xs
xsm
sm
md
lg

พม่าตกลงสงบศึกกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวมอญ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้แทนจาก KNU สัมผัสมือกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า (ขวา) หลังเจรจาข้อตกลงสงบศึก ที่เมืองปะอัน เมื่อวันที่ 12 ม.ค. พม่าเดินหน้าเจรจาข้อตกลงสันติภาพกับชนกลุ่มน้อยในประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตย และเพื่อยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก ล่าสุดพม่าได้ลงนามสงบศึกกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวมอญ วานนี้ (1 ก.พ.) .--AFP PHOTO/Soe Than Win.</font></b>

รอยเตอร์ - นักเจรจาสันติภาพ ระบุว่า พม่าเห็นชอบสงบศึกกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชนกลุ่มน้อยชาวมอญ วานนี้ (1 ก.พ.) นับเป็นข้อตกลงสันติภาพครั้งล่าสุดที่รัฐบาลพลเรือนของพม่าพยายามปฏิรูปประเทศเพื่อยุติการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากชาติตะวันตก

การเจรจาสงบศึกระหว่างกองทัพทหารพม่าและพรรครัฐมอญใหม่ (New Mon State Party - NMSP) เป็นข้อตกลงฉบับที่ 7 ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มกบฏชนกลุ่มน้อยในประเทศนับตั้งแต่ประธานาธิบดี เต็งเส่ง เรียกร้องให้มีการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเมื่อปลายปี 2554

การสงบศึกเป็นหนึ่งในความพยายามที่อาจช่วยให้พม่าพ้นจากการถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตร รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมือง และการจัดการเลือกตั้งซ่อมในเดือน เม.ย.อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งสหรัฐฯและสหภาพยุโรปต่างต้องการให้พม่าสร้างสันติกับชนกลุ่มน้อยก่อนจะทบทวนยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร

NMSP เป็นพรรคการเมืองของกองทัพปลดปล่อยชาติพันธุ์มอญ (Mon National Liberation Army - MNLA) ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเอง ในรัฐมอญ ทางตะวันออกของพม่า ตกลงเห็นชอบที่จะจัดตั้งสำนักงานประสานงานและจำกัดการเคลื่อนย้ายอาวุธ

“รัฐบาลรัฐมอญและ NMSP ได้ลงนามข้อตกลงในหลักการเบื้องต้น 5 ข้อ ในเช้าวันนี้ (1 ก.พ.)” นายหล่า หม่อง ฉ่วย กล่าวผ่านโทรศัพย์จากเมืองเมาะลำไย ที่เป็นสถานที่ในการเจรจา ห่างจากนครย่างกุ้งทางตะวันออก ราว 304 กม.

บรรดาชนกลุ่มน้อยในพม่าส่วนใหญ่ต้องการที่จะปกครองตนเอง และข้อตกลงในลักษณะเดียวกันนี้ รัฐบาลพม่าได้เจรจาลงนามแล้วกับกลุ่มกะเหรี่ยง KNU และกองทัพรัฐชาน แต่การเจรจากับกองทัพเอกราชกะฉิ่น (KIA) ยังติดขัดเนื่องจากการสู้รบยังคงมีอยู่ และส่งผลให้ผู้คนกว่า 50,000 คน ต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน

รัฐกะฉิ่นเป็นพื้นที่เดิมพันทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทูต เนื่องจากรัฐกะฉิ่นเป็นศูนย์กลางของผลประโยชน์ด้านพลังงานของทั้งพม่าและจีน เป็นที่ตั้งของเขื่อนไฟฟ้าและท่อส่งผ่านน้ำมันปิโตรเลียม หรือก๊าซธรรมชาติที่เชื่อมต่อไปยังมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน.
กำลังโหลดความคิดเห็น