่ย พร้ำเพ้ออยู่แต่กับคำว่า ทับซ้อน พื้นที่บ้านหนองจานก็เหมือนกันครับ ถ้ามองว่า เป็นพื้นที่ทับซ้อน เป็นพื้นที่พิพาทเนี่ย ต้องเอา MOU ข้อ 5 มาดู ห้ามปรับเปลี่ยนสภาพสิ่งแวดล้อม และไอ้หมู่บ้าน ค่ายทหาร ประชาชนเนี่ย เปลี่ยนสภาาพแวดล้อมไหมครับ

จินดารัตน์- มันเกิดมาที่หลังทั้งนั้น

ตายแน่- แล้วทำไมไม่เคลียร์ ทำไมไม่ปฏิบัติตาม MOU ครับ รัฐบาลบอกปฏิบัติก็คือประท้วงกัมพูชาไปแล้ว ประท้วงกันไปจนถึง 1,000 ครั้ง แล้วประชาชนไม่มีที่ดินทำกินอย่างนั้นหรือเปล่า ไอ้ปัญหาบ้านหนองจานมันก็เป็นปัญหาคล้ายๆ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ชาวบ้านก็ร้องเรียนเหมือนกันผมก็ไปทำข่าวแบบเนี่ยอ่ะครับ คือ ผมพูดในฐานะคนทำข่าวไม่ใช่แกนนำ แต่เวลาเรานำเสนอข้อมูลมันเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เราได้มา ก็เป็นประจักษ์ข้อมูลที่ว่า MOU 2543 ที่พรรคประชาธิปัตย์ในสมัยนั้นเนี่ย ยึดถือและกอดไว้เนี่ย มันเป็นเป็นผลไหม และ MOU 2543 เนี่ย ข้อที่ 8 บอกว่า ถ้ามีปัญหากันต้องแก้ปัญหาด้วยสันติ แต่คุณแอน คุณเก๋ รู้ไหมครับ ต้นกุมภาพันธ์ และเมษายน 2554 เนี่ย กัมพูชาโจมตีไทยก่อน มันสันติไหมครับ และ MOU มีประโยชน์อะไร มันยิงกว่าระเบิด MOU อีก และยิงอ่ะมันไม่ยิงค่ายทหารด้วยกันไง มายิงบ้านเรือนประชาชน โรงเรียนภูมิซรอล หลังเป็นคารู เป็นอาคารเรียนอะไรอย่างนี้

จินดารัตน์- ค่ะ

ตายแน่- และบ้านเรือนประชาชนพังเสียหาย

จินดารัตน์- คน 20,000 กว่าคนไร้ที่อยู่อาศัย อพยพหนีลูกระเบิดอ่ะค่ะ

ตายแน่- อย่างนี้ มันสันติไหมครับ MOU มีประโยชน์ไหมครับ มันเป็นสภาพแบบนี้นะครับ

จินดารัตน์- ในขณะที่พี่ๆ ทั้ง 7 คน โดยจับ คนไทยบางกลุ่มบอกว่า ตั้งใจให้เขาจับจะได้มีเรื่องอ่ะสิ รู้สึกอย่างไรค่ะ แอนถามความรู้สึก

แซมดิน- ก็คุณก็ลองไปอยู่ในคุก มั่งซิ เออ ใครจะอยากอยู่ในคุกเปรซอใช่ไหม มีประตูเขาถึง 7 ชั้น กว่าจะไปถึงห้องเรา 7 ชั้น แล้วก็อยู่ในห้องแคบๆ เมตร75 เซนคูณ 3-4 เมตร เท่านั้นเอง อยู่กัน 3 คนกุกกัก กุกกัก ห้องน้ำในตัว ลำบากมันไม่ได้สบายอะไรนักหรอก

จินดารัตน์- เพราะเขาอ้างว่าคุณวีระ ก็ไปโดนจับหลายครั้งแล้ว ก็รู้ทั้งรู้ก็ยังอุตส่าห์ไปให้เขาจับอีกอยากจะมีเรื่อง

ตายแน่- มันก็ต้องมาดูประเด็น ที่เขาไป มันเป็นที่ดินของคุณวีระ เป็นที่ดินของคุณราตรีรึเปล่า เอกสารสิทธิในมือผมที่มีเป็นของคุณราตรีไหมครับ จะไปทำไมละครับ ก็ชาวบ้านเขาร้องเรียนคุณ ที่เป็นหน่วยงานราชการแล้วไม่ทำ มันก็ต้องมองกลับไปว่า ชาวบ้านเขาไม่มีที่ทำกินเขาไปร้องเรียนพวกคุณ ตั้งแต่ปี 2545 ภาพเอาขึ้นอีกก็ได้ แต่คุณไม่แก้ปัญหาให้ชาวบ้าน ชาวบ้านเลยต้องมาร้องเรียนนักเคลื่อนไหวภาคประชาชน นักสิทธิมนุษยชน อย่างอาจารย์วีระ เพราะเขาตามเรื่องทุจริต คอรัปชั่น นักการเมืองฝั่งไทยก็รู้สมญานาม เขาดีมันถึงเป็นเหตุเป็นผลว่า ทำไมอาจารย์วีระ อาราตรีต้องไปตรวจสอบพื้นที่บริเวณนั้น มันไม่ใช่ว่าว่างแล้วไปเที่ยวเล่นกัน เป็นช่วงปลายปี ทุกคนมีนัดหมด ไปฉลองกับครอบครัว แล้วไอ้พวกที่พูดปากพล่อยๆ คุณต้องดูว่า ต้นเหตุบริบทของคนที่เขาไป ไปเพื่ออะไรไปทำๆอะไร ชาวบ้านไม่มีที่ทำกิน ชาวบ้านนี้เขมรหรือชาวบ้านไทย ชาวบ้านไทย ที่เอาเอกสารมาร้องเรียนไง นี้เอกสารก็อยู่ในมือ

จินดารัตน์- ยังสงสัยว่าเอกสารที่พี่ตายแน่ได้มา มันไปซุกอยู่
โถส้วมไหน ก็ไม่รู้เนอะ เขาถึงไม่เคยเห็นกัน เขาอาจเคยเห็นแต่เขานั้งทับกันเอาไว้ ถามทั้ง 3 ท่านเลย วันที่ถูกจับไปที่จุดแรก ที่เขาพาไปคือ ที่ไหนค่ะ พาขึ้นรถขึ้นไปแล้วพาไปที่ไหน

แซมดิน- ใช่ครับ เป็นรถตู้เก่าๆ ที่นั่งไม่มี ก็พาไปที่พนมเปญครับ ไปถึงก็ไปทีแรกนึกว่าจะไปส่งเราที่สนามบิน มันทั้งซ้าย ทั้งขวา เผอิญมันเลี้ยวขวา เข้าตม. แล้วเขาก็สอบสวนกันทั้งคืน สอบเดี่ยวทีละคน คนหนึงจะถูก หลายคนสอบ คือหมายความว่าเขาสอบ เขามีหลายคนมาสอบเราทีละคน เขาก็แยกห้องกันไป เสร็จแล้วเช้าขึ้นก็ส่งตัวไปขึ้นศาล ก็สอบสวนต่อ หลังจากนั้นก็ส่งเข้าคุกเรือนจำเปรย์ซอว์

กมลพร- ในกระบวนช่วงสอบถาม สอบปากคำเขาพยายามเน้นอะไร

อ่อ เน้นให้รับสารภาพ เขาพยายามบอกว่า บุกรุกเขาไหม คือพยายามให้เรารับว่าเราเขามาในพื้นที่เขามีความผิด ทุกคนก็เหมือนกัน พื้นที่ต้องนั้นเป็นพื้นที่ของไทยยืนยันเหมือนกันหมด ยืนยันจนเขาโมโห ทำไมไม่พูดให้เข้าทางซะที แม้ถึงตอนที่ศาลตัดสิน ก็เหมือนเดิมก็ยืนยันว่าตรงนั้นเป็นพื้นที่ของคนไทย

จินดารัตน์- ตกลงโดนกี่ข้อหา

แซมดิน- อ่อ มันต่างกัน

จินดารัตน์- 7 คน นี้โดนไม่เหมือนกัน

ตายแน่ - 5 คนโดนเท่ากัน แต่เดิมเท่ากัน มาได้เพิ่มเข้าเมืองผิดกฎหมาย กับเข้าเขตทหาร อันนี้ 7 คนไทยโดยเหมือนกันหมดครับ ตอนแรก

จินดารัตน์- แต่โจรกรรมทางข้อมูลนี้ คนไทยโดน2 คน คือพี่ราตรี กับ พี่วีระ ที่มันน่าเจ็บใจ กว่านั้นละค่ะ ถามทั้ง 3 ท่านเลยว่า รู้วันไหนที่รัฐมนตรีกลาโหมของไทย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ บอกว่าใช่แล้วเป็นพื้นที่เขมร คนไทยรุกล้ำเข้าไปเอง รู้วันไหน

แซมดิน- เรามารู้ทีหลังนะครับ

จินดารัตน์- จากนั้นกี่วันคะ

แซมดิน- ตอนนั้นพอทราบข่าวมาบ้าง ตอนนั้นอยู่ในคุกแล้วละ มารู้ตอนได้รับประกันตัวมาอยู่ที่สถานทูต

ตายแน่ - ผมก็มานั้งเช็กข่าวกันว่า ใครพูดอะไร อย่างไร เพราะหลังจากที่ถูกจับ ผมโดนยึดกล้อง ยึดบัตรนักข่าวไปเสร็จ ไปถูกฟ้องเข้าตม. เสร็จ ถูกฟ้องโดนสอบ จับยัดเข้าคุก เราก็ไม่รู้ไรแล้ว ข่าวสารไร ก็ไม่มี ก็มีการพูดคุยกับนักโทษเขมรบางราย ที่พูดไทยได้บ้าง พูดไปข่าวมันก็ไม่ได้ชัด ผมไม่รู้เลยนะว่า นายกอภิสิทธิ์ รัฐมนตรีกลาโหม รัฐมนตรีต่างประเทศ นะขณะนั้น พูดอะไรบ้างไม่รู้ ไม่รู้ตอนนั้น มาเช็กข่าวทีหลัง

จินดารัตน์- พอรู้ข่าวแล้วรู้สึกยังไงคะ

ตายแน่ - เออ ผมมานั้งเช็กข่าว แล้วประมวลผล จากคนที่ ติดตามข้อมูลเรื่องชายแดนมาพอสมควร ก็เรียกว่ามันเป็นเรื่องที่ การละเลยปัญหาของชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินทำกินผมว่ามันแย่แล้ว แต่มาละเลยปัญหาของนักเคลื่อนไหว นักสิทธิมนุษยชนหรือว่า นักการเมืองฝั่งพรรค ตัวเองไปตรวจสอบที่ดินทำกินของชาวบ้าน เพื่อจะให้ถูกต้องยุติธรรมกับถูกละเลยผมว่ามันแย่หนักไปหว่าปล่อยที่ดินชาวบ้านอีก

แซมดิน- แต่ที่เสียหายมันอยู่ตรงนี้ครับ การที่ไปบอกว่าที่ต้องนั้น เป็นที่ของเขมร ไอ้ตรงนั้นถูกนำไปกล่าวอ้างได้ในทุกเวที ผมถือว่าอธิปไตยของประเทศไทยถูกละเมิดอย่างรุนแรงเลย เพราะว่าการที่เรามีอำนาจมีหน้าที่แล้วเราไปบอกอย่างนั้น ทั้งๆที่ประชาชนเขายังรู้เลยว่าไม่ใช่มันทำให้ เขาไปกล่าวอ้างได้ในศาล ว่าตอนที่ศาลพิภาคษาลงโทษเรา เรามีความผิดตามรัฐบาลพูดไทยนั้นแหละ

จินดารัตน์- พอโดนด่าเข้ามากๆ เขาเลยเปลี่ยนเป็น เส้นปฏิบัติการ แต่ว่าได้พูดไปแล้ว มันเป็นหลักฐานไปแล้ว

แซมดิน-ไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอะไร แต่ว่าผมโดน ลงโทษแล้วละ มันตัดสินไปแล้ว เขาเอาไปกล่าวอ้างได้แล้ว

จินดารัตน์- วันที่พี่ๆ ไปอยู่ในคุกวันแรก จะโดนนำตัวขึ้นศาลกลัวไหมค่ะ ว่าจะต้องติดคุกนานแค่ไหน อย่างไร หรือคิดว่า มากับ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เดี๋ยวก็ได้รับความช่วยเหลือ

แซมดิน- ตอนถูกจับไม่ได้กลัวอะไร คิดว่าเดี๋ยวก็ปล่อยครับเพราะว่าคุณวีระ ก็มีประสบการณ์ถูกจับแล้ว เดี๋ยวก็ปล่อยเขา แล้วเราก็ไม่ได้ทำผิดคิดร้ายอะไร เรามาอย่างถูกต้อง ไม่ได้พกเครื่องมือที่ผิดกฎหมายเข้ามาเลย ยังสยบายใจอยู่ เดี๋ยวก็ได้กลับบ้านแล้ว แม้กระทั่งถูกจับไปแล้วก็ยังคิดว่าเดี๋ยวเขาเจรจากัน ก็ต้องปล่อย เพราะว่ารอผู้ใหญ่เขาเจรจา

จินดารัตน์- พี่ราตรีละคะ

ราตรี- ตอนนั้นคิดตรงที่ว่า ถ้าเราต้องอยู่เกิน 3 วัน มันก็มากแล้วนะ พอยู่เกิน3 วัน คิดยังไม่ก็ไม่เกิน 5 วัน ถ้าเกิน 5 วัน ก็คงแย่แล้วนะ พออยู่ถึง 5 ก็คิดว่าเออนะ ยังไงก็อย่าให้เกิน 10 วันละกัน คิดอยู่แค่สั้นๆ ยืดเวลาไปเรื่อยๆ คือวันที่ไปวันนั้นเราไม่ได้ คิดว่าเราจะไปค้างอ้างแรมแบบนี้ ที่บ้านเราก็ไม่ได้สั่งอะไรไว้ อยู่ๆเราหายไป เราก็จะคิดว่าที่บ้านเราจะรู้รึยัง ว่าเราหายไป

จินดารัตน์- พออยู่ที่สถานทูตเห็นว่ารีบ พอได้ดูข่าว ว่ารัฐมนตรีกลาโหมยืนยัน นายกรัฐมนตรี ยืนยันรองนายกยืนยัน เราล้ำเข้าไป 50 เมตรนี้ ความรู้สึกนั้น

ราตรี- หดหู่เลย ว่าฉันขึ้นศาลจะเอาไรไปสู้ในศาลละ ไม่มีตอนนั้นเราไม่ได้รับข้อมูลจากฝ่ายของเราเลย อย่างตรีเอง มาทำตรงนี้ไม่ใช่ว่าตรีเองแม่นเรื่องข้อมูล คนที่แม่นเรื่องข้อมูลที่สุดคือคุณวีระ ซึ่งตอนนี้ก็ถูกแยกอยู่ในคุกเปรย์ซอว์ เพราะไม่ได้รับการประกันตัว เราไม่มีโอกาสได้เจอได้คุยกันเลย เพราะฉะนั้นข้อมูลที่เรามีอยู่น้อยนิดอยู่แล้ว บวกกับข้อมูล ใหม่ที่เราเพิ่มขึ้นมาจากทางรัฐบาล มันเลยทำให้เราหวั่นไหว เอะที่เรามั่นใจเราถูกไหม เราจะเอาไปสู้กับเขาในชั้นศาล

จินดารัตน์- อยู่ที่นั้นกี่ชั่วโมงกี่วันคะ ทางการไทยถึงส่งเจ้าหน้าที่มา

ราตรี- หมายถึงนับตั้งแต่จากวันที่วันที่โดนจับไป อยู่ถึงที่เท่าไหร่นะค่ะ วันที่ได้ประกันตัว

ตายแน่- 20 วัน คือเจ้าหน้าที่ไทย ที่มาติดต่อ ก็ติดต่อตั้งแต่โดนจับ ที่ศาลของกัมพูชามาติดต่อมาประสานงานเราก็มีเจ้าหน้าที่ไทยมาในวันรุ่งขึ้นจากสถานทูต

จินดารัตน์- มาประสานเรื่องการประกันตัว

แซมดิน- ก็มาช่วยได้หลายอย่าง เจ้าหน้าที่เขาก็มาจากสถาน ทูต มาดูเรื่องอาหาร เรื่องเครื่องนอน เครื่องแต่งกายอะไรพวกนี้ เขาก็มาช่วยอยู่ ตั้งแต่วันแรกๆเลย

จินดารัตน์- งั้นต้องพักกันก่อนนะคะกำลังเขาช่วงที่คุณผู้ชมอยากจะรู้มาก ว่าพี่ๆเขาอยู่กันยังไง โดยเฉพาะพี่ราตรี อยู่ 2 ปี 1 เดือน

จินดารัตน์- กลับมาช่วงที่ 2 กัน ก่อนจะถึงจันทร์ค่ะ ถ้าใครได้ชมช่วงแรกมาแล้วนะคะ คงอยากจะติดตามกันต่อว่าเวลา 2 ปี 1 เดือน ที่พี่ราตรี อยู่ในคุกเปรย์ซอว์นั้น สภาพความเป็นอยู่อย่างไร ที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือความรู้สึก ของผู้หญิงคนนี้เป็นอย่างไร ว่าวันไหนจะได้กลับบ้าน วันนี้เธอมานั้งคุยกับเรานะคะ พร้อมกับ ร.ต.แซมดิน และพี่ตายแน่ นั้งคุยกัน ช่วงต้นรายการเราก็บอก เรารู้สึกว่าวันนี้มีแฟนรายการ มาให้กำลังใจ น้องสาวตัวเล็กชื่ออะไรนะพี่แอนจำชื่อไม่ได้ ชื่ออะไรนะลูก น้องแทน อยู่วงหยดน้ำ เมื่อซักครู่เดินเข้ามามาขออนุญาตค่ะ ขอกอดพี่ราตรีหน่อยนะ เข้ามากอด ร้องไห้ เข้าใจความรู้สึกเลยนะ ว่ากลุ่มคนไทยเรากลุ่มหนึ่งที่เขาเฝ้ารอคอยติดตามข่าวสาร เดินทางไปหาพี่ราตรีที่คุกเปรย์ซอว์ พี่ราตรีได้พบญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่ไปเยี่ยมอย่างนี้บ่อยไม่ค่ะ

ราตรี- ช่วงแรกๆก็ไปนะค่ะ ที่นี้ พอเรามองว่าค่าใช่จ่ายในการเดินทางมันสูง แล้วเวลาที่ได้เข้าเยี่ยมมันนิดเดียว ครึ่งช่วงโมง แต่ละคนที่ดีมาได้เจอกัน คุยมันแค่ 10-15 นาที เอง กว่าเขาจะไป เขาต้องเตรียมตัวตั้งแต่เช้า มาเยี่ยมแปปเดียวกว่าจะกลับถึงบ้านก็เย็นค่ำ ก็นึกถึงแม่ แม่ก็คง ไม่คุ้มค่าเครื่อง บอกไม่เป็นไรหรอก ไม่ต้องมา ก็ได้ ส่งกำลังใจ ด้วยวิธีเขียนจดหมายก็ได้ ตอนแรกก็ไม่รู้นะค่ะ ว่าเขาให้เขียนได้ ไม่มีใครกล้ากัน อยู่มาได้ซักพักระยะนึก เกือบปี ก็เริ่มเออ เริ่มเขียนเขาไม่ค่อยตรวจแล้วแรกๆก็เข้มงวดตรวจเอกสารเขาออก อย่างเขียนออกไปก็จะไม่กล้า ช่วงหลังเข้มงวดเรื่องการตรวจน้อยลงเราก็เริ่ม เขียนออกไปทางนู้นก็เขียนเข้ามา ก็เลยง่ายขึ้น

กมลพร- อยากรู้ความรู้สึกพี่ราตรี อย่างที่เราคุยกันช่วงแรกกับพี่แอน พี่ๆค่ะ พี่ราตรีก็บอกว่า เอานะ 5 วัน ก็เต็มที่นะ 10 วันไม่ไหวแล้วนะ พี่ราตรีรู้ ว่า เราต้องอยู่นานกว่าคนอื่น แล้วไม่รู้ระยะเวลาด้วย ว่าจะได้ออกมาเมื่อไหร่ตอนนั้นรู้สึก อย่างไร

ราตรี - ด้วยระยะเวลาที่จริงแล้ว ก็ตัดสินวันที่1 กุมภาพันธ์ใช่ไหมค่ะ เราต้องอยู่ 6 เดือน แต่เราก็ไม่คิดว่าเราต้องอยู่ 6 เดือน อย่างน้อยก็ต้องมีอะไรที่ช่วยให้เราได้ออกเร็วกว่านั้น อย่างน้อย 1-2 เดือน นะ แต่ 10 เราก็อยู่มาได้แล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร กับงานที่บ้านละ ถึงมันมีแต่มันก็ไม่มาก มายอย่างที่เรากลัว เราคิดจิตนาการไป อย่าง 1 เดือน ก็ไหวนะ สองเดือนก็ยังไม่มีวี่แวว ทีละเดือนๆ พอถึงเดือน 4 ก็พอเหอะเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น แหละ พอเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ก็สบาย ก็ไม่คิดไรละ ไม่เครียด

จินดารัตน์ - ตอนนั้นทั้ง 5 คน ถูกปล่อยตัวก่อนพี่วีระ กับพี่ราตรียังต้องอยู่ 2 คน มันมีเงื่อนไขอะไร ไม่ค่ะ ตอนที่พี่ทั้ง 5 คนถูกปล่อยตัวกลับ เงื่อนไขที่พี่วีระ ราตรี เขาเข้ามาคุยเจรจาไหมว่าเอาไหม รับสารภาพจะได้รับการปล่อยตัวไง

ราตรี- คือเมื่อตัดสินวันที่ 1 กุมภาพันธ์ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ช่วงวันที่ 1 คือญาติยังเข้าเยี่ยมไม่ได้ ช่วงแรกเข้าเยี่ยมต้องขออนุญาตก่อน ก็ต้องรอเขาอนุญาตเมื่อไรถึงจะได้ ซึ่งกำหนดเวลาก็ไม่แน่นอน พอวันที่ 1 ตัดสินวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ท่านกษิตก็เข้าพบเรา 2 คน กับคุณวีระ ก็เขามาก็พูดประโยคแรกเลย ว่าผมมาในฐานะเพื่อนนะ ไม่ได้มาในฐานะตำแหน่งรัฐมนตรี คือเพื่อนที่เคยร่วมอุดมการณ์กันมา แล้วมาเสนอว่าจะให้ความช่วยเหลือ ก็ไม่ได้พูดหรอกค่ะ ว่าจะให้ความช่วยเหลือยังไง มาในรูปแบบไหน แต่เป็นที่รู้กันเองว่า เขาคงมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลว่า ให้มีการปล่อยตัว 2 คน คิดไปอย่างนั้นแล้วค่ะ ว่ามีโอกาสแน่นอน รัฐมนตรีต่างประเทศมาคุยแบบนี้ เแล้ว มีโอกาสว่ารัฐบาลเขาคงเจรจา แล้วคงปล่อยตัว ได้แต่อาจช้าหน่อย

จินดารัตน์ - ซึ่งคุณกษิตไม่อธิบายรายละเอียกว่าจะทำยังไง แค่บอกว่ามาในฐานะเพื่อน จะมาช่วยเหลือ

ราตรี- เพียงแค่มาให้เราถามคำตอบว่า เรายินดีที่จะให้เขาทำให้ไหม

จินดารัตน์ - จริงๆพี่ราตรีน่าจะบอกนะ ว่าช่วยมาในฐานะรัฐมนตรีดีกว่าไหม มาช่วยไรไม่ได้ค่ะ

ราตรี- ก้ได้รับการติดต่อจากสถานทูตตลอดว่าตอนนี้ มาดูแลพอสมควรก้ไม่ได้หายไปเลย

จินดารัตน์ - มาดูแลว่าขาดตก บกพร่องอะไรต้องการอะไรเพิ่มเติม ทางการกัมพูชาก็ไม่ได้กีดกันอะไร

ราตรี- ไม่ได้กีดกัน เพียงแต่งช่วงแรกที่ญาติมาเยี่ยมนะค่ะ ก็ลำบากนิดหนึง เขากำหนดเวลาไม่แน่นอน ทำหนังสือไปเขาให้มาเมื่อไหร่ พอรู้วก็ต้องรีบจองตั๋วมาเลย พอเป็นอย่างนี้มากๆเข้า ก็เกิดความลำบากใจกับว่าจะเป็นเมื่อไหร่ จะเตรียมตัวทันไหม ตอนหลัง ก็กำหนดว่าทุกวันศุกร์ไม่ต้องมาทำหนังสือละ เอาเป็นว่าญาติมาทุกวันศุกร์ให้ญาติมาเยี่ยมได้เลย

จินดารัตน์ - เล่าถึงบรรยากาศวันแรกๆที่เขามาอยู่ต้องเปลี่ยนเป็นชุดนักโทษเขา ไปกินอาหารของเขาพี่ๆเขาไปเป็นยังไง ตกใจไหม
ต้องปรับตัวแค่ไหน

แซมดิน- เข้าไปวันแรกนี้ก็ หิวนะ อยากจะกินก็ตักก่อนเลย เขามีต้มผักกาดดอง มาหม้อหนึ่งแล้วก็ข้าวเฉลี่ยกันตัก พอตักก็น้ำใส่ เอาผักใส่กินไปได้นิดเดียว มันเค็มมาก ข้าวก็แข็งมากเลย ผมก็เคยชินกับปกติ อันนั้นแข็งเป็นพิเศษ เค็มพิเศษ ตกลงก็ไม่ได้กิน ก็เลือกเอาน้ำออกกินแต่ข้าวได้นิดหนึง วันหลังๆสถานทูตเอาอาหารมาส่ง ก็เลยได้ มุ้งอะไรที่นอนเครื่องนอนก็เอามา เครื่องแต่งกายก็เอามาให้

จินดารัตน์ - สภาพความสะอาดนี้ยังไงค่ะ

แซมดิน- ก็ช่วยกันทำ ผมอยู่ 3 คน ตายแน่ ผม อีกคนหนึ่งคุณกิจพลธรณ์ คุณพนิชกับคุณวีระเขาอยู่ข้างล่าง ผมอยู่ชั้นบน มันตรงกันพอดี ของเราอยู่ 3 คนของผมนอนข้างล่าง 2 คนนอนข้างบนมี 2 ชั้น ผมนอนหน้าห้องน้ำ ขี้เกียจปีนมันสูง อายุมากแล้ว เขานอนพอดี เขาเบียดกัน 2 คน ผมไม่ต้องเบียดกับใคร แต่เวลาเขาจะเข้าห้องน้ำ ก็หลบผมหน่อยอย่าเหยียบเท่านั้นเอง ตอนแรกก็ยื่นจดหมายกระดาษกัน ได้กับห้องล่าง หลังๆเข้าเห็นเรายื่นมากๆ เขาเอาลูกกรงถี่ๆมาติดหน้าหลัง ยื่นอะไรไม่ได้เลย เสร็จเลย ที่แย่กว่านั้นคือ ข้างหลังเขาเอาขยะไปไว้ เผาขยะ ซึ่งทางคุณวีระกับทางเราก็จะโดนรมควันอยู่

จินดารัตน์ - พี่วีระมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว แต่พี่ราตรีโดนแยกแดนไป อยู่กับพี่นฤมลรึเปล่าค่ะ วันแรกที่เข้าไป เป็นไงค่ะ

ราตรี- วันแรกที่เข้าไปก็มืดแล้ว ค่ำแล้ว วันแรกเขาไม่ได้เอาเราไปอยู่ในห้องขังจริงๆ เป็นโรงเรือนใหญ่ๆเลย ข้างหลังก็กั้นเป็นห้องกว้างๆ มันเป็นโรงเรือนสำหรับให้นักโทษเข้าไปทำงาน เอาเราไปไว้ตรงนั้น ชั่วคราวก่อน ก็อยู่ประมาณ 7 วัน ถึงย้ายเราเข้าห้องขังจริง

จินดารัตน์ - หลังจากที่พี่นฤมกลับ พี่ก็ต้องอยู่คนเดียว แต่ด้วยความที่ทั้ง 3 ท่าน เป็นชาวอโศกแล้ว การปรับตัว การปรับวิธีคิด เจอมาหมดละ อยู่ได้ ไม่ลำบากมากในความรู้สึกจริงไหมค่ะ

แซมดิน- ก็จริงครับ เราถูกฝึกมาให้ลำบากมาก่อน ฝึกให้วางใจไม่ทุกข์ ไม่ใช่ไม่ทุกข์เลย มันก็ทุกข์บ้างจะโวยวายอะไรกันอยู่ในนั้นเราก็ออกกำลังกายกัน ได้แค่นั้น ยึกยักๆ อยู่

จินดารัตน์ - ตกลงพี่แซมดินกับพี่ตายแน่อยู่กี่วันค่ะ

ตายแน่- 20 วัน

จินดารัตน์ - เพื่อนๆ กลับหมดใจหายไหมค่ะพี่ราตรี

ราตรี- ก็มีบ้าง แต่ไม่ได้ใจหายว่าอยากให้เขามาอยู่เป็นเพื่อน ก็ดีใจกับเขา ที่ได้กลับบ้าน

จินดารัตน์- ด้วยเงื่อนไขด้วยข้อกาที่ถูกตั้งข้อหามาทำให้พี่ราตรีต้องอยู่ เอาเป็นว่าคำว่าวางใจของพี่แซมดิน กินระยะเวลาเท่าไหร่ พี่ถึงรู้สึกว่าพอแล้ว

ราตรี- ก็ 4 เดือน ก็คิดห่วงอยู่ 2 อย่างห่วงเรื่องงานที่รับผิดชอบ 2. ห่วงเรื่องความรู้สึกของครอบครัว ห่วงอยู่ 2 อย่างนี้ละค่ะ

จินดารัตน์- เวลา ครอบครัวมาเยี่ยม พี่ได้พูดคุย

ราตรี- ได้พูดคุย คือต่างคนต่างก็ไม่พูด ในสิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่ดี ก็พูดว่าไม่ต้องห่วงหรอก ไมี่มีปัญหาอยู่ได้ เราก็โอเคนะค่ะ ไม่ได้ลำบากถึง อยู่ไม่ได้ เราก็ฝึกกัน มาสมควรในสภาพแบบนั้น ไม่มีปัญหาสำหรับเรา จะกินนอนข้างถนน ตอนชุมนุมยังหนักกว่านี้ เราก็พยายามถ่ายทอดไปไม่ให้ครอบครัวต้องมาห่วงเรา

กมลพร- ตอนอยู่แดนที่แยกไปของผู้หญิง เราต้องอยู่คนเดียวนี้ เขาให้เราอยู่กับคนอื่นไหมค่ะ

ราตรี- 2-3 วันแรกยังอยู่กับคุณตุ๊กเพราะยังไม่ได้รับประกันตัว พอได้รับประกันตัวไปแล้ว ตอนอยู่ 2 คนนั้นเขาก็เอานักโทษที่ว่าดีหน่อย 3 คน มาอยู่เป็นเพื่อนเรา แต่ 3 คนนั้นพูดภาษากัมพูชา พูดไทยไม่ได้ ก็อยู่กันแบบสื่อสารด้วยมือภาษาใบ้

กมลพร- แล้วเขาดีกับเราไหมค่ะ

ราตรี- ดีค่ะดี

จินดารัตน์- แสดงว่าเหมือนเราเป็นนักโทษการเมืองแบบนี้ใช่ไหม ทางการดูแลดี ดีกว่านักโทษปกติทั่วๆไป

ราตรี - ค่ะๆ ใช่ๆ ห้องที่เราอยู่นะค่ะ ไม่ได้ใหญ่อะไรมากมาย แต่เดิมมีนักโทษอยู่ 20 คน พอจะเอาเราเข้ามาอยู่เขาเอานักโทษ 20 คน ออกไปหมดแล้วไปกระจายอยู่ห้องอื่น เอาเรา 2 คนเข้ามา เอานักโทษเขมร 2 คนมาอยู่เป็นเพื่อน ก็เป็น 5 คน จากเดิมที่อยู่ 20กว่าคน ที่นั่นแออัดค่ะ นักโทษเค้าแออัดมาก พอนอนแค่นี้พื้นที่พอนอนแค่นั้นเอง ของเราถือว่าพิเศษกว่าคนอื่น

จินดารัตน์- เจ้าหน้าที่ในเรือนจำเอง ก็ถือว่าค่อนข้างจะดูแล ดีกับเรา ไม่ได้มีการขู่บังคับอะไร ปฏิบัติกับเราดี เจ้าหน้าที่สถานทูตดูแลเราดี มาเยี่ยมเยียน

ราตรี - ค่ะมาพร้อมกับญาติมาประสานงานให้เข้าเยี่ยม

จินดารัตน์-ในขณะที่เรารอความช่วยเหลือจากเพื่อน ที่เขามาหาเรา ที่เขาบอกมาช่วยในฐานะเพื่อน พี่ราตรีเคยทวงถามเขาไหมพอผ่านไป 4-5 เดือน ทวงถามกับเจ้าหน้าที่สถานทูตไหม

ราตรี - ก็ทวงถามตลอดค่ะ เขาก็มีคำตอบให้ในทำนองที่ว่าก็ต้องรอให้เขาพิจารณา ก็จะมีข่าวจากทางกัมพูชาว่ารอพิจารณาอยู่ มันติดเงื่อนไขที่ว่าการอภัยโทษ มันต้องเข้าหลักเกณฑ์ ซึ่งเรายังไม่เข้าหลักเกณฑ์ ซึ่งตอนแรกที่เข้าหลักณฑ์ คือต้องให้คดีสิ้นสุดไปแล้ว 7 วันถึงจะทำเรื่องได้ พอได้ก็ต้องรอไปอีก 1 เดือน ถึงจะเสนอได้ พอตอนนี้เสนอมาถึงขั้นนี้แล้วเขาก็หาเรื่องอธิบายว่าทำไปถึงขั้นนี้ๆเราก็ไม่รู้ว่ามีกี่ขั้นค่ะ

จินดารัตน์- เราก็อยู่ไปโดยที่ความหวังมันก็น้อยลงๆ

ราตรี - จนเราคิดว่าเอาเหอะเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น เราก็สบาย เราก็ไม่ต้องไปคาดหวัง เพราะถ้าเราคาดหวัง ถึงวันนั้นไม่ใช่ก็ผิดหวัง ก็ ต้องมาตั้งกันใหม่ ก็มาคิดได้ว่าเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ก็จบ คิดได้แค่นี้พอ ก็ใช้เวลากับวันนั้นให้ดีที่สุด

จินดารัตน์- แต่ความรู้สึกของญาติคงจะไม่ใช่วันไหน ก็วันนั้นจริงไหม

ราตรี- ใช่ค่ะ

จินดารัตน์- ญาติๆเวลาไปเยี่ยม พี่ราตรีก็ต้องมีความหวังว่าจะได้ออกกลับบ้านเร็วๆ พี่ราตรีเคยบอกเขาไหมว่าเอาเหอะ

ราตรี- ก็พูดๆค่ะ

จินดารัตน์- แล้วเขาบอกกับเราไหมค่ะว่ายังไงให้อยู่ให้กำลังใจพี่ยังไง

ราตรี- ก็พอดี อย่างที่บอกเราก็ไม่อยากทำอะไรให้เขาเป็นห่วง เพราะฉะนั้นเวลาเจอก็จะคุยว่าคนนั้นเป็นไง มีเรื่องตื่นเต้นอะไร เรื่องตุ๊กแก เป็นคนกลัวตุ๊กแก ได้ยินเสียงร้องมันไม่เข้ามาในห้อง เราก็มานั้งเป็นกังวลว่าเมื่อไหร่มันเข้ามาในห้องนะ เราจะทำยังไง ก็ไปสนใจกับเรื่องพวกนั้นมากกว่า แทนที่จะมาจดจ่อว่าทำไมเราต้องมาอยู่ที่นี้ ทำไมเราต้องมาเจอแบบนี้ ในคำถามที่เราตอบไม่ได้ซักทีก็กลุ้มใจปล่าวๆ

จินดารัตน์- ยอมรับ4 เดือน ที่ยอมรับว่าวันไหนก็วันนั้น ก็เครียดใช่ไหม่ค่ะ

ราตรี- ก็เครียด แต่ก็ไม่ใช่ว่าเครียดตลอดเวลา พอเครียดซักระยะหนึ่ง ก็ปัดจิตตัวเอง คือย่างที่บอก ปัดจิตตัวเองว่าเราคิดทำไมไม่มีประโยชน์

จินดารัตน์- ไม่ได้เคยได้เจอพี่วีระ

ราตรี- ไม่ได้เจอค่ะ หลังจากวันที่พบพี่กษิตก็ไม่ได้เจอกัน

จินดารัตน์- แล้วได้ข่าวคราวบ้างไหมค่ะ

ราตรี- ผ่านทางคุณแม่อาจารย์ ก็ได้พบบ้าง คือในช่วงที่อยู่มา 2 ปี ก็ไม่ใช่ว่าไม่เจอเลยนะค่ะ ก็มีโอกาสได้เจอ ก็ได้ขอทางสถานทูตขอ อนุญาตให้ว่าจะขอไปทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งทางกระทรวงเขาก็อนุญาตก็ได้ไปทำบุญ ทางฝั่งคุณวีระ ก็ได้เจอกันตอนนั้น ก็ได้พูดคุยกันบ้างนิดหน่อย

จินดารัตน์- พี่วีระเป็นยังไงบ้างค่ะพี่ราตรี

ราตรี- ก็มีปัญหาเรื่องสุขภาพค่ะ แต่ถ้าเรื่องกำลังใจก็ยังเข้มแข็งนะค่ะ

จินดารัตน์- เคยไหมมีเจ้าหน้าที่มาต่อรองกับเราว่าเซ็นยอมรับสารภาพซะ จะได้รับพระราชทานอภัยโทษให้

ราตรี- ไม่ค่ะ ไม่เป็นลักษณะอย่างนั้น ก็มีแต่ให้ความหวังว่าเรื่องการอภัยโทษ ก็บอกรออาจจะใกล้แล้วละ ไม่นานหรอก แต่พออยู่ไปเราก็ประเมินเหตุผลว่าเขาคงไม่อยากให้คุณวีระออกไป

จินดารัตน์- เดี๋ยวจะกลับมา พูดตรงๆ เดี๋ยวจะซวยกันหมด ถ้าพี่วีระ ได้กลับมาเดี๋ยวจะซวยกันหมด

กมลพร- หลังจากที่พ้น 4 เดือนละ ต้องอยู่ละ เพื่อนหรือท่าน ส.ส. ที่ไปด้วย หรือแม้กระทั่งคนที่เขาจะช่วยส่งกำลังใจต่างๆนาๆ ทางสายการเมืองเขาไปเยี่ยมเราบ้างไหมค่ะ

ราตรี- คือช่วงแรกๆทางฝั่งตรีเอง เขาไม่มีปัญหา ไม่เข้มงวด แต่ถ้าทางฝั่งคุณวีระแล้วค่อนข้างเข้มงวด ขออนุญาตรายชื่อกันล่วงหน้าว่าจะให้หรือไม่ให้

จินดารัตน์- พี่ราตรีได้ถามพี่วีระไหมค่ะ ว่าความเป็นอยู่เป็นอย่างไร เขาปฏิบัติกับพี่วีระอย่างไรบ้าง ทราบผ่านทางคุณแม่นะค่ะก็ทรางของคุณวีระนี่ก็ คือ หนังสือไรไม่ให้เลย ส่งหนังสือไม่ได้เลยหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้ เดินไปไหนก็ได้แต่ห้ามคุยกับใคร ไม่ได้ห้ามคุณวีระห้ามพูด แต่ห้ามคนอื่นมาคุยกับเขา คือใครคุยกับเขา คนที่ถูกลงโทษคือนักโทษคนนั้น ไม่ใช่มาลงโทษคุณวีระนะค่ะ ซึ่งมันทำให้คุณวีระสร้างความเดือรร้อนใหคนอื่น ก็เลยประมาณตนเองว่าอย่าไปทำให้เขาเดือนร้อน

กมลพร- นี่ดีนะค่ะถ้ามันห้ามคิดได้มันห้ามแล้ว นี้ห้ามอ่าน ห้ามเขียน ห้ามฟัง

ราตรี- ของตรีได้นี่ พอตัดสินแล้ว ก็ให้เอาหนังสืออะไรเข้าไปได้ ก็ได้หนังสือนี่ละ ไม่ได้หนังสือก็คงแย่เหมือนกัน

จินดารัตน์- พี่ราตรี ก็ใช่เวลาว่าง ในเรือนจำทำความคุ้นเคยกับนักโทษคนอื่นๆ ทำอะไรบ้างค่ะ เห็นว่าไปสอนทำขนม

ราตรี- ตรีเองก็ถูกห้ามไม่ให้คุยกับใคร เหมือนกัน ก็คุยได้เฉพาะคนที่อยู่ร่วมกัน 3 คน นักโทษคนอื่นก็ถูกห้ามไม่ให้มาคุยกับตรี ก็ไม่มีใครกล้าคุยโดยเฉพาะคนที่พูดไทย นักโทษไทยนี่ห้ามเข้าใกล้เลย เราก็ไม่มีสิทธิอยู่แล้ว ด้วยภาษาเองก็พูดไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว คนที่พูดได้ก็โดนห้าม เท่ากับไม่มีใครคุยรู้เรื่องอยู่แล้ว

กมลพร- ใช้วิธีบีบแบบนั้นแทน จำกัดแบบนั้นแทน พี่ราตรีทำอะไรในแต่ละวัน นอกจากทำหนังสือ

ราตรี- อ่านหนังสือ ช่วงแรกก็มีอาหารจากสถานทูตส่งมา ก็ส่งมาได้ จนถึงเดือนมิถุนายนก็ต้องยกเลิก การส่ง 1.คือสถานทูตบอกว่างบไม่มีตอนแรกเรื่องส่งอาหาร เราก็บอกว่าเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ทางญาติเราก็จะจ่ายให้ แต่ทีนี้มันก็มีอยู่ว่าทางเจ้าหน้าที่สถานทูตต้องเอาอาหารทางร้านอาหารมาส่งให้เอง เพราะทางเรือนจำ ถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่สถานทูตก็จะไม่ยอม ก็กลัวว่าถ้าใส่ยาพิษมาให้กิน เขาต้องรับผิดชอบ ก็เลยต้องเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตมาส่ง ก็เลยมีปัญหาเรื่องคนส่ง เพราะต้องเป็นภาระมาส่งให้เรา และก็เรื่องของงบประมาณ ที่ทางรัฐบาลบอกไม่มีให้ สรุปว่าต้องทำทานเองเราเริ่มละเราจะทำยังไงละ แต่เดิมก็ทำกับข้าวไม่เป็น หุงข้าวให้เป็นข้าวสวยข้าวต้มก็ยังลำบากเลย เลยเริ่มกลุ้มใจละ ก็คุยว่าระหว่าง 2 บ้าน ว่าเอาไงดีจ้างเขาทำละกัน เพราะในนั้นก็มีจ้างให้คนอื่นทำให้ ตอนแรกก็คิดว่าจะจ้าง พอได้สัมผัสก็รู้ว่าคนกัมพูชาเขาไม่รู้จักอาหารเจ เป็นยังไง ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ก็ทำให้ไม่ถูก ก็ทำเองละกัน ลำบากก็ลำบากนะ ก็ตัดสินใจทำเอง ส่วนคุรวีระปฏิเสธตั้งแต่แรกเลยพอรู้ว่าต้องทำ โอ๊ยผมไม่ทำหรอก ปฏิเสธใหญ่เลย ก็ปรากฎว่าจะจ้าง พอจ้างเสร็จทางเรือนจำไม่อนุญาต กลัวใครใส่ยาพิษเขาไป เลยต้องทำเอง

จินดารัตน์- รวมพี่วีระด้วยหรอค่ะ

ราตรี- คือต้องทำอาหารเองเรา ก็นึกภาพ
2-5

ราตรี- คือต้องทำอาหารเองเรา ก็นึกภาพ ตอนนี้คุณแม่บอกว่าเก่งแล้ว เปิดร้านได้

กมลพร- ทำที่ไหน ยังไงทำในห้อง หรือค่ะ

ราตรี- ก็ทำหน้าห้องค่ะ มีอุปกรณ์ให้ เราก็ซื้ออุปกรณ์ก็ซื้อในนั้น ญาติหาเข้าไปไม่ได้อย่างหม้อที่เป็นเหล็ก เขาไม่ให้เอาเข้าไปแต่ของพวกที่ต้องห้ามมันสามารถหาซื้อได้ในเรือนจำ มีดนี้ห้าม แต่ซื้อได้ในเรือนจำ ซื้ออุปกรณ์ได้ทุกอย่างผัก อะไร มีร้านค้า

จินดารัตน์- มีอยู่เหมือนชุมชน แต่ที่นอนคงไม่สบาย

ราตรี- ค่ะไม่สะบายไม่ได้มีฟูกหนาๆ มีที่นอนปิคนิคมาปูนอน ก็ดีที่สุด ก็ได้ฝึกว่าไม่นอนฟูกหนา มุ้งก็มีให้ เพราะยุงเยอะมาก พอเริ่มมืดนี้เรากางมุ้งก่อนเลย เพื่อนที่อยู่ในห้องก็ขำอะไร ยังไม่มืดกางมุ้งละ เราไม่อยากเจอยุง คือเราจะไม่ตบยุง ไม่ใช่สเปรย์ฉีดยุง คนอื่นเจอยุงใช่สเปรย์ฉีดไงค่ะ ของเราใช้มุงกัน

จินดารัตน์- เขาสงสัยไหมค่ะ ทำไมยุงไม่กัดเรา

ราตรี- เขาขำกันค่ะ ว่ายุงเขามาในมุงเราก็ฉุบ เราก็ปล่อยเขาก็ขำ มดมาเราก็เป่าๆให้มันหนี มดเราเป่า เอาพัดปัดๆ เขาก็ขำว่าทำไมเราขนาดนี้ เขาจะเขามาตบแทนเราก็ห้ามว่าอย่าๆตบ

จินดารัตน์- มีการแลกเปลี่ยนสอนภาษากันไหม

ราตรี- มีๆ มีการเรียกชื่อของกินของใช้ ผักนี้เรียกว่าอะไร เราต้องฝากเขาซื้อของ ออกไปซื้อเองไม่ได้ค่ะ

จินดารัตน์- เพื่อน 3 คน ก็ดี อบู่กันมา 2 ปีเต็มดูแลพี่ราตรี

ราตรี- ตอนหลังก็คล่องขึ้นก็ดูแลตัวเอง

จินดารัตน์- ตอนหลังทำอาหารคลอ่องขึ้น ลองให้เขาชิมบ้างไหมค่ะ

ราตรี- ก็ลองเขาก็ชิมเขาก็ไม่คุ้นนะค่ะ ไม่มีเนื้อสัตว์ งงจะกินได้ยังไง น้ำปลาไม่มีใส่ คนที่นั้นใส่ผงชูรสเยอะมาก ใส่เป็นช้อนๆเลยค่ะทั้งผงชูรส คนอร์ อะไรงี้ ซึ่งเราไม่ทานไง ซึ่งคนที่เคยทานผงชูรสมากแล้ว มาทานอาหารเรา เราก็เข้าใจว่าเขาคงจืดชืดมาก ไม่มีรสชาติเลย

จินดารัตน์- พี่ราตรีทำเป็นกี่อย่างแล้วค่ะ

ราตรี- หลายอย่าง ตอนแรกก็คิดว่าคงทำทานง่ายๆ ผัดผักอะไรก็ทำได้แล้ว ไม่อยากวุ่นวาย แต่ตอนหลัง ก็คิดว่าเราก็ไม่พัฒนาตัวเองนะซิ ทำกับข้าวไม่เป็นอยู่นั่นละ ก็ที่บ้านก็ส่งตำราอาหารกับข้าวมา ให้เป็นเล่มๆ แล้วก็เริ่มที่ละอย่าง เริ่มจากวัสดุที่หาได้จากในนั้น หัดทีละอย่าง พอเริ่มเป็น ก็เขียนไปบอกว่าทำไอ้นี้เป็นแล้วนะ เขียนไปบอกที่บ้าน ตอนนี้แกงเป็นแล้วนะ คือการที่ให้เขารับรู้ว่าเราอยู่ยังไง มีเรื่องอะไรขึ้นมา ก็เขียนไปบอกที่บ้านว่า วันนี้ตุ๊กแกมันร้องทั้งวันเลยนะ

จินดารัตน์- เขียนไปบ่อยไหมค่ะ

ราตรี- เขียนทุกศุกร์ ก็จะเขียน เล่าไป

จินดารัตน์- ที่บ้านก็จะรอจดหมาย เขาคงสบายใจไปได้เปราะหนึง

ราตรี- ที่บ้านเองเขาก็ไม่อยากให้เราเป็นกังวล ก็ถามเขาว่าที่บ้านเป็นไงบ้าง เขาก็โอเค ไม่มีปัญหาอะไร ก็ช่วยกันทำ คือการที่จะไม่ให้เราไม่ต้องห่วง อยู่อย่างสบายใจ

จินดารัตน์- เห็นบอกว่าเงื่อนไขในการปล่อยตัวพี่ราตรี จริงก็ยังไม่เข้าเงื่อนไขการปล่อยตัว เงื่อนไขเขาคืออะไรค่ะ

ราตรี- เงื่อนไขคือ ถ้าได้รับอภัยโทษทางกัมพูชา อ้างมาว่า จะต้องอยู่ 2-3 ถึงจะได้ ยังไม่ถึง อยู่ๆได้รับอภัยโทษ ก็งงอยู่เหมือนกัน ก็ข่าวเขาก็บอกมาว่าทางนายกยิ่งลักษณ์ขอทางรัฐบาลกัมพูชา ถึง 3 ครั้ ง จนครั้งที่ 3 ให้เหตุผลว่า เนื่องในวันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพเจ้าสีหนุ ก็ขอให้เป็นกรณีพิเศษ ทางรัฐบาลกัมพูชาก็เลยจัดให้

กมลพร- ไม่เกี่ยวกับข่าวน้ำมัน ดินแดน มรดกโลกไม่เกี่ยวใช่ไหมค่ะ

ราตรี- ไม่เกี่ยวค่ะ ไม่รู้เรื่องหรอก นั้นของพี่ชายเขา

จินดารัตน์- คือเราอยู่จนช่วยเหลือนักโทษดูแลกันถักผ้าเช็ดให้ด้วยทำของกระจุกระจิกให้

ราตรี- ผ้าเช็ดหน้า ถักให้เพื่อนที่เมืองไทย คือเราได้ของทางเมืองไทยที่ส่งมาเยอะมาก ของกินของใช้เยอะ จนเราต้องเอาไปกินไม่หมดเราก็แบ่ง ให้คนข้างใน ไอ้ที่เราคิดว่า กินไม่หมดเราก็แบ่งเลย เราคิดประมาณว่าเรากินแค่นี้ ที่เหลือเราก็แบ่งเลย แบ่งตั้งแต่วันแรกที่ญาติมาเลย เขาก็มีญาติมาเยี่ยมทุกวันศุกร์ เขาก็ได้ของจากญาติไป พยายามคิดว่าเราจะทำอะไรให้เวลาผ่านๆไปวันๆหนึ่งจะได้ไม่เบื่อ ตอนเริ่มถักผ้าเช็ดหน้าก่อนหน้านั้นก็อ่านหนังสือมา จนเต็มอิ่มแล้ว ตอนแรกที่ได้หนังสือมากก็อ่านๆด้วยความละโมบ เพราะอยู่ที่บ้านก็ไม่ค่อยได้อ่านเวลาทำงานมันเยอะ ได้มาก็อ่านๆ อ่านเช้า อ่านเย็น อ่านกลางคืน อ่านเต็มที่จนถึงจุดอิ่มตัวจุดหนึ่ง

แซมดิน- เคยถักมาก่อนไหมผ้าเช็ดหน้านะ

ราตรี- ก็เคยสมันวัยรุ่นค่ะ กี่ปีอย่าให้พูดเลย

กมลพร- ใครเคยถักผ้าเช็ดหน้าโครเชต์ต้องเป็นสมัยเก่ามากด้วยค่ะ

ราตรี- ก็ได้ฟื้นฟูความรู้เก่าๆ ก็สั่งที่บ้านเตรียมอุปกรณ์มา เสร็จก็ส่งไปให้พรรคพวกเพื่อนฝูง ที่เคยส่งอะไรมา เป็นการตอบแทนเขา ว่าเขาเคยให้อะไรมา

จินดารัตน์- เชื่อแล้วว่าคนที่ได้ผ้าเช็ดหน้า ของพี่ราตรี ต้องเก็บเป็นผ้าเช็ดหน้าผืนประวัติศาสตร์นะ แล้วใช่เวลาอยู่ในนั้น ก็คือไม่ต้องไปทำงานเหมือนนีกโทษทั่วไป ถือว่าดีพอสมควร

ราตรี- เขาให้เราไปทำงานยังดีวะกว่าอีก ออกไปรีแลคข้างนอกบ้าง

จินดารัตน์- เจ้าหน้าที่ในนั้น จะต้องกลัว 2 คนนี้เข้า มากลัวมาบุกระดมอะไรในนั้น ซักพักเขาคงกลัวเป็นชาวอโศก แน่ๆ ค่ะ พักกันก่อนนะค่ะช่วงหน้า กลับมาเราจะต้องมาคุยถึงความรู้สึก พี่ราตรี พี่แซมดิน พี่ตายแน่ โดยเฉพาะพี่ราตรีว่าวันนี้ลงจากเครื่องตอบคำถามสื่อมวลชนไปแล้ว คุณผู้ฟังคงได้ยินได้อ่านกันไปแล้วนะค่ะ เราจะมาเน้นย้ำกันอีกครั้งว่า วันนี้พี่เขารู้สึกอย่างไร ก้าวเดินต่อไปคืออะไร ซักครู่ค่ะ
จินดารัตน์- กลับมาช่วงสุดท้ายรายการก่อนจะถึงจันทร์นะค่ะ มาคุยกันต่อกับทั้ง 3 ท่าน แอนบอกตรงๆ นะค่ะ หลายท่านประทับใจคำตอบของพี่ราตรี เมื่อวันศุกร์ที่เดินลงจากเครื่อง ถามว่า ดีใจไหมค่ะ ได้กลับบ้านแล้ว พี่ราตรีตอบอีกทีได้ไหมค่ะ

ราตรี- ก็ยังไม่ดีใจอ่ะค่ะ เพราะเรายังมีเพื่อนอยู่ที่นั้นอีก 1 คน

จินดารัตน์- แอนไม่รู้ว่า คือ แอนรู้ว่านักข่าวถามเนี่ยนะค่ะ คนที่เขาฟังอยู่เขารอคำตอบ ดีใจค่ะ คือ คิดว่าพี่ราตรีจะต้องตอบแบบนี้ ดีใจค่ะได้กลับบ้าน แต่มันเป็นคำตอบที่มันทำให้เราอึ่งกันทั้งประเทศ คือต้องบอกว่า อึ่ง และมันเป็นความจริง ความจริงที่พี่ตอบมาแล้วเรารู้ได้เลยว่า พี่รู้สึกอย่างนั้น และหลายคนก็รู้สึกอย่างนั้น กลับมาถึงเนี่ย เป้าหมายหรือการก้าวเดินต่อไป เอางี้ดีกว่า วันนี้พี่ก็ยังยืนยันใช่ไหมค่ะว่า พี่ไม่ได้รุกล้ำแผ่นดินเขมร

ราตรี - ยืนยันค่ะ หลังจากวันที่สู้คดีวันที่ 1 เพราะว่า ก่อนจะถึงวันที่สู้คดีวันที่ 1 เนี่ย ได้หลักฐานเพิ่มมาหลายอย่างในการเข้าสู้คดี คือ ก่อนหน้านั้นเราไม่มีอะไรเลย ข้อมูลที่จะเข้าไปสู้ แต่พอก่อนวันที่ 1 เนี่ย ได้หลักฐานเอกสารที่ทางกลุ่มพวกเราได้ส่งเข้าไปในการที่ให้สู้คดี พอได้อ่านแล้วเนี่ยก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจเลยค่ะ วันนั้นวันที่ขึ้นศาลเนี่ย การให้การในศาลมันมีความมั่นใจเต็มร้อยเลย ว่า สิ่งที่เราพูดเนี่ย เป็นสิ่งที่ถูกต้องค่ะ

จินดารัตน์ - ยืนยันและเอกสารหลักฐานพยานต่างๆ เป็นจากกลุ่ม

ราตรี - กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ

จินดารัตน์ - กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติทั้งนั้น ไม่ได้มาจากฝากฝั่งรัฐบาล

ราตรี - ไม่มีเลยค่ะ

จินดารัตน์ - แอนถามทั้ง 3 ท่านเลยนะค่ะ รู้สึกโกรธรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์บ้างไหมค่ะ

แซมดิน- ครับ ทั้งแปลกใจทั้ง ทั้งเหมือนกัน เพราะว่า พอออกมาอยู่ที่สถานทูตแล้ว่า เอ๊ะทำไมไปบอกว่า ตรงนั้นมันที่ของกัมพูชานะครับ ไอ้โกรธเราก็ไม่ได้โกรธรุนแรง แต่ว่า คือการพูดอย่างนั้นเนี่ย มันไม่ได้ทำให้เราเพียงไปรับโทษ แต่มันทำให้ไทยเนี่ยเสียอธิปไตยอย่างชัดเจน เพราะว่า เราเป็นเจ้าหน้าที่

จินดารัตน์- อยู่ๆ ก็ไปยอมรับ

แซมดิน- ใช่ เราไปยอมรับ ทั้งๆ ที่พี่้น้องประชาชนหรือคนที่เขาอยู่ในที่ตรงนั้นเนี่ย เขาก็มีเอกสารสิทธิ์ชัดเจนอยู่ และประวัติความเป็นมาเนี่ยไม่ว่า จะไปสืบจากยูเอ็น สืบจากทหารที่ทำงานอยู่ที่นั้น หรือพี่น้องประชาชนเดิมที่อยู่ตรงนั้น มันก็ชัดเจนอ่ะ มันไม่ต้อง มันไม่ใชเรื่องลึกลับอะไรที่จะไปต้องวุ่นวาย สืบยากหรือไม่เข้าใจ แต่ว่า ในฐานะของนายกรัฐมนตรีเนี่ย ไปออกทีวีแล้วก็ไปอธิบายอย่างนั้นอ่ะนะ มันชัดเจนเหลือเกินว่า เป็นการยอมรับนะครับ แล้วรองนายกรัฐมนตรีเนี่ย ก็มาบอกว่า ให้เป็นไปตามกัมพูชา พล.อ.ประวิตร มาซ้ำอีกนะครับ แต่คุณกษิต ไปบอกกับเราไว้ บอกแล้วนะครับว่า ล้ำมา 50 เมตร ตอนที่เราอยู่เปรย์ซอว์ตรงนั้นนะครับ ก็เห็นได้ชัดเจนนะครับว่า มันเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเนี่ยเสียหายอย่างมาก เสียหายอย่างรุนแรง และแก้กลับคืนเนี่ยลำบาก เพราะว่า เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรงนะครับ

จินดารัตน์- ระดับสูงสุดด้วยค่ะ

แซมดิน- กลับมาผมก็ฟ้องหมดทั้ง 4 คนอ่ะครับ

จินดารัตน์- ค่ะ ไม่โกรธนะแต่จำ จำแม่นด้วย พี่ไม่โกรธแต่หนูโกรธมากค่ะ ทุกวันนี้หนูยังโกรธอยู่เลยค่ะ

ราตรี- ไม่ได้โกรธว่า ทำไมเขาไม่ช่วยเรา โกรธว่า ทำไมเขาไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ

จินดารัตน์- เขาเป็นนายกรัฐมนตรีแท้ๆ

แซมดิน- ครับๆ

จินดารัตน์- พี่ตายแน่อ่ะค่ะ

ตายแน่- คือ ปัญหาของชายแดนเนี่ย มันเป็นปัญหาที่ปล่อยปะละเลย และก็ปล่อยเรื้อรังมาหลายยุคหลายสมัย ถ้าหากพูดตามความจริงปัญหาหนองจานก็คือ เกิดหลังจากยุคศูนย์อพยพแล้ว แต่ก็ไม่เคลียร์ปัญหาให้แล้วเสร็จ อย่างผมได้เรียนสอบถามพูดคุยกับ พล.ท.กนก อดีต ผบ.กองกำลังสุรนารีเนี่ย เวลายุบศูนย์อพยพแต่ละศูนย์เนี่ยแนวทางปฏิบัติมันเป็นยังไง ท่านก็เล่าให้ฟังว่า การยุบศูนย์อพยพเสร็จแล้ว ก็ต้องส่งชาวกัมพูชากลับประเทศ เพราะว่า ประเทศคุณสงบแล้ว

จินดารัตน์ - คือต้องเคลียร์พื้นที่ว่างั้นเถอะ ให้กลับไปเป็นเหมือนเดิม

ตายแน่- คือต้องเคลียร์พื้นที่ เอาคนไทยกลับไปทำกินที่เดิม ตามที่เขามีเอกสารสิทธิ์ อย่างที่่บ้านหนองจานเป็นต้น พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ก็แบบเดียวกัน แล้วก็ลักษณะเดียวกัน ชาวเขรมที่อพยพมาอยู่ตามแนวหน้าผา บริเวณพื้นที่ 4.6 เนี่ย ส่วนหนึ่งก็อพยพลี้ภัยกันมา แต่หลังสิ้นสงคราม 3 ฝ่ายแล้วเนี่ย รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยเนี่ยปล่อยปะละเลยกันมานาน แต่มันเกิดในช่วงยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เนี่ย จะมาบอกว่า มันปล่อยเรื้อรังมานาน ถ้าพูดกันง่ายๆ ก็ต้องด่ากันทุกรัฐบาลนะครับ แต่ยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เนี่ย ถ้าถามว่า คุณรู้ปัญหาตั้งแต่เป็นฝ่ายค้านแล้ว เพราะว่า ในปี 2545 เนี่ย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการตั้งกระทู้ถามสดคุณทักษิณ สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี ก็คือ ปี 2545 ในกรณีบ้านหนองจาน นั้นก็หมายความว่า พรรคประชาธิปัตย์ รู้ปัญหาบ้านหนองจานตั้งแต่ตัวเองเป็นพรรคฝ่ายค้าน ในปี 45 แต่เมื่อตัวเองได้ขึ้นมาเป็นพรรครัฐบาล คุณได้เข้าไปแก้ปัญหาบ้านหนองจานหรือไม่ เมื่อไม่ ทำไมถึงไม่ทำ ดังนั้นจะบอกว่า คุณต้องพาดพิงไปถึงรัฐบาลยุคโน้นตอนนั้นทำไมไม่ทำ แต่รัฐบาลคุณมีโอกาสแล้วทำไมถึงไมทำ ดังนั้นถ้าถามว่า ในส่วนตัวผมเองเนี่ย ผมก็ไม่ได้โกรธในส่วนบุคคล เพราะว่า เราถูกสอนมาว่า การโกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ใช่ไหมครับ ก็ต้องเข้าใจตามความเป็นจริง ถ้าผมบอกว่า โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า แล้วผมไม่ต้องกล่าวความจริง ซึ่งอาจต้องไปพาดพิงพรรคการเมือง แล้วก็หุบปากเนี่ย ผมว่ามันก็ไม่ใช่เป็นคนปกติที่จะต้องแสดงออก เห็นสิ่งที่ผิดแล้วเราไม่พูด เพราะเราบอกว่า โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า เราไม่พูดดีกว่า ก็ปล่อยให้คนชั่วมันลอยนวล เราจะเอากันอย่างนั้นหรือเปล่า ดังนั้นเวลาเราพูด เราพูดออกไปเนี่ย เขาบอกพูดโจมตีคน แต่หลักฐานที่เรานำเสนอนำแสดงเนี่ย อย่างผมเกาะติดปัญหาชายแดนมา มาจนถึงวันนี้ประมาณ 3 ปี แล้ว 7 จังหวัดพื้นที่รอยต่อเนี่ย ผมไปมาแทบทุกจังหวัดเลย แทบจะทุกช่องผ่านแดน ดังนั้นการรับรู้ปัญหาในพื้นที่เราค่อนข้างที่จะมีข้อมูลหลักฐานเอกสารอ้างอิง ปัญหาพื้นที่ 4.6 ก็คล้ายๆ ปัญหาบ้านหนองจาน ชาวบ้านก็มีใบ พรบ.5 มีใบภาษีดอกหญ้าที่เขาเรียกกัน แต่เขาไม่สามารถกลับไปทำกินได้ใน เขาก็อยากจะกลับไปทำกินตรงนั้น ดังนั้นปัญหา ณ วันนี้ที่กำลังพูดถึงศาลโลก ผมขอพูดอีกนิดหนึ่ง ยุทธศาสตร์ของกัมพูชาเนี่ย เขาใช้คนเข้าไปอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน คนเหล่านั้นเป็นใคร เป็นครอบครัวทหาร มาอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน ขณะที่ฝั่งไทยเนี่ย แนวทางก็คือ เอาคนไทยออกจากพื้นที่ แล้วให้เป็นเขตอนุรักษ์ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวลาศาลโลกหรือว่า องค์การระหว่างประเทศเนี่ย มองเขามาในพื้นที่ที่เรียกว่า พื้นที่พิพาท ยังศาลโลกมองเข้ามาในพื้นที่ 4.6 เนี่ย เขาเจอใคร ชุมชนเขมรเต็มไปหมดเลย เขมรบอกศาลโลกครับ พื้นที่ตรงนี้เป็นของผม ศาลโลกมองลงมาเห็นเขมร ฝั่งไทยบอกว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นของผม ศาลโลกถามว่า แล้วคนไทยอยู่ไหน

จินดารัตน์- ไม่มีคนไทยแม้แต่คนเดียว

ตายแน่- มันต่างกันตรงนี้ครับ เนี่ยแหละครับผมว่า รัฐบาลไทยมันต้องทบทวน ถ้าคุณจะจริงใจมันต้องทบทวนที่ทำยังไงให้ชาวบ้านกลับไปทำกินที่ดินเดิมของเขา และอยู่รวมกันรั้วเดียวกัน นักวิชาการบางคนบอกว่า คนในย่านนั้นไม่ว่า เนี่ยไม่ว่าจะเป็นคนกันทรลักษ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ คนเผ่าพันธุ์เดียวกัน ประเด็นนี้ โดยส่วนตัวผมไม่เถียงหรอกครับ คนเผ่าพันธุ์เดียวกัน ชาวบ้านในระแวกนั้นก็ไม่เถียงว่า คนเขมรนั้นเผ่าพันธุ์เดียวกัน แต่เผ่าพันธุ์เดียวกันเนี่ย ขอกลับไปทำกินด้วยกันได้ไหม ไม่ใช่เผ่าพันธุ์เดียวกันคุณอยู่ได้ ผมอยู่ไม่ได้ มันเผ่าพันธุ์เดียวกันประเภทไหน ดังนั้นนักวิชาการเนี่ย ถ้าพูดแล้วไม่เข้าไปศึกษาปัญหาในพื้นที่จริงๆ เนี่ย มันก็จะออกเพ้อเจ้อไปนะครับ เผ่าพันธุ์เดียวกันนั้น เผ่าพันธุ์เดียวกันจริง แต่เผ่าพันธุ็เดียวกันขอไปทำกินรั้วติดกันได้ไหม อย่างบ้านคุณแอนบ้านผมติดกัน เราเผ่าพันธุ์เดียวกัน เราคนไทยด้วยกันคุณแอนอยู่บ้านนั้น ผมอยู่บ้านนี้ คุณแอนปลูกข้าวโพด ผมปลูกฟักทองอย่างนี้ได้ไหมอ่ะ แต่ทุกวันนี้มันคุณอยู่ได้แต่ผมอยู่ไม่ได้ แล้วคุณลุกล้ำเข้ามาคุณเข้ามาลักตัดไม้พยุง มันเผ่าพันธุ์เดียวกันได้ยังไง นี้คือประเด็น

จินดารัตน์- ถ้าบอกว่า เปรียบเทียบเหมือนละครไทย เราเป็นดาวพระศุกร์ ดูแบบยอมเขาทุกอย่างเลย

กมลพร-กำลังจะโดนราหูอมด้วยตอนเนี่ย

จินดารัตน์- พี่ราตรีละค่ะ มีความรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ หรือคิดอะไรอยู่

ราตรี- ก็อย่างที่บอกอ่ะค่ะ โกรธไม่ได้โกรธ เพราะว่า เขาไม่ช่วยเรา แต่โกรธว่า ทำไมเขาไม่ช่วยดูแลประเทศชาติ ทำกับจะเอาประเทศชาติของเราไปใส่จานใส่พานถวายให้เขาเลยเหรอ ผลประโยชน์ของประเทศชาติ คือ จากที่เรา 2 คนถูกกระทำมาเนี่ย จริงอยู่มันก็คือการเสียสิทธิ์ เสียอิสระภาพของเรา มองในแง่ของคน 2 คนเนี่ย มันก็คือการเสียอิสระภาพแค่นี้ แต่จริงๆ มันไม่ใช่แค่นั้น มันมากกว่านั้น ก็คือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งรัฐบาลไม่ยอมรักษาไว้มากกว่าที่อยากจะให้มอง เพราะมันเกี่ยวเนื่องกัน คุณไม่เข้ามาดูแล ทั้งๆ ที่คุณเป็นรัฐบาล เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ แต่คุณละเว้นที่จะไม่ดูแลสิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าโกรธมากกว่าค่ะ

จินดารัตน์- ค่ะ ก้าวเดินต่อไปของพี่จะทำอะไรต่อค่ะ

ราตรี- ก็คงตามแนวทางที่เคยเป็นมาอ่ะค่ะ

จินดารัตน์- ยืนหยัดและมั่นคง

กมลพร- ก่อนที่จะกลับมาเมืองไทยได้เจอพี่วีระไหมค่ะ

ราตรี- ได้เจอนิดหนึ่งค่ะ

กมลพร- คุยอะไรกันไหมค่ะ

ราตรี - มีโอกาสได้คุยกันนิดเดียวค่ะ ก็ฝากให้เขาดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีค่ะ

จินดารัตน์- พี่วีระได้ฝากบอกอะไรถึงคนไทยบ้างไหมค่ะ

ราตรี- แกบอกว่า ขอให้ทุกคนทำหน้าที่เต็มที่ค่ะ

จินดารัตน์- แอนอยากให้พี่ราตรีบอกความรู้สึกไปถึงพี่น้องคนไทยว่า วันนี้สิ่งที่เราโดนกระทำย่ำยีอยู่เนี่ย เราในฐานะคนไทยคนหนึ่งเนี่ย อย่างพี่ต้องไปติดคุกที่เปรย์ซอว์ 2 ปีเนี่ย กลับมาวันนี้เราควรจะลุกขึ้นมาทำอะไรกันบ้าง

ราตรี- คือ ทุกคนมีหน้าที่นะค่ะ ด้วยจิตสำนึกทุกคนมีหน้าที่ หน้าที่ในการปกป้องสิทธิ์ของตนเอง อันนี้เป็นหน้าที่พื้นฐานอยู่แล้ว แต่หน้าที่ที่มากกว่านั้น คือ หน้าที่ในการปกป้องสิทธิ์ของประเทศชาติ ประเทศบ้านเกิดของตัวเอง ถ้าทุกคนละเว้นไม่ทำเราก็จะถูกละเมิดสิทธิ์ เมื่อถึงวันหนึ่งไอ้ที่ถูกละเมิดสิทธิ์ตรงนั้นมันก็จะมาถึงตัวเราเองเข้าในสักวันหนึ่ง อย่าไปคิดว่า เรายังไม่เดือดร้อน ไม่ใช่ เพราะวันหนึ่งมันต้องมาถึงตัวเราอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอย่าละเลยที่จะทำหน้าที่ของพลเมืองดี

จินดารัตน์- การต้องสูญเสียอิสระภาพ 2 ปี 1 เดือน ไม่ได้ทำให้พี่ท้อแท้เลยใช่ไหมค่ะพี่ราตรี

ราตรี - ค่ะ ไม่ค่ะ ไม่ทำเลย

จินดารัตน์- ยิ่งเป็นแรงขับให้เราต่อสู้เพื่อแผ่นดินเกิด

ราตรี- เกิดจากแรงขับของพี่น้องที่ให้กำลังใจด้วย ถ้าไม่ได้พี่น้องให้กำลังใจอาจจะท้อถอยไปแล้วก็ได้

จินดารัตน์- พี่ราตรีทราบใช่ไหมค่ะ ว่าเขาตั้งกลุ่มวีระ-ราตรี ขึ้นมา

ราตรี- ค่ะ ทราบค่ะ

จินดารัตน์- แล้วเขาก็ระดมกำลังทุกอย่างเลยนะค่ะพี่ราตรีอยากบอกอะไรเพื่อนๆ เหล่านี้บ้างไหมค่ะ

ราตรี - ค่ะ ก็ขอบคุณมากเลยค่ะ เพราะว่า เป็นกำลังใจที่สุดๆ เลย ทำให้เราปรับจิตปรับใจตัวเองและก็เข้มแข็งอยู่ได้ทุกวันนี้

จินดารัตน์- พี่วีระจะได้มีโอกาสกลับมาในเร็ววันนี้ไหมค่ะ

ราตรี- ก็หวังว่า อย่างนั้นแหละค่ะ หวังว่าอย่างนั้น

จินดารัตน์- การลดโทษ 6 เดือนนี้มีผลไหมค่ะ

ราตรี - ก็มีผลอ่ะค่ะ ทำให้โทษที่จองจำอยู่มัจนไปเข้าหลักเกณฑ์ที่จะสามารถที่จะโอนตัวเข้ามาติดคุกต่อที่เมืองไทยได้ ก็คือ 1 ใน 3 พอได้รับลดโทษ 6 เดือน ก็จะเหลือ 1 ใน 3 ที่จะขอโอนตัวเข้ามา ทั้งนี้การโอนตัวเข้ามากลับมาอยู่บ้านเราเนี่ย ก็คิดว่า น่าจะดีกว่า

จินดารัตน์- แต่สิ่งที่เรากังวลไปมากว่านั้น คือ

ราตรี- กลัวว่าเขาจะไม่ให้

จินดารัตน์- มีคนไม่อยากให้พี่วีระกลับมามากมายเหลือเกิน โดยเฉพาะบรรดานักการเมืองทั้งหลาย แอนเชื่อว่า หลายคนกำลังเฝ้าติดตาม พี่ๆ เองก็ยังคงเฝ้าติดตามเรื่องนี้ต่อ ไปแหย่ก้นกระทรวงการต่างประเทศบ่อยๆ

ราตรี- ก็ต้องช่วยๆกันหลายคนค่ะ

กมลพร - ช่วยกันหลายคนอาจทำให้มีพลังมากขึ้น

จินดารัตน์- ประกาศเสียงดังๆ ว่า มวลชนยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ พี่ราตรีได้มีโอกาสพักผ่อนช่วงระยะเวลาหนึ่งคงจะได้เริ่มไปทำงานในสิ่งที่ตัวเองอยากทำต่อ

ราตรี- ค่ะต้องเป็นอย่างนั้นค่ะ

กมลพร- เห็นบอกว่า ตอนที่ลงเครื่องมาเราก็ดูทีวีนะ พี่ราตรีบอกอยากจะไปกราบคุณพ่อคุณแม่

จินดารัตน์- เห็นว่าไปเรียบร้อยแล้วใช่ไหมค่ะ

ราตรี- ค่ะ เรียบร้อยแล้วค่ะ

กมลพร- เขาไปฉลองแล้วนะคะ

ราตรี- เมื่อวานนี้ค่ะ

กมลพร- ไปฉลองทานอาหารด้วยกันน่ารักมาก

จินดารัตน์- คือในด้านหนึ่งเราก็ดีใจนะค่ะ ที่ได้พี่กลับมา อีกด้านหนึ่งก็อย่างที่พี่บอกว่า เรายังดีใจไม่ได้ทั้งหมด เพราะยังมีอีกคนหนึ่งยังอยู่ที่นั้น แต่ถ้าฟังจากพี่แล้ว เราก็เชื่อมั่นว่า พี่วีระ ยังกำลังใจดี

ราตรี- ค่ะ ยังเข้มแข็ง

จินดารัตน์- ยังเข้มแข็งนะคะ ถ้าพูดแทนเวลาพี่วีระได้นะคะ จะพูดว่า ฉันยังไม่ตายง่ายๆ หรอก พวกแกรอฉันกลับไปก่อนแล้วกัน

ราตรี- คุณวีระเคยพูดนะคะว่า ผมไม่ยอมตายในนี้หรอก ยังไงผมก็ต้องออกไป

จินดารัตน์- ค่ะ ขอบคุณทั้ง 3 ท่านนะคะ ขอบคุณในจิตใจที่เข้มแข็ง ยืนหยัดและมั่นคงในการต่อสู้ เพื่อผลประโยชน์โดยรวมของชาติ แอนฟัง และแอนว่า คุณผู้ชมที่ฟังอยู่ทางบ้านได้เข้าถึงหัวใจเลยนะคะว่า เขาไม่โกรธนะ แต่เขาโกรธต่างหากที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของชาติ นี้เป็นจิตใจที่น่ายกย่องมากๆ แล้วก็ให้กำลังพี่ทั้ง 3 คน และก็กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาตินะคะ ได้ทำหน้าที่ต่อ เราก็จะเป็นกองหนุนนะค่ะ ทำหน้าที่ของแต่ละคนให้ดีที่สุด ขอบคุณอย่างสูงเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ ขอบคุณสำหรับการติดตามชมนะคะ วันนี้เราต้องบอกว่า ก็อิ่มเอมใจนะ เราได้ฟัง 3 คนที่เป็นตัวแทนของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่จะต่อสู้ต่อไป และเราก็จะตามกันต่อว่า เมื่อไรจะปล่อยคุณวีระออกมา ต้องเอาไม้ไปแหย่ก้นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศบ่อยๆ นะ

กมลพร- สงสัยอาจต้องไปบัวแก้วนิดหนึ่งนะ ไปบอกว่า อย่างน้อยย้ายพี่เรากลับมาที่นี้ก็ยังดี

จินดารัตน์- เพราะว่า พี่วีระเข้าเงื่อนไขแล้วไง อย่างที่พี่ราตรีบอก ถ้าทำอ่ะมันง่ายนิดเดียว

ราตรี - ค่ะ

จินดารัตน์- วันนี้ลาไปก่อนนะคะสวัสดีค่ะ

กมลพร- สวัสดีค่ะ




กำลังโหลดความคิดเห็น