เลขาฯ กกต.แจงโยกย้ายรองเลขาฯ ยันไม่ได้มีอคติ อ้างหวังสร้างนักบริหารมืออาชีพ ปัดเด้ง “บุณยเกียรติ” เหตุผิดพลาดจากการตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ว. ระบุเพื่อให้โปร่งใสสอบสวน พร้อมให้มาช่วยงานด้านวิชาการยกร่างระเบียบเลือกตั้ง ส.ส.ร. ทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ยันดูความเหมาะสมมากกว่าอาวุโส
วันนี้ (3 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวชี้แจงกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานตำแหน่งบริหารระดับสูงของสำนักงานกกต. ว่า กกต.มีมติเมื่อวันที่ 1 และวันที่ 3 พ.ค. ให้นายสมชาติ เจศรีชัย รองเลขาธิการ กกต.ด้านบริหารกลาง นายภูมิพิทักษ์ กองแก้ว รองเลขาธิการกกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย ไปดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ นายสมผุส กาญจโนมัย ผู้อำนวยการสำนักการประชุม ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านบริหารกลาง พ.ต.อ.วรกร ทิมาตฤกะ ผู้ตรวจการ ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย นายสุเทพ พรหมวาศ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และเผยแพร่ ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านกิจการการมีส่วนร่วม นายกฤช เอื้อวงศ์ ผอ.สำนักพัฒนาบุคคลากร ไปดำรงตำแหน่งผอ.สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง นายอิสระ เสียงเพราะดี ผอ.สำนักเลขานุการกกต. ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจการ นายเดชา วงษ์มาก ผอ.สำนักการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการ นายนพรัตน ชูไสว ผอ.กต.จว.ชัยภูมิ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักการคลัง โดยให้มีผลในวันที่ 8 พ.ค.นี้ นอกจากนี้ ให้สมศักดิ์ สุริยมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิ ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ นายประจักษ์ อินทะกนก ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเลือกตั้ง ไปดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และ พ.ต.อ.พันธ์ระวี วีระพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเลือกตั้ง โดยให้มีผลในวันที่ 10 พ.ค.นี้
ทั้งนี้ ในส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ตำแหน่งต่างๆ นั้น นายสมชาติเป็นรองเลขาธิการมา 2 ด้านกิจการรวม 6 ปี ทั้งที่ตามนโยบายของ กกต.ที่วางไว้หากดำรงตำแหน่งครบ 4 ปีแล้วจะต้องมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งตำแหน่งผู้ตรวจการเทียบเท่ากับรองเลขาฯ อยู่แล้ว โดยนายสมผุสก็เคยเป็นนายอำเภอ และเป็นผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงมหาดไทยมาก่อน มาอยู่ กกต.ถึง 6 ปีแล้ว ทำงานด้านการประชุมมานานรู้งานการบริหารเป็นอย่างดี จึงมีความเหมาะสม ขณะที่นายภูมิพิทักษ์ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ทำให้ไม่มีเวลาปฏิบัติงาน สำหรับนายสุเทพ นั้นเป็นพนักงาน กกต.มาตั้งแต่ปี 43 ดำรงตำแหน่งระดับรองสำนักฯ แม้จะเคยออกไปอยู่สำนักงาน ป.ป.ช. แต่เมื่อกลับมาก็เข้ามาดำรงตำแหน่งในระดับเดิม อีกทั้งเป็นคนที่ดูในเรื่องการณรงค์ให้ความรู้แก่เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการเลือกตั้ง ส่วนนายกฤช ที่มีการระบุว่าในขึ้นชั้นระดับรองเลขาธิการ กกต. ก็ไม่ใช่เพราะตำแหน่ง ผอ.สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งไม่ได้เทียบเท่ากับรองเลขาฯ แต่เทียบเท่าสำนักฯ เพียงแต่สถาบันใหญ่ขึ้นเท่านั้น
ส่วนนายสมศักดิ์ที่จะมาเป็นรองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้ง ทาง กกต.ก็เห็นว่าเคยเป็นนายอำเภอและเป็นรองเลขาธิการด้านกิจการพรรคการเมืองที่เป็นตำแหน่งบริหารมาก่อนอยู่แล้วก็จะสลับกับ บุณยเกียรติที่จะไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายบุณยเกียรติ เป็นคนที่ทำงานดีมาก เหนื่อยกับงานบริหารงานเลือกตั้งมานาน กกต.ก็เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก ถึงจะย้ายไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ขณะนี้ กกต.จะต้องออกระเบียบเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร. รวมทั้งกำลังจะรับโอนงานการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และบัญชีผู้เสียสิทธิเลือกตั้ง มาจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ก็จะมีการมอบงานนี้ให้นายบุณยเกียรติดูแล อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับการโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ทั้งหมดจะยังคงรักษาการในตำแหน่งเดิมคือตำแหน่ง ผอ.สำนักไปก่อน จนกว่าการสอบเลื่อนชั้นผู้บริหารที่จะขึ้นระดับผอ.สำนักทั้ง 24 สำนักในเดือน มิ.ย.แล้วเสร็จและมีคำสั่งแต่งตั้งในเดือน ก.ค.
“การแต่งตั้งโยกย้ายทั้งหมดยืนยัน กกต.ไม่ได้กระทำโดยมีอคติกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เนื่องจากทางสำนักงานฯไม่ได้มีการปรับย้ายระดับรองเลขามา 2 ปี และผมเพิ่งจะเข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการ กกต.ก็เห็นว่าควรจะมีการถ่ายเทผู้บริหารเพื่อสร้างนักบริหารมือ ซึ่งเชื่อว่าผู้บริหารระดับสูงของ กกต.ทุกท่านาสามารถทำงานได้ในทุกด้านไม่ว่าจะถูกย้ายไปทำงานในด้านใด” นายภุชงค์กล่าว
เมื่อถามว่าการย้ายนายบุณยเกียรติ เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดในการตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ว.สรรหาใช่หรือไม่ เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า กรณีการตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ว.สรรหา ผลการสอบข้อเท็จจริงออกมาว่ามีข้อบกพร่อง โดย กกต.ได้มอบให้สำนักงานไปดำเนินการ ซึ่งตนกำลังจะมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่าข้อบกพร่องดังกล่าวมันอยู่ตรงไหนอย่างไร ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ แต่เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการสอบสวน และอยากให้นายบุณยเกียรติมาทำงานในด้านวิชาการให้มากขึ้น โดยนายบุณยเกียรติ ยังเหลืออายุราชการอีกนาน เพราะเกิดในปี 2499
เมื่อถามต่อว่าผลการสอบข้อเท็จจริงที่ระบุว่ามีข้อบกพร่อง เป็นการบกพร่องในชั้นการตรวจสอบ หรือบกพร่องไม่นำเสนอให้คณะกรรมการสรรหา ส.ว. และถ้าผลสอบจะโยงไปถึงนายสุทธิพล ทวีชัยการ อดีตเลขาธิการ กกต.จะสามารถเอาผิดได้หรือไม่ นายภุชงค์กล่าวว่า ต้องดูว่าจะโยงไปได้มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งความบกพร่องนั้นก็ต้องดูอีกทีว่าเป็นการบกพร่องในชั้นไหน ซึ่งสำนวนการสอบข้อเท็จจริงมีรายละเอียดมาก อย่างไรก็ตาม คิดว่าการย้ายนายบุณยเกียรติไม่ผลกระทบกับการที่ กกต.กำลังจะต้องจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร.อาจจะมีความขลุกขลักบ้าง แต่ก็ได้นำข้อบกพร่องในการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 มาปรับปรุงการทำงานของสำนักงานแล้ว อีกทั้งเวลานี้ กกต.มองข้ามช็อตไปถึงการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า กรณีการย้ายนายสุเทพ และนายกฤช ถูกมองว่าข้ามอาวุโสไปหลายคน นายภุชงค์กล่าวว่า ถ้าเป็นระบบราชการ จะนับในเรื่องของอาวุโส การเข้ารับราชการ การเข้าสู่ตำแหน่ง เป็นหลัก แต่ของ กกต.เป็นเรื่องยากมากที่จะยึดถือเรื่องนี้ เพราะบางคนเข้ามา กกต.ปี 41 ได้บรรจุปี 43 แต่พอปี 47 รับบรรจุแต่งตั้งอีก มีการให้เงินพิเศษเพิ่มจากเงินเดือนเดิมอีก 30% ก็ทำให้พนักงานบางคนได้รับเงินเดือนสูง แต่ตำแหน่งเล็กกว่า ขณะที่บางคนตำแหน่งสูงกว่าแต่ได้เงินเดือนน้อยกว่า ดังนั้นที่สำคัญกว่าคือเรื่องความเหมาะสม ซึ่งผู้บังคับบัญชาใช้เป็นหลักในการพิจารณา โดยนายสุเทพเคยเป็นนายอำเภอ มีความเชี่ยวชาญในงานด้านการมีส่วนร่วม ส่วนนายกฤชก็รักษาการในตำแหน่ง ผอ.สถาบันฯ มานานแล้ว ซึ่งพนักงานกกต.คนอื่นที่มีความอาวุโสกว่านายสุเทพ และนายกฤชเชื่อว่าจะได้รับโอกาสพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นอย่างแน่นอน เพราะ กกต.วางนโยบายไว้แล้วว่า เมื่อยู่ในตำแหน่งครบ 4 ปีจะต้องมีการขยับปรับย้าย
วันนี้ (3 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวชี้แจงกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานตำแหน่งบริหารระดับสูงของสำนักงานกกต. ว่า กกต.มีมติเมื่อวันที่ 1 และวันที่ 3 พ.ค. ให้นายสมชาติ เจศรีชัย รองเลขาธิการ กกต.ด้านบริหารกลาง นายภูมิพิทักษ์ กองแก้ว รองเลขาธิการกกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย ไปดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ นายสมผุส กาญจโนมัย ผู้อำนวยการสำนักการประชุม ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านบริหารกลาง พ.ต.อ.วรกร ทิมาตฤกะ ผู้ตรวจการ ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย นายสุเทพ พรหมวาศ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และเผยแพร่ ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านกิจการการมีส่วนร่วม นายกฤช เอื้อวงศ์ ผอ.สำนักพัฒนาบุคคลากร ไปดำรงตำแหน่งผอ.สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง นายอิสระ เสียงเพราะดี ผอ.สำนักเลขานุการกกต. ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจการ นายเดชา วงษ์มาก ผอ.สำนักการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการ นายนพรัตน ชูไสว ผอ.กต.จว.ชัยภูมิ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักการคลัง โดยให้มีผลในวันที่ 8 พ.ค.นี้ นอกจากนี้ ให้สมศักดิ์ สุริยมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิ ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ นายประจักษ์ อินทะกนก ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเลือกตั้ง ไปดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และ พ.ต.อ.พันธ์ระวี วีระพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเลือกตั้ง โดยให้มีผลในวันที่ 10 พ.ค.นี้
ทั้งนี้ ในส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ตำแหน่งต่างๆ นั้น นายสมชาติเป็นรองเลขาธิการมา 2 ด้านกิจการรวม 6 ปี ทั้งที่ตามนโยบายของ กกต.ที่วางไว้หากดำรงตำแหน่งครบ 4 ปีแล้วจะต้องมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งตำแหน่งผู้ตรวจการเทียบเท่ากับรองเลขาฯ อยู่แล้ว โดยนายสมผุสก็เคยเป็นนายอำเภอ และเป็นผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงมหาดไทยมาก่อน มาอยู่ กกต.ถึง 6 ปีแล้ว ทำงานด้านการประชุมมานานรู้งานการบริหารเป็นอย่างดี จึงมีความเหมาะสม ขณะที่นายภูมิพิทักษ์ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ทำให้ไม่มีเวลาปฏิบัติงาน สำหรับนายสุเทพ นั้นเป็นพนักงาน กกต.มาตั้งแต่ปี 43 ดำรงตำแหน่งระดับรองสำนักฯ แม้จะเคยออกไปอยู่สำนักงาน ป.ป.ช. แต่เมื่อกลับมาก็เข้ามาดำรงตำแหน่งในระดับเดิม อีกทั้งเป็นคนที่ดูในเรื่องการณรงค์ให้ความรู้แก่เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการเลือกตั้ง ส่วนนายกฤช ที่มีการระบุว่าในขึ้นชั้นระดับรองเลขาธิการ กกต. ก็ไม่ใช่เพราะตำแหน่ง ผอ.สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งไม่ได้เทียบเท่ากับรองเลขาฯ แต่เทียบเท่าสำนักฯ เพียงแต่สถาบันใหญ่ขึ้นเท่านั้น
ส่วนนายสมศักดิ์ที่จะมาเป็นรองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้ง ทาง กกต.ก็เห็นว่าเคยเป็นนายอำเภอและเป็นรองเลขาธิการด้านกิจการพรรคการเมืองที่เป็นตำแหน่งบริหารมาก่อนอยู่แล้วก็จะสลับกับ บุณยเกียรติที่จะไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายบุณยเกียรติ เป็นคนที่ทำงานดีมาก เหนื่อยกับงานบริหารงานเลือกตั้งมานาน กกต.ก็เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก ถึงจะย้ายไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ขณะนี้ กกต.จะต้องออกระเบียบเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร. รวมทั้งกำลังจะรับโอนงานการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และบัญชีผู้เสียสิทธิเลือกตั้ง มาจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ก็จะมีการมอบงานนี้ให้นายบุณยเกียรติดูแล อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับการโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ทั้งหมดจะยังคงรักษาการในตำแหน่งเดิมคือตำแหน่ง ผอ.สำนักไปก่อน จนกว่าการสอบเลื่อนชั้นผู้บริหารที่จะขึ้นระดับผอ.สำนักทั้ง 24 สำนักในเดือน มิ.ย.แล้วเสร็จและมีคำสั่งแต่งตั้งในเดือน ก.ค.
“การแต่งตั้งโยกย้ายทั้งหมดยืนยัน กกต.ไม่ได้กระทำโดยมีอคติกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เนื่องจากทางสำนักงานฯไม่ได้มีการปรับย้ายระดับรองเลขามา 2 ปี และผมเพิ่งจะเข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการ กกต.ก็เห็นว่าควรจะมีการถ่ายเทผู้บริหารเพื่อสร้างนักบริหารมือ ซึ่งเชื่อว่าผู้บริหารระดับสูงของ กกต.ทุกท่านาสามารถทำงานได้ในทุกด้านไม่ว่าจะถูกย้ายไปทำงานในด้านใด” นายภุชงค์กล่าว
เมื่อถามว่าการย้ายนายบุณยเกียรติ เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดในการตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ว.สรรหาใช่หรือไม่ เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า กรณีการตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ว.สรรหา ผลการสอบข้อเท็จจริงออกมาว่ามีข้อบกพร่อง โดย กกต.ได้มอบให้สำนักงานไปดำเนินการ ซึ่งตนกำลังจะมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่าข้อบกพร่องดังกล่าวมันอยู่ตรงไหนอย่างไร ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ แต่เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการสอบสวน และอยากให้นายบุณยเกียรติมาทำงานในด้านวิชาการให้มากขึ้น โดยนายบุณยเกียรติ ยังเหลืออายุราชการอีกนาน เพราะเกิดในปี 2499
เมื่อถามต่อว่าผลการสอบข้อเท็จจริงที่ระบุว่ามีข้อบกพร่อง เป็นการบกพร่องในชั้นการตรวจสอบ หรือบกพร่องไม่นำเสนอให้คณะกรรมการสรรหา ส.ว. และถ้าผลสอบจะโยงไปถึงนายสุทธิพล ทวีชัยการ อดีตเลขาธิการ กกต.จะสามารถเอาผิดได้หรือไม่ นายภุชงค์กล่าวว่า ต้องดูว่าจะโยงไปได้มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งความบกพร่องนั้นก็ต้องดูอีกทีว่าเป็นการบกพร่องในชั้นไหน ซึ่งสำนวนการสอบข้อเท็จจริงมีรายละเอียดมาก อย่างไรก็ตาม คิดว่าการย้ายนายบุณยเกียรติไม่ผลกระทบกับการที่ กกต.กำลังจะต้องจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร.อาจจะมีความขลุกขลักบ้าง แต่ก็ได้นำข้อบกพร่องในการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 มาปรับปรุงการทำงานของสำนักงานแล้ว อีกทั้งเวลานี้ กกต.มองข้ามช็อตไปถึงการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า กรณีการย้ายนายสุเทพ และนายกฤช ถูกมองว่าข้ามอาวุโสไปหลายคน นายภุชงค์กล่าวว่า ถ้าเป็นระบบราชการ จะนับในเรื่องของอาวุโส การเข้ารับราชการ การเข้าสู่ตำแหน่ง เป็นหลัก แต่ของ กกต.เป็นเรื่องยากมากที่จะยึดถือเรื่องนี้ เพราะบางคนเข้ามา กกต.ปี 41 ได้บรรจุปี 43 แต่พอปี 47 รับบรรจุแต่งตั้งอีก มีการให้เงินพิเศษเพิ่มจากเงินเดือนเดิมอีก 30% ก็ทำให้พนักงานบางคนได้รับเงินเดือนสูง แต่ตำแหน่งเล็กกว่า ขณะที่บางคนตำแหน่งสูงกว่าแต่ได้เงินเดือนน้อยกว่า ดังนั้นที่สำคัญกว่าคือเรื่องความเหมาะสม ซึ่งผู้บังคับบัญชาใช้เป็นหลักในการพิจารณา โดยนายสุเทพเคยเป็นนายอำเภอ มีความเชี่ยวชาญในงานด้านการมีส่วนร่วม ส่วนนายกฤชก็รักษาการในตำแหน่ง ผอ.สถาบันฯ มานานแล้ว ซึ่งพนักงานกกต.คนอื่นที่มีความอาวุโสกว่านายสุเทพ และนายกฤชเชื่อว่าจะได้รับโอกาสพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นอย่างแน่นอน เพราะ กกต.วางนโยบายไว้แล้วว่า เมื่อยู่ในตำแหน่งครบ 4 ปีจะต้องมีการขยับปรับย้าย