ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17-19 เม.ย.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะประกอบด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19-22 เม.ย.55 เพื่อยืนยันบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงครั้งนี้ ประกอบด้วย ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ ญี่ปุ่น โดยเป็นการประชุมระดับผู้นำ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มความร่วมมือนี้โดยจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ Mekong-Japan ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนม.ค.51 โดยการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อการประชุมอาเซียน ซัมมิต ที่บาหลี อินโดนีเซีย โดยเน้นการจัดการกับปัญหาภัยภิบัติ และบริหารทรัพยากรน้ำ
ทั้งนี้การที่ญี่ปุ่นกำหนดการประชุมขึ้นเนื่องจากต้องการมีบทบาทที่ชัดเจนขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาระหว่างอาเซียน เพื่อความแข็งแกร่งของอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของทวีปเอเชียต่อไป โดยญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือให้กับ 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ในด้านต่างๆ
ดังนั้น การเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 นี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเน้นย้ำถึงบทบาทของไทย ในฐานะหุ้นส่วนร่วมกับญี่ปุ่นในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และโดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไทยได้รับการยอมรับ รวมทั้งสร้างความมั่นใจต่อมาตรการของไทยในการจัดการภัยพิบัติ
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี จะได้ยืนยันถึงความพร้อมในการร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับภัยพิบัติได้ ครอบคลุมถึงการเชื่อมโยงอนุภูมิภาค และความมั่นคงมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเกี่ยวกับเด็กและสตรี ที่ไทยให้ความสำคัญ
การประชุมในครั้งนี้ มีนัยยะสำคัญ เนื่องจากจะมีการรับรองเอกสาร Tokyo Strategy for Mekong-Japan Cooperation ซึ่งจะกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อจัดทำเสาหลักในการพัฒนาความร่วมมือในช่วง 3 ปีข้างหน้า ได้แก่ เสาหลักที่ 1 เสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เสาหลักที่ 2 การพัฒนาไปพร้อมกัน และเสาหลักที่ 3 การรักษาความมั่นคงของมนุษย์และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงครั้งนี้ ประกอบด้วย ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ ญี่ปุ่น โดยเป็นการประชุมระดับผู้นำ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มความร่วมมือนี้โดยจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ Mekong-Japan ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนม.ค.51 โดยการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อการประชุมอาเซียน ซัมมิต ที่บาหลี อินโดนีเซีย โดยเน้นการจัดการกับปัญหาภัยภิบัติ และบริหารทรัพยากรน้ำ
ทั้งนี้การที่ญี่ปุ่นกำหนดการประชุมขึ้นเนื่องจากต้องการมีบทบาทที่ชัดเจนขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาระหว่างอาเซียน เพื่อความแข็งแกร่งของอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของทวีปเอเชียต่อไป โดยญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือให้กับ 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ในด้านต่างๆ
ดังนั้น การเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 นี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเน้นย้ำถึงบทบาทของไทย ในฐานะหุ้นส่วนร่วมกับญี่ปุ่นในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และโดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไทยได้รับการยอมรับ รวมทั้งสร้างความมั่นใจต่อมาตรการของไทยในการจัดการภัยพิบัติ
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี จะได้ยืนยันถึงความพร้อมในการร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับภัยพิบัติได้ ครอบคลุมถึงการเชื่อมโยงอนุภูมิภาค และความมั่นคงมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเกี่ยวกับเด็กและสตรี ที่ไทยให้ความสำคัญ
การประชุมในครั้งนี้ มีนัยยะสำคัญ เนื่องจากจะมีการรับรองเอกสาร Tokyo Strategy for Mekong-Japan Cooperation ซึ่งจะกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อจัดทำเสาหลักในการพัฒนาความร่วมมือในช่วง 3 ปีข้างหน้า ได้แก่ เสาหลักที่ 1 เสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เสาหลักที่ 2 การพัฒนาไปพร้อมกัน และเสาหลักที่ 3 การรักษาความมั่นคงของมนุษย์และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม