รายงานการเมือง
โดย แสงตะวัน
หากไม่มีอะไรคลาดเคลื่อน สายๆ วันนี้ (14 สิงหาคม 2555) จะรู้ผลการลงคะแนนลับเลือก “ประธานวุฒิสภา” คนใหม่
วุฒิสภาจะเริ่มประชุมกันตั้งแต่ช่วงเช้า 09.30 น.คาดกันว่า กระบวนการต่างๆ ทั้งการเสนอชื่อ-การแสดงวิสัยทัศน์ (หากมี) -การลงคะแนนเสียงและการนับคะแนน ทั้งหมดไม่น่าจะใช้เวลาเกิน 2-3 ชั่วโมง จากนั้นก็ได้รู้ว่า ประธานวุฒิสภาคนใหม่ จะเป็นใคร?
การชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภาเสร็จสิ้นลงในวันนี้ รอยร้าว-ปัญหาความแตกแยกกันเองของส.ว.ก็คงไม่จางหายไปเลยในทันที โดยเฉพาะกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้งทั้งหลาย ที่รอบนี้ ขัดกันเองอย่างหนัก นัยว่า มีการพลิ้วข้อตกลงอะไรกันบางอย่าง ระหว่าง นิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทราและรองประธานวุฒิสภา กับพวก ส.ว.เลือกตั้งด้วยกันเอง
เนื่องจากนิคมประกาศชัดแล้วว่า 14 สิงหาคม วันเลือกประธานวุฒิสภาจะไม่ลาออกจากตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คือจะถ่างคาหนีบเก้าอี้รองประธานวุฒิสภากันเหนียวไว้ก่อน
เพราะหากนิคมไม่ทำเช่นนี้ มุทะลุลาออกไปแล้วลงชิงประธานวุฒิสภา เกิดแพ้มา เท่ากับวืดสองเด้ง คือวืดทั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา
ประเด็นแทงกั๊กกันเหนียวไว้ก่อนเลยทำให้พวก ส.ว.เลือกตั้งสายเดียวกัน คือ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี ที่เดิมทีจะยอมหลีกทางให้ไม่ลงชิงประธานวุฒิสภาแข่งกับนิคม เพื่อไม่ให้ ส.ว.เลือกตั้งเสียงแตกกันเอง
จะได้ให้นิคมไปแข่งกับ พิเชต สุนทรพิพิธ ที่พวก ส.ว.สรรหาสนับสนุนกันให้เต็มที่ จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยระหว่าง ส.ว.เลือกตั้ง และ ส.ว.สรรหา
ซึ่งทางด้านเกชาหวังลึกๆ ว่า หากนิคมลาออกจากรองประธานวุฒิสภาไปแล้ว หากไม่ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภาขึ้นมา ตัวเองก็จะได้ลงชิงรองประธานวุฒิสภาแทนเก้าอี้ของนิคม
แต่เมื่อนิคมไม่ยอมลาออกแบบนี้ เล่นหวังได้อย่างเดียว เกชาเพื่อนรักก็เลยประกาศขอแตกหักกับนิคม จะลงสมัครชิงประธานวุฒิสภาด้วย เลยทำให้ช่วงวันหยุดยาวสามวันที่ผ่านมา ข่าวว่ามีการล็อบบี้ต่อสายกันวุ่นวายในกลุ่ม ส.ว.เพื่อขอคะแนนเสียงและหยั่งสถานการณ์กันในช่วงโค้งสุดท้าย
ทั้งที่จะว่าไปแล้ว เครดิตและบารมีของเกชา เป็นรองนิคมอย่างมาก แต่เจ้าตัวกลับชื่อว่า หากตัวเองลงแล้วย่อมมีสิทธิเบียดเข้าป้ายได้แบบมีลุ้น
เหตุผลที่ เกชาเชื่อเช่นนั้น เจ้าตัววิเคราะห์การลงคะแนนเสียงผ่านสื่อไว้อย่างน่าสนใจว่า ในรอบแรกของการลงคะแนน คาดว่านายพิเชต สุนทรพิพิธ จะได้รับคะแนนแยก เป็นฐานเสียงเดิมจาก ส.ว.ฝ่ายสรรหากว่า 50 เสียง และจาก ส.ว.ภาคใต้ 10 เสียง รวมเป็นประมาณกว่า 60 เสียง ส่วนตัวเองคือนายเกชาและนายนิคมน่าจะได้ไล่เลี่ยกันระหว่างช่วง 40 เสียง
ถ้าหากผลคะแนนออกมาตามที่คาดหมาย จะต้องมีการลงคะแนนใหม่ในรอบ 2 เพราะกฎหมายกำหนดว่า หากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดได้คะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม หรือ 73 เสียง จะต้องนำบุคคลที่ได้คะแนนสูงสุดในลำดับที่ 1 และ 2 มาลงคะแนนใหม่อีกครั้ง
ส.ว.ราชบุรี ที่หักดิบชนกับนิคมบอกว่า หากตัวเองผ่านรอบแรกมาได้ คือได้คะแนนมากกว่านิคม ก็จะไปเข้าชิงรอบสุดท้ายกับพิเชต ที่รอบแรกน่าจะลอยลำเข้าสู่รอบ 2 ได้สบายๆ
แต่เกมจะมาพลิกเอาในรอบที่ 2 เพราะคะแนนของพิเชตจะมีเพียงแค่ 60 กว่าคะแนน ขณะเดียวกันหากนายนิคมแพ้ในรอบที่ 1 คนที่ลงคะแนนเสียงให้กับนายนิคมย่อมกลับมาลงให้เกชา คือมาเบิ้ลคะแนนของนิคมกลับคืนมาให้เกชา ดังนั้น ก็น่าจะมีสิทธิ์ลุ้นเป็นประธานวุฒิสภาเช่นกัน หากได้ประมาณกว่า 80 เสียง
ถือเป็นการวิเคราะห์ที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้ระดับหนึ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่า นิคมก็ไม่ธรรมดา แถมมีข่าวหลายสายในวงการการเมืองไม่ใช่แค่ในสภาสูงด้วยกันก็หนุนหลังนิคมเต็มที่และพยายามช่วยหาเสียงให้
ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่เกชา จะมีคะแนนเหนือนิคมในรอบแรก แล้วไปพลิกชนะในรอบที่สอง
เว้นแต่ ส.ว.เลือกตั้งจำนวนมากจะเห็นด้วยกับการที่เกชา เปลี่ยนใจลงสมัครชิงประธานวุฒิสภาทั้งที่ก่อนหน้านี้ตัวเกชาและนายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ ที่ก็มีข่าวจะลงสมัครด้วยเช่นกัน แต่สุดท้ายทั้งเกชาและชูชัยก็ประกาศถอนตัวเมื่อ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เพราะหวังว่านิคมจะลาออกจากรองประธานวุฒิสภาก่อนจะไปชิงประธานวุฒิสภา แต่เมื่อทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่ตกลงกัน เกชาจึงประกาศชนกับนิคม
สิ่งที่เกิดขึ้นเชื่อว่า ส.ว.เลือกตั้งหลายคนก็คงไม่ชอบใจการกระทำของนิคมแน่นอน และอาจเป็นไปได้ที่อาจเปลี่ยนใจจากเดิมจะหนุนนิคมก็หันหลังไปหนุนเกชาแทนก็ได้
เนื่องจากเหตุผลที่ นิคมบอกว่าที่ไม่ยอมลาออกเพื่อไปสู้กับพิเชตแบบเต็มตัว เพราะการลาออก หรือไม่ลาออก ไม่ส่งผลต่อการได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ เพราะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจให้คุณให้โทษ เพราะ ส.ว.มีหนึ่งเสียงเท่ากัน อีกทั้งไม่เคยมีประเพณีว่าต้องลาออกก่อน การที่บางคนอยากให้ลาออกเพื่อความสง่างามนั้น ก็ไม่ใช่ แต่ต้องการเปิดตำแหน่งให้ว่างเพราะมีคนประสงค์ เมื่อดูจากปัจจัยต่างๆแล้วมันมีกลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้องลึกๆถ้าลาออกก็จะเข้าทางเขา
แหม นิคม เล่นร่ายยาวชักแม่น้ำทั้งห้ามาสร้างน้ำหนักการกอดเก้าอี้เอาไว้แบบนี้ ฟังผ่านๆหรือไม่รู้กลเกมสภาสูงที่แท้จริง อาจเคลิ้ม จะพลอยเห็นด้วยกับนิคม แต่ต่อให้นิคมอ้างเหตุผลอย่างไร หลายคนก็บอกฟังไม่ขึ้น เพราะมันเห็นชัดว่า นิคม เล่นการเมืองแบบ หวังได้ ไม่ยอมเสีย นั่นเอง
ยิ่งที่บอกว่า ไม่มีประเพณีว่าต้องลาออกก่อน แล้วจะลาออกทำไม ก็เป็นการคิดแบบ คิดเก่า ทำเก่า คือ คิดจะขึ้นมาเป็นประธานสภาสูงทั้งที่ แต่ไม่คิดจะสร้างบรรทัดฐานใหม่ทางการเมืองให้สภาสูงได้เห็นแบบอย่างที่ดี นำไปพูดถึงในอนาคต และมีคนปฏิบัติตาม แต่กลับคิดและทำแบบที่ว่าเอาให้ตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด แค่นั่นเอง
เลยต้องมาดูกันว่า ผลเลือกประธานวุฒิสภาวันอังคารนี้จะออกมาอย่างไร ประธานวุฒิสภาจะเป็นใคร ใช่ พิเชต สุนทรพิพิธหรือไม่ หรือจะเป็นจากค่าย ส.ว.เลือกตั้ง หรือจะมีอะไรพลิกผันกันอีกหรือไม่ในช่วงการเสนอชื่อชิงประธานวุฒิสภา เพราะการหารือตลอดช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่ลงตัว ต้องรอดูกันในวันที่ 14 สิงหาคม
ที่แน่ๆ เสร็จงานนี้ ส.ว.ยังคงแตกกันเละ เพราะแย่งกันเป็นใหญ่
โดย แสงตะวัน
หากไม่มีอะไรคลาดเคลื่อน สายๆ วันนี้ (14 สิงหาคม 2555) จะรู้ผลการลงคะแนนลับเลือก “ประธานวุฒิสภา” คนใหม่
วุฒิสภาจะเริ่มประชุมกันตั้งแต่ช่วงเช้า 09.30 น.คาดกันว่า กระบวนการต่างๆ ทั้งการเสนอชื่อ-การแสดงวิสัยทัศน์ (หากมี) -การลงคะแนนเสียงและการนับคะแนน ทั้งหมดไม่น่าจะใช้เวลาเกิน 2-3 ชั่วโมง จากนั้นก็ได้รู้ว่า ประธานวุฒิสภาคนใหม่ จะเป็นใคร?
การชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภาเสร็จสิ้นลงในวันนี้ รอยร้าว-ปัญหาความแตกแยกกันเองของส.ว.ก็คงไม่จางหายไปเลยในทันที โดยเฉพาะกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้งทั้งหลาย ที่รอบนี้ ขัดกันเองอย่างหนัก นัยว่า มีการพลิ้วข้อตกลงอะไรกันบางอย่าง ระหว่าง นิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทราและรองประธานวุฒิสภา กับพวก ส.ว.เลือกตั้งด้วยกันเอง
เนื่องจากนิคมประกาศชัดแล้วว่า 14 สิงหาคม วันเลือกประธานวุฒิสภาจะไม่ลาออกจากตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คือจะถ่างคาหนีบเก้าอี้รองประธานวุฒิสภากันเหนียวไว้ก่อน
เพราะหากนิคมไม่ทำเช่นนี้ มุทะลุลาออกไปแล้วลงชิงประธานวุฒิสภา เกิดแพ้มา เท่ากับวืดสองเด้ง คือวืดทั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา
ประเด็นแทงกั๊กกันเหนียวไว้ก่อนเลยทำให้พวก ส.ว.เลือกตั้งสายเดียวกัน คือ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี ที่เดิมทีจะยอมหลีกทางให้ไม่ลงชิงประธานวุฒิสภาแข่งกับนิคม เพื่อไม่ให้ ส.ว.เลือกตั้งเสียงแตกกันเอง
จะได้ให้นิคมไปแข่งกับ พิเชต สุนทรพิพิธ ที่พวก ส.ว.สรรหาสนับสนุนกันให้เต็มที่ จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยระหว่าง ส.ว.เลือกตั้ง และ ส.ว.สรรหา
ซึ่งทางด้านเกชาหวังลึกๆ ว่า หากนิคมลาออกจากรองประธานวุฒิสภาไปแล้ว หากไม่ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภาขึ้นมา ตัวเองก็จะได้ลงชิงรองประธานวุฒิสภาแทนเก้าอี้ของนิคม
แต่เมื่อนิคมไม่ยอมลาออกแบบนี้ เล่นหวังได้อย่างเดียว เกชาเพื่อนรักก็เลยประกาศขอแตกหักกับนิคม จะลงสมัครชิงประธานวุฒิสภาด้วย เลยทำให้ช่วงวันหยุดยาวสามวันที่ผ่านมา ข่าวว่ามีการล็อบบี้ต่อสายกันวุ่นวายในกลุ่ม ส.ว.เพื่อขอคะแนนเสียงและหยั่งสถานการณ์กันในช่วงโค้งสุดท้าย
ทั้งที่จะว่าไปแล้ว เครดิตและบารมีของเกชา เป็นรองนิคมอย่างมาก แต่เจ้าตัวกลับชื่อว่า หากตัวเองลงแล้วย่อมมีสิทธิเบียดเข้าป้ายได้แบบมีลุ้น
เหตุผลที่ เกชาเชื่อเช่นนั้น เจ้าตัววิเคราะห์การลงคะแนนเสียงผ่านสื่อไว้อย่างน่าสนใจว่า ในรอบแรกของการลงคะแนน คาดว่านายพิเชต สุนทรพิพิธ จะได้รับคะแนนแยก เป็นฐานเสียงเดิมจาก ส.ว.ฝ่ายสรรหากว่า 50 เสียง และจาก ส.ว.ภาคใต้ 10 เสียง รวมเป็นประมาณกว่า 60 เสียง ส่วนตัวเองคือนายเกชาและนายนิคมน่าจะได้ไล่เลี่ยกันระหว่างช่วง 40 เสียง
ถ้าหากผลคะแนนออกมาตามที่คาดหมาย จะต้องมีการลงคะแนนใหม่ในรอบ 2 เพราะกฎหมายกำหนดว่า หากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดได้คะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม หรือ 73 เสียง จะต้องนำบุคคลที่ได้คะแนนสูงสุดในลำดับที่ 1 และ 2 มาลงคะแนนใหม่อีกครั้ง
ส.ว.ราชบุรี ที่หักดิบชนกับนิคมบอกว่า หากตัวเองผ่านรอบแรกมาได้ คือได้คะแนนมากกว่านิคม ก็จะไปเข้าชิงรอบสุดท้ายกับพิเชต ที่รอบแรกน่าจะลอยลำเข้าสู่รอบ 2 ได้สบายๆ
แต่เกมจะมาพลิกเอาในรอบที่ 2 เพราะคะแนนของพิเชตจะมีเพียงแค่ 60 กว่าคะแนน ขณะเดียวกันหากนายนิคมแพ้ในรอบที่ 1 คนที่ลงคะแนนเสียงให้กับนายนิคมย่อมกลับมาลงให้เกชา คือมาเบิ้ลคะแนนของนิคมกลับคืนมาให้เกชา ดังนั้น ก็น่าจะมีสิทธิ์ลุ้นเป็นประธานวุฒิสภาเช่นกัน หากได้ประมาณกว่า 80 เสียง
ถือเป็นการวิเคราะห์ที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้ระดับหนึ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่า นิคมก็ไม่ธรรมดา แถมมีข่าวหลายสายในวงการการเมืองไม่ใช่แค่ในสภาสูงด้วยกันก็หนุนหลังนิคมเต็มที่และพยายามช่วยหาเสียงให้
ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่เกชา จะมีคะแนนเหนือนิคมในรอบแรก แล้วไปพลิกชนะในรอบที่สอง
เว้นแต่ ส.ว.เลือกตั้งจำนวนมากจะเห็นด้วยกับการที่เกชา เปลี่ยนใจลงสมัครชิงประธานวุฒิสภาทั้งที่ก่อนหน้านี้ตัวเกชาและนายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ ที่ก็มีข่าวจะลงสมัครด้วยเช่นกัน แต่สุดท้ายทั้งเกชาและชูชัยก็ประกาศถอนตัวเมื่อ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เพราะหวังว่านิคมจะลาออกจากรองประธานวุฒิสภาก่อนจะไปชิงประธานวุฒิสภา แต่เมื่อทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่ตกลงกัน เกชาจึงประกาศชนกับนิคม
สิ่งที่เกิดขึ้นเชื่อว่า ส.ว.เลือกตั้งหลายคนก็คงไม่ชอบใจการกระทำของนิคมแน่นอน และอาจเป็นไปได้ที่อาจเปลี่ยนใจจากเดิมจะหนุนนิคมก็หันหลังไปหนุนเกชาแทนก็ได้
เนื่องจากเหตุผลที่ นิคมบอกว่าที่ไม่ยอมลาออกเพื่อไปสู้กับพิเชตแบบเต็มตัว เพราะการลาออก หรือไม่ลาออก ไม่ส่งผลต่อการได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ เพราะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจให้คุณให้โทษ เพราะ ส.ว.มีหนึ่งเสียงเท่ากัน อีกทั้งไม่เคยมีประเพณีว่าต้องลาออกก่อน การที่บางคนอยากให้ลาออกเพื่อความสง่างามนั้น ก็ไม่ใช่ แต่ต้องการเปิดตำแหน่งให้ว่างเพราะมีคนประสงค์ เมื่อดูจากปัจจัยต่างๆแล้วมันมีกลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้องลึกๆถ้าลาออกก็จะเข้าทางเขา
แหม นิคม เล่นร่ายยาวชักแม่น้ำทั้งห้ามาสร้างน้ำหนักการกอดเก้าอี้เอาไว้แบบนี้ ฟังผ่านๆหรือไม่รู้กลเกมสภาสูงที่แท้จริง อาจเคลิ้ม จะพลอยเห็นด้วยกับนิคม แต่ต่อให้นิคมอ้างเหตุผลอย่างไร หลายคนก็บอกฟังไม่ขึ้น เพราะมันเห็นชัดว่า นิคม เล่นการเมืองแบบ หวังได้ ไม่ยอมเสีย นั่นเอง
ยิ่งที่บอกว่า ไม่มีประเพณีว่าต้องลาออกก่อน แล้วจะลาออกทำไม ก็เป็นการคิดแบบ คิดเก่า ทำเก่า คือ คิดจะขึ้นมาเป็นประธานสภาสูงทั้งที่ แต่ไม่คิดจะสร้างบรรทัดฐานใหม่ทางการเมืองให้สภาสูงได้เห็นแบบอย่างที่ดี นำไปพูดถึงในอนาคต และมีคนปฏิบัติตาม แต่กลับคิดและทำแบบที่ว่าเอาให้ตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด แค่นั่นเอง
เลยต้องมาดูกันว่า ผลเลือกประธานวุฒิสภาวันอังคารนี้จะออกมาอย่างไร ประธานวุฒิสภาจะเป็นใคร ใช่ พิเชต สุนทรพิพิธหรือไม่ หรือจะเป็นจากค่าย ส.ว.เลือกตั้ง หรือจะมีอะไรพลิกผันกันอีกหรือไม่ในช่วงการเสนอชื่อชิงประธานวุฒิสภา เพราะการหารือตลอดช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่ลงตัว ต้องรอดูกันในวันที่ 14 สิงหาคม
ที่แน่ๆ เสร็จงานนี้ ส.ว.ยังคงแตกกันเละ เพราะแย่งกันเป็นใหญ่