ปธ.กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ ถกหน่วยงานแก้ปัญหามหาอุทกภัย ซัดแผนใช้งบบริหารน้ำท่วมสุดอืด ชี้ เพิ่งมีการเบิกจ่ายเพียง 32% ส่งผลให้ต้องรับภาระต่อดอกเบี้ยเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท แถมประชาชนและภาคธุรกิจยังขาดความมั่นใจ
วันนี้ (21 มี.ค.) นายชนินทร์ รุ่งแสง ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาฯ กล่าวว่า ทาง กมธ.ได้เรียกประชุม 8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน แก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการฟื้นฟูเยียวยาพื้นที่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 อาทิ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงคมนาคม กรมบัญชีกลาง กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว พบว่า ยังมีปัญหาเรื่องการประสานงาน และความไม่พร้อม โดยประเด็นที่สำคัญคือ งบกลางที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในปี 2554 จำนวน 120,000 ล้านบาท เพิ่งมีการเบิกจ่ายเพียง 32.1% และงบประมาณ 350,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ซึ่งจนถึงปัจจุบันพบว่า ยังไม่ได้มีการเบิกจ่ายเพื่อนำเงินไปดำเนินการใดๆ เลย
นายชนินทร์ กล่าวต่อว่า ทาง กมธ.ได้แสดงความกังวล ว่า เงื่อนไขด้านระยะเวลาการกู้เงินในพ.ร.ก.ดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน 2556 ทำให้เกิดความกังวลว่า ความล่าช้าในการทำโครงการของหน่วยงานต่างๆ จะทำให้สำนักบริหารหนี้สาธารณะทำแผนการกู้เงินไม่ทัน หรืออาจต้องทำการกู้เงินมากองไว้ก่อนจะมีการดำเนินโครงการจริง ส่งผลให้จะต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ไปโดยเปล่าประโยขน์ สำหรับโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมในปี 2555 นั้น กรมชลประทาน ชี้แจงว่า แม้ว่าจะมีการดำเนินโครงการบางอย่างล่าช้า แต่ในปี 2555 นี้สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยรวมจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยจะมีปริมาณน้ำฝนไม่มากเท่าปีก่อน ทำให้มั่นใจได้ว่า โอกาสที่น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึงเขตนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญมีไม่ถึง 10% กมธ.จึงมีข้อเสนอแนะให้กรมชลประทานเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวออกไปในวงกว้าง เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคธุรกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปต่อรองเพื่อขอลดค่าเบี้ยประกันจากบริษัทประกันได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก
วันนี้ (21 มี.ค.) นายชนินทร์ รุ่งแสง ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาฯ กล่าวว่า ทาง กมธ.ได้เรียกประชุม 8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน แก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการฟื้นฟูเยียวยาพื้นที่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 อาทิ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงคมนาคม กรมบัญชีกลาง กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว พบว่า ยังมีปัญหาเรื่องการประสานงาน และความไม่พร้อม โดยประเด็นที่สำคัญคือ งบกลางที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในปี 2554 จำนวน 120,000 ล้านบาท เพิ่งมีการเบิกจ่ายเพียง 32.1% และงบประมาณ 350,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ซึ่งจนถึงปัจจุบันพบว่า ยังไม่ได้มีการเบิกจ่ายเพื่อนำเงินไปดำเนินการใดๆ เลย
นายชนินทร์ กล่าวต่อว่า ทาง กมธ.ได้แสดงความกังวล ว่า เงื่อนไขด้านระยะเวลาการกู้เงินในพ.ร.ก.ดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน 2556 ทำให้เกิดความกังวลว่า ความล่าช้าในการทำโครงการของหน่วยงานต่างๆ จะทำให้สำนักบริหารหนี้สาธารณะทำแผนการกู้เงินไม่ทัน หรืออาจต้องทำการกู้เงินมากองไว้ก่อนจะมีการดำเนินโครงการจริง ส่งผลให้จะต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ไปโดยเปล่าประโยขน์ สำหรับโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมในปี 2555 นั้น กรมชลประทาน ชี้แจงว่า แม้ว่าจะมีการดำเนินโครงการบางอย่างล่าช้า แต่ในปี 2555 นี้สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยรวมจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยจะมีปริมาณน้ำฝนไม่มากเท่าปีก่อน ทำให้มั่นใจได้ว่า โอกาสที่น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึงเขตนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญมีไม่ถึง 10% กมธ.จึงมีข้อเสนอแนะให้กรมชลประทานเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวออกไปในวงกว้าง เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคธุรกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปต่อรองเพื่อขอลดค่าเบี้ยประกันจากบริษัทประกันได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก