กมธ.สาธารณสุข วุฒิฯ ร่วมกับ สสส.จัดเสวนารับมือปัญหาสุขภาพ แนะวางแนวทางป้องกัน เผยตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมกว่าพันราย “จมน้ำ-ไฟฟ้าช็อต” ชี้ผู้ป่วยโรค “หัวใจ-เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง” อยู่ในภาวะเสี่ยงที่ต้องเผชิญน้ำท่วมขังตามมาด้วยปัญหาสุขภาพจิต
วันนี้ (2 มี.ค.) คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และโครงการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรทางนิติบัญญัติ จัดสัมมนา “ถอดบทเรียนน้ำท่วม 2554 : เตรียมรับมือปัญหาสุขภาพ” โดยมีวิยากรจากหลายองค์กรมาร่วมแสดงความเห็น
พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ อภิปรายในหัวข้อ “ผลกระทบต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากน้ำท่วม” ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 มีความรุนแรงทั้งปริมาณน้ำ และระยะเวลา โดยเฉพาะน้ำที่ไหลเข้าท่วมกรุงเทพฯ ไหลผ่านจากเขตพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่การเกษตร ซึ่งมีสารเคมีชนิดต่างๆ รวมถึงโลหะหนักปะปนมากับน้ำด้วย ปัญหาที่ตามมา คือ ปัญหาสุขภาพในด้านต่างๆ ของประชาชน ทั้งในขณะที่น้ำท่วมและหลังน้ำลด จากที่คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาข้อมูลและลงพื้นที่สำรวจ พบว่า ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้สูงกว่า 1,000 ราย สาเหตุจากการจมน้ำตาย และโดนไฟฟ้าช็อต ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถวางแนวทางป้องกันได้ รวมถึงควรทบทวนหลักสูตรการว่ายน้ำเพื่อให้คนไทยมีทักษะในการป้องกันตนเองจากภัยธรรมชาติ
พญ.พรพันธุ์กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในช่วงน้ำท่วม คือ การติดตามดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ อีกทั้งสถานบริการทางการแพทย์ขนาดใหญ่ พบปัญหาระบบไฟฟ้าอยู่ในห้องใต้ดิน แม้อพยพคนไข้ไปอยู่ชั้นสูงสุดของโรงพยาบาลได้ แต่ระบบไฟฟ้าก็ใช้ไม่ได้ เพราะระบบการช่วยชีวิตอยู่ในชั้นที่น้ำท่วมถึง จึงเป็นโจทย์สำคัญที่จะต้องวางแนวทางป้องกันในอนาคต หากชุมชนสามารถรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง มีการสื่อสารที่ดีจะสามารถต่อสู้กับภัยธรรมชาติได้ดีกว่า และช่วยลดความรุนแรงของภัยพิบัติได้ ซึ่งการถอดบทเรียนในครั้งนี้เพื่อเตรียมรับมือ หากจะต้องเกิดเหตุภัยพิบัติเช่นนี้ขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการวางแนวทางในการการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
ด้าน รศ.วิจิตร ฟุ้งลัดดา หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่ผ่านมาการสื่อสารถึงความเสี่ยงไปยังประชาชน ว่าน้ำจะมามากน้อยแค่ไหน จะมีภัยอะไรที่มากับน้ำบ้าง ถือว่ายังไม่เข้มข้นเท่าที่ควร ทั้งที่ข้อมูลจากการสำรวจรอบมหาวิทยาลัยมหิดลที่ศาลายา และพื้นที่น้ำขังรอบชุมชน บ้านเรือนของประชาชนโดยการตรวจคุณภาพน้ำ พบปัญหาสำคัญคือ คุณภาพน้ำไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ มีสี มีกลิ่น ปริมาณอ๊อกซิเจนต่ำ รวมถึงเชื้อโรคฉี่หนู เชื้อแบคทีเรียที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล ส่งผลให้เกิดโลหิตเป็นพิษ รวมถึงเชื้อไวรัสต่างๆ อาทิ ไวรัสตับอักเสบเอ และไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง นอกจากนี้ยังพบยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ และนำโรคเท้าช้างด้วย ดังนั้น ควรมีการสื่อสารให้ประชาชนมีวิธีป้องกันตนเองจากการสัมผัสน้ำเน่าเสียโดยตรง เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา นอกจากนั้นสุขาเคลื่อนที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาพบขยะจากการขับถ่ายและขาดการจัดการ เป็นที่มาของเชื้อโรค
ด้าน นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า จากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2554 ได้ก่อให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 65 จังหวัดของประเทศและก่อให้เกิดความเสียหายในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่เกิดความเสียหายกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งประเมินค่าความเสียหายเป็นจำนวนมหาศาล ด้านสังคมได้ส่งผลกระทบให้ประชาชนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัยต้องอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในศูนย์พักพิงต่างๆ รวมทั้งน้ำท่วมที่คงสภาพนานนับเดือนได้ส่งผลกระทบต่างสุขภาพของประชาชน ทำให้ประชาชนเกิดภาวะตึงเครียดจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาน้ำท่วมยังส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนหลายร้อยคนจากสาเหตุหลักคือ การจมน้ำ การถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต ซึ่งการสูญเสียดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นหากมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและทันท่วงที อย่างไรก็ตามยังพบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของการจัดระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ต้องจัดให้กับประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น 1. หน่วยงานรัฐจึงควรกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการในระดับท้องถิ่น 2. หน่วยงานระดับท้องถิ่นควรส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการดูแลตนเองในช่วงที่เกิดภัยพิบัติโดยไม่ต้องพึ่งพาการให้การช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐเพียงอย่างเดียว
ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ควรมีการเตรียมความพร้อมไม่ใช่พอน้ำมาแล้วจึงค่อยมาเตรียมความพร้อม สิ่งสำคัญในกรณีที่เกิดภัยพิบัติต้องมีระบบตรวจจับถ้าระบบตรวจจับไม่ได้ก็จะเกิดปัญหาเรื่องข้อมูลคลาดเคลื่อน ภัยพิบัติ ครั้งนี้ในปี 2554 ระบบล่มหมดซึ่งช่วงที่อยู่ในระหว่างกู้ภัย ทางกรมควบคุมโรคได้คิดแผนประคองกิจการให้เกิดขึ้นเพื่อใช้ช่วงที่เกิดน้ำท่วมให้สามารถทำงานได้ ซึ่งแผนระบบเฝ้าระวังมี 2 ระบบใหญ่ 1. สถานพยาบาลซึ่งบางสถานที่น้ำท่วม บางที่ต้องปิดทางกรมก็จะสร้างระบบขึ้นมาเสริม เพื่อป้องกัน 8 โรค จากปัญหาน้ำท่วมทำให้ทางกรมเป็นห่วงว่าจะระบาดในกลุ่มเด็ก เพราะเกิดการรวมกลุ่มกันนอกจากนี้ในขณะเดียวกันได้เฝ้าระวังทั้งโรคและเหตุการณ์ 2. ในเรื่องของศูนย์พักพิงเพราะมีประชาชนไปรวมกลุ่มกันมาก 11 นอกจากนี้ยังดำเนินการในการเฝ้าระวังความเสี่ยงในพื้นที่ที่สำคัญและให้ความสำคัญต่อประชาชน ข้อมูลของกรมจะต่างจากของทาง ปภ. เพราะข้อมูลทาง ปภ.จะเป็นข้อมูลทางการและไปสัมพันธ์กับการชดเชย เยียวยาประชาชนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งข้อมูลของทางของทางกระทรวงสาธารณสุข หรือสำนักระบาดใช้เพื่อการป้องกันควบคุมโรคและนำข้อมูลส่วนดังกล่าวสื่อสารกับทาง ปภ. ทั้งนี้ พบว่าผู้เสียชีวิตหลักๆ มาจากสาเหตุจากการจมน้ำที่พบสูงถึง 901 คน และส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย รองลงมาเสียชีวิตจากสาเหตุไฟฟ้าช็อต 153 รายส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล ภาพรวมการเจ็บป่วยของประชาชนครั้งนี้ภาวะโรคระบาดการเจ็บป่วย โรคติดต่อน้อยกว่าหลายประเทศที่เกิดภัยพิบัติ
ขณะที่ นพ.ทวี ตั้งเสรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในช่วงของสุขภาพจิตแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. ช่วงก่อนน้ำท่วม 2. ระยะขนาดที่น้ำกำลังท่วม 3. หลังจากน้ำลดซึ่งทั้ง 3 ระยะมีความแตกต่างในเรื่องสุขภาพจิต ก่อนที่น้ำจะเข้ากรุงเทพฯ ประชาชนได้มีการเสพข่าวสารกันอย่างมากทำให้ประชาชนเกิดความสับสนกับข่าวสารที่ได้รับมาโดยรับข่าวสารกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ส่งผลให้เกิดภาวะวิตกกังวลว่าน้ำจะมาหรือไม่มาเนื่องจากการเสพข่าวสารมาก ปัญหาสุขภาพจิตในระยะที่ 2 ในขณะที่น้ำท่วมอาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เตรียมตัวทัน และกลุ่มที่เรียมตัวไม่ทัน ซึ่งกลุ่มที่เตรียมตัวทันความเสียหายน้อยสุขภาพจิตก็เกิดน้อยไปด้วย ในกลุ่มที่เตรียมตัวไม่ทันเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินปัญหาสุขภาพจิตส่งผลกระทบมาก
สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดปัญหาสุขภาพจิตในภาวะน้ำท่วมออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้สูงอายุที่พบว่ามีความเสี่ยงมาก 2. กลุ่มที่เจ็บป่วยเรื้อรังหรือคนพิการที่ความแข็งแรงทางสภาพร่างกายและจิตใจน้อย 3. กลุ่มคนไข้ทางจิตเวชเดิม อาทิ คนไข้โรคจิตที่อาจมีอาการคุกคั่งได้ตรวจเวลา และ 4. กลุ่มที่มีการสูญเสียทั้งทางด้านทรัพย์สินและญาติพี่น้องในครอบครัว ในการดูแลของกรมสุขภาพจิตครั้งนี้ได้มีการประสานไปยังสาธารณสุขจังหวัดให้ประสานไปยังว่า อยากให้มีการคัดกรองบุคคลทั้ง 4 กลุ่มเพราะถือเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งพบจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีความเครียดสูงถึง 7 เปอร์เซ็นต์ มีภาวะซึมเศร้า 9 เปอร์เซ็นต์ และมีความความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซึ่งทางกรมสุขภาพจิตไม่อยากให้ปัญหาอุทกภัยส่งผลให้ประชาชนต้องฆ่าตัวตายมากขึ้นโดยการป้องกันส่ง อสม.ไปตรวจเยี่ยมทุกสัปดาห์
วันนี้ (2 มี.ค.) คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และโครงการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรทางนิติบัญญัติ จัดสัมมนา “ถอดบทเรียนน้ำท่วม 2554 : เตรียมรับมือปัญหาสุขภาพ” โดยมีวิยากรจากหลายองค์กรมาร่วมแสดงความเห็น
พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ อภิปรายในหัวข้อ “ผลกระทบต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากน้ำท่วม” ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 มีความรุนแรงทั้งปริมาณน้ำ และระยะเวลา โดยเฉพาะน้ำที่ไหลเข้าท่วมกรุงเทพฯ ไหลผ่านจากเขตพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่การเกษตร ซึ่งมีสารเคมีชนิดต่างๆ รวมถึงโลหะหนักปะปนมากับน้ำด้วย ปัญหาที่ตามมา คือ ปัญหาสุขภาพในด้านต่างๆ ของประชาชน ทั้งในขณะที่น้ำท่วมและหลังน้ำลด จากที่คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาข้อมูลและลงพื้นที่สำรวจ พบว่า ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้สูงกว่า 1,000 ราย สาเหตุจากการจมน้ำตาย และโดนไฟฟ้าช็อต ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถวางแนวทางป้องกันได้ รวมถึงควรทบทวนหลักสูตรการว่ายน้ำเพื่อให้คนไทยมีทักษะในการป้องกันตนเองจากภัยธรรมชาติ
พญ.พรพันธุ์กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในช่วงน้ำท่วม คือ การติดตามดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ อีกทั้งสถานบริการทางการแพทย์ขนาดใหญ่ พบปัญหาระบบไฟฟ้าอยู่ในห้องใต้ดิน แม้อพยพคนไข้ไปอยู่ชั้นสูงสุดของโรงพยาบาลได้ แต่ระบบไฟฟ้าก็ใช้ไม่ได้ เพราะระบบการช่วยชีวิตอยู่ในชั้นที่น้ำท่วมถึง จึงเป็นโจทย์สำคัญที่จะต้องวางแนวทางป้องกันในอนาคต หากชุมชนสามารถรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง มีการสื่อสารที่ดีจะสามารถต่อสู้กับภัยธรรมชาติได้ดีกว่า และช่วยลดความรุนแรงของภัยพิบัติได้ ซึ่งการถอดบทเรียนในครั้งนี้เพื่อเตรียมรับมือ หากจะต้องเกิดเหตุภัยพิบัติเช่นนี้ขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการวางแนวทางในการการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
ด้าน รศ.วิจิตร ฟุ้งลัดดา หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่ผ่านมาการสื่อสารถึงความเสี่ยงไปยังประชาชน ว่าน้ำจะมามากน้อยแค่ไหน จะมีภัยอะไรที่มากับน้ำบ้าง ถือว่ายังไม่เข้มข้นเท่าที่ควร ทั้งที่ข้อมูลจากการสำรวจรอบมหาวิทยาลัยมหิดลที่ศาลายา และพื้นที่น้ำขังรอบชุมชน บ้านเรือนของประชาชนโดยการตรวจคุณภาพน้ำ พบปัญหาสำคัญคือ คุณภาพน้ำไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ มีสี มีกลิ่น ปริมาณอ๊อกซิเจนต่ำ รวมถึงเชื้อโรคฉี่หนู เชื้อแบคทีเรียที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล ส่งผลให้เกิดโลหิตเป็นพิษ รวมถึงเชื้อไวรัสต่างๆ อาทิ ไวรัสตับอักเสบเอ และไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง นอกจากนี้ยังพบยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ และนำโรคเท้าช้างด้วย ดังนั้น ควรมีการสื่อสารให้ประชาชนมีวิธีป้องกันตนเองจากการสัมผัสน้ำเน่าเสียโดยตรง เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา นอกจากนั้นสุขาเคลื่อนที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาพบขยะจากการขับถ่ายและขาดการจัดการ เป็นที่มาของเชื้อโรค
ด้าน นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า จากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2554 ได้ก่อให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 65 จังหวัดของประเทศและก่อให้เกิดความเสียหายในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่เกิดความเสียหายกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งประเมินค่าความเสียหายเป็นจำนวนมหาศาล ด้านสังคมได้ส่งผลกระทบให้ประชาชนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัยต้องอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในศูนย์พักพิงต่างๆ รวมทั้งน้ำท่วมที่คงสภาพนานนับเดือนได้ส่งผลกระทบต่างสุขภาพของประชาชน ทำให้ประชาชนเกิดภาวะตึงเครียดจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาน้ำท่วมยังส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนหลายร้อยคนจากสาเหตุหลักคือ การจมน้ำ การถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต ซึ่งการสูญเสียดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นหากมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและทันท่วงที อย่างไรก็ตามยังพบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนของการจัดระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ต้องจัดให้กับประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น 1. หน่วยงานรัฐจึงควรกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการในระดับท้องถิ่น 2. หน่วยงานระดับท้องถิ่นควรส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการดูแลตนเองในช่วงที่เกิดภัยพิบัติโดยไม่ต้องพึ่งพาการให้การช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐเพียงอย่างเดียว
ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ควรมีการเตรียมความพร้อมไม่ใช่พอน้ำมาแล้วจึงค่อยมาเตรียมความพร้อม สิ่งสำคัญในกรณีที่เกิดภัยพิบัติต้องมีระบบตรวจจับถ้าระบบตรวจจับไม่ได้ก็จะเกิดปัญหาเรื่องข้อมูลคลาดเคลื่อน ภัยพิบัติ ครั้งนี้ในปี 2554 ระบบล่มหมดซึ่งช่วงที่อยู่ในระหว่างกู้ภัย ทางกรมควบคุมโรคได้คิดแผนประคองกิจการให้เกิดขึ้นเพื่อใช้ช่วงที่เกิดน้ำท่วมให้สามารถทำงานได้ ซึ่งแผนระบบเฝ้าระวังมี 2 ระบบใหญ่ 1. สถานพยาบาลซึ่งบางสถานที่น้ำท่วม บางที่ต้องปิดทางกรมก็จะสร้างระบบขึ้นมาเสริม เพื่อป้องกัน 8 โรค จากปัญหาน้ำท่วมทำให้ทางกรมเป็นห่วงว่าจะระบาดในกลุ่มเด็ก เพราะเกิดการรวมกลุ่มกันนอกจากนี้ในขณะเดียวกันได้เฝ้าระวังทั้งโรคและเหตุการณ์ 2. ในเรื่องของศูนย์พักพิงเพราะมีประชาชนไปรวมกลุ่มกันมาก 11 นอกจากนี้ยังดำเนินการในการเฝ้าระวังความเสี่ยงในพื้นที่ที่สำคัญและให้ความสำคัญต่อประชาชน ข้อมูลของกรมจะต่างจากของทาง ปภ. เพราะข้อมูลทาง ปภ.จะเป็นข้อมูลทางการและไปสัมพันธ์กับการชดเชย เยียวยาประชาชนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งข้อมูลของทางของทางกระทรวงสาธารณสุข หรือสำนักระบาดใช้เพื่อการป้องกันควบคุมโรคและนำข้อมูลส่วนดังกล่าวสื่อสารกับทาง ปภ. ทั้งนี้ พบว่าผู้เสียชีวิตหลักๆ มาจากสาเหตุจากการจมน้ำที่พบสูงถึง 901 คน และส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย รองลงมาเสียชีวิตจากสาเหตุไฟฟ้าช็อต 153 รายส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล ภาพรวมการเจ็บป่วยของประชาชนครั้งนี้ภาวะโรคระบาดการเจ็บป่วย โรคติดต่อน้อยกว่าหลายประเทศที่เกิดภัยพิบัติ
ขณะที่ นพ.ทวี ตั้งเสรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในช่วงของสุขภาพจิตแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. ช่วงก่อนน้ำท่วม 2. ระยะขนาดที่น้ำกำลังท่วม 3. หลังจากน้ำลดซึ่งทั้ง 3 ระยะมีความแตกต่างในเรื่องสุขภาพจิต ก่อนที่น้ำจะเข้ากรุงเทพฯ ประชาชนได้มีการเสพข่าวสารกันอย่างมากทำให้ประชาชนเกิดความสับสนกับข่าวสารที่ได้รับมาโดยรับข่าวสารกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ส่งผลให้เกิดภาวะวิตกกังวลว่าน้ำจะมาหรือไม่มาเนื่องจากการเสพข่าวสารมาก ปัญหาสุขภาพจิตในระยะที่ 2 ในขณะที่น้ำท่วมอาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เตรียมตัวทัน และกลุ่มที่เรียมตัวไม่ทัน ซึ่งกลุ่มที่เตรียมตัวทันความเสียหายน้อยสุขภาพจิตก็เกิดน้อยไปด้วย ในกลุ่มที่เตรียมตัวไม่ทันเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินปัญหาสุขภาพจิตส่งผลกระทบมาก
สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดปัญหาสุขภาพจิตในภาวะน้ำท่วมออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้สูงอายุที่พบว่ามีความเสี่ยงมาก 2. กลุ่มที่เจ็บป่วยเรื้อรังหรือคนพิการที่ความแข็งแรงทางสภาพร่างกายและจิตใจน้อย 3. กลุ่มคนไข้ทางจิตเวชเดิม อาทิ คนไข้โรคจิตที่อาจมีอาการคุกคั่งได้ตรวจเวลา และ 4. กลุ่มที่มีการสูญเสียทั้งทางด้านทรัพย์สินและญาติพี่น้องในครอบครัว ในการดูแลของกรมสุขภาพจิตครั้งนี้ได้มีการประสานไปยังสาธารณสุขจังหวัดให้ประสานไปยังว่า อยากให้มีการคัดกรองบุคคลทั้ง 4 กลุ่มเพราะถือเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งพบจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีความเครียดสูงถึง 7 เปอร์เซ็นต์ มีภาวะซึมเศร้า 9 เปอร์เซ็นต์ และมีความความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซึ่งทางกรมสุขภาพจิตไม่อยากให้ปัญหาอุทกภัยส่งผลให้ประชาชนต้องฆ่าตัวตายมากขึ้นโดยการป้องกันส่ง อสม.ไปตรวจเยี่ยมทุกสัปดาห์