แม่ทัพภาค 4 เยี่ยมทหารชายแดน 50 นาย เผย “ประยุทธ์” สั่งส่งเสียบุตรกำลังพลที่เสียชีวิตจนจบ ป.ตรี พร้อมรับผู้พิการกลับเข้าประจำการ คาดเร่งรัดสิทธิส่วนภาค 4 เสร็จสิ้นปี ยันไฟใต้ไม่แรง ขอทหารสบายใจเสียสละเพื่ออนาคต ชูเบรกขบวนการผลิตคนสู้ได้ รอเคลียร์ใจลดเกลียดชัง รอประชาชนช่วยเติมเต็มปกป้องบุคลากรการศึกษา ยันจัดระบบ รปภ.ครูแล้ว ลั่นไม่ถอนทหารแต่เอาคนพื้นที่มาเป็นแทน ยังอ้างเรือเหาะตรวจสนามรบได้ แต่มีจุดอ่อนนิรภัยการบิน ขอดูก่อนซ่อมได้คุ้มแค่ไหน
วันนี้ (17 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อเวลา 10.30 น. พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้แทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยราชการสนามจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชายแดนไทย-กัมพูชา และป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำนวน 50 นาย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และทุพพลภาพ ทั้งนี้ พล.ท.อุดมชัยกล่าวกับกำลังพลว่า ในการประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกที่ผ่านมา ผบ.ทบ.แจ้งว่า บุตรของกำลังพลที่เสียชีวิตทุกคนจะส่งเสียให้เรียนจนจบปริญญาตรี สำหรับผู้พิการหากยังมีขีดความสามารถก็จะรับกลับเข้ารับราชการใหม่ นอกจากนี้ หากปลดประจำการไปแล้วก็จะมีเงินช่วยเหลือ ในส่วนของกองทัพภาคที่ 4 ตนเร่งรัดเรื่องสิทธิกำลังพลให้กับผู้บาดเจ็บ หรือ สูญเสีย โดยดูเรื่องหลักการและหลักฐาน ซึ่งหากนอกกรอบที่กำหนดก็จะติดตามเรื่องให้ ขณะนี้ดำเนินการไปหมดแล้ว ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ ยืนยันว่าจะดูแลอย่างดีที่สุด รวมถึงบุตรและภริยา สำหรับกองทัพภาคที่ 1, 2 และ 3 อย่าน้อยใจเพราะกำลังดำเนินการอยู่เช่นกัน
“ท่านอาจจะมีปัญหาสภาวะทางกายภาพ แต่ในส่วนของจิตใจที่เข้มแข็ง จะสามารถทำให้ดำรงสถานะความเป็นคนที่ประเสริฐได้ กำลังใจเป็นเรื่องสำคัญ คนรอบข้าง และผู้บังคับบัญชาพร้อมให้กำลังใจ ถ้าท่านมีกำลังใจที่เข้มแข็ง มุมานะพยายามฝึกฝนทางกายภาพ ก็จะกลับไปทำหน้าที่ใหม่ได้ สิ่งที่พวกท่านทำมา ทาง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าจะสานงานต่อ เพื่อให้จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับไปสู่สันติสุข ขณะนี้อาจดูเหมือนว่าสถานการณ์รุนแรง แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น พวกท่านได้ทำให้ดีขึ้นตามลำดับในภาพองค์รวม แต่ภาพย่อยอาจมีการยิงครูบ้าง เพราะว่าเขาต่อต้านไม่ให้งานที่เราทำประสบความสำเร็จ แต่ขอให้สบายใจได้ว่าสิ่งที่เราเสียสละไปแล้วเกิดผลในอนาคต” พล.ท.อุดมชัยกล่าว
แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เห็นผลคือ ขบวนการไม่สามารถผลิตคนเข้าไปสู่ขบวนการปฏิวัติ และขบวนการบีอาร์เอ็นได้ เพราะเราเข้าไปในจุดที่เขาบ่มเพาะได้หมด รอเพียงการเข้าไปปรับความเข้าใจลดความเกลียดชังเรา ส่วนคนที่เดินเข้าไปแล้ว ทางรัฐบาลได้ส่งผ่านนโยบายในการเปิดทางถอย สร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อกูลในการออกจากความขัดแย้ง โดยการให้เขายุติการต่อสู้ ขณะนี้มีการออกมาแสดงตัวหลายร้อยคน ที่ติดคดีทั้งหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ ป.วิอาญา ประมาณ 115 คน ทางอัยการจะดำเนินการช่วยอยู่ ส่วนที่ดื้อดึงเราจะบังคับใช้กฎหมาย คนที่แข็งขืนก็ดำเนินการปราบปรามตามกฎหมายอย่างจริงจัง แต่ต้องยอมรับว่าในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นญาติพี่น้องกันหมด ถ้าไปยิงใคร ญาติพี่น้องก็จะเกลียดทหารโดยธรรมชาติ ตนก็จะพยายามหลีกเลี่ยง การปะทะ หรือยิงกัน
“การดำเนินการรุดหน้าไปมาก คนไม่เข้าสู่ขบวนการ มีแต่คนเดินออกมา หน่วยงานอื่นเริ่มเข้าไปพัฒนา อำนวยความยุติธรรม สร้างเรื่องสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปทั้งหมด ผมมั่นใจว่าเมื่อไม่สร้างคนมาสู้รบกับเราเพิ่ม พัฒนาเขา เปิดทางถอย ในระยะยาวสิ่งที่พวกเราเสียสละไปนั้น ย่อมเห็นผลแน่นอน รวมถึงทหารทุกส่วนที่ดูแลอธิปไตยทั้งชายแดนไทย-กัมพูชา และสู้กับขบวนการค้ายาเสพติด การเสียสละของท่านทำให้บ้านเมืองสงบสุข ผม และ พวกเราทุกคนเป็นหนี้บุญคุณพวกท่านรวมถึง ผบ.ทบ.และกำลังพลในส่วนอื่นด้วย ท่านเป็นกำลังพลในแนวหน้าที่สมควรได้รับการยกย่อง” พล.ท.อุดมชัยระบุ
พล.ท.อุดมชัยให้สัมภาษณ์ถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยครูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังจากที่มีการเปิดเรียนเป็นวันแรกว่า ถือเป็นหน้าที่และอุดมการณ์ โดยได้ระดมทุกส่วนเข้ามาดูแลครูและเป้าหมายที่อ่อนแออย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากพื้นที่กว้าง เส้นทาง และโรงเรียนที่มีหลายแห่ง เฉพาะแค่กำลังเจ้าหน้าที่อาจจะไม่ครบถ้วน แต่ถ้าประชาชนมาช่วยเติมเต็ม ช่วยกันปกป้องบุคลากรทางการศึกษา ไม่เช่นนั้นลูกหลานก็จะมีการศึกษาแย่ลง รวมถึงการพัฒนาสังคมในภาพรวม หากครูยังถูกทำร้าย สำหรับปัญหาที่ครูไม่ยอมให้ทหารมาอยู่ใกล้เพราะกลัวจะไม่เป้าของผู้ก่อความไม่สงบนั้น ขณะนี้เรามีการจัดระบบแล้ว โดยเฉพาะการดูแลครูเป็นบุคคลหรือเฉพาะกลุ่มเพื่อให้เกิดความสบายใจ อย่างไรก็ตาม คนที่จ้องทำร้ายก็ยังหาจุดอ่อนอยู่ ดังนั้นอยากให้ประชาชนมาช่วยกันถ้าอยากให้เหตุการณ์สงบ ประเทศพัฒนา
“ถ้าครูถูกยิงอีก โอกาสที่จะมีการพัฒนาก็จะน้อยลง คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต้องตกอยู่ในอำนาจมืด เผด็จการหรือพวกสุดโต่งทางความคิด หากเราไม่ช่วยกันสลัดออกให้พ้นจากคนพวกนี้ เราก็ยังถูกตราหน้า ศาสนาก็จะถูกทำลาย “แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าว
ส่วนที่ศูนย์ปฎิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) จะให้กำลังตำรวจและพลเรือนไปดูแลความปลอดภัยครูแทนทหารนั้น พล.ท.อุดมชัยกล่าวว่า ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ภัยแทรกซ้อน เป็นหน้าที่โดยตรงของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ประกอบด้วย พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทั้งนี้ทหารคงจะไม่ถอนกำลังออกจากพื้นที่เพราะเป็นกำลังจากกองทัพภาคที่ 4 จะให้ถอนไปไหน เราต้องอยู่เป็นกองหนุนให้กับส่วนราชการอื่นๆ และหากส่วนราชการมีความพร้อมที่จะเข้าไปปฎิบัติงานได้ ก็ต้องไปรับหน้าที่นั้น
เมื่อถามว่า แนวทางของนายรัฐมนตรีอยากให้ทหารถอนออกจากพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน พล.ท.อุดมชัยกล่าวว่า เช่น ใน อ.เบตง อ.กาบัง อ.ยะหา จ.ยะลา ไม่ต้องมีทหารแต่อาจจะมีอาสาสมัคร ตำรวจ โดยมีทหารคอยหนุนให้ เพราะมีเหตุการณ์น้อย และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดบอกว่ารับมือได้ เราก็ถ่ายงานให้ ส่วน อ.สุคิริน อ. แว้ง จ.นราธิวาส ประชาชนไม่เอาด้วยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถอนทหารออกไปหมด เพราะมีบทเรียนในอดีตว่าหากถอนทหารออกไปทั้งหมด การสร้างความเข้าใจ การเลิกความเกลียดชัง สร้างความมั่นคง ทำให้ความรุนแรงปะทุขึ้น ดังนั้นเราต้องอยู่และสร้าง ทหารพราน ทหารหลัก นาวิกโยธินให้อยู่ตลอดไปในพื้นที่ภาคใต้ โดยรับคนในพื้นที่มาเป็นทหารดูแลบ้านเมืองตัวเอง คงไม่ได้ถอนออกไป
พล.ท.อุดมชัยยังกล่าวถึงประสิทธิภาพของเรือเหาะตรวจการณ์ว่า สามารถตรวจสนามรบได้ แต่อาจจะมีจุดอ่อนเรื่องนิรภัยการบินเมื่อเจอสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงตกลงมา ซึ่งทางฝ่ายส่งกำลังและซ่อมบำรุงก็ต้องประเมินว่า ซ่อมได้ คุ้มค่าแค่ไหน อย่างไรก็ตาม คงตอบไม่ได้ว่าควรเลิกใช้เรือเหาะหรือไม่ แต่ดูจากสมรรถภาพถือว่ามีประโยชน์ ส่วนจะใช้ในพื้นที่ต่อไปหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนิรภัยการบินไปตรวจสภาพ ซึ่งคล้ายกับเฮลิคอปเตอร์ หากตกและซ่อมมาแล้วบินไม่ได้เหมือนเดิม ก็คงไม่กล้าใช้ ส่วนการรายงานสาเหตุที่เรือเหาะตกนั้นคงต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
วันนี้ (17 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อเวลา 10.30 น. พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้แทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยราชการสนามจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชายแดนไทย-กัมพูชา และป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำนวน 50 นาย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และทุพพลภาพ ทั้งนี้ พล.ท.อุดมชัยกล่าวกับกำลังพลว่า ในการประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกที่ผ่านมา ผบ.ทบ.แจ้งว่า บุตรของกำลังพลที่เสียชีวิตทุกคนจะส่งเสียให้เรียนจนจบปริญญาตรี สำหรับผู้พิการหากยังมีขีดความสามารถก็จะรับกลับเข้ารับราชการใหม่ นอกจากนี้ หากปลดประจำการไปแล้วก็จะมีเงินช่วยเหลือ ในส่วนของกองทัพภาคที่ 4 ตนเร่งรัดเรื่องสิทธิกำลังพลให้กับผู้บาดเจ็บ หรือ สูญเสีย โดยดูเรื่องหลักการและหลักฐาน ซึ่งหากนอกกรอบที่กำหนดก็จะติดตามเรื่องให้ ขณะนี้ดำเนินการไปหมดแล้ว ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ ยืนยันว่าจะดูแลอย่างดีที่สุด รวมถึงบุตรและภริยา สำหรับกองทัพภาคที่ 1, 2 และ 3 อย่าน้อยใจเพราะกำลังดำเนินการอยู่เช่นกัน
“ท่านอาจจะมีปัญหาสภาวะทางกายภาพ แต่ในส่วนของจิตใจที่เข้มแข็ง จะสามารถทำให้ดำรงสถานะความเป็นคนที่ประเสริฐได้ กำลังใจเป็นเรื่องสำคัญ คนรอบข้าง และผู้บังคับบัญชาพร้อมให้กำลังใจ ถ้าท่านมีกำลังใจที่เข้มแข็ง มุมานะพยายามฝึกฝนทางกายภาพ ก็จะกลับไปทำหน้าที่ใหม่ได้ สิ่งที่พวกท่านทำมา ทาง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าจะสานงานต่อ เพื่อให้จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับไปสู่สันติสุข ขณะนี้อาจดูเหมือนว่าสถานการณ์รุนแรง แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น พวกท่านได้ทำให้ดีขึ้นตามลำดับในภาพองค์รวม แต่ภาพย่อยอาจมีการยิงครูบ้าง เพราะว่าเขาต่อต้านไม่ให้งานที่เราทำประสบความสำเร็จ แต่ขอให้สบายใจได้ว่าสิ่งที่เราเสียสละไปแล้วเกิดผลในอนาคต” พล.ท.อุดมชัยกล่าว
แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เห็นผลคือ ขบวนการไม่สามารถผลิตคนเข้าไปสู่ขบวนการปฏิวัติ และขบวนการบีอาร์เอ็นได้ เพราะเราเข้าไปในจุดที่เขาบ่มเพาะได้หมด รอเพียงการเข้าไปปรับความเข้าใจลดความเกลียดชังเรา ส่วนคนที่เดินเข้าไปแล้ว ทางรัฐบาลได้ส่งผ่านนโยบายในการเปิดทางถอย สร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อกูลในการออกจากความขัดแย้ง โดยการให้เขายุติการต่อสู้ ขณะนี้มีการออกมาแสดงตัวหลายร้อยคน ที่ติดคดีทั้งหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ ป.วิอาญา ประมาณ 115 คน ทางอัยการจะดำเนินการช่วยอยู่ ส่วนที่ดื้อดึงเราจะบังคับใช้กฎหมาย คนที่แข็งขืนก็ดำเนินการปราบปรามตามกฎหมายอย่างจริงจัง แต่ต้องยอมรับว่าในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นญาติพี่น้องกันหมด ถ้าไปยิงใคร ญาติพี่น้องก็จะเกลียดทหารโดยธรรมชาติ ตนก็จะพยายามหลีกเลี่ยง การปะทะ หรือยิงกัน
“การดำเนินการรุดหน้าไปมาก คนไม่เข้าสู่ขบวนการ มีแต่คนเดินออกมา หน่วยงานอื่นเริ่มเข้าไปพัฒนา อำนวยความยุติธรรม สร้างเรื่องสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปทั้งหมด ผมมั่นใจว่าเมื่อไม่สร้างคนมาสู้รบกับเราเพิ่ม พัฒนาเขา เปิดทางถอย ในระยะยาวสิ่งที่พวกเราเสียสละไปนั้น ย่อมเห็นผลแน่นอน รวมถึงทหารทุกส่วนที่ดูแลอธิปไตยทั้งชายแดนไทย-กัมพูชา และสู้กับขบวนการค้ายาเสพติด การเสียสละของท่านทำให้บ้านเมืองสงบสุข ผม และ พวกเราทุกคนเป็นหนี้บุญคุณพวกท่านรวมถึง ผบ.ทบ.และกำลังพลในส่วนอื่นด้วย ท่านเป็นกำลังพลในแนวหน้าที่สมควรได้รับการยกย่อง” พล.ท.อุดมชัยระบุ
พล.ท.อุดมชัยให้สัมภาษณ์ถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยครูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังจากที่มีการเปิดเรียนเป็นวันแรกว่า ถือเป็นหน้าที่และอุดมการณ์ โดยได้ระดมทุกส่วนเข้ามาดูแลครูและเป้าหมายที่อ่อนแออย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากพื้นที่กว้าง เส้นทาง และโรงเรียนที่มีหลายแห่ง เฉพาะแค่กำลังเจ้าหน้าที่อาจจะไม่ครบถ้วน แต่ถ้าประชาชนมาช่วยเติมเต็ม ช่วยกันปกป้องบุคลากรทางการศึกษา ไม่เช่นนั้นลูกหลานก็จะมีการศึกษาแย่ลง รวมถึงการพัฒนาสังคมในภาพรวม หากครูยังถูกทำร้าย สำหรับปัญหาที่ครูไม่ยอมให้ทหารมาอยู่ใกล้เพราะกลัวจะไม่เป้าของผู้ก่อความไม่สงบนั้น ขณะนี้เรามีการจัดระบบแล้ว โดยเฉพาะการดูแลครูเป็นบุคคลหรือเฉพาะกลุ่มเพื่อให้เกิดความสบายใจ อย่างไรก็ตาม คนที่จ้องทำร้ายก็ยังหาจุดอ่อนอยู่ ดังนั้นอยากให้ประชาชนมาช่วยกันถ้าอยากให้เหตุการณ์สงบ ประเทศพัฒนา
“ถ้าครูถูกยิงอีก โอกาสที่จะมีการพัฒนาก็จะน้อยลง คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต้องตกอยู่ในอำนาจมืด เผด็จการหรือพวกสุดโต่งทางความคิด หากเราไม่ช่วยกันสลัดออกให้พ้นจากคนพวกนี้ เราก็ยังถูกตราหน้า ศาสนาก็จะถูกทำลาย “แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าว
ส่วนที่ศูนย์ปฎิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) จะให้กำลังตำรวจและพลเรือนไปดูแลความปลอดภัยครูแทนทหารนั้น พล.ท.อุดมชัยกล่าวว่า ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ภัยแทรกซ้อน เป็นหน้าที่โดยตรงของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ประกอบด้วย พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทั้งนี้ทหารคงจะไม่ถอนกำลังออกจากพื้นที่เพราะเป็นกำลังจากกองทัพภาคที่ 4 จะให้ถอนไปไหน เราต้องอยู่เป็นกองหนุนให้กับส่วนราชการอื่นๆ และหากส่วนราชการมีความพร้อมที่จะเข้าไปปฎิบัติงานได้ ก็ต้องไปรับหน้าที่นั้น
เมื่อถามว่า แนวทางของนายรัฐมนตรีอยากให้ทหารถอนออกจากพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน พล.ท.อุดมชัยกล่าวว่า เช่น ใน อ.เบตง อ.กาบัง อ.ยะหา จ.ยะลา ไม่ต้องมีทหารแต่อาจจะมีอาสาสมัคร ตำรวจ โดยมีทหารคอยหนุนให้ เพราะมีเหตุการณ์น้อย และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดบอกว่ารับมือได้ เราก็ถ่ายงานให้ ส่วน อ.สุคิริน อ. แว้ง จ.นราธิวาส ประชาชนไม่เอาด้วยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถอนทหารออกไปหมด เพราะมีบทเรียนในอดีตว่าหากถอนทหารออกไปทั้งหมด การสร้างความเข้าใจ การเลิกความเกลียดชัง สร้างความมั่นคง ทำให้ความรุนแรงปะทุขึ้น ดังนั้นเราต้องอยู่และสร้าง ทหารพราน ทหารหลัก นาวิกโยธินให้อยู่ตลอดไปในพื้นที่ภาคใต้ โดยรับคนในพื้นที่มาเป็นทหารดูแลบ้านเมืองตัวเอง คงไม่ได้ถอนออกไป
พล.ท.อุดมชัยยังกล่าวถึงประสิทธิภาพของเรือเหาะตรวจการณ์ว่า สามารถตรวจสนามรบได้ แต่อาจจะมีจุดอ่อนเรื่องนิรภัยการบินเมื่อเจอสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงตกลงมา ซึ่งทางฝ่ายส่งกำลังและซ่อมบำรุงก็ต้องประเมินว่า ซ่อมได้ คุ้มค่าแค่ไหน อย่างไรก็ตาม คงตอบไม่ได้ว่าควรเลิกใช้เรือเหาะหรือไม่ แต่ดูจากสมรรถภาพถือว่ามีประโยชน์ ส่วนจะใช้ในพื้นที่ต่อไปหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนิรภัยการบินไปตรวจสภาพ ซึ่งคล้ายกับเฮลิคอปเตอร์ หากตกและซ่อมมาแล้วบินไม่ได้เหมือนเดิม ก็คงไม่กล้าใช้ ส่วนการรายงานสาเหตุที่เรือเหาะตกนั้นคงต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ