xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” เดินสายหาเสียงในพื้นที่ขัดแย้งรัฐกะฉิ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี แกนนำฝ่ายค้านของพม่า โบกมือลาก่อนเข้าไปภายในเครื่องบินที่จอดอยู่ในสนามบินทวาย เพื่อเดินทางกลับนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 29 ม.ค.  และในวันนี้ (23 ก.พ.) นางซูจีมีกำหนดเดินทางไปยังรัฐกะฉิ่น ทางเหนือของประเทศ เพื่อรณรงค์หาเสียงในช่วงบ่าย. -- REUTERS/Soe Zeya Tun. </font></b>

เอเอฟพี - นางอองซานซูจี ผู้นำสนับสนุนประชาธิปไตยของพม่า เดินทางรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้กับพรรคของเธอในพื้นที่ขัดแย้งทางเหนือของประเทศในวันนี้ (23 ก.พ.) ในความพยายามส่งเสริมสนับสนุนชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

นางอองซานซูจี มีกำหนดเดินทางไปยังเมืองมิตจีนา รัฐกะฉิ่น เพื่อปราศรัยหาเสียงในช่วงบ่ายของวันนี้ ก่อนการเลือกตั้งซ่อมจะมีขึ้นในวันที่ 1 เม.ย.

การเลือกตั้งที่จะได้เห็นนางอองซานซูจี เข้าร่วมลงสมัครชิงที่นั่งในสภาเป็นครั้งแรกในเขตเลือกตั้งใกล้นครย่างกุ้ง ถูกพิจารณาให้เป็นการทดสอบสำคัญต่อคำมั่นของรัฐบาลที่จะดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศ

การต่อสู้ระหว่างกองทัพทหารของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยในพื้นที่บางส่วนของรัฐกะฉิ่นเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน มิ.ย.2554 ส่งผลให้ประชาชนจำนวนหลายหมื่นคนต้องอพยพ และในพื้นที่รัฐกะฉิ่นยังมีความไม่พอใจต่อโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าที่จีนให้การสนับสนุนในพื้นที่ ที่ในเวลาต่อมา รัฐบาลออกคำสั่งระงับการก่อสร้างเขื่อนยักษ์มูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ หลังเกิดการคัดค้านจากสาธารณชน

รัฐบาลพม่าจัดการเจรจาสันติภาพกับผู้แทนจากองค์การปลดปล่อยชาวกะฉิ่น (KIO) ในจีน เมื่อเดือน ม.ค.ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะจัดเจรจาหารือเพื่อหาทางยุติความขัดแย้งต่อไป

การสร้างสันติภาพกับกลุ่มกะฉิ่นและกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิรูปของรัฐบาลชุดใหม่ที่ขึ้นบริหารประเทศเมื่อปีที่ผ่านมา แม้จะมีความไม่เชื่อใจเกี่ยวกับความจริงใจหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ขัดแย้งทางชาติพันธุ์ก็ตาม

สงครามกลางเมืองที่ปะทุขึ้นในพื้นที่ต่างๆ นับตั้งแต่พม่าได้รับอิสรภาพในปี 2491 รวมทั้งการกล่าวหาว่ากองกำลังทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นข้อเรียกร้องหลักของประชาคมระหว่างประเทศที่ต้องการให้พม่าแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รวมทั้งนางซูจีที่บางครั้งไม่ได้รับการไว้วางใจจากชนกลุ่มน้อยก็เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงเช่นกัน

การเดินทางเยือนรัฐกะฉิ่นนาน 2 วันของนางซูจีครั้งนี้ ถูกมองว่าเป็นการแสดงออกถึงท่าทีสนับสนุนต่อชนกลุ่มน้อย

การตัดสินใจของนางซูจีที่จะเข้าร่วมเลือกตั้งชิงที่นั่งในสภานับเป็นสัญญาณล่าสุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพม่า หลังสิ้นสุดการปกครองระบอบเผด็จการทหาร

รัฐบาลชุดใหม่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้สังเกตการณ์ด้วยการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องหลายด้าน แม้ว่าฝ่ายค้านจะไม่สามารถค้านเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นพรรครัฐบาลได้แม้จะได้ที่นั่งในสภาที่เหลือทั้งหมดอีก 48 ที่นั่งก็ตาม แต่ชัยชนะของนางซูจี จะนำมาซึ่งความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐสภา
กำลังโหลดความคิดเห็น