ศาล รธน.จัดปาฐกถาพิเศษ “ในหลวงกับรัฐธรรมนูญ” - “อรรถนิติ” ยันกษัตริย์ไม่เคยสั่งนอกรัฐธรรมนูญ ชี้ กม.ชัดทรงอยู่ในฐานะที่เคารพยิ่ง ผู้ใดละเมิด หรือฟ้องร้องมิได้ พร้อมบัญญัติรับรองพระราชอำนาจที่ทรงจะปรึกษาหารือแก่รัฐ, ส่งเสริมนโยบายรัฐ และตักเตือนรัฐ ยันพระราชทานอภัยโทษเป็นสิทธิ์อิสระ และเป็นกลาง ทรงใช้รอบคอบเพื่อความยุติธรรม “ธงทอง” ถามคนไทยเข้าใจบทบาทแค่ไหน
วันนี้ (26 ก.ย.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้จัดปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับรัฐธรรมนูญ โดย นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ” ตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยมีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมายาวนาน โดยในอดีตเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่หลังจากวันที่ 24 มิ.ย.2475 มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรียกได้ว่า เป็นการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์เอง โดยการพระราชทานในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัดเสมอ จะเห็นได้ว่า ทรงมีพระราชดำรัสในโอกาสที่ประธานศาลฎีกานำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล วันอังคารที่ 25 เม.ย.2549 ความตอนหนึ่งว่า มาตรา 7 ว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีหรือตามที่เคยทำมา แต่ว่าในมาตรา 7 นั้น ไม่ได้บอกว่า พระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่า ไม่มีบทบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่า มีพระมหากษัตริย์ที่จะมาสั่งการได้ และขอยืนยันว่า ไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของกฎหมาย พระราชบัญญัติทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 9 ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ตั้งแต่เป็นมา มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับแล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบถ้าทำไปตามใจชอบก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้อำนาจประชาธิปไตยอันเป็นของปวงชนชาวไทยผ่านองค์กรต่างๆ ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล จะเห็นได้ว่า ความเชื่อมโยงเกี่ยวพันในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขนั้น อำนาจทั้งหมด พระองค์พระราชทานให้เป็นของปวงชนชาวไทย คือ ให้ประชาชนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจังหวัด มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนโดยผ่านทางรัฐสภา ซึ่งการเข้าดำรงตำแหน่งนั้น มิจำเป็นต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ก็ถือว่า มาจากการที่ประชาชนใช้อำนาจเลือกตั้งเข้ามา แต่สำหรับคณะรัฐมนตรีและศาลนั้น ไม่ได้มีการใช้อำนาจของปวงชนชาวไทยโดยตรง จึงจำเป็นต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งในฐานะที่ทรงเป็นประมุขและเป็นผู้ใช้อำนาจเช่นเดียวกัน ตามรัฐธรรมนูญพระองค์ทรงอยู่ในฐานะที่เคารพยิ่ง ผู้ใดจะทำละเมิดหรือฟ้องร้องมิได้ เพื่อให้พระราชฐานะนั้นได้รับการปกป้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
ซึ่งพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายที่ต้องทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นการยับยั้งเด็ดขาด แต่เป็นการยับยั้งเพื่อให้รัฐสภาได้ใคร่ครวญอีกครั้ง เพราะในขั้นตอนสุดท้ายหากรัฐสภายังยืนยันมติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ก็สามารถประกาศร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เสมอว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว อย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ในการยับยั้งการตรากฎหมาย ถ้ากฎหมายนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์และความผาสุกของประเทศชาติและประชาชน เท่าที่ผ่านมา ทรงใช้พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย จะเห็นได้จากครั้งที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติขานร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517 และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ นั้น ในมาตรา 107 วรรค 2 บัญญัติว่า ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงเห็นด้วย แต่ก็ไม่ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งโดยตรง หากเพียงแต่มีพระราชกระแสท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า ตามตรา 107 วรรค 2 แห่งร่างรัฐธรรมนูญนี้ บัญญัติให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้น ไม่ทรงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะประธานองคมนตรี เป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือก และแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย ตามความในมาตรา 16 เป็นการขัดกับหลักที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งจะทำให้ประธานองคมนตรีอยู่ในสภาพเสมือนเป็นองค์กรทางการเมือง ในเวลาต่อมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามแนวพระราชกระแสที่พระราชทานลงมา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2518 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 110 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 107 วรรค 2 ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
ส่วนพระราชอำนาจที่เกี่ยวข้องกับอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 171 มาตรา 175 และมาตรา 183 นอกจากพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแล้ว ยังให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ ตามคำกราบบังคมทูลพระกรุณาของนายกรัฐมนตรีในกรณีจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ รวมทั้งพระราชอำนาจอื่นๆ เช่น พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา โดยไม่ขัดต่อกฎหมายการตราพระราชกำหนด การประกาศราชสงคราม พระราชอำนาจในการทำหนังสือสนธิสัญญาและสัญญาอื่นๆ ต่อนานาประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ พระราชอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการ ทหาร และข้าราชการพลเรือนระดับสูงอื่นๆ
“การที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์ไม่ได้ก้าวล่วงมาใช้พระราชอำนาจในทางเนื้อหาแต่ประการใด เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงเหนือความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง ไม่มีพระราชดำริในด้านการเมือง และไม่ต้องรับผิดชอบทางด้านการเมือง ดังนั้น พระราชอำนาจตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจึงเป็นอีกรูปแบบที่ใช้ในการบริหารราชการดังกล่าวจะต้องมีผู้ถวายคำแนะนำก่อนมีพระบรมราชโองการเสมอ ซึ่งผู้ที่รับสนองรับราชโองการต้องเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมายและทางการเมือง มีข้อสังเกตว่าพระราชอำนาจที่เกี่ยวข้องกับอำนาจบริหารนี้ นอกจากพระราชอำนาจที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแล้ว พระมหากษัตริย์ยังทรงคงไว้ด้วยอำนาจโดยทั่วไป ตามประเพณีการปกครองในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และในรัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติรับรองพระราชอำนาจนี้ไว้ อันได้แก่ พระราชอำนาจที่ทรงจะปรึกษาหารือแก่รัฐบาล พระราชอำนาจในการส่งเสริมนโยบายของรัฐบาล และพระราชอำนาจในการตักเตือนรัฐบาล”
ขณะที่พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ เป็นนิติพระราชประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิมและเป็นอำนาจเฉพาะของพระมหากษัตริย์ที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ซึ่งเป็นอำนาจอิสระและเป็นกลางของพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความผูกพันและพระมหากรุณาของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อประชาชน ต่อผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นทางออกสุดท้ายที่พวกเขาเหล่านั้นจะได้รับความเป็นธรรม การพระราชทานอภัยโทษนี้ ไม่ได้จำกัดโทษเฉพาะในคดีอาญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโทษทางวินัยและโทษทางปกครองด้วย เช่นในกรณีที่ทรงพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้ที่ยื่นถวายฎีกา การพระราชทานอภัยโทษอาจพระราชทานอภัยโทษโดยไม่มีเงื่อนไข หรือพระราชทานอภัยโทษจากหนักเป็นเบาก็ได้ การพระราชทานอภัยโทษแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล ที่ทูลเกล้าฯฎีกาถวายพระราชทานอภัยโทษ และการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมักจะกระทำในโอกาสสำคัญของบ้านเมืองโดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ในการใช้พระราชอำนาจดังกล่าวพระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ส่วนพระราชอำนาจในตุลาการ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 197 มาตรา 200 และมาตรา 201 ให้การพิพากษาคดีของศาลจะต้องดำเนินการด้วยความยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และตามพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส พระราชกระแส แนะนำ แก่ผู้พิพากษาตลอดมา ทรงย้ำให้ยึดถือความเป็นธรรมเป็นที่ตั้ง ซึ่งเมื่อครั้งเกิดวิกฤตการณ์เมื่อ พ.ศ.2549 ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารไม่สามารถทำหน้าที่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตักเตือนให้ตุลาการ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยที่เหลืออยู่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ของประคับประคองไว้ เพื่อให้ประเทศสามารถปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตักเตือนผู้ใช้กฎหมายเสมอว่าต้องใช้กฎหมายเป็นธรรม และได้พระราชทานดำรัสอีกหลายองค์ แก่นักกฎหมายให้ตระหนักถึงความยุติธรรม อันเป็นอุดมคติสูงสุดของกระบวนการยุติธรรม ส่วนกฎหมายเป็นเพียงวิถีทางและเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความยุติธรรมเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องรักษาความยุติธรรมเป็นสำคัญมากกว่าการรักษาเครื่องมือ ความยุติธรรมต้องมาก่อน และอยู่เหนือกฎหมาย การรักษาความยุติธรรม ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายไปถึงศีลธรรม จรรยา ตลอดจนเหตุและผลของความเป็นจริงด้วย
หลังจากนั้น ได้มีการอภิปรายในหัวข้อ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” โดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยนั้น ไม่เหมือนกับการปกครองในระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในประเทศอื่นๆ ไม่มีประเทศไหนที่พระมหากษัตริย์จะประทับยืนบนพื้นดิน กางแผนที่พูดคุยกับชาวบ้านด้วยภาษาธรรมดา ไม่ใช้ราชาศัพท์ ภาพลักษณ์นี้คนไทยจะเห็นจนชินตา ตลอดระยะเวลาครองราชย์ 60 ปี ก่อนที่พระองค์จะทรงประชวร ขณะเดียวกัน ในเรื่องของการใช้พระราชอำนาจ นอกจากพระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ทรงใช้พระราชอำนาจตามนิติราชประเพณีการปกครองที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 เช่น ในเรื่องการพิจารณาคำร้องทุกข์ของราษฎร์
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ พระองค์ได้วางบรรทัดฐานในการใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งการพระราชทานรัฐธรรมนูญเป็นพระราชอำนาจดั่งเดิมตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า แม้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติ แต่ถ้าไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยก็เป็นรัฐธรรมนูญที่มาใช้บังคับไม่ได้ จึงเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญมาตรา 3 ที่แปรได้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ร่วมกันใช้ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ตรงนี้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มีความศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมการปกครอง โดยพระองค์ทรงไม่มีพระราชดำริในทางการเมือง ทรงปฏิเสธการใช้ ม.7 ของรัฐธรรมนูญทุกครั้งที่มีความพยายามจะไปทูลเกล้าฯก็จะทรงบอกว่าทำไม่ได้ ขณะเดียวกัน ก็ทรงช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขประชาชน อย่างเรื่องของการรุกป่า ที่พระองค์เห็นว่า หากชาวบ้านเข้าไปอยู่ในพื้นที่ป่าก่อนมีการประกาศเขตป่าสงวน หรือประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ เท่ากับว่า ป่าบุกรุกคน ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ในคราวต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2512-2530 แต่รัฐบาลก็ไม่ได้รับใส่เกล้ามาแก้ไข แสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงใกล้ชิดกับประชาชนที่เป็นคนทุกข์ยาก
“ทั้งหมดนี้ทำให้บอกได้ว่า พระมหากษัตริย์ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้นเป็นของวิเศษ 2 อย่าง คือ 1.เป็นความภาคภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทย และรู้ว่าตนเองมีอารยธรรมมาเป็นพันปี ขณะเดียวกัน เราก็มีระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกับพระมหากษัตริย์ จึงเป็นระบบที่เราควรรักษาให้ดำรงยั่งยืนสืบไป ดังนั้น พระมหากษัตริย์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงควรเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยทุกคนพึงพอใจ”
ด้าน นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การใช้พระราชอำนาจทางกฎหมายของพระมหากษัตริย์ไทย นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการและมีการคลี่คลายมาเรื่อยๆ พระองค์ไม่ได้มีการเจาะจงว่ารัฐจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เป็นลักษณะของการให้คำแนะนำเรื่อยมาอย่างในเรื่องสิทธิการยับยั้งร่างกฎหมาย จากที่ตนได้เคยศึกษาในรัชกาลปัจจุบัน การยับยั้งร่างกฎหมายมีน้อยมาก อย่างการจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2517 มีการบัญญัติว่าให้คนกลาง คือ ประธานองคมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเมื่อมีการทูลเกล้าฯร่างรัฐธรรมนูญ พระองค์ไม่ได้ทรงยับยั้ง ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ก็มีคำแนะนำกลับมาให้รัฐบาล ว่า ทรงไม่เห็นด้วยกับการให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เพราะพระองค์เป็นคนตั้งประธานองคมนตรี ซึ่งก็จะขัดกับหลัก The king Can Do No Wrong ตรงนี้ถือเป็นการบอกแบบไทยๆ และหลังจากนั้น ประมาณ 1 เดือน ก็มีแก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยมีที่พระมหากษัตริย์จะใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายแต่อย่างใด
“ความจงรักภักดีที่เรามีต่อพระมหากษัตริย์อย่างล้นเหลือ และอาจทำให้หลายคนรู้สึกในยามที่เราหาที่พึ่งอื่นไม่ได้ ในยามที่บ้านเมืองเกิดปัญหา ก็อยากจะน้อมนำเพิ่มพระราชอำนาจให้กับพระองค์ ซึ่งพระองค์ก็พยายามปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง อย่างที่ทรงพระราชดำรัสเรื่องรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ว่า ทรงทำไม่ได้ ตรงนี้ที่ทำให้เกิดคำถามว่าจริงๆ แล้วคนไทยน้อมนำ และเข้าใจในบทบาทของพระองค์แค่ไหน เพราะดูเหมือนหลายคนพยายามจะเข้าใจในแบบที่ตนเองอยากจะเข้าใจเท่านั้น” นายธงทอง กล่าว
วันนี้ (26 ก.ย.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้จัดปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับรัฐธรรมนูญ โดย นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ” ตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยมีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมายาวนาน โดยในอดีตเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่หลังจากวันที่ 24 มิ.ย.2475 มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรียกได้ว่า เป็นการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์เอง โดยการพระราชทานในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัดเสมอ จะเห็นได้ว่า ทรงมีพระราชดำรัสในโอกาสที่ประธานศาลฎีกานำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล วันอังคารที่ 25 เม.ย.2549 ความตอนหนึ่งว่า มาตรา 7 ว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีหรือตามที่เคยทำมา แต่ว่าในมาตรา 7 นั้น ไม่ได้บอกว่า พระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่า ไม่มีบทบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่า มีพระมหากษัตริย์ที่จะมาสั่งการได้ และขอยืนยันว่า ไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของกฎหมาย พระราชบัญญัติทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 9 ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ตั้งแต่เป็นมา มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับแล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบถ้าทำไปตามใจชอบก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้อำนาจประชาธิปไตยอันเป็นของปวงชนชาวไทยผ่านองค์กรต่างๆ ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล จะเห็นได้ว่า ความเชื่อมโยงเกี่ยวพันในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขนั้น อำนาจทั้งหมด พระองค์พระราชทานให้เป็นของปวงชนชาวไทย คือ ให้ประชาชนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจังหวัด มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนโดยผ่านทางรัฐสภา ซึ่งการเข้าดำรงตำแหน่งนั้น มิจำเป็นต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ก็ถือว่า มาจากการที่ประชาชนใช้อำนาจเลือกตั้งเข้ามา แต่สำหรับคณะรัฐมนตรีและศาลนั้น ไม่ได้มีการใช้อำนาจของปวงชนชาวไทยโดยตรง จึงจำเป็นต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งในฐานะที่ทรงเป็นประมุขและเป็นผู้ใช้อำนาจเช่นเดียวกัน ตามรัฐธรรมนูญพระองค์ทรงอยู่ในฐานะที่เคารพยิ่ง ผู้ใดจะทำละเมิดหรือฟ้องร้องมิได้ เพื่อให้พระราชฐานะนั้นได้รับการปกป้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
ซึ่งพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายที่ต้องทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นการยับยั้งเด็ดขาด แต่เป็นการยับยั้งเพื่อให้รัฐสภาได้ใคร่ครวญอีกครั้ง เพราะในขั้นตอนสุดท้ายหากรัฐสภายังยืนยันมติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ก็สามารถประกาศร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เสมอว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว อย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ในการยับยั้งการตรากฎหมาย ถ้ากฎหมายนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์และความผาสุกของประเทศชาติและประชาชน เท่าที่ผ่านมา ทรงใช้พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย จะเห็นได้จากครั้งที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติขานร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517 และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ นั้น ในมาตรา 107 วรรค 2 บัญญัติว่า ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงเห็นด้วย แต่ก็ไม่ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งโดยตรง หากเพียงแต่มีพระราชกระแสท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า ตามตรา 107 วรรค 2 แห่งร่างรัฐธรรมนูญนี้ บัญญัติให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้น ไม่ทรงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะประธานองคมนตรี เป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือก และแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย ตามความในมาตรา 16 เป็นการขัดกับหลักที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งจะทำให้ประธานองคมนตรีอยู่ในสภาพเสมือนเป็นองค์กรทางการเมือง ในเวลาต่อมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามแนวพระราชกระแสที่พระราชทานลงมา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2518 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 110 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 107 วรรค 2 ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
ส่วนพระราชอำนาจที่เกี่ยวข้องกับอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 171 มาตรา 175 และมาตรา 183 นอกจากพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแล้ว ยังให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ ตามคำกราบบังคมทูลพระกรุณาของนายกรัฐมนตรีในกรณีจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ รวมทั้งพระราชอำนาจอื่นๆ เช่น พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา โดยไม่ขัดต่อกฎหมายการตราพระราชกำหนด การประกาศราชสงคราม พระราชอำนาจในการทำหนังสือสนธิสัญญาและสัญญาอื่นๆ ต่อนานาประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ พระราชอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการ ทหาร และข้าราชการพลเรือนระดับสูงอื่นๆ
“การที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์ไม่ได้ก้าวล่วงมาใช้พระราชอำนาจในทางเนื้อหาแต่ประการใด เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงเหนือความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง ไม่มีพระราชดำริในด้านการเมือง และไม่ต้องรับผิดชอบทางด้านการเมือง ดังนั้น พระราชอำนาจตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจึงเป็นอีกรูปแบบที่ใช้ในการบริหารราชการดังกล่าวจะต้องมีผู้ถวายคำแนะนำก่อนมีพระบรมราชโองการเสมอ ซึ่งผู้ที่รับสนองรับราชโองการต้องเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมายและทางการเมือง มีข้อสังเกตว่าพระราชอำนาจที่เกี่ยวข้องกับอำนาจบริหารนี้ นอกจากพระราชอำนาจที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแล้ว พระมหากษัตริย์ยังทรงคงไว้ด้วยอำนาจโดยทั่วไป ตามประเพณีการปกครองในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และในรัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติรับรองพระราชอำนาจนี้ไว้ อันได้แก่ พระราชอำนาจที่ทรงจะปรึกษาหารือแก่รัฐบาล พระราชอำนาจในการส่งเสริมนโยบายของรัฐบาล และพระราชอำนาจในการตักเตือนรัฐบาล”
ขณะที่พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ เป็นนิติพระราชประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิมและเป็นอำนาจเฉพาะของพระมหากษัตริย์ที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ซึ่งเป็นอำนาจอิสระและเป็นกลางของพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความผูกพันและพระมหากรุณาของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อประชาชน ต่อผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นทางออกสุดท้ายที่พวกเขาเหล่านั้นจะได้รับความเป็นธรรม การพระราชทานอภัยโทษนี้ ไม่ได้จำกัดโทษเฉพาะในคดีอาญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโทษทางวินัยและโทษทางปกครองด้วย เช่นในกรณีที่ทรงพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้ที่ยื่นถวายฎีกา การพระราชทานอภัยโทษอาจพระราชทานอภัยโทษโดยไม่มีเงื่อนไข หรือพระราชทานอภัยโทษจากหนักเป็นเบาก็ได้ การพระราชทานอภัยโทษแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล ที่ทูลเกล้าฯฎีกาถวายพระราชทานอภัยโทษ และการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมักจะกระทำในโอกาสสำคัญของบ้านเมืองโดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ในการใช้พระราชอำนาจดังกล่าวพระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ส่วนพระราชอำนาจในตุลาการ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 197 มาตรา 200 และมาตรา 201 ให้การพิพากษาคดีของศาลจะต้องดำเนินการด้วยความยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และตามพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส พระราชกระแส แนะนำ แก่ผู้พิพากษาตลอดมา ทรงย้ำให้ยึดถือความเป็นธรรมเป็นที่ตั้ง ซึ่งเมื่อครั้งเกิดวิกฤตการณ์เมื่อ พ.ศ.2549 ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารไม่สามารถทำหน้าที่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตักเตือนให้ตุลาการ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยที่เหลืออยู่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ของประคับประคองไว้ เพื่อให้ประเทศสามารถปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตักเตือนผู้ใช้กฎหมายเสมอว่าต้องใช้กฎหมายเป็นธรรม และได้พระราชทานดำรัสอีกหลายองค์ แก่นักกฎหมายให้ตระหนักถึงความยุติธรรม อันเป็นอุดมคติสูงสุดของกระบวนการยุติธรรม ส่วนกฎหมายเป็นเพียงวิถีทางและเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความยุติธรรมเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องรักษาความยุติธรรมเป็นสำคัญมากกว่าการรักษาเครื่องมือ ความยุติธรรมต้องมาก่อน และอยู่เหนือกฎหมาย การรักษาความยุติธรรม ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายไปถึงศีลธรรม จรรยา ตลอดจนเหตุและผลของความเป็นจริงด้วย
หลังจากนั้น ได้มีการอภิปรายในหัวข้อ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” โดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยนั้น ไม่เหมือนกับการปกครองในระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในประเทศอื่นๆ ไม่มีประเทศไหนที่พระมหากษัตริย์จะประทับยืนบนพื้นดิน กางแผนที่พูดคุยกับชาวบ้านด้วยภาษาธรรมดา ไม่ใช้ราชาศัพท์ ภาพลักษณ์นี้คนไทยจะเห็นจนชินตา ตลอดระยะเวลาครองราชย์ 60 ปี ก่อนที่พระองค์จะทรงประชวร ขณะเดียวกัน ในเรื่องของการใช้พระราชอำนาจ นอกจากพระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ทรงใช้พระราชอำนาจตามนิติราชประเพณีการปกครองที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 เช่น ในเรื่องการพิจารณาคำร้องทุกข์ของราษฎร์
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ พระองค์ได้วางบรรทัดฐานในการใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งการพระราชทานรัฐธรรมนูญเป็นพระราชอำนาจดั่งเดิมตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า แม้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติ แต่ถ้าไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยก็เป็นรัฐธรรมนูญที่มาใช้บังคับไม่ได้ จึงเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญมาตรา 3 ที่แปรได้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ร่วมกันใช้ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ตรงนี้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มีความศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมการปกครอง โดยพระองค์ทรงไม่มีพระราชดำริในทางการเมือง ทรงปฏิเสธการใช้ ม.7 ของรัฐธรรมนูญทุกครั้งที่มีความพยายามจะไปทูลเกล้าฯก็จะทรงบอกว่าทำไม่ได้ ขณะเดียวกัน ก็ทรงช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขประชาชน อย่างเรื่องของการรุกป่า ที่พระองค์เห็นว่า หากชาวบ้านเข้าไปอยู่ในพื้นที่ป่าก่อนมีการประกาศเขตป่าสงวน หรือประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ เท่ากับว่า ป่าบุกรุกคน ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ในคราวต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2512-2530 แต่รัฐบาลก็ไม่ได้รับใส่เกล้ามาแก้ไข แสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงใกล้ชิดกับประชาชนที่เป็นคนทุกข์ยาก
“ทั้งหมดนี้ทำให้บอกได้ว่า พระมหากษัตริย์ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้นเป็นของวิเศษ 2 อย่าง คือ 1.เป็นความภาคภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทย และรู้ว่าตนเองมีอารยธรรมมาเป็นพันปี ขณะเดียวกัน เราก็มีระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกับพระมหากษัตริย์ จึงเป็นระบบที่เราควรรักษาให้ดำรงยั่งยืนสืบไป ดังนั้น พระมหากษัตริย์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงควรเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยทุกคนพึงพอใจ”
ด้าน นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การใช้พระราชอำนาจทางกฎหมายของพระมหากษัตริย์ไทย นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการและมีการคลี่คลายมาเรื่อยๆ พระองค์ไม่ได้มีการเจาะจงว่ารัฐจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เป็นลักษณะของการให้คำแนะนำเรื่อยมาอย่างในเรื่องสิทธิการยับยั้งร่างกฎหมาย จากที่ตนได้เคยศึกษาในรัชกาลปัจจุบัน การยับยั้งร่างกฎหมายมีน้อยมาก อย่างการจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2517 มีการบัญญัติว่าให้คนกลาง คือ ประธานองคมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเมื่อมีการทูลเกล้าฯร่างรัฐธรรมนูญ พระองค์ไม่ได้ทรงยับยั้ง ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ก็มีคำแนะนำกลับมาให้รัฐบาล ว่า ทรงไม่เห็นด้วยกับการให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เพราะพระองค์เป็นคนตั้งประธานองคมนตรี ซึ่งก็จะขัดกับหลัก The king Can Do No Wrong ตรงนี้ถือเป็นการบอกแบบไทยๆ และหลังจากนั้น ประมาณ 1 เดือน ก็มีแก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยมีที่พระมหากษัตริย์จะใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายแต่อย่างใด
“ความจงรักภักดีที่เรามีต่อพระมหากษัตริย์อย่างล้นเหลือ และอาจทำให้หลายคนรู้สึกในยามที่เราหาที่พึ่งอื่นไม่ได้ ในยามที่บ้านเมืองเกิดปัญหา ก็อยากจะน้อมนำเพิ่มพระราชอำนาจให้กับพระองค์ ซึ่งพระองค์ก็พยายามปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง อย่างที่ทรงพระราชดำรัสเรื่องรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ว่า ทรงทำไม่ได้ ตรงนี้ที่ทำให้เกิดคำถามว่าจริงๆ แล้วคนไทยน้อมนำ และเข้าใจในบทบาทของพระองค์แค่ไหน เพราะดูเหมือนหลายคนพยายามจะเข้าใจในแบบที่ตนเองอยากจะเข้าใจเท่านั้น” นายธงทอง กล่าว