xs
xsm
sm
md
lg

“อภิสิทธิ์” อัด รบ.ใช้การเมืองนำแก้ปัญหาน้ำท่วม เตือนวิกฤตรอบ 2

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
“มาร์ค” อัดรัฐบาลแก้ปัญหาโดยใช้การเมืองนำจนผิดซ้ำซาก ไม่เรียนรู้ความผิดพลาดจากวิกฤตน้ำ แนะปรับวิธีคิดจัดสมดุลการพร่องน้ำ ควบคู่เตรียมความพร้อมพื้นที่รับน้ำ จี้ต้องเสร็จภายใน 2 เดือน เตือนไทยยังเสี่ยงน้ำท่วมอีกรอบ

วันนี้ (27 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการออกมาระบุว่า ปัญหาเรื่องมาตรา 112 จะเป็นชนวนความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทย ว่า ทางพรรคพูดมาโดยตลอดว่า มีความเป็นห่วงเรื่องนี้เพราะมีความพยายามจุดประเด็นขึ้นมาให้เป็นความขัดแย้ง ทำให้สังคมเกิดความสับสนไขว้เขว และชาวโลกเกิดความสับสนกับความขัดแย้งในประเทศไทย สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนต้องแตกแยกกัน ทั้งที่ไม่ควรจะเป็นเรื่องที่ทำให้เป็นชนวนขัดแย้งเลย ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ล่าสุดว่า มีความจงรักภักดีต่อสถาบันไม่ติดแก้ ม.112 นั้น พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้ชัดและทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะหลายเรื่องที่มีการจุดประเด็นความขัดแย้งขึ้นมาเกี่ยวกับสถาบันล้วน แต่อยู่ในแวดวงผู้สนับสนุนของพรรคเพื่อไทยทั้งสิ้น อีกทั้งข้อมูลที่ปรากฏ ก็คือ คนของพรรคเพื่อไทยไปพูดไว้ จึงต้องมาแก้ผมตรงนี้ให้ได้ ตนเห็นว่า พรรคการเมืองเริ่มมีความชัดเจนแล้วในประเด็นนี้ว่า ไม่สนับสนุนพรรคไหนที่ใกล้ชิดกับคนที่เคลื่อนไหวก็ต้องไปทำความเข้าใจ

“ผมคิดว่าที่ อ.ธีรยุทธ เตือนไม่ต่างจากที่หลายคนเป็นห่วงว่า ขณะที่กำลังพูดถึงกระบวนการปรองดอง กลับมีความพยายามจากบางส่วนไปขยายความขัดแย้งที่จะนำไปสู่ความรุนแรงเพราะประเด็นเรื่องสถาบันสูงสุดมีความละเอียดอ่อน และมีการขยายดึงกลุ่มคนเข้ามาสู่วังวนความขัดแย้งเพี่มขึ้น อกทั้งก้าวล่วงไปสถาบันที่ควรอยู่เหนือความขัดแย้ง ส่วนเรื่องของ รธน.รัฐบาลซึ่งเป็นผู้ประกาสนโยบายก็ต้องชัดเจนว่าวัตถุประสงค์คืออะไร ถ้าเป็นการแก้ไขเพื่อปรับปรุงระบบการเมืองก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าทำให้คนเกิดความหวาดระแวงว่าจะทำในประเด็นที่มีความขัดแย้งก็ต้องคลายปมความขัดแยงเสียตั้งแต่ต้น”

ถามว่า ขณะนี้รัฐบาลยังแทงกั๊กไม่ระบุขอบเขตการแก้ไข รธน.และไม่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของผู้ร่าง รธน.จะยิ่งทำให้เกิดความสับสนมากขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายของรัฐบาล ถ้าไม่เกิดความชัดเจนก็ไม่ช่วยในการดูแลปัญหาของ ปชช.เพราะเท่ากับทำให้สังคมอยู่ในวังวลความขัดแย้ง เสียเวลาในการถกเถียงในเรื่องนี้โดยที่ปัญหาของประชาชนไม่ได้รับการแก้ไข

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในมุมกลับกัน รัฐบาลกำลังใช้ความขัดแย้งในสังคมมาเป็นประโยชน์กับการบริหารของตนเองหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่างเก่งเป็นเรื่องการกลบกระแสข่าวแต่ความขัดแย้งแท้จริงไมได้หายไป เพราะความเดือดร้อนกลบไมได้ เป็นสิ่งที่ประชาชนสัมผัสได้ด้วยตนเอง และเริ่มมีปกิกิริยาจากนโยบายที่กระทบตนเองโดยตรง เช่น น้ำท่วม การเกษตร ความเป็นผู้นำของประชาชน ที่กำลังมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น รัฐบาลต้องก้าวให้พ้น พ.ต.ท.ทักษิณ

ส่วนที่นายกฯเตรียมทัวร์นกแก้ว ลงพื้นที่พิจารณาการแก้ไขปัญหาน้ำนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าที่สำคัญเป็นเรื่องของนโยบายมากกว่า เพราะที่ผ่านมาหลายเรื่องถูกมองข้ามไป ทั้งหนี้สิน ที่ทำกินก็ถูกมองข้าม รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดก็ถูกละเลย ซ้ำเติม โดยนโยบายของรัฐบาลด้วย ตนไม่เชื่อว่า การใช้เงินไปหว่านในพื้นที่แทนการแก้ปัญหาพื้นฐานให้ประชาชนจะทดแทนกันได้ เพราะสัมผัสได้ว่าสิ่งที่รัฐาลทำเป็นคำตอบในการแก้ปัญหาหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมีการทัวร์ลักษณะนี้ มีแต่ตัวเลขงบประมาณ แต่ไม่เห็นรูปธรรมในทางปฏิบัติจะเห็นได้จากการพูดถึงงบฟื้นฟูน้ำท่วมหลายครั้ง แต่ความจริงคือ คลองชลประทานที่จำเป็นต้องบูรณะซ่อมแซมเพื่อรับมือกับน้ำฝน และน้ำที่ระบายจากเขื่อน หลายพื้นที่ยังมีปัญหา เป็นของจริงที่รัฐบาลต้องเร่งไปทำ

“การพร่องน้ำในเขื่อนมีเกณฑ์อยู่แต่ปัญหามีทั้งในแง่ความพอดีระหว่างการกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อนการเกษตรกับป้องกันน้ำท่วมอย่างไร และยังไม่มีการซ่อมแซมคลองที่จะรับน้ำ หากเขื่อนพร่องน้ำออกมา โดยที่พื้นที่เหล่านี้ไม่มีศักยภาพรองรับน้ำก็ทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ภายในเดือนสองเดือนนี้ต้องเร่งทำในเรื่องระบบการส่งน้ำและการระบายน้ำให้เร็วที่สุด”

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลพูดถึงมาตรการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมหลายครั้งมีหลายเรื่องใช้ได้แต่ต้องทำอย่างจริงจัง ขณะที่หลายเรื่องยังไม่มีความชัดเจน จึงต้องทำให้เป็นระบบตนเป็นห่วงกรณีนักวิชาการหลายคนถอนตัวจากการเป็นคระกรรมการใน กยน.ซึ่งไม่เป็นผลดีเหมือนกับบทเรียนที่สำคัญในช่วงการบริหารจัดการช่วงน้ำท่วม ยังไม่ได้เรียนรู้ว่าหลายเรื่องการเมืองไม่ควรแทรกแซง เพราะมีหลักวิชาการในเรื่องนี้อยู่ แต่ขณะนี้รัฐบาลก็ยังให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงอยู่ ซึ่งฝ่ายวิชาการก็พูดออกมาเอง หากรัฐบาลยังไม่เรียนรู้เรื่องนี้ไทยจะมีความเสี่ยงในเรื่องการบริหารจัดการอย่างแน่นอน
กำลังโหลดความคิดเห็น