xs
xsm
sm
md
lg

พม่าเจรจาหยุดยิง KNU กลุ่มใหญ่ เดินหน้่าปรองดองชาติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 11 ม.ค.  นายพลมูตู เซ โพ (ซ้าย) เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง ที่เป็นผู้แทนของ KNU เดินร่วมกับเจ้าหน้าที่พม่า หลังเดินทางเพื่อเข้าร่วมเจรจาหารือกับคณะผู้แทนจากรัฐบาล ในเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง. --  AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>

เอเอฟพี - รัฐบาลพม่าและสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) เริ่มเจรจาสันติภาพวันนี้ (12 ม.ค.) เพิ่มความหวังว่าจะมีการหยุดยิงเพื่อยุติการต่อสู้ที่ยืดเยื้อกันมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ ในความพยายามของรัฐบาลพม่าที่จะปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศ

คณะผู้แทนจากรัฐบาลพม่าและผู้บัญชาการกองกำลังทหารเข้าพบหารือกับสมาชิก KNU ระดับสูงเกือบ 20 คน ในเมืองปะอัน เมืองเอกของรัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันออกของพม่า

“เราจะเริ่มต้นเจรจาไม่ว่าท้ายที่สุดจะสามารถลงนามข้อตกลงสันติภาพได้หรือไม่” นายหล่า หม่อง ฉ่วย (Hla Maung Shwe) ผู้เจรจาคนกลางและผู้ก่อตั้งกลุ่มประชาสังคมเมียนมาร์อีเกรส (Myanmar Egress) ที่เป็นผู้นำในการเจรจาครั้งนี้ กล่าว และว่า ผลสรุปจะมีขึ้นในช่วงบ่ายวันนี้

รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ของพม่าที่ขึ้นบริหารประเทศในเดือน มี.ค.2554 ได้พยายามที่จะเข้าถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปที่มีเป้าหมายยุติการถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก

สงครามกลางเมืองที่ปะทุขึ้นในพื้นที่ต่างๆ นับตั้งแต่พม่าได้รับอิสรภาพในปี 2491 รวมทั้งการกล่าวหาว่ากองกำลังทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นข้อเรียกร้องหลักของประชาคมระหว่างประเทศที่ต้องการให้พม่าแก้ไขปัญหาเหล่านี้

หนึ่งในผู้นำของ KNU ที่รู้จักในชื่อ พลตรี จอห์นนี่ ได้แสดงความคิดเห็นเชิงบวกต่อการเจรจากับรัฐบาลพม่าที่จะมีขึ้นนี้

“ในเวลานี้พวกเขาไม่ได้เรียกร้องให้กองกำลังของเรายอมแพ้ แต่พวกเขาแค่ต้องการทำงานเพื่อสิทธิอันเท่าเทียมให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และในเวลานี้เราเชื่อพวกเขา” พลตรี จอห์นนี่กล่าว แต่ก็เสริมว่า KNU ต่อสู้มานานกว่า 60 ปี และเพียงแค่การเจรจาหารือเพียงครั้งเดียวไม่ได้ทำให้การต่อสู้ยุติลง

ราษฎรจำนวนมากในรัฐกะเหรี่ยง ถูกบังคับให้ต้องหลบหนีและผู้คนนับหมื่นคนที่เป็นผู้ลี้ภัยต้องอาศัยอยู่ในค่ายตามแนวพรมแดนของไทย และบรรดากลุ่มคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า การปราบปรามกบฎของรัฐบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ชาวกะเหรี่ยงต้องทิ้งบ้านเรือนของตนเอง หมู่บ้านถูกทำลายและยังถูกบังคับให้ทำงานให้กับกองทัพ

ในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลท้องถิ่นและกองทัพรัฐชานใต้ ที่เป็นหนึ่งในกองกำลังกลุ่มกบฏสำคัญ ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิง และในเวลาต่อมา รัฐบาลพม่ายังได้เจรจาหารือกับชนกลุ่มน้อยอีกหลายกลุ่มที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนและเรียกร้องสิทธิ รวมทั้ง KNU ด้วย

สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปต่างเรียกร้องให้พม่าดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศอย่างต่อเนื่องและมากยิ่งขึ้น ก่อนที่พวกเขาจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โดยข้อเรียกร้องสำคัญ คือ การปล่อยตัวนักโทษการเมืองและการยุติความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อย
<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 11 ม.ค.  นายซอว์ จอว์นี (ขวา) ผู้แทนจาก KNU พูดคุยกับนายขิ่น ยี (ซ้าย) รัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองของพม่า ระหว่างงานเลี้ยงมื้อค่ำต้อนรับที่จัดขึ้นในคืนก่อนการเจรจาหารือระหว่างผู้นำของ KNU และคณะผู้แทนจากรัฐบาลพม่า. --  AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>
<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 11 ม.ค. นายพลมูตู เซ โพ (กลาง) ผู้แทนจาก KNU ร่วมดื่มอวยพรพร้อมกับนายอองมิน (ที่ 2 จากซ้าย) รัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟ นายโซ เต่ง (ที่ 2 จากขวา) รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม และนายขิ่น ยี (ขวา) รัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง. --  AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น