xs
xsm
sm
md
lg

ถกจัดเลือกตั้ง ส.ส.ร.ไม่คืบ “ค้อนปลอม” โยน 4 ฝ่ายหาทางออก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ที่ประชุมรัฐสภา ถกแก้ร่าง รธน.ประเด็นให้อำนาจ กกต.จัดเลือกตั้ง ส.ส.ร.สุดอืด สมาชิกอภิปรายลากยาวทั้งวันไม่คืบ “ปธ.รัฐสภา” สั่งพักการประชุมให้ 4 ฝ่ายถกหาทางออก

วันนี้ (24 เม.ย.) ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยมี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ในมาตรา 291/5 การให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1 (1) ให้แล้วเสร็จภายใน 75 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรค 2 มีผลบังคับใช้ อภิปรายต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ก่อน ซึ่งสมาชิกทั้ง กมธ.เสียงข้างน้อยที่มีการสงวนคำแปรญัตติ และ ส.ว.ที่มีการสงวนความเห็นล้วนแต่อภิปรายท้วงติงในวรรค 4 ที่ กมธ.เสียงข้างมากแก้ไขว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการนี้ กกต.มีอำนาจประกาศกำหนดบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวที่ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาด้วย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ควรออกเป็นกฎหมายมาบังคับใช้โดยเฉพาะ เช่น การออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือการนำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาของ ส.ว.มาบังคับใช้ในการเลือกตั้ง
ส.ส.ร.แทน

โดย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ระยะเวลาของการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ตามร่างของ กมธ.ที่กำหนดไว้ต้องแล้วเสร็จภายใน 75 วันนั้นถือว่าเร่งรัดมากเกินไป ไม่เพียงพอสำหรับหน่วยงานที่จัดการเลือกตั้ง ทำให้สุดท้ายแล้วเราได้การเลือกตั้งที่ไม่มีคุณภาพ และนำไปสู่การฟ้องร้องเพิกถอนการเลือกตั้ง ในส่วนวรรคที่ 4 ตามร่างของ กมธ.ที่มีการแก้ไขให้นำกฎหมายท้องถิ่นมาใช้ในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.นั้น ตนได้สงวนคำแปรญัตติเสนอให้ใช้กฎหมายเฉพาะในระดับที่เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เป็น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เพราะ ส.ส.ร.มีความสำคัญไม่น้อยกว่า ส.ส. ส.ว. หรือมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะมาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงสำคัญต่อการออกแบบอนาคตประเทศไทย เราจึงต้องมีกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยเฉพาะ ทั้งนี้ การเอากฎหมายท้องถิ่นมาปรับใช้โดยอนุโลมถือเป็นคนละเรื่องกันเลย เพราะขนาด ส.ส. และ
ส.ว. ยังมีกฎหมาย พ.ร.บ.มาใช้โดยเฉพาะ

ทั้งนี้ หากนำกฎหมายท้องถิ่นมาใช้จะเกิดปัญหามากมาย อาทิ เราจะขาดบทนิยามศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยกกับการเลือก ส.ส.ร. จะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น แต่การเลือกตั้ง ส.ส.ร.ที่เป็นระดับชาติ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เราจะเจอปัญหาเรื่องการแบ่งเขตจังหวัด การยื่นบัญชีรายรับ รายจ่าย ปัญหาเรื่องการหาเสียง การกำหนดบทลงโทษจะอยู่ในระดับใด

“การใช้กฎหมายท้องถิ่นไม่ได้มีข้อห้ามพรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง นี่จึงเป็นข้อหนึ่งทำให้เห็นว่าในการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ในมาตรา 291/2 จึงไม่มีการใส่ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ห้ามสังกัดพรรคการเมือง หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 291/5 ว่าท่านกำลังออกแบบให้การเลือก ส.ส.ร.ไม่ตัดขาดกับการเมือง แล้วจะทำให้เราวางใจได้อย่างไรว่าจะได้ ส.ส.ร.ที่เป็นกลาง มีความอิสระ ไม่มีประโยชน์ได้เสียกับพรรคการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเราเห็นแก่ประโยชน์ชาติ ให้ประชาชนเห็นว่าเรากำลังช่วยกันทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ทำไมเราไม่ช่วยกันทำให้เกิดความโปร่งใสอย่างแท้จริง” นายสุรชัยกล่าว

ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ อภิปรายว่า ควรจะใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญในส่วนว่าด้วยการได้มาของ ส.ว.เพราะชัดเจนว่าพรรคการเมืองจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ทั้งนี้ ตนยอมรับว่าอยากให้คนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็ควรมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้ แต่จะให้พรรคการเมืองไปสนับสนุนนั้นคงไม่เหมาะสม แต่ กมธ.เสียงข้างมากก็ไม่เห็นด้วย กลับให้ใช้กฎหมายท้องถิ่นแทน ซึ่งตนเห็นว่าหากนำมาบังคับใช้จริงต้องมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย และการเลือกตั้งล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม การที่ กมธ.ไปถอดอำนาจของ กกต.ในการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง โดยให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณานั้น ตนก็ยังเห็นว่าควรจะให้ กกต.ควรมีอำนาจในการพิจารณาเพิกถอนผลการเลือกตั้ง นอกเหนือจากการมีอำนาจแค่จัดการเลือกตั้งเท่านั้น

จากนั้น นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ รายงานต่อที่ประชุมถึงการหารือกับวิปทั้ง 3 ฝ่ายและตัวแทน กมธ.ว่า ทุกฝ่ายเห็นพ้องว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยมี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ในมาตรา 291/5 การให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1 (1) ให้แล้วเสร็จภายใน 75 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรค 2 มีผลบังคับใช้ อภิปรายต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ก่อน

โดยสมาชิกทั้ง กมธ.เสียงข้างน้อยที่มีการสงวนคำแปรญัตติ และ ส.ว.ที่มีการสงวนความเห็นล้วนแต่อภิปรายท้วงติงในวรรค 4 ที่ กมธ.เสียงข้างมากแก้ไขว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการนี้ กกต.มีอำนาจประกาศกำหนดบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายดังกล่าวที่ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาด้วย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ควรออกเป็นกฎหมายมาบังคับใช้โดยเฉพาะ เช่น การออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือการนำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาของ ส.ว.มาบังคับใช้ในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.แทน

จากนั้นนายสมศักดิ์ ประธานในที่ประชุม ได้สั่งพักการประชุมเป็นเวลา 20 นาที
กำลังโหลดความคิดเห็น