นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนางนลินี ทวีสิน รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอโอกาสพิสูจน์การทำงาน โดยย้อนถามว่าจะพิสูจน์อะไร จะพิสูจน์เรื่องการทำธุรกรรมกับสหรัฐฯหรือ เพราะประเด็นคือนางนลินี ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงคือว่า ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสหรัฐฯกรณีที่ถูกห้ามการทำธุรกรรม ก็ต้องต่อสู้อย่างเข้มข้น เพื่อเอาความจริงออกมา การขอโอกาสเพียงอย่างเดียวโดยไม่พูดเนื้อหาความจริง ไม่สามารถยืนยันอะไรได้ และข้อจำกัดของนางนลินี ก็เป็นข้อจำกัดในการทำงานฐานะรัฐมนตรีด้วย เพราะขณะนี้สื่อต่างชาติ ก็วิจารณ์คุณสมบัติของนางนลินี
"หวังว่าในสัปดาห์หน้า นายกฯ จะมาตอบกระทู้ของฝ่ายค้านในสภา และอยากให้นายกฯ ปรับวิธีในการบริหารเวลา เพราะเป็นเรื่องง่ายๆ เนื่องจากทราบอยู่แล้วว่าวันพฤหัสฯ เวลา 11.00 น. จะมีการถามกระทู้ ถ้าหากไม่ทราบ ผมก็ย้ำว่า วันพฤหัสฯ เวลา 11 โมง นายกฯสามารถบริหารเวลา 2 ช.ม. ต่อสัปดาห์ เพื่อให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบในระบบรัฐสภา แต่ถ้าเป็นผู้บริหารแล้วยังไม่สามารถบริหารเวลาได้ ผมก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร"
ผู้สื่อข่าวถามว่า อะไรเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของสภามากว่ากัน ระหว่างวิธีคิดของนายกฯ กับการทำหน้าที่ของประธานสภา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่ามีคนพยายามที่จะไม่ให้นายกฯมาตอบคำถาม ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีต่อตัวนายกฯ และผิดหลักประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยอ้างตัวว่า สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย แต่ไม่สนับสนุน กระบวนการของสภา จึงอยากให้ประชาชนพิจารณาในส่วนนี้ด้วย เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา เป็นเพราะรัฐบาลพยายามที่จะไม่ให้นายกฯ ตอบกระทู้เรื่องนางนลินี ต้องถามว่า ทำไม ตนคิดว่ารัฐบาลอย่าใช้วิธีเช่นนี้ ควรทำแบบตรงไปมาเพราะเชื่อว่านายกฯ ต้องมีเหตุผล ไม่เช่นนั้นคงไม่นำชื่อ นางนลินี ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ถ้ายังเดินหน้าแบบนี้ ก็จะทำให้กลไกสภาเดินหน้ายาก และย้อนยุคกลับไปเหมือนสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ และเป็นตัวฟ้องว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคนในพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เชื่อในระบบรัฐสภาจริง หากบังคับให้คนในสภาทำงานไม่ได้ ก็จะทำให้การเมืองไปอยู่นอกสภา จึงเตือนว่า ให้นำทุกอย่างกลับเข้าสู่สภา
ส่วนที่นายกฯ เตรียมทัวร์นกแก้ว ลงพื้นที่พิจารณาการแก้ไขปัญหาน้ำนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่สำคัญเป็นเรื่องของนโยบายมากกว่า เพราะที่ผ่านมาหลายเรื่องถูกมองข้ามไป ทั้งหนี้สิน ที่ทำกินก็ถูกมองข้าม รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพ ที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุด ก็ถูกละเลย ซ้ำเติม โดยนโยบายของรัฐบาลด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตนไม่เชื่อว่าการใช้เงินไปหว่านในพื้นที่แทนการแก้ปัญหาพื้นฐานให้ประชาชนจะทดแทนกันได้ เพราะสัมผัสได้ว่าสิ่งที่รัฐาลทำเป็นคำตอบในการแก้ปัญหาหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมีการทัวร์ลักษณะนี้มีแต่ตัวเลขงบประมาณ แต่ไม่เห็นรูปธรรมในทางปฏิบัติจะเห็นได้จากการพูดถึงงบฟื้นฟูน้ำท่วมหลายครั้ง แต่ความจริงคือคลองชลประทานที่จำเป็นต้องบูรณะซ่อมแซมเพื่อรับมือกับน้ำฝน และน้ำที่ระบายจากเขื่อน หลายพื้นที่ยังมีปัญหา เป็นของจริงที่รัฐบาลต้องเร่งไปทำ
" การพร่องน้ำในเขื่อนมีเกณฑ์อยู่แต่ปัญหามีทั้งในแง่ความพอดีระหว่างการกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อนการเกษตรกับป้องกันน้ำท่วมอย่างไร และยังไม่มีการซ่อมแซมคลองที่จะรับน้ำ หากเขื่อนพร่องน้ำออกมาโดยที่พื้นที่เหล่านี้ไม่มีศักยภาพรองรับน้ำ ก็ทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ภายในเดือนสองเดือนนี้ ต้องเร่งทำในเรื่องระบบการส่งน้ำและการระบายน้ำให้เร็วที่สุด"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลพูดถึงมาตรการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมหลายครั้งมีหลายเรื่องใช้ได้ แต่ต้องทำอย่างจริงจัง ขณะที่หลายเรื่องยังไม่มีความชัดเจน จึงต้องทำให้เป็นระบบ ตนเป็นห่วงกรณีนักวิชาการหลายคนถอนตัวจากการเป็นคณะกรรมการใน กยน. ซึ่งไม่เป็นผลดี เหมือนกับบทเรียนที่สำคัญในช่วงการบริหารจัดการช่วงน้ำท่วม ยังไม่ได้เรียนรู้ว่า หลายเรื่องการเมืองไม่ควรแทรกแซง เพราะมีหลักวิชาการในเรื่องนี้อยู่แต่ขณะนี้รัฐบาลก็ยังให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงอยู่ ซึ่งฝ่าวิชาการ ก็พูดออกมาเอง หากรัฐบาลยังไม่เรียนรู้เรื่องนี้ ไทยจะมีความเสี่ยงในเรื่องการบริหารจัดการอย่างแน่นอน
"หวังว่าในสัปดาห์หน้า นายกฯ จะมาตอบกระทู้ของฝ่ายค้านในสภา และอยากให้นายกฯ ปรับวิธีในการบริหารเวลา เพราะเป็นเรื่องง่ายๆ เนื่องจากทราบอยู่แล้วว่าวันพฤหัสฯ เวลา 11.00 น. จะมีการถามกระทู้ ถ้าหากไม่ทราบ ผมก็ย้ำว่า วันพฤหัสฯ เวลา 11 โมง นายกฯสามารถบริหารเวลา 2 ช.ม. ต่อสัปดาห์ เพื่อให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบในระบบรัฐสภา แต่ถ้าเป็นผู้บริหารแล้วยังไม่สามารถบริหารเวลาได้ ผมก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร"
ผู้สื่อข่าวถามว่า อะไรเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของสภามากว่ากัน ระหว่างวิธีคิดของนายกฯ กับการทำหน้าที่ของประธานสภา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่ามีคนพยายามที่จะไม่ให้นายกฯมาตอบคำถาม ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีต่อตัวนายกฯ และผิดหลักประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยอ้างตัวว่า สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย แต่ไม่สนับสนุน กระบวนการของสภา จึงอยากให้ประชาชนพิจารณาในส่วนนี้ด้วย เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา เป็นเพราะรัฐบาลพยายามที่จะไม่ให้นายกฯ ตอบกระทู้เรื่องนางนลินี ต้องถามว่า ทำไม ตนคิดว่ารัฐบาลอย่าใช้วิธีเช่นนี้ ควรทำแบบตรงไปมาเพราะเชื่อว่านายกฯ ต้องมีเหตุผล ไม่เช่นนั้นคงไม่นำชื่อ นางนลินี ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ถ้ายังเดินหน้าแบบนี้ ก็จะทำให้กลไกสภาเดินหน้ายาก และย้อนยุคกลับไปเหมือนสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ และเป็นตัวฟ้องว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคนในพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เชื่อในระบบรัฐสภาจริง หากบังคับให้คนในสภาทำงานไม่ได้ ก็จะทำให้การเมืองไปอยู่นอกสภา จึงเตือนว่า ให้นำทุกอย่างกลับเข้าสู่สภา
ส่วนที่นายกฯ เตรียมทัวร์นกแก้ว ลงพื้นที่พิจารณาการแก้ไขปัญหาน้ำนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่สำคัญเป็นเรื่องของนโยบายมากกว่า เพราะที่ผ่านมาหลายเรื่องถูกมองข้ามไป ทั้งหนี้สิน ที่ทำกินก็ถูกมองข้าม รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพ ที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุด ก็ถูกละเลย ซ้ำเติม โดยนโยบายของรัฐบาลด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตนไม่เชื่อว่าการใช้เงินไปหว่านในพื้นที่แทนการแก้ปัญหาพื้นฐานให้ประชาชนจะทดแทนกันได้ เพราะสัมผัสได้ว่าสิ่งที่รัฐาลทำเป็นคำตอบในการแก้ปัญหาหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมีการทัวร์ลักษณะนี้มีแต่ตัวเลขงบประมาณ แต่ไม่เห็นรูปธรรมในทางปฏิบัติจะเห็นได้จากการพูดถึงงบฟื้นฟูน้ำท่วมหลายครั้ง แต่ความจริงคือคลองชลประทานที่จำเป็นต้องบูรณะซ่อมแซมเพื่อรับมือกับน้ำฝน และน้ำที่ระบายจากเขื่อน หลายพื้นที่ยังมีปัญหา เป็นของจริงที่รัฐบาลต้องเร่งไปทำ
" การพร่องน้ำในเขื่อนมีเกณฑ์อยู่แต่ปัญหามีทั้งในแง่ความพอดีระหว่างการกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อนการเกษตรกับป้องกันน้ำท่วมอย่างไร และยังไม่มีการซ่อมแซมคลองที่จะรับน้ำ หากเขื่อนพร่องน้ำออกมาโดยที่พื้นที่เหล่านี้ไม่มีศักยภาพรองรับน้ำ ก็ทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ภายในเดือนสองเดือนนี้ ต้องเร่งทำในเรื่องระบบการส่งน้ำและการระบายน้ำให้เร็วที่สุด"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลพูดถึงมาตรการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมหลายครั้งมีหลายเรื่องใช้ได้ แต่ต้องทำอย่างจริงจัง ขณะที่หลายเรื่องยังไม่มีความชัดเจน จึงต้องทำให้เป็นระบบ ตนเป็นห่วงกรณีนักวิชาการหลายคนถอนตัวจากการเป็นคณะกรรมการใน กยน. ซึ่งไม่เป็นผลดี เหมือนกับบทเรียนที่สำคัญในช่วงการบริหารจัดการช่วงน้ำท่วม ยังไม่ได้เรียนรู้ว่า หลายเรื่องการเมืองไม่ควรแทรกแซง เพราะมีหลักวิชาการในเรื่องนี้อยู่แต่ขณะนี้รัฐบาลก็ยังให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงอยู่ ซึ่งฝ่าวิชาการ ก็พูดออกมาเอง หากรัฐบาลยังไม่เรียนรู้เรื่องนี้ ไทยจะมีความเสี่ยงในเรื่องการบริหารจัดการอย่างแน่นอน