โฆษกรัฐบาล เผย มติ ครม.เห็นชอบอนุมัติคลังกู้เงินให้ ร.ฟ.ท.เป็นทุนหมุนเวียนแอร์พอร์ตลิงก์ 1.8 พันล้าน อนุมัติกู้สร้างรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม เห็นชอบงบรัฐวิสาหกิจปี 55 ตามที่สภาพัฒน์เสนอ พร้อมอนุมัติงบให้ กห.ซื้อ ฮ.ติดอาวุธ 8 ลำ ส่วนแบล็กฮอว์กตีกลับ เหตุส่งเรื่องช้า เผย ร่างเศรษฐกิจชาติ ฉ.11 เน้นการเชื่อมโยง อุตสาหกรรม, บริการ, วัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับประเทศ
วันนี้ (27 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ครม.เห็นชอบอนุมัติการกู้เงินของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ วงเงิน 1,860 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ และให้ ร.ฟ.ท.มาให้กู้ต่อแก่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ตามมาตรา 39(4) ของ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมเห็นชอบเงื่อนไขการรับภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลและการเข้าร่วมถือหุ้นของกระทรวงการคลัง และรับทราบความเห็นของกระทรวงการคลัง การปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ และแผนการจัดหารายได้เชิงพาณิชย์ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.และรับทราบผลกระทบค่าจากการดำเนินนโยบายค่าโดยสารอัตราเดียว 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล โดยให้ 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง คมนาคม และสำนักงบประมาณ รับข้อสังเกต
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงต่อว่า ครม.อนุมัติการกู้เงินในประเทศ และให้กู้ต่อแก่การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ วงเงิน 19,381 ล้านบาท และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 17,838 ล้านบาท รัฐบาลเป็นผู้รับภาระการลงทุน
นางฐิติมา กล่าวว่า อนุมัติให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้ รฟม.เพื่อใช้ชำระหนี้ให้แก่ รฟม.เพื่อใช้ชำระหนี้คืนแก่แหล่งเงินกู้โดยตรง ทั้งในส่วนต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะได้ตกลงกับ รฟม.ต่อไป ให้ รฟม.เร่งเจรจากับ กทม.เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการบริหารการเดินรถไฟฟ้าโดยให้ครอบคลุมรายละเอียดทางเทคนิคของระบบต่างๆ เพื่อให้การเดินรถในอนาคตเชื่อมต่อกันได้
นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบการขอรับเงินสนับสนุนการรถไฟฯ และการขนส่งมวลชน ประจำปี 2555 ตามความเห็นของคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการเงินอุดหนุนครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 19 เม.ย.54 และครั้งที่ 2 คือ 26 เม.ย.2554 เพื่อให้ไปตามนัยยะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2551
ส่วนกรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2555 ครม.รับทราบและเห็นชอบตามที่สภาพัฒน์เสนอมา คือ รับทราบประมาณการประจำปีงบประมาณ 2555 ที่คาดว่า จะมีกำไรสุทธิ 83,262 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2554 ร้อยละ 15.1 และเห็นชอบกรอบงบประมาณรัฐวิสาหกิจปี 2555 วงเงินดำเนินการ 613,717 ล้านบาท หรือเป็น 2.7 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี วงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 319,732 ล้านบาท การลงทุนโครงการต่อเนื่องที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว และงานตามภารกิจปกติจำนวนเงิน 553,717 ล้านบาท วงเงินเบิกจ่ายลงทุน 259,732 ล้านบาท
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบในหลักการให้สภาพัฒน์ปรับวงเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 2555 ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปี 25551 และการอนุมัติงบประมาณของ ครม.
ขณะที่ นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตามกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกได้ขออนุมัติ ครม.ในการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ ติดอาวุธจำนวน 8 ลำ ชนิด ยูโรคอปเตอร์ เอแอส 550 ของบริษัท อีเอดีเอส จากประเทศฝรั่งเศส พร้อมทั้งการฝึกนักบินและช่างชิ้นส่วนซ่อมบำรุงและเครื่องมือซ่อมบำรุงควบคุม โดยมีระยะเวลาในการส่งมอบ 1,000 วัน และระยะเวลาในการดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2554-2557 โดยเป็นจำนวนเงิน 1,596,998,092 บาท
นายชลิตรัตน์ กล่าวต่อว่า โดยโครงการดังกล่าวเป็นรายการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ที่มีวงเงินทั้งสิ้น 1,680,000,000 บาท โดยใช้ระยะเวลาจำนวน 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2554-2556 แต่เนื่องจากเป็นการก่อหนี้ผูกพันข้ามปี ที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000,000,000 บาทขึ้นไป ส่วนราชการนั้นต้องนำเสนอ ครม.เพื่อให้พิจารณาอนุมัติเป็นกรณีไป ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้ทำการพิจารณาแล้ว จึงเรียนว่า การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว เพื่อเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะต่อไป และกองทัพบกได้แจ้งว่า ยังไม่เคยดำเนินการจัดหามาก่อน ทั้งนี้สำนักงบประมาณจึงไม่สามารถตรวจสอบเพื่อหางบประมาณได้ แต่เนื่องจากเป็นผลจัดหาที่กองทัพบกนั้น ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว สำนักงบประมาณจึงเห็นสมควรที่ ครม.จะมีมติอนุมัติให้กระทรวงกลาโหม ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2554-2557 ในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์จำนวน 8 ลำ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ซึ่งสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายรองรับไว้แล้วจำนวน 320 ล้านบาท ส่วนงบประมาณที่ยังขาดเหลือจำนวน 1,276,998,092 บาทนั้น ได้ให้กองทัพบกเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556-2557 ให้ครบตามสัญญาต่อไป
ส่วนสำหรับกรณีจัดหาเฮลิคอปเตอร์รุ่นแบล็กฮอว์ก ที่ ครม.ไม่อนุมัติและส่งเรื่องกลับนั้น เนื่องจากสำนักงบประมาณติดในเรื่องขั้นตอนการพิจารณา เนื่องจากกระทรวงกลาโหมส่งเรื่องให้ช้า นายกรัฐมนตรีจึงให้สำนักงบประมาณนำเรื่องดังกล่าวกลับมาศึกษาตามขั้นตอน ให้ถูกต้องแล้วจึงนำกลับมาเสนอใหม่ ทั้งนี้ เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นการทำหนี้ผูกพันข้ามปี ของสำนักงบประมาณ จึงต้องมีการร่วมพิจารณาด้วย
ส่วนกรณีร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ คือ การเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม การบริการ และวัฒนธรรมของชาติ เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้กับประเทศ ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกับภาคบริการและวัฒนธรรมของชาติ เช่น ศิลปวัฒนธรรมด้านอาหาร, โบราณคดี กีฬา, อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมการสร้างภาพยนตร์ เพื่อต้องการผลักดันให้อุตสาหกรรมดังที่กล่าวมา เป็นอุตสาหกรรมการส่งออก ที่สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติได้
นอกจากนี้ นายชลิตรัตน์ กล่าวต่อว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวและยั่งยืน โดยการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ และอุตสาหกรรมสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน และลดการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพและยาเคมี, การแปรรูปโลหะเครื่องจักรกลและอุปกรณ์การแพทย์ ตามลำดับ
วันนี้ (27 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ครม.เห็นชอบอนุมัติการกู้เงินของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ วงเงิน 1,860 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ และให้ ร.ฟ.ท.มาให้กู้ต่อแก่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ตามมาตรา 39(4) ของ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมเห็นชอบเงื่อนไขการรับภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลและการเข้าร่วมถือหุ้นของกระทรวงการคลัง และรับทราบความเห็นของกระทรวงการคลัง การปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ และแผนการจัดหารายได้เชิงพาณิชย์ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.และรับทราบผลกระทบค่าจากการดำเนินนโยบายค่าโดยสารอัตราเดียว 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล โดยให้ 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง คมนาคม และสำนักงบประมาณ รับข้อสังเกต
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงต่อว่า ครม.อนุมัติการกู้เงินในประเทศ และให้กู้ต่อแก่การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ วงเงิน 19,381 ล้านบาท และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 17,838 ล้านบาท รัฐบาลเป็นผู้รับภาระการลงทุน
นางฐิติมา กล่าวว่า อนุมัติให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้ รฟม.เพื่อใช้ชำระหนี้ให้แก่ รฟม.เพื่อใช้ชำระหนี้คืนแก่แหล่งเงินกู้โดยตรง ทั้งในส่วนต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะได้ตกลงกับ รฟม.ต่อไป ให้ รฟม.เร่งเจรจากับ กทม.เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการบริหารการเดินรถไฟฟ้าโดยให้ครอบคลุมรายละเอียดทางเทคนิคของระบบต่างๆ เพื่อให้การเดินรถในอนาคตเชื่อมต่อกันได้
นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบการขอรับเงินสนับสนุนการรถไฟฯ และการขนส่งมวลชน ประจำปี 2555 ตามความเห็นของคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการเงินอุดหนุนครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 19 เม.ย.54 และครั้งที่ 2 คือ 26 เม.ย.2554 เพื่อให้ไปตามนัยยะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2551
ส่วนกรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2555 ครม.รับทราบและเห็นชอบตามที่สภาพัฒน์เสนอมา คือ รับทราบประมาณการประจำปีงบประมาณ 2555 ที่คาดว่า จะมีกำไรสุทธิ 83,262 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2554 ร้อยละ 15.1 และเห็นชอบกรอบงบประมาณรัฐวิสาหกิจปี 2555 วงเงินดำเนินการ 613,717 ล้านบาท หรือเป็น 2.7 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี วงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 319,732 ล้านบาท การลงทุนโครงการต่อเนื่องที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว และงานตามภารกิจปกติจำนวนเงิน 553,717 ล้านบาท วงเงินเบิกจ่ายลงทุน 259,732 ล้านบาท
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบในหลักการให้สภาพัฒน์ปรับวงเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 2555 ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปี 25551 และการอนุมัติงบประมาณของ ครม.
ขณะที่ นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตามกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกได้ขออนุมัติ ครม.ในการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ ติดอาวุธจำนวน 8 ลำ ชนิด ยูโรคอปเตอร์ เอแอส 550 ของบริษัท อีเอดีเอส จากประเทศฝรั่งเศส พร้อมทั้งการฝึกนักบินและช่างชิ้นส่วนซ่อมบำรุงและเครื่องมือซ่อมบำรุงควบคุม โดยมีระยะเวลาในการส่งมอบ 1,000 วัน และระยะเวลาในการดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2554-2557 โดยเป็นจำนวนเงิน 1,596,998,092 บาท
นายชลิตรัตน์ กล่าวต่อว่า โดยโครงการดังกล่าวเป็นรายการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ที่มีวงเงินทั้งสิ้น 1,680,000,000 บาท โดยใช้ระยะเวลาจำนวน 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2554-2556 แต่เนื่องจากเป็นการก่อหนี้ผูกพันข้ามปี ที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000,000,000 บาทขึ้นไป ส่วนราชการนั้นต้องนำเสนอ ครม.เพื่อให้พิจารณาอนุมัติเป็นกรณีไป ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้ทำการพิจารณาแล้ว จึงเรียนว่า การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว เพื่อเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะต่อไป และกองทัพบกได้แจ้งว่า ยังไม่เคยดำเนินการจัดหามาก่อน ทั้งนี้สำนักงบประมาณจึงไม่สามารถตรวจสอบเพื่อหางบประมาณได้ แต่เนื่องจากเป็นผลจัดหาที่กองทัพบกนั้น ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว สำนักงบประมาณจึงเห็นสมควรที่ ครม.จะมีมติอนุมัติให้กระทรวงกลาโหม ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2554-2557 ในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์จำนวน 8 ลำ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ซึ่งสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายรองรับไว้แล้วจำนวน 320 ล้านบาท ส่วนงบประมาณที่ยังขาดเหลือจำนวน 1,276,998,092 บาทนั้น ได้ให้กองทัพบกเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556-2557 ให้ครบตามสัญญาต่อไป
ส่วนสำหรับกรณีจัดหาเฮลิคอปเตอร์รุ่นแบล็กฮอว์ก ที่ ครม.ไม่อนุมัติและส่งเรื่องกลับนั้น เนื่องจากสำนักงบประมาณติดในเรื่องขั้นตอนการพิจารณา เนื่องจากกระทรวงกลาโหมส่งเรื่องให้ช้า นายกรัฐมนตรีจึงให้สำนักงบประมาณนำเรื่องดังกล่าวกลับมาศึกษาตามขั้นตอน ให้ถูกต้องแล้วจึงนำกลับมาเสนอใหม่ ทั้งนี้ เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นการทำหนี้ผูกพันข้ามปี ของสำนักงบประมาณ จึงต้องมีการร่วมพิจารณาด้วย
ส่วนกรณีร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ คือ การเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม การบริการ และวัฒนธรรมของชาติ เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้กับประเทศ ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกับภาคบริการและวัฒนธรรมของชาติ เช่น ศิลปวัฒนธรรมด้านอาหาร, โบราณคดี กีฬา, อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมการสร้างภาพยนตร์ เพื่อต้องการผลักดันให้อุตสาหกรรมดังที่กล่าวมา เป็นอุตสาหกรรมการส่งออก ที่สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติได้
นอกจากนี้ นายชลิตรัตน์ กล่าวต่อว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวและยั่งยืน โดยการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ และอุตสาหกรรมสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน และลดการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพและยาเคมี, การแปรรูปโลหะเครื่องจักรกลและอุปกรณ์การแพทย์ ตามลำดับ