xs
xsm
sm
md
lg

เคาะแผน “ปู” ทัวร์ต่อเนื่อง เยือนญี่ปุ่นประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง 19-22 เม.ย.นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (แฟ้มภาพ)
“ยิ่งลักษณ์” นำคณะ รมต.เยื่อนญี่ปุ่น ประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 4 ที่ญี่ปุ่น เผย 20-21 เม.ย.ร่วมตอกย้ำบทบาทร่วมมือญี่ปุ่นพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างความมั่นใจต่อมาตรการจัดการภัยพิบัติของไทย ปิดฉาก 22 เม.ย.รับฟังระบบความปลอดภัยของรถไฟ ก่อนตระเวนชมสินค้าโอทอปตามจังหวัดต่างๆ

วันนี้ (19 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 19-22 เมษายน 2555 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ประกอบด้วย บุคคลสำคัญ อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเข้าร่วมประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อยืนยันบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

การประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ ญี่ปุ่น โดยเป็นการประชุมระดับผู้นำ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มความร่วมมือนี้ โดยจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ Mekong-Japan ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนมกราคม 2551 โดยการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อการประชุมอาเซียน ซัมมิต ที่บาหลี ที่ผ่านมา เน้นการจัดการกับปัญหาภัยพิบัติ และบริหารทรัพยากรน้ำญี่ปุ่น เกิดจากการที่ญี่ปุ่นต้องการมีบทบาทที่ชัดเจนขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาระหว่างอาเซียนเพื่อความแข็งแกร่งของอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของทวีปเอเชียต่อไป โดยญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือให้กับ 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และ เวียดนาม ในด้านต่างๆ

ดังนั้น การเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 นี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเน้นย้ำถึงบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนร่วมกับญี่ปุ่นในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และโดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไทยได้รับการยอมรับ รวมทั้งสร้างความมั่นใจต่อมาตรการของไทยในการจัดการภัยพิบัติ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีจะได้ยืนยันถึงความพร้อมในการร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับภัยภิบัติได้ ครอบคลุมถึงการเชื่อมโยงอนุภูมิภาค และความมั่นคงมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเกี่ยวกับเด็กและสตรีที่ไทยให้ความสำคัญ

โดยการประชุมในครั้งนี้ มีนัยสำคัญ เนื่องจากจะมีการรับรองเอกสาร Tokyo Strategy for Mekong-Japan Cooperation ซึ่งจะกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อจัดทำเสาหลักในการพัฒนาความร่วมมือในช่วง 3 ปีข้างหน้า ได้แก่ เสาหลักที่ 1 เสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เสาหลักที่ 2 การพัฒนาไปพร้อมกัน และเสาหลักที่ 3 การรักษาความมั่นคงของมนุษย์และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

สำหรับกำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2555

เช้า - นายกรัฐมนตรี รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4
12.00-13.30 น. - สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) และสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JCCI) เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขง ณ โรงแรม Imperial
15.30 น. - นายกรัฐมนตรี เดินทางออกจากโรงแรมที่พักไปยังพระราชวัง Imperial เพื่อเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
19.00 น. - นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขง ณ เรือนรับรองญี่ปุ่น Yushintei-Shuwashitsu พระราชวัง Akasaka

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2555
09.00 น. - การประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ พระราชวัง Akasaka
- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม
09.05 น. - การหารือในหัวข้อความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น
10.25 น. - การหารือในหัวข้อประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาค
10.57 น. - พิธีปิดการประชุม
11.15 น. - แถลงข่าวร่วม

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555

-08.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานฮาเนดะ กรุงโตเกียว โดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย (Airbus A340-500) จำกัด (มหาชน)
09.45 น. - เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติฟูกูโอกะ
10.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางโดยรถยนต์ จากท่าอากาศยานนานาชาติฟูกูโอกะ ไปยัง JR Kyushu Traffic Control Center
10.30 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางถึง JR Kyushu Traffic Control Center
10.30-11.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ รับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานของรถไฟชินกันเซน และระบบความปลอดภัย
11.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ ออกเดินทางไปยัง JR Hakata City
11.15 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางถึง JR Hakata City ซึ่งเป็นสถานีต้นทางรถไฟชินกันเซน ในเกาะคิวชู
11.15-12.30 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เยี่ยมชมสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากวัตถุดิบท้องถิ่น (Roof Top Garden, Tokyo Hands OTOP Store, Deitos OTOP Food)
12.43-13.23 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางโดยรถไฟชินกันเซน (N700) จากสถานี Hakata ถึง สถานีคุมาโมโต จังหวัดคุมาโมโต
13.54-14.02 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ ขึ้นรถไฟ Aso-boy!103 จากสถานีคุมาโมโต ถึง สถานี Suizenji
14.10-14.30 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางโดยรถยนต์จากสถานี Suizenji ถึง Josai-en
14.30-15.45 น. - เดินชมสินค้าพื้นเมือง (OTOP) และพิพิธภัณฑ์ ณ Josai-en
15.45-16.10 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางโดยรถยนต์ จาก Josai-en ถึงสถานีคุมาโมโต
16.10-16.25 น. - เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์พื้นเมือง
16.33-17.12 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางโดยรถไฟชินกันเซน (N 800) จากสถานี คุมาโมโต ถึงสถานี Hakata จังหวัดฟูกูโอกะ
17.12-17.20 น. - นายกรัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูง เดินทางโดยรถยนต์ จากสถานี Hakata
18.30-19.30 น. - JR Kyushu เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรอง นายกรัฐมนตรีและคณะ
20.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติฟูกูโอกะ โดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (Airbus A340-500) เที่ยวบินพิเศษที่ TG 8820 กลับประเทศไทย
23.20 น. - เดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
กำลังโหลดความคิดเห็น