คำร้อง คดีคำร้องที่ ลต. / ๒๕๕๔
ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง
วันที่ ๑๕ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ระหว่าง..(ขอสงวนนาม)...ผู้ร้อง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ถูกกล่าวหา
นายอภิชาติ สุขขัคคานนท์ ที่ ๑ นายประพันธ์ นัยโกวิท ที่ ๒ นายสมชัย จึงประเสริฐ ที่ ๓ นางสดศรี สัตยธรรม ที่ ๔ นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น ที่ ๕
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อขอศาลฎีกาเพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นทั่วไปเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ข้าพเจ้า..(ขอสงวนนาม)... ผู้ร้อง อาชีพข้าราชการบำนาญ ในการยื่นคำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลและกระทำการใดจนเสร็จการแทนข้าพเจ้า
ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ -๕ เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งและเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและในการใช้อำนาจขององค์กรจะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๖ โดยในการจัดการเลือกตั้งและดำเนินการเลือกตั้ง ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าจะต้องควบคุมดูแลและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมต่อประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ มีฐานะเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง รวมทั้งเป็นผู้รักษาการร่วมกับนายกรัฐมนตรีตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ามีหน้าที่ควบคุมดูแลให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจดแจ้ง การจัดตั้งพรรคการเมือง ควบคุมตรวจสอบการดำเนินงานของพรรคการเมือง และปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการของกฎหมายเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔โดยให้มีการยุบสภาตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ประกาศกำหนดให้มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และกำหนดให้มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ๒๔-๒๘พฤษภาคม ๒๕๕๔ นอกจากนี้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ายังประกาศให้ผู้ที่อาศัยตามทะเบียนบ้านที่ต้องเดินทางออกนอกเขตไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ในวันเลือกตั้ง สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรล่วงหน้า ได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยต้องยื่นคำขอลงทะเบียนนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นมีการลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง ในระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ และให้ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับที่ผู้นั้นมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง (เพิ่งย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาใหม่) ไม่ถึง ๙๐ วัน นับถึงวันเลือกตั้งลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้งระหว่างวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ถึง ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ และกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งในเขตเลือกตั้งและนอกเขตเลือกตั้ง ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ส่วนกรณีที่เป็นการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้ที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุล และกรณีที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงที่มีการเลือกตั้ง สามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น/สำนักบริหารแรงงานไทย กระทรวงแรงงาน โดยให้มีการลงทะเบียนก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน คือ ภายในวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ และกำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ร่วมกันวินิจฉัยว่าบทบัญญัติมาตรา ๙๗ และมาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๙๗ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันมิใช่เป็นการเลือกตั้งใหม่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ ถ้าประสงค์จะใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในจังหวัดที่ตนอยู่ ต้องมาลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ลงทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งเมื่อได้ลงทะเบียนก่อนวันเลือกตั้งสามสิบวัน โดยให้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในจังหวัดที่ตนลงทะเบียนไว้และให้หมดสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งเดิมที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง ในการนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งบันทึกการลงทะเบียนขอใช้สิทธิดังกล่าวไว้ในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และให้หมายเหตุสถานที่ที่ไปใช้สิทธิไว้ในประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย
ผู้ลงทะเบียนตามวรรคหนึ่งอาจขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงจังหวัดที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งได้โดยให้มีผลเมื่อพ้นสามสิบวันนับจากวันที่ยื่นคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงและให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการนี้ จะขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนในการเลือกตั้งคราวใดเกินหนึ่งครั้งไม่ได้
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งต้องใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเพื่อเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครบเก้าสิบวันครั้งสุดท้ายตามมาตรา ๙๖ แล้วแต่กรณี
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง หากบุคคลผู้ลงทะเบียนตามวรรคหนึ่งได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว แต่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งใหม่หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น ให้ถือว่าการลงทะเบียนนั้นเป็นการแจ้งเหตุอันสมควรและไม่เสียสิทธิตามมาตรา ๒๖
มาตรา ๑๐๑ เมื่อขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งตามมาตรา ๙๙ แล้ว ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นหมดสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งนั้น เว้นแต่จะได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าตามเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด”
โดยผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ร่วมกันวินิจฉัยว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งลงคะแนนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งของตนแล้ว ไม่ร้องขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง จะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นทั่วไปครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงทะเบียนไว้ตลอดไป และหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ต้องลงทะเบียนขอเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน และต่อมาผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ร่วมกันสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหน่วยธุรการของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากระทำการประกาศในสื่อต่างๆ รวมทั้งในเวปไซด์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่า ข้อควรระวังเกี่ยวกับการลงทะเบียน
๑. ผู้ที่เคยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตฯ ไว้แล้วสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ทันที โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
๒.ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้วฯ หากต้องการกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ เขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะต้องขอยกเลิกการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดก่อน
๓.การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตฯ ใช้ได้กับการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. เท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่น ผู้ลงทะเบียนจะต้องกลับไปใช้สิทธิ ณ ท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
๔.ผู้ที่ลงทะเบียนฯ ต้องไปใช้สิทธิได้ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ เท่านั้น จะไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้
๕.การลงทะเบียนฯ จะมีผลผูกพันไปตลอดจนกว่าผู้มีสิทธิฯ จะยื่นหนังสือขอยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ผู้ร้องได้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ ๓๙/๔๑๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต ณ หน่วยเลือกตั้งเขตบางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ร้องได้มีภารกิจบางประการในการขอใช้สิทธิเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ร้องได้เดินทางกลับไปที่จังหวัดขอนแก่นเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป แต่ผู้ร้องได้รับหนังสือแบบ ส.ส.๑๑ แจ้งว่า ผู้ร้องใช้สิทธินอกจังหวัด รายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๑ ผู้ร้องจึงรีบเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ร้องจึงได้เดินทางไปที่สำนักงานเขตบางนา ได้ไปสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าผู้ร้องต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยใด เจ้าหน้าที่ตอบว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิเลือกตั้งแล้วเพราะต้องใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ผู้ร้องจึงเขียนหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งว่า ก่อนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ร้องอยู่ในกรุงเทพมหานคร และไม่ได้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า รายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๒ ผู้ร้องจึงส่งเอกสารดังกล่าวไปยังนายทะเบียนอำเภอเมืองขอนแก่น และประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดขอนแก่น รายละเอียดปรากฏตามใบตอบรับเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๓ และ ๔ ส่งผลให้ผู้ร้องไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ เนื่องจากวันลงคะแนนเลือกตั้งกรณีการเลือกตั้งนอกเขต ที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าร่วมกันกำหนดได้จัดผ่านพ้นไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ แล้ว
การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าร่วมกันวินิจฉัยในบทบัญญัติมาตรา ๙๗ และมาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนขอให้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งและไม่ได้ขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง ต้องใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ตลอดไป เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
๑.ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๒ วรรคสาม ที่กำหนดหลักการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประกอบกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๑พุทธศักราช ๒๕๕๔ ที่ได้แก้ไขที่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และที่มา รวมทั้งกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ โดยแต่เดิมในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๔๘๐ คน มีที่มาจากการเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้ง ๔๐๐ คน และการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ๘๐ คน และมีการแบ่งเขตให้ในระบบเขตเลือกตั้ง ได้ไม่เกินเขตละ ๓ คน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อให้แบ่งบัญชีรายชื่อเป็น ๘ บัญชี ในแต่ละพรรคและแบ่งเขตเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อออกเป็น ๘ เขตเลือกตั้ง ตามกลุ่มจังหวัดออกเป็น ๘ กลุ่มจังหวัดๆ ละ ๑๐คน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้เปลี่ยนแปลงหลักการดังกล่าวส่งผลต่อจำนวนสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรและจำนวนเขตเลือกตั้ง โดยเปลี่ยนให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๕๐๐คน มีที่มาจากการเลือกตั้งระบบเขตเลือกตั้งจำนวน ๓๗๕ คน และจากการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน ๑๒๕ คน โดยมีการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเลือกตั้ง ได้ ๑ คน ต่อเขต และในส่วนสมาชิกในระบบบัญชีรายชื่อได้ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ส่งผลให้เขตเลือกตั้งในระบบใหม่มีจำนวนเขตเลือกตั้งในระบบเขตมากขึ้นและมีพื้นที่เล็กลง และเขตเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อใหญ่ขึ้นแต่เหลือเพียงเขตเดียว เท่ากับมีการเปลี่ยนเขตเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ใช้สิทธิในเขตเลือกตั้งเดิมอีกต่อไปโดยผลของการแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เช่น กรณีของผู้ร้องที่เดิมเคยใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต แต่ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ร้องถูกกำหนดให้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ ๓ จังหวัดอุดรธานี การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากล่าวอ้างว่าบทบัญญัติมาตรา ๙๗ กำหนดให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อเสียก่อนทั้งที่ไม่มีเขตเลือกตั้งเดิมอยู่อีกต่อไปแล้ว จึงเป็นบทบัญญัติที่ไม่ชอบและไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
๒. โดยเจตนารมณ์ของมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีความประสงค์เกิดความสะดวกแก่ประชาชนตาม “หลักการอำนวยความสะดวก” จึงกำหนดให้มีการขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งนอกจังหวัดจึงจะขอใช้สิทธิเลือกตั้งได้ การขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตในจังหวัดเดียวกันจึงไม่สามารถกระทำได้ เพราะการเดินทางภายในจังหวัดย่อมจะประมาณการเวลาที่จะสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้ทันตามกำหนดเวลาได้ แต่การเดินทางไปมาข้ามจังหวัดไม่สามารถกระทำได้สะดวก แต่ก็ต้องยึดถือภูมิลำเนาของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหลัก เพราะในเขตจังหวัดเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งให้เปลี่ยนไปแล้วไม่สามารถไปใช้ในเขตเดิมและหน่วยเลือกตั้งได้มีเหตุผลที่เหมาะสม เพราะอาจเกิดการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่สุจริตเกิดขึ้น ดังความที่ปรากฏในมาตรา ๙๗ แต่อย่างไรก็ตาม การไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของตนและต้องใช้นอกเขตจังหวัดส่วนใหญ่เป็นข้อขัดข้องตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงในวันเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละครั้งเท่านั้น เช่น มีกิจธุระหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่ถึงเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ ซึ่งเมื่อเสร็จกิจธุระหรือพ้นระยะเวลาตามมาตรา ๙๖ แล้ว ข้อขัดข้องตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงในการเลือกตั้งครั้งนั้นย่อมสิ้นสุดลง ไม่อาจถือเป็นการมีกิจธุระตลอดกาลหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่ถึงเก้าสิบวันตามมาตรา ๙๖ ตลอดไป อย่างที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าเข้าใจได้ เพราะเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
๓. ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้งต้องประกาศและกำหนดหน่วยเลือกตั้งใหม่ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง โดยคำนวณจำนวนประชากร ๘๐๐ คนเป็นประมาณต่อหน่วยเลือกตั้ง เท่ากับเมื่อมีการประกาศเขตเลือกตั้งใหม่ ก็ต้องมีการประกาศหน่วยเลือกตั้งใหม่ ทั้งนี้มีเจตนารมณ์ในการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้นหน่วยเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จึงไม่ใช่หน่วยเลือกตั้งเดียวกันที่จะกล่าวอ้างได้
๔. หากจะพิจารณาจากระยะเวลาในการขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งจะพบว่าระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อขอลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องกระทำภายในระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง ซึ่งระหว่างวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ -วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ และในขณะเดียวกันในมาตรา ๙๗ วรรคสอง ได้ กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตไว้แล้วหากจะเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องกระทำตามที่บัญญัติในมาตรา ๙๗ วรรคสองคือ การปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตต้องกระทำก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จึงจะมีผลให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ต้องกระทำก่อนวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ จึงจะสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่จะตรวจสอบการใช้สิทธิเลือกตั้งของตนว่าอยู่ในเขตใด ต้องกระทำก่อนวันที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากำหนดก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน และผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งทุกเขตโดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อน วันเลือกตั้งที่ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๔)และจากหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ส่งถึงเจ้าบ้านทางไปรษณีย์ ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ และประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งภายในเขตเลือกตั้งที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียนบ้าน ก็ไม่ทราบถึงกรณีดังกล่าวและไม่สามารถดำเนินการไปขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงในทางทะเบียนได้เพราะเวลาล่วงเลยมาแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากระยะเวลานับจากที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดให้แจ้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีเวลาไม่ถึงสามสิบวันที่จะมีผลให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นเวลาที่มาตรา ๙๗ วรรคสองดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้ ในการแจ้งชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดเวลาไว้ คือวันที่ ๑๒ และวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีชื่อในทะเบียนแต่มีหมายเหตุท้ายชื่อว่า ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต จึงไม่ใช้หลักการการเพิ่มชื่อหรือถอนชื่อตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงไม่สามารถดำเนินการแก้ไขให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งรวมถึง ผู้ร้องไม่สามารถดำเนินการใดๆตามที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากำหนดให้ดำเนินการจัดการได้ เพราะเป็นการพ้นวิสัยเนื่องจากกำหนดการที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะดำเนินการใดๆได้อีก
๕. การขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ผู้ร้องไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตได้ทันที แต่ต้องดำเนินการขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งเสียก่อนโดยใช้แบบคำขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด(แบบ สส๔๒ หรือ แบบ สส ๔๒ก) และเป็นเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าและพนักงานเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและมีเหตุที่เป็นเงื่อนไขให้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า(นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น)จึงจะลงทะเบียนและหมายเหตุในช่องทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น การขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง จึงเป็นการขออนุญาตที่มีลักษณะเฉพาะกาลและเฉพาะคราวที่มีความจำเป็นจากผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าภายใต้เงื่อนไขของเหตุจำเป็นตามมาตรา ๙๖และมาตรา ๙๗ เท่านั้น หาใช่สิทธิของการเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งที่ผู้ร้องใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงตลอดไป หรืออย่างไรก็ได้แล้วแต่ความประสงค์ของผู้ร้อง
๖. ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าเลือกปฏิบัติในการขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง เพราะตามมาตรา ๙๗ ได้กำหนดหลักการของผู้ประสงค์ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งประกอบด้วยผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งติดต่อกันน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้งแต่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากลับจัดการในบุคคลสองกลุ่มแตกต่างกันและเลือกปฏิบัติต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง เพราะบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นผู้มีความจำเป็นในการใช้สิทธิเลือกตั้งเนื่องจากปัญหาของการไม่ได้อาศัยในบ้านที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันน้อยกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้เลือกปฏิบัติได้วางระเบียบให้บุคคลทั้งสองกลุ่มสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่างกัน เพราะผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากลับวางเงื่อนไขให้ของการเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนให้ต่างกันได้โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้งและต่อมาภายหลังได้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากลับวางระเบียบให้ถือว่าเป็นการเพิกถอนการลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดนับแต่พ้นกำหนดเวลาที่เป็นเงื่อนไข แล้วให้ นายทะเบียนแก้ไขการลงทะเบียนโดยไม่ต้องร้องขอ ทั้งที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกันในระหว่างบุคคลทั้งสองกลุ่มแต่อย่างใด แต่เกิดจากการกำหนดหลักการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยการวางระเบียบของทั้งห้าเอง ทั้งนี้ ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๗๑ กำหนดไว้ว่า
“ข้อ ๑๗๑ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอตามข้อ ๑๖๙ ให้หมดสิทธิลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งเดิมที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง จนกว่าจะได้ยื่นคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นของอำเภอหรือเทศบาลที่ตนอยู่ เว้นแต่เป็นการขอลงทะเบียนเนื่องจากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง และต่อมาภายหลังได้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันให้ถือว่าเป็นการเพิกถอนการลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดนับแต่พ้นกำหนดเวลาที่เป็นเงื่อนไขนี้แล้ว
เมื่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งได้รับคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้ดำเนินการดังนี้
(๑) แจ้งผู้อำนวยการทะเบียนกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทะเบียนกลางเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่ลงคะแนนในหมายเหตุของทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและปรับปรุงฐานข้อมูลในการจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๒) แจ้งให้ผู้ร้องทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง”
ดังนั้นหากพิจารณาจากข้อ ๑๗๑ ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดไว้ดังกล่าวแล้ว ย่อมแสดงต่อศาลฎีกาว่าหากผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าเห็นว่าการลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้วางระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ ในข้อ ๑๗๑ ดังกล่าวข้างต้น และกำหนดให้นายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นแก้ไขในการลงทะเบียนเฉพาะกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึง วันเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องร้องขอ และเพราะเหตุผลใดจึงไม่กำหนดให้นายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นแก้ไขการลงทะเบียนกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัด ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน การดำเนินการของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า จึงก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติและวินิจฉัยให้กลุ่มบุคคลที่อยู่ในบังคับของกฎหมายมาตราเดียวกันใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่างกัน ส่งผลให้เป็นการตัดสิทธิเลือกตั้งของประชาชนจำนวนมาก และทำให้มีประชาชนต้องเสียสิทธิเลือกตั้งโดยไม่เป้นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกเป็นจำนวนมากรวมถึงกรณีของผู้ร้องด้วย
๗. ในแบบคำขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด (แบบ สส ๔๒ และแบบ สส ๔๒/ก) ซึ่งเป็นแบบการลงทะเบียนที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดขึ้น เพื่อใช้ กับการขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งตามมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าผู้ลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องมาแจ้งแก้ไขการลงทะเบียน ซึ่งรวมถึงแบบหนังสือตอบรับการลงทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด(แบบ สส ๔๒/ข) ก็ไม่ปรากฏข้อความใดๆ ที่ระบุหรือแจ้งเตือนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบว่าผู้ลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องมาแจ้งแก้ไขด้วยการลงทะเบียนเช่นเดียวกัน
๘. ตามบทบัญญัติมาตรา ๙๗ วรรคสาม ได้บัญญัติให้กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงในการเลือกตั้งคราวใดเกินกว่าหนึ่งครั้งไม่ได้ เมื่อพิจารณากำหนดเวลาตามที่กราบเรียนเสนอต่อศาลฎีกาตามข้อ ๒.แล้ว จะพบว่าในการดำเนินการของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าที่ไม่สอดคล้องและไม่เป็นไปตามกฎหมาย ทำให้ผู้ร้องและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะดำเนินการใดๆ ได้เลย เนื่องจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า และระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดและล่วงพ้นระยะเวลาการที่ผู้ร้องและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกกว่าสองล้านคนจะดำเนินการใดๆเพื่อให้ตนสามารถ ใช้สิทธิเลือกตั้งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้
๙. การเลือกตั้งเป็นสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐาน จึงทำให้การจะตัดสิทธิเลือกตั้งหรือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คือต้องมีกฎหมายกำหนดให้กระทำได้ตามหลักการในมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่การวินิจฉัยของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าที่วินิจฉัยตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่วินิจฉัยว่าหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ ที่ตนได้เคยขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตไว้ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ในวันการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้ มิได้เป็นไปตามหลักการในมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการวินิจฉัยดังกล่าวมีลักษณะการเลือกปฏิบัติที่แตกต่างกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปกับการเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่างและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะขัดต่อหลักการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตาม มาตรา ๗๒ วรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะหากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปนั้นต้องให้ประชาชนไปดำเนินการลงทะเบียนขอเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อน รายชื่อจึงจะกลับเข้าไปอยู่ในเขตเลือกตั้งเดิมที่ตนมีสิทธิ แต่ส่วนการเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่างที่เกิดขึ้น เช่น ที่กรุงเทพมหานคร และในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ รายชื่อของผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตได้กลับเข้าไปอยู่ในเขตเลือกตั้งทันทีไม่ต้องมีการลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเกิดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปปรากฎว่า รายชื่อของบุคคลดังกล่าวต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตทันที ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาค เลือกปฏิบัติ และสม่ำเสมอในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ขัดต่อหลักการที่องค์กรของรัฐทุกองค์กรยึดถือปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การวินิจฉัยดังกล่าวก่อให้เกิด “ผลประหลาด” ในทางกฎหมายที่บรรพตุลาการและนักนิติศาสตร์ยึดถือว่าต้องห้ามมิให้เกิดผลเช่นนั้น นอกจากนี้หากพิจารณาจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตและนอกราชอาณาจักรตามที่กล่าวมาข้างต้นที่คาดว่าจะไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งเช่นเดียวกับผู้ร้อง เพราะลงทะเบียนไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตในปี ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๙๕,๔๑๐ คน และ ๘๐,๑๖๑ คน ตามลำดับ เท่ากับ มีประชาชน จำนวน ๒,๑๗๕,๕๗๑ คน ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ จะส่งผลต่อคะแนนการเลือกตั้งที่มีผู้ลงทะเบียนในหลักหมื่นจนถึงหลักแสนคนในจังหวัดต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๑ จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร ที่มีจำนวน ๙๐๓,๘๙๙ คน ซึ่งหากบุคคลเหล่านี้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะส่งผลต่อการเลือกตั้งในทุกเขต เพราะบางเขตเลือกตั้งมีคะแนนแตกต่างไม่มาก และหากพิจารณาถึงจังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนเกินหลักหมื่นขึ้นไป จะส่งผลกระทบให้การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าทำให้ผู้ร้องไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากการวินิจฉัยข้อกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า ผู้ร้องไม่มีช่องทางอื่นที่จะทำให้ผู้ร้องได้รับคืนสิทธิเลือกตั้งที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ร่วมกันวินิจฉัยไปในลักษณะของการตัดสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกจำนวนมาก เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้ร้องขอใช้สิทธิทางศาลร้องต่อศาลฎีกาตามบทบัญญัติมาตรา ๒๑๙ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อคัดค้านการดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่กระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า อันเนื่องมาจากการดำเนินการควบคุมและการจัดการเลือกตั้งที่ผิดพลาดของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าในฐานะคณะกรรมการการเลือกตั้ง อันทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก ไม่น้อยกว่าสองล้านคนไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เพราะการวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า อันแสดงถึงการนิ่งเฉยและไม่นำพาที่จะคืนสิทธิเลือกตั้งให้แก่ผู้ร้องและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกกว่าสองล้าน ส่งผลให้การรับรองผลดังกล่าวไม่สุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากยังขาดคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกกว่าสองล้านคน ที่จะทำให้การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ด้วยเช่นเดียวกัน
ผู้ร้องขอใช้สิทธิร้องต่อศาลฎีกาตามหลักการในมาตรา ๒๑๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในคดีเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และขอใช้สิทธิโดยตรงตามหลักการในมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยเหตุผลว่า ผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิในศาลอื่นใดได้ นอกจากศาลยุติธรรม ทั้งนี้ตามหลักการของรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่เคยมีมาในประเทศไทยนับตั้งแต่ได้มีการวินิจฉัยคดีอาชญากรสงครามที่ ๑/๒๔๘๙ ซึ่งได้กำหนดหลักการให้ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีเขตอำนาจทั่วไปในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีต่างๆ ส่วนศาลอื่น อาทิ ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นศาลที่มีเขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะคดีบางประเภท โดยการกำหนดหลักการดังกล่าวเป็นไปตามหลักการทางกฎหมายที่สำคัญว่าบรรดาอรรถคดีทั้งหลายต้องได้รับการวินิจฉัยชี้ขาดโดยศาล จะไม่มีคดีใดที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้วไม่มีการตัดสินโดยองค์กรตุลาการ ดังนั้นเท่ากับเป็นการวางหลักการในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยไม่มีการปฏิเสธการอำนวยความยุติธรรม ตามหลักการมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๙ วรรคสาม ได้วางหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแตกต่างไปจากการหลักการเดิม โดยให้การวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคุณสมบัติและการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลเป็นอำนาจของศาลฎีกา อันเป็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ด้วยเหตุผลว่า การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในทางการเมืองควรถูกวินิจฉัยชี้ขาดโดยองค์กรศาลแทนคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดหลักประกันแห่งสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญว่าจะได้รับการวินิจฉัยโดยองค์กรที่ทำหน้าที่ตุลาการซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชน ดังนั้นในเมื่อบทบัญญัติมาตรา ๒๑๙ วรรคสาม ได้กำหนดให้ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดี ซึ่งต้องใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว
๑๐. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๙ และในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๑๑ ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจในการเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา โดยไม่ได้มีการบัญญัติในเรื่องที่มีผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้งเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและไม่เที่ยงธรรมที่เกิดจากการกระทำหรือการบริหารจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเอาไว้ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาได้ การแปลความในบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า เมื่อผู้ได้รับความเสียหายจากการการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญจะถูกต้องห้ามมิให้มีการเสนอเรื่องต่อศาลให้พิจารณาวินิจฉัยคดีอันเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เมื่อไม่มีกฎหมายใดกำหนดการจำกัดสิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลเอาไว้ เท่ากับสิทธิดังกล่าวไม่ได้ถูกจำกัดการใช้สิทธิโดยกฎหมาย แต่ต้องแปลความตามบทบัญญัติมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้การจำกัดสิทธิของบุคคล ต้องกระทำโดยบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏบทบัญญัติใดที่จำกัดสิทธิหรือห้ามมิให้มีการใช้สิทธิเสนอคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งต่อศาลฎีกาแล้วหมายความว่าย่อต้องเสนอเรื่องต่อศาลได้และศาลจะปฏิเสธไม่อำนวยความยุติธรรมก้ไม่ได้ เพราะจะเป็นขัดหรือแย้งและไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตาม “หลักนิติธรรม” ในระบบสากล ตามที่บัญญัติในมาตรา ๓ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และ หากการละเมิดสิทธิและเสรีภาพนั้นได้กระทำถูกกระทำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว ย่อมสามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรง ตามบทบัญญัติมาตรา ๒๘ ประกอบกับมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๔๐(๑) และ(๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
สำหรับการพิจารณาบทบัญญัติมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ว่าเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา นั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริงหากการกระทำที่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมเกิดขึ้นจากการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การที่จะให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งที่ไม่ได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามบทบัญญัติมาตรา ๒๓๙ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการกระทำที่เกิดจากความผิดพลาดในการจัดการหรือบริหารการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในสภาพความเป็นจริง เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมเสียเอง และหากคณะกรรมการการเลือกตั้งยอมรับว่าการเลือกตั้งดังกล่าวมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมและมีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของประชาชนกว่า สองล้านคนโดยไม่มีกฎหมาย ย่อมส่งผลต่อความรับผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของตนเสมือนเป็นการสารภาพในการกระทำความอาญา อันส่งผลให้ต้องรับผิดในความผิดตามที่กำหนดในมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น เมื่อประชาชนไม่สามารถแสวงหาความยุติธรรมได้โดยกระบวนการเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ ประชาชนจึงต้องแสวงหาความยุติธรรมโดยการใช้สิทธิเสนอเรื่องต่อศาลฎีกา โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา ๒๘ วรรคสองและวรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๒๑๙ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้โดยตรง
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตรา ๒๑๙ วรรคสาม มิได้บัญญัติห้ามมิให้ประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาตามสิทธิตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือกฎหมายอื่นใด แต่กำหนดให้ศาลฎีกาต่างหากที่ต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยอาศัยวิธีพิจารณาที่กำหนดโดยระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เมื่อระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่ได้กำหนดถึงบุคคลซึ่งเป็น “ผู้ร้อง” การเลือกตั้ง ว่าเป็นบุคคลใด แต่ระบุในนิยาม ข้อ ๓ ของระเบียบดังกล่าวว่า “ผู้ร้อง” หมายความว่า บุคคลผู้ซึ่งยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย และไม่ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นเป็น “ผู้ร้อง” ต่อศาลฎีกา จึงเท่ากับวิธีพิจารณาของศาลฎีกา กำหนดหลักการอย่างกว้างสำหรับการเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาไว้ จึงไม่อาจวินิจฉัยและแปลความได้ดังที่ศาลฎีกาได้มีคำสั่งว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งเพิกถอนการเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ เพราะการวินิจฉัยดังกล่าวจะส่งผลให้ไม่มีบุคคลใดสามารถร้องต่อศาลฎีกาได้เลย อันไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่ผู้ได้รับความผู้ได้รับความเสียหายจากการทุจริตการเลือกตั้งหรือจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาได้ โดยอาศัยระเบียบดังกล่าว ซึ่งการใช้สิทธิในลักษณะนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับการที่บุคคลมีความจำเป็นต้องใข้สิทธิทางศาลตามบทบัญญัติมาตรา ๕๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ บัญญัติว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมดังต่อไปนี้”
(๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
คำขอท้ายคำร้องฒ
จึงขอให้ศาลฎีกาได้เพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และได้โปรดมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้านางสาวภาณี ถิรังกูร ผู้ร้องเป็นผู้เรียงและพิมพ์
ลงชื่อ ผู้เรียงและพิมพ์
ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง
วันที่ ๑๕ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ระหว่าง..(ขอสงวนนาม)...ผู้ร้อง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ถูกกล่าวหา
นายอภิชาติ สุขขัคคานนท์ ที่ ๑ นายประพันธ์ นัยโกวิท ที่ ๒ นายสมชัย จึงประเสริฐ ที่ ๓ นางสดศรี สัตยธรรม ที่ ๔ นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น ที่ ๕
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อขอศาลฎีกาเพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นทั่วไปเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ข้าพเจ้า..(ขอสงวนนาม)... ผู้ร้อง อาชีพข้าราชการบำนาญ ในการยื่นคำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลและกระทำการใดจนเสร็จการแทนข้าพเจ้า
ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ -๕ เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งและเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและในการใช้อำนาจขององค์กรจะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๖ โดยในการจัดการเลือกตั้งและดำเนินการเลือกตั้ง ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าจะต้องควบคุมดูแลและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมต่อประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ มีฐานะเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง รวมทั้งเป็นผู้รักษาการร่วมกับนายกรัฐมนตรีตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ามีหน้าที่ควบคุมดูแลให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจดแจ้ง การจัดตั้งพรรคการเมือง ควบคุมตรวจสอบการดำเนินงานของพรรคการเมือง และปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการของกฎหมายเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔โดยให้มีการยุบสภาตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ประกาศกำหนดให้มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และกำหนดให้มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ๒๔-๒๘พฤษภาคม ๒๕๕๔ นอกจากนี้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ายังประกาศให้ผู้ที่อาศัยตามทะเบียนบ้านที่ต้องเดินทางออกนอกเขตไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ในวันเลือกตั้ง สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรล่วงหน้า ได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยต้องยื่นคำขอลงทะเบียนนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นมีการลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง ในระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ และให้ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับที่ผู้นั้นมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง (เพิ่งย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาใหม่) ไม่ถึง ๙๐ วัน นับถึงวันเลือกตั้งลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้งระหว่างวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ถึง ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ และกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งในเขตเลือกตั้งและนอกเขตเลือกตั้ง ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ส่วนกรณีที่เป็นการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้ที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุล และกรณีที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงที่มีการเลือกตั้ง สามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น/สำนักบริหารแรงงานไทย กระทรวงแรงงาน โดยให้มีการลงทะเบียนก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน คือ ภายในวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ และกำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ร่วมกันวินิจฉัยว่าบทบัญญัติมาตรา ๙๗ และมาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๙๗ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันมิใช่เป็นการเลือกตั้งใหม่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ ถ้าประสงค์จะใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในจังหวัดที่ตนอยู่ ต้องมาลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ลงทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งเมื่อได้ลงทะเบียนก่อนวันเลือกตั้งสามสิบวัน โดยให้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในจังหวัดที่ตนลงทะเบียนไว้และให้หมดสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งเดิมที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง ในการนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งบันทึกการลงทะเบียนขอใช้สิทธิดังกล่าวไว้ในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และให้หมายเหตุสถานที่ที่ไปใช้สิทธิไว้ในประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย
ผู้ลงทะเบียนตามวรรคหนึ่งอาจขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงจังหวัดที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งได้โดยให้มีผลเมื่อพ้นสามสิบวันนับจากวันที่ยื่นคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงและให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการนี้ จะขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนในการเลือกตั้งคราวใดเกินหนึ่งครั้งไม่ได้
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งต้องใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเพื่อเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครบเก้าสิบวันครั้งสุดท้ายตามมาตรา ๙๖ แล้วแต่กรณี
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง หากบุคคลผู้ลงทะเบียนตามวรรคหนึ่งได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว แต่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งใหม่หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น ให้ถือว่าการลงทะเบียนนั้นเป็นการแจ้งเหตุอันสมควรและไม่เสียสิทธิตามมาตรา ๒๖
มาตรา ๑๐๑ เมื่อขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งตามมาตรา ๙๙ แล้ว ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นหมดสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งนั้น เว้นแต่จะได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าตามเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด”
โดยผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ร่วมกันวินิจฉัยว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งลงคะแนนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งของตนแล้ว ไม่ร้องขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง จะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นทั่วไปครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงทะเบียนไว้ตลอดไป และหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ต้องลงทะเบียนขอเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน และต่อมาผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ร่วมกันสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหน่วยธุรการของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากระทำการประกาศในสื่อต่างๆ รวมทั้งในเวปไซด์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่า ข้อควรระวังเกี่ยวกับการลงทะเบียน
๑. ผู้ที่เคยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตฯ ไว้แล้วสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ทันที โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
๒.ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้วฯ หากต้องการกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ เขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะต้องขอยกเลิกการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดก่อน
๓.การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตฯ ใช้ได้กับการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. เท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่น ผู้ลงทะเบียนจะต้องกลับไปใช้สิทธิ ณ ท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
๔.ผู้ที่ลงทะเบียนฯ ต้องไปใช้สิทธิได้ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ เท่านั้น จะไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้
๕.การลงทะเบียนฯ จะมีผลผูกพันไปตลอดจนกว่าผู้มีสิทธิฯ จะยื่นหนังสือขอยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ผู้ร้องได้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ ๓๙/๔๑๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต ณ หน่วยเลือกตั้งเขตบางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ร้องได้มีภารกิจบางประการในการขอใช้สิทธิเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ร้องได้เดินทางกลับไปที่จังหวัดขอนแก่นเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป แต่ผู้ร้องได้รับหนังสือแบบ ส.ส.๑๑ แจ้งว่า ผู้ร้องใช้สิทธินอกจังหวัด รายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๑ ผู้ร้องจึงรีบเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ร้องจึงได้เดินทางไปที่สำนักงานเขตบางนา ได้ไปสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าผู้ร้องต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยใด เจ้าหน้าที่ตอบว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิเลือกตั้งแล้วเพราะต้องใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ผู้ร้องจึงเขียนหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งว่า ก่อนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ร้องอยู่ในกรุงเทพมหานคร และไม่ได้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า รายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๒ ผู้ร้องจึงส่งเอกสารดังกล่าวไปยังนายทะเบียนอำเภอเมืองขอนแก่น และประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดขอนแก่น รายละเอียดปรากฏตามใบตอบรับเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๓ และ ๔ ส่งผลให้ผู้ร้องไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ เนื่องจากวันลงคะแนนเลือกตั้งกรณีการเลือกตั้งนอกเขต ที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าร่วมกันกำหนดได้จัดผ่านพ้นไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ แล้ว
การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าร่วมกันวินิจฉัยในบทบัญญัติมาตรา ๙๗ และมาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนขอให้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งและไม่ได้ขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง ต้องใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ตลอดไป เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
๑.ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๒ วรรคสาม ที่กำหนดหลักการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประกอบกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๑พุทธศักราช ๒๕๕๔ ที่ได้แก้ไขที่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และที่มา รวมทั้งกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ โดยแต่เดิมในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๔๘๐ คน มีที่มาจากการเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้ง ๔๐๐ คน และการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ๘๐ คน และมีการแบ่งเขตให้ในระบบเขตเลือกตั้ง ได้ไม่เกินเขตละ ๓ คน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อให้แบ่งบัญชีรายชื่อเป็น ๘ บัญชี ในแต่ละพรรคและแบ่งเขตเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อออกเป็น ๘ เขตเลือกตั้ง ตามกลุ่มจังหวัดออกเป็น ๘ กลุ่มจังหวัดๆ ละ ๑๐คน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้เปลี่ยนแปลงหลักการดังกล่าวส่งผลต่อจำนวนสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรและจำนวนเขตเลือกตั้ง โดยเปลี่ยนให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๕๐๐คน มีที่มาจากการเลือกตั้งระบบเขตเลือกตั้งจำนวน ๓๗๕ คน และจากการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน ๑๒๕ คน โดยมีการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเลือกตั้ง ได้ ๑ คน ต่อเขต และในส่วนสมาชิกในระบบบัญชีรายชื่อได้ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ส่งผลให้เขตเลือกตั้งในระบบใหม่มีจำนวนเขตเลือกตั้งในระบบเขตมากขึ้นและมีพื้นที่เล็กลง และเขตเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อใหญ่ขึ้นแต่เหลือเพียงเขตเดียว เท่ากับมีการเปลี่ยนเขตเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ใช้สิทธิในเขตเลือกตั้งเดิมอีกต่อไปโดยผลของการแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เช่น กรณีของผู้ร้องที่เดิมเคยใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต แต่ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ร้องถูกกำหนดให้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ ๓ จังหวัดอุดรธานี การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากล่าวอ้างว่าบทบัญญัติมาตรา ๙๗ กำหนดให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อเสียก่อนทั้งที่ไม่มีเขตเลือกตั้งเดิมอยู่อีกต่อไปแล้ว จึงเป็นบทบัญญัติที่ไม่ชอบและไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
๒. โดยเจตนารมณ์ของมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีความประสงค์เกิดความสะดวกแก่ประชาชนตาม “หลักการอำนวยความสะดวก” จึงกำหนดให้มีการขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งนอกจังหวัดจึงจะขอใช้สิทธิเลือกตั้งได้ การขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตในจังหวัดเดียวกันจึงไม่สามารถกระทำได้ เพราะการเดินทางภายในจังหวัดย่อมจะประมาณการเวลาที่จะสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้ทันตามกำหนดเวลาได้ แต่การเดินทางไปมาข้ามจังหวัดไม่สามารถกระทำได้สะดวก แต่ก็ต้องยึดถือภูมิลำเนาของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหลัก เพราะในเขตจังหวัดเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งให้เปลี่ยนไปแล้วไม่สามารถไปใช้ในเขตเดิมและหน่วยเลือกตั้งได้มีเหตุผลที่เหมาะสม เพราะอาจเกิดการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่สุจริตเกิดขึ้น ดังความที่ปรากฏในมาตรา ๙๗ แต่อย่างไรก็ตาม การไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของตนและต้องใช้นอกเขตจังหวัดส่วนใหญ่เป็นข้อขัดข้องตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงในวันเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละครั้งเท่านั้น เช่น มีกิจธุระหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่ถึงเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ ซึ่งเมื่อเสร็จกิจธุระหรือพ้นระยะเวลาตามมาตรา ๙๖ แล้ว ข้อขัดข้องตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงในการเลือกตั้งครั้งนั้นย่อมสิ้นสุดลง ไม่อาจถือเป็นการมีกิจธุระตลอดกาลหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่ถึงเก้าสิบวันตามมาตรา ๙๖ ตลอดไป อย่างที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าเข้าใจได้ เพราะเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
๓. ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้งต้องประกาศและกำหนดหน่วยเลือกตั้งใหม่ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง โดยคำนวณจำนวนประชากร ๘๐๐ คนเป็นประมาณต่อหน่วยเลือกตั้ง เท่ากับเมื่อมีการประกาศเขตเลือกตั้งใหม่ ก็ต้องมีการประกาศหน่วยเลือกตั้งใหม่ ทั้งนี้มีเจตนารมณ์ในการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้นหน่วยเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จึงไม่ใช่หน่วยเลือกตั้งเดียวกันที่จะกล่าวอ้างได้
๔. หากจะพิจารณาจากระยะเวลาในการขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งจะพบว่าระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อขอลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องกระทำภายในระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง ซึ่งระหว่างวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ -วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ และในขณะเดียวกันในมาตรา ๙๗ วรรคสอง ได้ กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตไว้แล้วหากจะเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องกระทำตามที่บัญญัติในมาตรา ๙๗ วรรคสองคือ การปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตต้องกระทำก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จึงจะมีผลให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ต้องกระทำก่อนวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ จึงจะสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่จะตรวจสอบการใช้สิทธิเลือกตั้งของตนว่าอยู่ในเขตใด ต้องกระทำก่อนวันที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากำหนดก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน และผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งทุกเขตโดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อน วันเลือกตั้งที่ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๔)และจากหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ส่งถึงเจ้าบ้านทางไปรษณีย์ ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ และประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งภายในเขตเลือกตั้งที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียนบ้าน ก็ไม่ทราบถึงกรณีดังกล่าวและไม่สามารถดำเนินการไปขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงในทางทะเบียนได้เพราะเวลาล่วงเลยมาแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากระยะเวลานับจากที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดให้แจ้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีเวลาไม่ถึงสามสิบวันที่จะมีผลให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นเวลาที่มาตรา ๙๗ วรรคสองดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้ ในการแจ้งชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดเวลาไว้ คือวันที่ ๑๒ และวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีชื่อในทะเบียนแต่มีหมายเหตุท้ายชื่อว่า ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต จึงไม่ใช้หลักการการเพิ่มชื่อหรือถอนชื่อตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงไม่สามารถดำเนินการแก้ไขให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งรวมถึง ผู้ร้องไม่สามารถดำเนินการใดๆตามที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากำหนดให้ดำเนินการจัดการได้ เพราะเป็นการพ้นวิสัยเนื่องจากกำหนดการที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะดำเนินการใดๆได้อีก
๕. การขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ผู้ร้องไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตได้ทันที แต่ต้องดำเนินการขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งเสียก่อนโดยใช้แบบคำขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด(แบบ สส๔๒ หรือ แบบ สส ๔๒ก) และเป็นเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าและพนักงานเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและมีเหตุที่เป็นเงื่อนไขให้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า(นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น)จึงจะลงทะเบียนและหมายเหตุในช่องทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น การขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง จึงเป็นการขออนุญาตที่มีลักษณะเฉพาะกาลและเฉพาะคราวที่มีความจำเป็นจากผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าภายใต้เงื่อนไขของเหตุจำเป็นตามมาตรา ๙๖และมาตรา ๙๗ เท่านั้น หาใช่สิทธิของการเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งที่ผู้ร้องใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงตลอดไป หรืออย่างไรก็ได้แล้วแต่ความประสงค์ของผู้ร้อง
๖. ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าเลือกปฏิบัติในการขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง เพราะตามมาตรา ๙๗ ได้กำหนดหลักการของผู้ประสงค์ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งประกอบด้วยผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งติดต่อกันน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้งแต่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากลับจัดการในบุคคลสองกลุ่มแตกต่างกันและเลือกปฏิบัติต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง เพราะบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นผู้มีความจำเป็นในการใช้สิทธิเลือกตั้งเนื่องจากปัญหาของการไม่ได้อาศัยในบ้านที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันน้อยกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้เลือกปฏิบัติได้วางระเบียบให้บุคคลทั้งสองกลุ่มสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่างกัน เพราะผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากลับวางเงื่อนไขให้ของการเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนให้ต่างกันได้โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้งและต่อมาภายหลังได้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้ากลับวางระเบียบให้ถือว่าเป็นการเพิกถอนการลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดนับแต่พ้นกำหนดเวลาที่เป็นเงื่อนไข แล้วให้ นายทะเบียนแก้ไขการลงทะเบียนโดยไม่ต้องร้องขอ ทั้งที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกันในระหว่างบุคคลทั้งสองกลุ่มแต่อย่างใด แต่เกิดจากการกำหนดหลักการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยการวางระเบียบของทั้งห้าเอง ทั้งนี้ ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๗๑ กำหนดไว้ว่า
“ข้อ ๑๗๑ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอตามข้อ ๑๖๙ ให้หมดสิทธิลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งเดิมที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง จนกว่าจะได้ยื่นคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นของอำเภอหรือเทศบาลที่ตนอยู่ เว้นแต่เป็นการขอลงทะเบียนเนื่องจากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง และต่อมาภายหลังได้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันให้ถือว่าเป็นการเพิกถอนการลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดนับแต่พ้นกำหนดเวลาที่เป็นเงื่อนไขนี้แล้ว
เมื่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งได้รับคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้ดำเนินการดังนี้
(๑) แจ้งผู้อำนวยการทะเบียนกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทะเบียนกลางเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่ลงคะแนนในหมายเหตุของทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและปรับปรุงฐานข้อมูลในการจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๒) แจ้งให้ผู้ร้องทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง”
ดังนั้นหากพิจารณาจากข้อ ๑๗๑ ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดไว้ดังกล่าวแล้ว ย่อมแสดงต่อศาลฎีกาว่าหากผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าเห็นว่าการลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้วางระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ ในข้อ ๑๗๑ ดังกล่าวข้างต้น และกำหนดให้นายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นแก้ไขในการลงทะเบียนเฉพาะกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึง วันเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องร้องขอ และเพราะเหตุผลใดจึงไม่กำหนดให้นายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นแก้ไขการลงทะเบียนกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัด ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน การดำเนินการของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า จึงก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติและวินิจฉัยให้กลุ่มบุคคลที่อยู่ในบังคับของกฎหมายมาตราเดียวกันใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่างกัน ส่งผลให้เป็นการตัดสิทธิเลือกตั้งของประชาชนจำนวนมาก และทำให้มีประชาชนต้องเสียสิทธิเลือกตั้งโดยไม่เป้นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกเป็นจำนวนมากรวมถึงกรณีของผู้ร้องด้วย
๗. ในแบบคำขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด (แบบ สส ๔๒ และแบบ สส ๔๒/ก) ซึ่งเป็นแบบการลงทะเบียนที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดขึ้น เพื่อใช้ กับการขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งตามมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าผู้ลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องมาแจ้งแก้ไขการลงทะเบียน ซึ่งรวมถึงแบบหนังสือตอบรับการลงทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด(แบบ สส ๔๒/ข) ก็ไม่ปรากฏข้อความใดๆ ที่ระบุหรือแจ้งเตือนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบว่าผู้ลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องมาแจ้งแก้ไขด้วยการลงทะเบียนเช่นเดียวกัน
๘. ตามบทบัญญัติมาตรา ๙๗ วรรคสาม ได้บัญญัติให้กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงในการเลือกตั้งคราวใดเกินกว่าหนึ่งครั้งไม่ได้ เมื่อพิจารณากำหนดเวลาตามที่กราบเรียนเสนอต่อศาลฎีกาตามข้อ ๒.แล้ว จะพบว่าในการดำเนินการของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าที่ไม่สอดคล้องและไม่เป็นไปตามกฎหมาย ทำให้ผู้ร้องและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะดำเนินการใดๆ ได้เลย เนื่องจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า และระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กำหนดและล่วงพ้นระยะเวลาการที่ผู้ร้องและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกกว่าสองล้านคนจะดำเนินการใดๆเพื่อให้ตนสามารถ ใช้สิทธิเลือกตั้งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้
๙. การเลือกตั้งเป็นสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐาน จึงทำให้การจะตัดสิทธิเลือกตั้งหรือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คือต้องมีกฎหมายกำหนดให้กระทำได้ตามหลักการในมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่การวินิจฉัยของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าที่วินิจฉัยตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่วินิจฉัยว่าหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ ที่ตนได้เคยขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตไว้ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ในวันการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้ มิได้เป็นไปตามหลักการในมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการวินิจฉัยดังกล่าวมีลักษณะการเลือกปฏิบัติที่แตกต่างกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปกับการเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่างและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะขัดต่อหลักการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตาม มาตรา ๗๒ วรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะหากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปนั้นต้องให้ประชาชนไปดำเนินการลงทะเบียนขอเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อน รายชื่อจึงจะกลับเข้าไปอยู่ในเขตเลือกตั้งเดิมที่ตนมีสิทธิ แต่ส่วนการเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่างที่เกิดขึ้น เช่น ที่กรุงเทพมหานคร และในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ รายชื่อของผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตได้กลับเข้าไปอยู่ในเขตเลือกตั้งทันทีไม่ต้องมีการลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเกิดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปปรากฎว่า รายชื่อของบุคคลดังกล่าวต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตทันที ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาค เลือกปฏิบัติ และสม่ำเสมอในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ขัดต่อหลักการที่องค์กรของรัฐทุกองค์กรยึดถือปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การวินิจฉัยดังกล่าวก่อให้เกิด “ผลประหลาด” ในทางกฎหมายที่บรรพตุลาการและนักนิติศาสตร์ยึดถือว่าต้องห้ามมิให้เกิดผลเช่นนั้น นอกจากนี้หากพิจารณาจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตและนอกราชอาณาจักรตามที่กล่าวมาข้างต้นที่คาดว่าจะไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งเช่นเดียวกับผู้ร้อง เพราะลงทะเบียนไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตในปี ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๙๕,๔๑๐ คน และ ๘๐,๑๖๑ คน ตามลำดับ เท่ากับ มีประชาชน จำนวน ๒,๑๗๕,๕๗๑ คน ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ จะส่งผลต่อคะแนนการเลือกตั้งที่มีผู้ลงทะเบียนในหลักหมื่นจนถึงหลักแสนคนในจังหวัดต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๑ จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร ที่มีจำนวน ๙๐๓,๘๙๙ คน ซึ่งหากบุคคลเหล่านี้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะส่งผลต่อการเลือกตั้งในทุกเขต เพราะบางเขตเลือกตั้งมีคะแนนแตกต่างไม่มาก และหากพิจารณาถึงจังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนเกินหลักหมื่นขึ้นไป จะส่งผลกระทบให้การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าทำให้ผู้ร้องไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากการวินิจฉัยข้อกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า ผู้ร้องไม่มีช่องทางอื่นที่จะทำให้ผู้ร้องได้รับคืนสิทธิเลือกตั้งที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้ร่วมกันวินิจฉัยไปในลักษณะของการตัดสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกจำนวนมาก เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้ร้องขอใช้สิทธิทางศาลร้องต่อศาลฎีกาตามบทบัญญัติมาตรา ๒๑๙ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อคัดค้านการดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่กระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า อันเนื่องมาจากการดำเนินการควบคุมและการจัดการเลือกตั้งที่ผิดพลาดของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าในฐานะคณะกรรมการการเลือกตั้ง อันทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก ไม่น้อยกว่าสองล้านคนไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เพราะการวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้า อันแสดงถึงการนิ่งเฉยและไม่นำพาที่จะคืนสิทธิเลือกตั้งให้แก่ผู้ร้องและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกกว่าสองล้าน ส่งผลให้การรับรองผลดังกล่าวไม่สุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากยังขาดคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกกว่าสองล้านคน ที่จะทำให้การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ด้วยเช่นเดียวกัน
ผู้ร้องขอใช้สิทธิร้องต่อศาลฎีกาตามหลักการในมาตรา ๒๑๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในคดีเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าได้กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และขอใช้สิทธิโดยตรงตามหลักการในมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยเหตุผลว่า ผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิในศาลอื่นใดได้ นอกจากศาลยุติธรรม ทั้งนี้ตามหลักการของรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่เคยมีมาในประเทศไทยนับตั้งแต่ได้มีการวินิจฉัยคดีอาชญากรสงครามที่ ๑/๒๔๘๙ ซึ่งได้กำหนดหลักการให้ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีเขตอำนาจทั่วไปในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีต่างๆ ส่วนศาลอื่น อาทิ ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นศาลที่มีเขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะคดีบางประเภท โดยการกำหนดหลักการดังกล่าวเป็นไปตามหลักการทางกฎหมายที่สำคัญว่าบรรดาอรรถคดีทั้งหลายต้องได้รับการวินิจฉัยชี้ขาดโดยศาล จะไม่มีคดีใดที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้วไม่มีการตัดสินโดยองค์กรตุลาการ ดังนั้นเท่ากับเป็นการวางหลักการในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยไม่มีการปฏิเสธการอำนวยความยุติธรรม ตามหลักการมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๙ วรรคสาม ได้วางหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแตกต่างไปจากการหลักการเดิม โดยให้การวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคุณสมบัติและการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลเป็นอำนาจของศาลฎีกา อันเป็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ด้วยเหตุผลว่า การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในทางการเมืองควรถูกวินิจฉัยชี้ขาดโดยองค์กรศาลแทนคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดหลักประกันแห่งสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญว่าจะได้รับการวินิจฉัยโดยองค์กรที่ทำหน้าที่ตุลาการซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชน ดังนั้นในเมื่อบทบัญญัติมาตรา ๒๑๙ วรรคสาม ได้กำหนดให้ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดี ซึ่งต้องใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว
๑๐. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๙ และในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๑๑ ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจในการเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา โดยไม่ได้มีการบัญญัติในเรื่องที่มีผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้งเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและไม่เที่ยงธรรมที่เกิดจากการกระทำหรือการบริหารจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเอาไว้ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาได้ การแปลความในบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า เมื่อผู้ได้รับความเสียหายจากการการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญจะถูกต้องห้ามมิให้มีการเสนอเรื่องต่อศาลให้พิจารณาวินิจฉัยคดีอันเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เมื่อไม่มีกฎหมายใดกำหนดการจำกัดสิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลเอาไว้ เท่ากับสิทธิดังกล่าวไม่ได้ถูกจำกัดการใช้สิทธิโดยกฎหมาย แต่ต้องแปลความตามบทบัญญัติมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้การจำกัดสิทธิของบุคคล ต้องกระทำโดยบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏบทบัญญัติใดที่จำกัดสิทธิหรือห้ามมิให้มีการใช้สิทธิเสนอคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งต่อศาลฎีกาแล้วหมายความว่าย่อต้องเสนอเรื่องต่อศาลได้และศาลจะปฏิเสธไม่อำนวยความยุติธรรมก้ไม่ได้ เพราะจะเป็นขัดหรือแย้งและไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตาม “หลักนิติธรรม” ในระบบสากล ตามที่บัญญัติในมาตรา ๓ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และ หากการละเมิดสิทธิและเสรีภาพนั้นได้กระทำถูกกระทำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว ย่อมสามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรง ตามบทบัญญัติมาตรา ๒๘ ประกอบกับมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๔๐(๑) และ(๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
สำหรับการพิจารณาบทบัญญัติมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ว่าเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา นั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริงหากการกระทำที่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมเกิดขึ้นจากการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การที่จะให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งที่ไม่ได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามบทบัญญัติมาตรา ๒๓๙ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการกระทำที่เกิดจากความผิดพลาดในการจัดการหรือบริหารการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในสภาพความเป็นจริง เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมเสียเอง และหากคณะกรรมการการเลือกตั้งยอมรับว่าการเลือกตั้งดังกล่าวมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมและมีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของประชาชนกว่า สองล้านคนโดยไม่มีกฎหมาย ย่อมส่งผลต่อความรับผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของตนเสมือนเป็นการสารภาพในการกระทำความอาญา อันส่งผลให้ต้องรับผิดในความผิดตามที่กำหนดในมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น เมื่อประชาชนไม่สามารถแสวงหาความยุติธรรมได้โดยกระบวนการเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ ประชาชนจึงต้องแสวงหาความยุติธรรมโดยการใช้สิทธิเสนอเรื่องต่อศาลฎีกา โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา ๒๘ วรรคสองและวรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๒๑๙ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้โดยตรง
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตรา ๒๑๙ วรรคสาม มิได้บัญญัติห้ามมิให้ประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาตามสิทธิตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือกฎหมายอื่นใด แต่กำหนดให้ศาลฎีกาต่างหากที่ต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยอาศัยวิธีพิจารณาที่กำหนดโดยระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เมื่อระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่ได้กำหนดถึงบุคคลซึ่งเป็น “ผู้ร้อง” การเลือกตั้ง ว่าเป็นบุคคลใด แต่ระบุในนิยาม ข้อ ๓ ของระเบียบดังกล่าวว่า “ผู้ร้อง” หมายความว่า บุคคลผู้ซึ่งยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย และไม่ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นเป็น “ผู้ร้อง” ต่อศาลฎีกา จึงเท่ากับวิธีพิจารณาของศาลฎีกา กำหนดหลักการอย่างกว้างสำหรับการเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาไว้ จึงไม่อาจวินิจฉัยและแปลความได้ดังที่ศาลฎีกาได้มีคำสั่งว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งเพิกถอนการเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ เพราะการวินิจฉัยดังกล่าวจะส่งผลให้ไม่มีบุคคลใดสามารถร้องต่อศาลฎีกาได้เลย อันไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่ผู้ได้รับความผู้ได้รับความเสียหายจากการทุจริตการเลือกตั้งหรือจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาได้ โดยอาศัยระเบียบดังกล่าว ซึ่งการใช้สิทธิในลักษณะนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับการที่บุคคลมีความจำเป็นต้องใข้สิทธิทางศาลตามบทบัญญัติมาตรา ๕๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ บัญญัติว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมดังต่อไปนี้”
(๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
คำขอท้ายคำร้องฒ
จึงขอให้ศาลฎีกาได้เพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และได้โปรดมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้านางสาวภาณี ถิรังกูร ผู้ร้องเป็นผู้เรียงและพิมพ์
ลงชื่อ ผู้เรียงและพิมพ์