วานนี้ (23 ม.ค.) ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มีการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 ซึ่งจัดโดยสถาบันพระปกเกล้า นางจุรี วิจิตรวาทการ เลขาธิการองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย กล่าวในการอภิปรายเรื่อง "ความสำคัญของพลเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย " ช่วงหนึ่งว่าประชาธิปไตยของไทยที่ใช้มากว่า 80 ปี กลับไม่ค่อยได้เรื่อง ก้าวหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง รวมทั้งยังขาดความเข้าใจจริงๆ อีกทั้งเรายังมีรัฐธรรมนูญมามากถึง 18 ฉบับ ถือว่าเป็นสังคมที่ฟุ่มเฟือยมาก ที่ว่าพอไม่พอใจก็ฉีกทิ้ง แล้วเขียนใหม่ หรือแก้ไขในจุดที่ไม่ชอบ ทั้งที่ไม่ได้ทำให้ความเป็นประชาธิปไตยสูงขึ้นเลย
นางจุรี กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยหลังปี 2475 ที่เป็นจุดอ่อนที่สุดคือ การนำความคิดประชาธิปไตย มาใช้ในสังคมไทย ในเชิงโครงสร้างระบบ และกระบวนการเท่านั้น แต่ขาดการเรียนรู้เกี่ยวกับสาระที่แม้จริงของประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบันนี้หากสำรวจความเห็นประชาชนให้พูดถึงประชาธิปไตย เชื่อแน่ว่าคนส่วนใหญ่ย่อมนึกถึงการเลือกตั้งเท่านั้น หรือไปถามนักการเมือง ก็เชื่อว่าสอบตกเป็นส่วนใหญ่ในการอธิบายความหมาย ตรงนี้มีช่องว่างระหว่างสาระเนื้อแท้ หลักคิดปรัชญาประชาธิปไตย กับความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะว่า ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
" ดังนั้นหลักคิดปรัชญาประชาธิปไตย จำเป็นต้องถูกดูดซึมจากคนในสังคม ผ่านการเรียนรู้โดยเคารพในสาระของมัน สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนยกระดับขึ้นมาเป็นพลเมือง ที่รู้สิทธิ หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในกระบวนการประชาธิปไตย จุดนี้คือสิ่งที่เราล้มเหลวในกระบวนการศึกษามาโดยตลอด เหมือนรัฐธรรมนูญ เป็นฮาร์ดแวร์ใหม่ ในขณะที่ซอฟแวร์ ของเราเก่า ซึ่งหมายถึง ค่านิยม ความคิด ความเชื่อ ที่มีมาจากอดีตหลายๆ อย่าง ทำให้เราอยู่ในวังวนของอำนาจนิยม ยังเป็นสังคมที่ไม่สนใจในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ" นางจุรี กล่าว
ในงานเดียวกันนี้ นายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงปาฐกถา ในหัวข้อ “ความเป็นพลเมือง กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” โดยนายธีรยุทธ กล่าวช่วงหนึ่งว่า จุดเริ่มต้นที่การเมืองไทยมีการคลี่คลายไปในทิศทางที่น่าสนใจ เริ่มขึ้นเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว หรือราวปี 2531 ที่อำนาจศูนย์กลางของกองทัพ เริ่มคลอนแคลน ประชาธิปไตยครึ่งใบ เริ่มไปไม่รอด เมื่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น บอกว่า พอแล้ว ไม่รับตำแหน่งนายกฯอีก ทำให้ในการเลือกตั้งปี 2531 เสนอแนวคิดประชาสังคม ในการสร้างสังคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งมีการพูดถึงกันมาก แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนเกิดรัฐประหารเมื่อปี 2534 ก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภา 2535 และเป็นที่มาของการปฏิรูปการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
นายธีรยุทธ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ถือเป็นความคิดต่างของนักวิชาการนักคิด ที่เข้าไปมีส่วนร่วม โดยส่วนหนึ่งต้องการให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง ขณะที่อีกฝ่ายต้องการให้มีฝ่ายตรวจสอบ ก่อให้เกิดองค์กรอิสระหลายองค์กร เพิ่มบทบาทของศาล ทั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ฝ่ายตรวจสอบเข้มแข็งขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อการเมืองดำเนินเรื่อยๆมา ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น เกิดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนโยบายประชานิยม เกิดวิกฤตเหลือง-แดง เกิดความขัดแย้งทางแนวคิด ระหว่างประชานิยม และอนุรักษ์นิยม ซึ่งถือเป็นความขัดแย้งหลักในสังคมการเมืองของบ้านเราทั้งนี้ความคิดหลักทั้ง 2 กลุ่มนี้ ก็ล้วนมีมูลค่าของตัวเอง กล่าวคือ ประชานิยมได้สร้างประโยชน์อย่างหนึ่ง ขณะที่อนุรักษ์นิยม เองก็สร้างประโยชน์ในแง่มุมหนึ่งที่ไม่ให้หลงลืมสิ่งที่ดีในอดีต และช่วยเหนี่ยวรั้งไม่ให้ฝ่ายประชานิยมไม่ให้มากเกินไป
"ในขณะที่สังคมดำเนินไปอยู่นี้ ความเป็นประชาสังคมกลับไม่คืบหน้าตาม ส่วนหนึ่งเพราะคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะชนชั้นนำ ไม่ได้ร่วมพัฒนาประเทศไปด้วย แต่มักจะมองว่า ตนจะได้อะไรจากรัฐบ้าง คิดแต่จะอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์อย่างไร จนทำให้อาจมีเพียงแค่คนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่ทำหน้าที่พลเมือง ทำให้สิทธิเสรีภาพ แสดงความรับผิดชอบกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น”
นายธีรยุทธ ยังกล่าวอีกว่า จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างการเมืองของทุกประเทศเป็นผลผลิตท้องถิ่น ที่หากเป็นเมล็ดพันธุ์แปลกปลอมจากประเทศอื่น จะใช้ไม่ได้ผล เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่นำเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความรับผิดชอบรัฐธรรมนูญ มาจากประเทศอื่น ที่เป็นเหมือนสิ่งแปลกปลอมที่นำมาจากต่างประเทศ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เพราะขาดการเสริมองค์ความรู้ให้แก่พลเมือง ดังนั้น ทางออกที่ดีของการเมืองไทยในระยะยาว ควรจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดสังคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง และพลเมืองเข้มแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยขาดมาตลอด 100 กว่าปีที่ผ่านมา เป็นเหตุให้การพัฒนาการเมืองของประเทศ ไม่ไปไหน
นางจุรี กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยหลังปี 2475 ที่เป็นจุดอ่อนที่สุดคือ การนำความคิดประชาธิปไตย มาใช้ในสังคมไทย ในเชิงโครงสร้างระบบ และกระบวนการเท่านั้น แต่ขาดการเรียนรู้เกี่ยวกับสาระที่แม้จริงของประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบันนี้หากสำรวจความเห็นประชาชนให้พูดถึงประชาธิปไตย เชื่อแน่ว่าคนส่วนใหญ่ย่อมนึกถึงการเลือกตั้งเท่านั้น หรือไปถามนักการเมือง ก็เชื่อว่าสอบตกเป็นส่วนใหญ่ในการอธิบายความหมาย ตรงนี้มีช่องว่างระหว่างสาระเนื้อแท้ หลักคิดปรัชญาประชาธิปไตย กับความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะว่า ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
" ดังนั้นหลักคิดปรัชญาประชาธิปไตย จำเป็นต้องถูกดูดซึมจากคนในสังคม ผ่านการเรียนรู้โดยเคารพในสาระของมัน สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนยกระดับขึ้นมาเป็นพลเมือง ที่รู้สิทธิ หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในกระบวนการประชาธิปไตย จุดนี้คือสิ่งที่เราล้มเหลวในกระบวนการศึกษามาโดยตลอด เหมือนรัฐธรรมนูญ เป็นฮาร์ดแวร์ใหม่ ในขณะที่ซอฟแวร์ ของเราเก่า ซึ่งหมายถึง ค่านิยม ความคิด ความเชื่อ ที่มีมาจากอดีตหลายๆ อย่าง ทำให้เราอยู่ในวังวนของอำนาจนิยม ยังเป็นสังคมที่ไม่สนใจในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ" นางจุรี กล่าว
ในงานเดียวกันนี้ นายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงปาฐกถา ในหัวข้อ “ความเป็นพลเมือง กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” โดยนายธีรยุทธ กล่าวช่วงหนึ่งว่า จุดเริ่มต้นที่การเมืองไทยมีการคลี่คลายไปในทิศทางที่น่าสนใจ เริ่มขึ้นเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว หรือราวปี 2531 ที่อำนาจศูนย์กลางของกองทัพ เริ่มคลอนแคลน ประชาธิปไตยครึ่งใบ เริ่มไปไม่รอด เมื่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น บอกว่า พอแล้ว ไม่รับตำแหน่งนายกฯอีก ทำให้ในการเลือกตั้งปี 2531 เสนอแนวคิดประชาสังคม ในการสร้างสังคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งมีการพูดถึงกันมาก แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนเกิดรัฐประหารเมื่อปี 2534 ก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภา 2535 และเป็นที่มาของการปฏิรูปการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
นายธีรยุทธ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ถือเป็นความคิดต่างของนักวิชาการนักคิด ที่เข้าไปมีส่วนร่วม โดยส่วนหนึ่งต้องการให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง ขณะที่อีกฝ่ายต้องการให้มีฝ่ายตรวจสอบ ก่อให้เกิดองค์กรอิสระหลายองค์กร เพิ่มบทบาทของศาล ทั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ฝ่ายตรวจสอบเข้มแข็งขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อการเมืองดำเนินเรื่อยๆมา ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น เกิดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนโยบายประชานิยม เกิดวิกฤตเหลือง-แดง เกิดความขัดแย้งทางแนวคิด ระหว่างประชานิยม และอนุรักษ์นิยม ซึ่งถือเป็นความขัดแย้งหลักในสังคมการเมืองของบ้านเราทั้งนี้ความคิดหลักทั้ง 2 กลุ่มนี้ ก็ล้วนมีมูลค่าของตัวเอง กล่าวคือ ประชานิยมได้สร้างประโยชน์อย่างหนึ่ง ขณะที่อนุรักษ์นิยม เองก็สร้างประโยชน์ในแง่มุมหนึ่งที่ไม่ให้หลงลืมสิ่งที่ดีในอดีต และช่วยเหนี่ยวรั้งไม่ให้ฝ่ายประชานิยมไม่ให้มากเกินไป
"ในขณะที่สังคมดำเนินไปอยู่นี้ ความเป็นประชาสังคมกลับไม่คืบหน้าตาม ส่วนหนึ่งเพราะคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะชนชั้นนำ ไม่ได้ร่วมพัฒนาประเทศไปด้วย แต่มักจะมองว่า ตนจะได้อะไรจากรัฐบ้าง คิดแต่จะอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์อย่างไร จนทำให้อาจมีเพียงแค่คนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่ทำหน้าที่พลเมือง ทำให้สิทธิเสรีภาพ แสดงความรับผิดชอบกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น”
นายธีรยุทธ ยังกล่าวอีกว่า จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างการเมืองของทุกประเทศเป็นผลผลิตท้องถิ่น ที่หากเป็นเมล็ดพันธุ์แปลกปลอมจากประเทศอื่น จะใช้ไม่ได้ผล เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่นำเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความรับผิดชอบรัฐธรรมนูญ มาจากประเทศอื่น ที่เป็นเหมือนสิ่งแปลกปลอมที่นำมาจากต่างประเทศ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เพราะขาดการเสริมองค์ความรู้ให้แก่พลเมือง ดังนั้น ทางออกที่ดีของการเมืองไทยในระยะยาว ควรจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดสังคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง และพลเมืองเข้มแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยขาดมาตลอด 100 กว่าปีที่ผ่านมา เป็นเหตุให้การพัฒนาการเมืองของประเทศ ไม่ไปไหน