ที่ประชุม ครม.สั่งตัดงบ คกก.เยียวยาผู้ประสบอุทกภัยลง 4 พันล้าน หลังสำนักงบฯ-สภาพัฒน์ ชี้ ไม่เป็นตามหลักเกณฑ์ เหลืออีก 19 โครงการ ให้ใช้งบกลางปี 55 พันล้าน โยงถึงปี 56 อีก 3.3 พันล้าน
วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางฐิติมา ฉายแสง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ได้พิจารณาเรื่องสรุปผลการพิจารณาค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ตามที่คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ที่มี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน โดยจากการพิจารณาร่วมกันของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) นั้น สำนักงบประมาณ และสภาพัฒน์ พิจารณาโครงการต่างๆ ตามที่ กฟย.พิจารณาเมื่อ 28 ธ.ค.ในวงเงิน 21,315,0717 ล้านบาท โดยกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับโครงการที่เข้าข่ายชะลอและยกเลิกมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ 1.โครงการที่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น หรือซ้ำซ้อนกับโครงการของจังหวัดที่ได้รับอนุมัติ ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 ม.ค.55 หรือสามารถปรับแผนการปฏิบัติงานมาดำเนินการ หรือสามารถชะลอไปเสนอขอตั้งงบประมาณปี 2556 ได้ 2.โครงการที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีความสำคัญน้อย หรือไม่มีความพร้อมในการดำเนินการ หรือไม่อยู่ในภารกิจตามกฎหมายของหน่วยงาน 3.โครงการลักษณะการก่อสร้าง ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขซ่อมแซมของเดิมที่ชำรุดเสียหายเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยโดยตรง 4.โครงการจัดฝึกอบรม สัมมนา ภายในส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ 5.โครงการที่มีผลกระทบกับการจัดทำแผนการดำเนินการงานเพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำของ กยน.6.โครงการที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายใน 1 ปี
นางฐิติมา กล่าวอีกว่า จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว สรุปว่า ให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ ปีงบประมาณ 2555เพื่อดำเนินการในวงเงิน 2,373.0600 ล้านบาท ในส่วนของค่าเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีในปีการผลิต 2554/2555 ที่เก็บเกี่ยวและขายผลผลิตข้าว ช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.2554 ให้ครอบคลุมถึง 6 ต.ค.2554 วงเงิน 4,581.6000 ล้านบาท โดยให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ ธ.ก.ส.สำรองจ่ายจากงบประมาณของ ธ.ก.ส.ไปก่อน ซึ่งจะมีการตั้งงบประมาณชดเชยให้ ธ.ก.ส.ในปีงบประมาณ 2556
สำหรับวงเงินจำนวน 9,562.0405 ล้านบาท หากยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการ ก็ขอให้หน่วยงานเสนอปรับแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2555 หรือเสนอขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายปี 2556 เนื่องจากเป็นภารกิจประจำของหน่วยงาน ทั้งนี้ มีการพิจารณายกเลิกโครงการ เป็นเงิน 4,798.3712 ล้านบาท เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
นอกจากนี้ นางฐิติมา กล่าวอีกว่า ในการพิจารณาทบทวนโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว พบโครงการที่ดำเนินการในลักษณะของการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จำนวน 19โครงการ ในวงเงิน 4,439.5730 ล้านบาท โดยให้จ่ายจากงบกลาง รายการใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ ปีงบประมาณ 2555 วงเงิน 1,063.4928 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2556 วงเงิน 3,376.0802 ล้านบาท
วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางฐิติมา ฉายแสง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ได้พิจารณาเรื่องสรุปผลการพิจารณาค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ตามที่คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ที่มี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน โดยจากการพิจารณาร่วมกันของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) นั้น สำนักงบประมาณ และสภาพัฒน์ พิจารณาโครงการต่างๆ ตามที่ กฟย.พิจารณาเมื่อ 28 ธ.ค.ในวงเงิน 21,315,0717 ล้านบาท โดยกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับโครงการที่เข้าข่ายชะลอและยกเลิกมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ 1.โครงการที่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น หรือซ้ำซ้อนกับโครงการของจังหวัดที่ได้รับอนุมัติ ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 ม.ค.55 หรือสามารถปรับแผนการปฏิบัติงานมาดำเนินการ หรือสามารถชะลอไปเสนอขอตั้งงบประมาณปี 2556 ได้ 2.โครงการที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีความสำคัญน้อย หรือไม่มีความพร้อมในการดำเนินการ หรือไม่อยู่ในภารกิจตามกฎหมายของหน่วยงาน 3.โครงการลักษณะการก่อสร้าง ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขซ่อมแซมของเดิมที่ชำรุดเสียหายเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยโดยตรง 4.โครงการจัดฝึกอบรม สัมมนา ภายในส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ 5.โครงการที่มีผลกระทบกับการจัดทำแผนการดำเนินการงานเพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำของ กยน.6.โครงการที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายใน 1 ปี
นางฐิติมา กล่าวอีกว่า จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว สรุปว่า ให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ ปีงบประมาณ 2555เพื่อดำเนินการในวงเงิน 2,373.0600 ล้านบาท ในส่วนของค่าเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีในปีการผลิต 2554/2555 ที่เก็บเกี่ยวและขายผลผลิตข้าว ช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.2554 ให้ครอบคลุมถึง 6 ต.ค.2554 วงเงิน 4,581.6000 ล้านบาท โดยให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ ธ.ก.ส.สำรองจ่ายจากงบประมาณของ ธ.ก.ส.ไปก่อน ซึ่งจะมีการตั้งงบประมาณชดเชยให้ ธ.ก.ส.ในปีงบประมาณ 2556
สำหรับวงเงินจำนวน 9,562.0405 ล้านบาท หากยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการ ก็ขอให้หน่วยงานเสนอปรับแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2555 หรือเสนอขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายปี 2556 เนื่องจากเป็นภารกิจประจำของหน่วยงาน ทั้งนี้ มีการพิจารณายกเลิกโครงการ เป็นเงิน 4,798.3712 ล้านบาท เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
นอกจากนี้ นางฐิติมา กล่าวอีกว่า ในการพิจารณาทบทวนโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว พบโครงการที่ดำเนินการในลักษณะของการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จำนวน 19โครงการ ในวงเงิน 4,439.5730 ล้านบาท โดยให้จ่ายจากงบกลาง รายการใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ ปีงบประมาณ 2555 วงเงิน 1,063.4928 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2556 วงเงิน 3,376.0802 ล้านบาท