172 นักวิชาการและประชาชน ร่อนจดหมายเปิดผนึกจวกนายกฯ ใช่สักแต่ว่าเป็นหญิง หลังชอบใช้เพศเป็นข้ออ้างทางการเมือง สร้างความสับสนต่อชาติ ปกป้องความผิดตัวเอง ทำสถานะถอยหลังลงคลอง ชูสตรีเบอร์ 1 นานาชาติไม่เคยอ้างเพศระหว่างเป็นผู้นำ ชี้ ทวงเกียรติต้องมิใช่เรียกร้องความเห็นใจหนีการตรวจสอบ สับเอาสีข้างถูทำหญิงไทยเสื่อมเกียรติ จวกตั้งกองทุนสตรีแค่สนองนโยบาย พท.
วันนี้ (27 ก.พ.) กลุ่มนักวิชาการและประชาชนรวม 172 คน ร่วมลงชื่อพร้อมออกจดหมายเปิดผนึกหัวข้อ “ใช่สักแต่ว่าเป็นหญิง” โดยระบุว่า การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยนำ “ความเป็นหญิง” มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง กล่าวอ้าง แก้ต่างความไร้ประสิทธิภาพ หรือความผิดพลาดในการบริหารบ้านเมือง รวมถึงหลีกเลี่ยงการชี้แจงตอบข้อซักถามในฐานะผู้นำประเทศทั้งในและนอกสภา นับวันจะสร้างความสับสนให้แก่ประเทศชาติมากขึ้นเป็นลำดับ
กลุ่มผู้มีรายชื่อแนบท้ายใคร่ขอความร่วมมือสื่อมวลชนเผยแพร่ทัศนคติเกี่ยวกับความเป็นหญิงความเป็นชายบนพื้นฐานความคิดอย่างใช้สามัญสำนึก ว่า การอ้างความเป็นหญิงด้วยเจตนาหลีกเลี่ยงตอบข้อซักถาม เบี่ยงเบน บิดเบือนประเด็นข้อเท็จจริง และอาจถึงกับปกปิดความผิดพลาดอันเนื่องจากความไม่เดียงสา ไร้ประสบการณ์ ด้อยประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสังคมประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการทำให้สถานภาพสตรีไทยประสบภาวะ “ถอยหลังเข้าคลอง” อย่างยิ่ง
ทางกลุ่มขอเสนอข้อคิดเห็นที่มีต่อปรากฏการณ์ “สักแต่ว่าเกิดเป็นหญิง” แล้วนำมาใช้เป็นเหตุผลให้ความชอบธรรมในการทำงานไม่ว่าจะด้านบริหาร ด้านงบประมาณ ด้านนิติบัญญัติ รวมถึงความประพฤติส่วนตัวโดยทั่วไป ดังนี้
1.บรรดาผู้นำหญิงในโลกตะวันออก ตะวันตก รวมถึงทวีปแอฟริกา ทั้งในยามสถานการณ์ปกติ หรือในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง ก็หาได้มีผู้ใดอ้างถึง “ความเป็นหญิง” ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ผู้นำ อาทิ นางอองซาน ซู จี ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า นางมาการ์เร็ต แธตเชอร์ ในกรณีฟอล์คแลนด์ นางเบนาซีร์ บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถานในกรณีสามีถูกกล่าวหาพัวพันคอร์รัปชัน
2.การเรียกร้องโอกาส การกล่าวอ้างทวงสิทธิ ทวงเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้หญิงให้เป็นที่ยอมรับ สมควรกระทำอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้หญิงถูกเลือกปฏิบัติ หรือกีดกันจากกฎหมาย สังคม การเมือง และวัฒนธรรม แต่มิใช่และไม่สมควรกระทำเพื่อเรียกร้องความเห็นใจต่อความประพฤติส่วนตัวที่มิได้เกี่ยวกับการถูกกีดกันใดๆ หรือที่ร้ายยิ่งกว่านี้ ก็คือ สร้างสิทธิพิเศษหลีกหนีหน้าที่อันพึงปฏิบัติต่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและตรวจสอบ ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 30 ระบุไว้ชัดเจนว่า หญิงมีสิทธิเท่าเทียมกับชาย นั่นย่อมหมายความว่า นายกรัฐมนตรีไม่ว่าจะเป็นเพศใด เมื่อไม่เข้าประชุมสภา ก็ต้องชี้แจงสาเหตุอย่างตรงไปตรงมา นายกรัฐมนตรีไม่มีสิทธิกล่าวอ้างว่าเป็นการเหยียดหยามศักดิ์ศรี หรือสาเหตุอื่นใดในอันที่จะไม่ชี้แจงการไม่เข้าประชุมสภา
3.การนำ “ความเป็นหญิง” มาใช้เป็นเหตุผลอย่าง “เอาสีข้างเข้าถู” ในการบริหารบ้านเมืองและตอบข้อซักถามของสังคมเช่นนี้ นอกจากไม่สมควรเป็นเยี่ยงอย่างแก่ลูกผู้หญิงคนใด ทำให้ประชากรหญิงซึ่งรวมถึงผู้นำสตรีในทุกวงการ เศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองและวัฒนธรรม ต้องพลอยเสื่อมเสียเกียรติภูมิ ที่บรรพบุรุษสตรีไทยได้สะสมสร้างมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยังอาจนำสังคมประเทศชาติไปสู่วิธีคิดที่เบี่ยงเบนและเดินผิดทางจนอาจหายนะได้ในที่สุด
4.การตั้งกองทุนพัฒนาสตรีโดยมองข้ามกลุ่มด้อยโอกาสอื่นๆ ที่มีความวิกฤติและเร่งด่วนกว่ามากมายนัก อาทิเช่น กลุ่มผู้พิการโดยเฉพาะเด็กพิการแต่กำเนิดที่ยังมีโอกาสฟื้นฟู การศึกษาของเด็กชาวไทยภูเขา สิทธิการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ สิทธิคนรับใช้ตามบ้าน กลุ่มแม่หรือพ่อเลี้ยงลูกตามลำพัง กลุ่มคนชราดูแลลูกหลานของครอบครัวแหว่ง ย่อมเป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นอย่างไม่เท่าเทียมและไม่ทั่วถึง ทั้งยังมีเงื่อนไขให้ต้องลงทะเบียนสมาชิกเป็นการเฉพาะกลุ่มเฉพาะกิจราวกับเพื่อตอบสนองนโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองเท่านั้น
5.การใช้ “ผ้าซิ่น” เป็นสัญลักษณ์แทนหญิงเพื่อดูหมิ่นเหยียดหยาม ไม่ว่าจะด้วยการกระทำหรือด้วยวาจาดังเช่นอดีต ส.ส.หญิงคนหนึ่งได้เคยอภิปรายตอบโต้ในสภา ให้ ส.ส.ชาย “เอาผ้าซิ่นมานุ่ง” จนต้องถอนคำพูด นอกจากเป็นการตอกย้ำทัศนคติสังคมที่ดูถูกสตรีในฐานะเพศแม่ หากเป็นหญิงกระทำเสียเองแล้ว แม้จะถือว่าเป็นการที่ผู้นั้นได้ “ตบหน้าตัวเอง” ในที่สาธารณะ ยังนับเป็นความน่าละอายทางสังคมที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก
กลุ่มผู้มีรายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้มีความวิตก กังวลอย่างยิ่งที่การนำ “ความเป็นหญิง” มาใช้เป็นเหตุผลในกรณีต่างๆอย่างผิดกาลเทศะโดยนายกรัฐมนตรี หญิงคนแรกของประเทศเช่นนี้ จะเป็นการสร้างมาตรฐานที่ผิดๆ สร้างเหตุที่ในทางกฏหมายเรียกว่า “บรรทัดฐาน” ไปในทิศทางที่เบี่ยงเบนและผิดเจตนารมณ์ของหลักการความเท่าเทียมทางเพศที่ ประชาคมโลกยึดถือกันเป็นสากล
โดยรายนามผู้ลงชื่อประกอบด้วย
1.รองศาสตราจารย์ ดร.สอางค์ มะลิกุล
2.ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ กัมพูสิริ
3.ฯพณฯ ปกศักดิ์ นิลอุบล
4.ศาสตราจารย์ ดร.สดชื่น ชัยประสาธน์
5.ศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ทินกร
6.รองศาสตราจารย์ วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน
7.อาจารย์ ธาวิต สุขพานิช
8.อาจารย์ ศริยา สุขพานิช
9.นายแพทย์ สวัสดิ์ สินธุเสน
10.อาจารย์ ศุภร สินธุเสน
11.อาจารย์ พิรุณา ติงศภัทิย์
12.ดร.จุฬาภรณ์ เอื้อรักสกุล
13.อาจารย์ จรัญ วรรณรัตน์
14.อาจารย์ ปณต อัศวชัย
15.รองศาสตราจารย์ ดร.อมรสิริ สัณห์สุรัติกุล เกียระสาร
16.สุกัญญา หาญตระกูล
17.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง
18.รองศาสตราจารย์ จินตนา เชิญศิริ
19.รองศาสตราจารย์ ชูศรี มณีพฤกษ์
20.รุ่งนภา สุทธิรักษ์
21.ปัทมกร นุชอนงค์
22.วรวรรณ กิ่งแก้วก้านทอง
23.ศิริพร นพเก้ารัตนมณี
24.จันทรา เจนเทวาสิน
25.จันทรัช สุพรรณพงษ์
26.วิไลพรรณ ชาติธนานนท์
27.เสวาณีย์ เลิศพงษ์ไทย
28.ณัฏฐา สุพรรณพงษ์
29.พนิดา พวงดอกไม้
30.ดวงพร วงศ์ศรีตระการ
31.ประยูรศรี ชาญณรงค์
32.วศินี อธิสุข
33.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จีระพันธุ์ เหมะจุฑา
34.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนันท์ ปาลวัฒน์
35.ชาตรี กุลชล
36.พจนีย์ กุลชล
37.กรกช กุลชล
38.เชษฐพร กุลชล
39.ชานนท์ กุลชล
40.ชัชศรี กาณจนาภรณ์
41.ธนินท์ธร ณ. สงขลา
42.ชยมนต์ จิตเมตตา
43.ยุพยง นิ่มสมบุญ
44.พาวิไล บุราวาส
45.จันทสิริ เจริญพิทักษ์
46.สมศักดิ์ สิงหลกะ
47.จิโรจ สิงหลกะ
48.เสาวรภย์ สิงหลกะ
49.โศจิรัจน์ สิงหลกะ
50.กนิษฐา ปวีณะโยธิน
51.ฉันทนี ช่วงสุวนิช
52.ชญาวรี ช่วงสุวนิช
53.บุญเขต ช่วงสุวนิช
54.วัจนา สกุลแรมรุ่ง
55.โกวิท ด่านสวัสดิ์วงศ์
56.อัญชลี สังสิทธิ
57.สมบูรณ์ พานิชอัตรา
58.อุไร พานิชอัตรา
59.ปราณี นิคมรัตน์
60.ปราณี สุขสุเมฆ
61.จิราพร พรหมเกษตริน
62.เผชิญ โบตระกูล
63.ศรีสุรัตน์ สังเจริญ
64.ศิริพร กิ่งแก้ว
65.พรรณรัตน์ กิ่งแก้ว
66.นิยม จั่นบุญมี
67.อาจารย์ อาภรณ์ เกิดปิติ
68.ศรีหยก เทพมังกร
69.วารี วงศ์สุวรรณ
70.อุไร รัศมีวงศ์จันทร์
71.กรรทิพย์ เทพมังกร
72.นริศ อารีย์วงศ์สกุล
73.ปราณี ฉัตรชาตรี
74.ประพันธ์ สุพจนันทบูล
75.สุรชัย สุพจนันทบูล
76.มายุรี พึ่งเนตร
77.เชิญ พึ่งเนตร
78.เพ็ญพรรณ เครือรัตน์
79.พูลศักดิ์ หุ่นจิตติเวชกุล
80.ชาญณรงค์ ฉัตรชาตรี
81.จริยะ คุ้มทรัพย์
82.อุไร ธีระวัฒน์
83.มณฑิรา นนทะนาคร
84.วาทิศา ปิยะมาพรชัย
85.ลักษณาภรณ์ ฉันทะไกรวัฒน์
86.กรองทอง พิชญางค์กูล
87.ปัทมา กาญจนะชูศักดิ์
88.สุจิตรา มีนสุข
89.นิ่มนวล รุ่งโรจนวัน
90.นิรมล สุวรรณประทีป
91.สุกัญญา เกษอุดมทรัพย์
92.สุเทพ ล้อมทอง
93.บุญนาค ฉัตรเฉลิมวิทย์
94.ไพรวัลย์ แก้วเขียว
95.บัว ธรรมดา
96.นฤมล ทรงวิเศษ
97.วรรณี ฉัตรบริรักษ์
98.เพ็ญพรรณ เครือรัตน์
99.อังคณา พอควร
100.ชูชีพ วุฒิวัย
101.ไพทูรย์ เทพมังกร
102.ไพรัช เทพมังกร
103.พฤพลอย จันทวิรัช
104.พร้อมเพ็ญ อุไรรุจน์
105.ชุติมา เทพมังกร
106.นภาพร รัศมีวงศ์จันทร์
107.นงลักษณ์ แซ่เอี๊ยะ
108.ชาญณรงค์ ฉัตรชาตรี
109.ประนอม เกื้อประเสริฐกิจ
110.ชม้อย เทพมังกร
111.ธำรง ฉัตรชาตรี
112.อมรรัตน์ ฉัตรชาตรี
113.จินตนา เทพมังกร
114.อภิชยา นุชอนงค์
115.นฤมล กาญจนทัต
116.รองศาสตราจารย์ ดร.อุบลวรรณ โชติวิสิทธิ์
117.วิมล จางจุรัศมี
118.ลักษณา ชินะชาครีย์
119.กนกพร โชติวิสิทธิ์
120.ศุภชัย โชติทอง
121.สุทิน อมรพจน์
122.นงนุช ชมจันทร์
123.ยุพา นวลศรี
124.เกวลี จิตแปลง
125.เหลียนกิ้ม จิตแปลง
126.จิรวรรณ ภักดีบุตร
127.จักรกฤษณ์ เจริญสิทธิ
128.ชวัลยา ชัยประสาธน์
129.นพพร ชัยประสาธน์
130.กุลยา เพี้ยนศรี
131.ชัชวลัย แสงวรรณ์
132.น้ำทิพย์ สิโรรส
133.ประภัสสร วารยานนท์
134.พิมพา อภิญญชาติ
135.อัชฌา ตั้งติปกรณ์
136.ศรุดา เจริญพานิช
137.กุลวดี ยู
138.วลี สุขพิศาล
139.ดาราวรรณ รักษ์สันติกุล
140.สิริวรรณ เจนการ
141.ดารณี มิ่งมณีนาคิน
142.ถนอมทรัพย์ บัวแก้ว
143.อำไพ สัตรูแสยง
144.วนิดา บุนนาค
145.ไลลา บุนนาค
146.ลิลลา บุนนาค
147.นิตยา วงศาโรจน์
148.มรรยาท วงศาโรจน์
149.ดวงแข วงศาโรจน์
150.ยุพิน จันทร์เจริญสิน
151.ณัฐนันท์ เกิดศิริ
152.กัญจนาภรณ์ ปิยะธรรม
153.ฤดีรัตน์ เปล่งปลั่ง
154.อาภรณ์ จอมบุญ
155.จรัญ จอมบุญ
156.จันทร์แรม มีแก้ว
157.กรองกาญจน์ ชัยสุขภิรมย์
158.อรรถพงษ์ อยู่สุข
159.ดร.อรุณ เกียระสาร
160.ศรีภมร พงษ์พานิช
161.ดวงพร ตันชีวะวงศ์
162.สุมล ว่องวงศ์ศรี
163.ณัฐพงศ์ นุชอนงค์
164.ศิรัส เอี่ยมสุภา
165.ภัทรวรรณ รัตนเสวตวัฒน์
166.พิญญา โบฮ์เรน
167.บงก์ปัทมา กุศลาไสยานนท์
168.พัชรินทร์ พรหมพันธุ์ใจ
169.ประภาส พรหมพันธุ์ใจ
170.ยุวดี วัฒนกูล
171.รณลดา มีสุข
172.รศ.ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์