เลขาธิการองค์กรเพื่อความโปร่งใส ระบุ 80 ปีแห่งความเป็น ปชต.ไทยไม่ได้เจริญก้าวหน้า ฉีกรธน.ทิ้งเป็นว่าเล่น ชี้การเมืองไทยอ่อนแอเหตุเอามาแต่โครงสร้าง แม้แต่นักการเมืองยังไม่รู้ความหมาย ปชต.ที่แท้จริง ขณะที่สังคมไทยยังลุ่มหลงอำนาจนิยม ไม่สนใจความเหลื่อมล้ำ จนกลายเป็นความขัดแย้ง
วันนี้ (23 มี.ค.) ในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 ซึ่งจัดโดยสถาบันพระปกเกล้า นางจุรี วิจิตรวาทการ เลขาธิการองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย กล่าวในการอภิปรายเรื่อง “ความสำคัญของพลเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย” ช่วงหนึ่งว่า ประชาธิปไตยของไทยที่ใช้มากว่า 80 ปี กลับไม่ค่อยได้เรื่อง ก้าวหน้าบ้างถอยหลังบ้าง รวมทั้งยังขาดความเข้าใจจริงๆ อีกทั้งเรายังมีรัฐธรรมนูญมามากมายถึง 18 ฉบับ ถือว่าเป็นสังคมที่ฟุ่มเฟือยมาก ที่ว่าพอไม่พอใจก็ฉีกทิ้งแล้วเขียนใหม่ หรือแก้ไขในจุดที่ไม่ชอบ ทั้งที่ไม่ได้ทำให้ความเป็นประชาธิปไตยสูงขึ้นเลย
นางจุรี กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยหลังปี 2475 ที่เป็นจุดอ่อนที่สุด คือ การนำความคิดประชาธิปไตยมาใช้ในสังคมไทย ในเชิงโครงสร้างระบบและกระบวนการเท่านั้น แต่ขาดการเรียนรู้เกี่ยวกับสาระที่แม้จริงของประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบันนี้หากสำรวจความเห็นประชาชนให้พูดถึงประชาธิปไตย เชื่อแน่ว่า คนส่วนใหญ่ย่อมนึกถึงการเลือกตั้งเท่านั้น หรือไปถามนักการเมืองก็เชื่อว่าสอบตกเป็นส่วนใหญ่ในการอธิบายความหมาย ตรงนี้มีช่องว่างระหว่างสาระเนื้อแท้หลักคิดปรัชญาประชาธิปไตย กับความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะว่าประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
“ดังนั้น หลักคิดปรัชญาประชาธิปไตยจำเป็นต้องถูกดดซึมจากคนในสังคมผ่านการเรียนรู้โดยเคารพในสาระของมัน สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนยกระดับขึ้นมาเป็นพลเมือง ที่รู้สิทธิหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในกระบวนการประชาธิปไตย จุดนี้คือ สิ่งที่เราล้มเหลวในกระบวนการศึกษามาโดยตลอด เหมือนรัฐธรรมนูญเป็นฮาร์ดแวร์ใหม่ ในขณะที่ซอฟต์แวร์ของเราเก่า ซึ่งหมายถึงค่านิยมความคิดความเชื่อที่มีมาจากอดีตหลายๆอย่าง ทำให้เราอยู่ในวังวนของอำนาจนิยม ยังเป็นสังคมที่ไม่สนใจในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ” นางจุรี ระบุ
วันนี้ (23 มี.ค.) ในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 ซึ่งจัดโดยสถาบันพระปกเกล้า นางจุรี วิจิตรวาทการ เลขาธิการองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย กล่าวในการอภิปรายเรื่อง “ความสำคัญของพลเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย” ช่วงหนึ่งว่า ประชาธิปไตยของไทยที่ใช้มากว่า 80 ปี กลับไม่ค่อยได้เรื่อง ก้าวหน้าบ้างถอยหลังบ้าง รวมทั้งยังขาดความเข้าใจจริงๆ อีกทั้งเรายังมีรัฐธรรมนูญมามากมายถึง 18 ฉบับ ถือว่าเป็นสังคมที่ฟุ่มเฟือยมาก ที่ว่าพอไม่พอใจก็ฉีกทิ้งแล้วเขียนใหม่ หรือแก้ไขในจุดที่ไม่ชอบ ทั้งที่ไม่ได้ทำให้ความเป็นประชาธิปไตยสูงขึ้นเลย
นางจุรี กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยหลังปี 2475 ที่เป็นจุดอ่อนที่สุด คือ การนำความคิดประชาธิปไตยมาใช้ในสังคมไทย ในเชิงโครงสร้างระบบและกระบวนการเท่านั้น แต่ขาดการเรียนรู้เกี่ยวกับสาระที่แม้จริงของประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบันนี้หากสำรวจความเห็นประชาชนให้พูดถึงประชาธิปไตย เชื่อแน่ว่า คนส่วนใหญ่ย่อมนึกถึงการเลือกตั้งเท่านั้น หรือไปถามนักการเมืองก็เชื่อว่าสอบตกเป็นส่วนใหญ่ในการอธิบายความหมาย ตรงนี้มีช่องว่างระหว่างสาระเนื้อแท้หลักคิดปรัชญาประชาธิปไตย กับความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะว่าประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
“ดังนั้น หลักคิดปรัชญาประชาธิปไตยจำเป็นต้องถูกดดซึมจากคนในสังคมผ่านการเรียนรู้โดยเคารพในสาระของมัน สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนยกระดับขึ้นมาเป็นพลเมือง ที่รู้สิทธิหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในกระบวนการประชาธิปไตย จุดนี้คือ สิ่งที่เราล้มเหลวในกระบวนการศึกษามาโดยตลอด เหมือนรัฐธรรมนูญเป็นฮาร์ดแวร์ใหม่ ในขณะที่ซอฟต์แวร์ของเราเก่า ซึ่งหมายถึงค่านิยมความคิดความเชื่อที่มีมาจากอดีตหลายๆอย่าง ทำให้เราอยู่ในวังวนของอำนาจนิยม ยังเป็นสังคมที่ไม่สนใจในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ” นางจุรี ระบุ