xs
xsm
sm
md
lg

ฮุนเซน อยากให้ใครเป็น นายกฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โค้งสุดท้าย ก่อนถึงวันเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 เป็น สัปดาห์ “ปลอดโพลล์” กฎหมายเลือกตั้งห้ามเผยแพร่ผลโพลล์ ในช่วง 7 วัน ก่อนวันลงคะแนน พรรคเพื่อไทยที่ใช้ผลโพลล์ปั่นกระแสข่าวว่า “ ปู โคลนนื่ง” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมาแน่ พรรคเพื่อไทยจะชนะถล่มทะลาย 270 เสียงบ้าง 300 เสียงบ้าง มาอย่างตอ่เนื่อง จึงมีอาการ ขาดโพลล์ เหมือนขาดใจ หมดมุกที่จะเลี้ยงกระแส ให้ต่อเนื่องไปจนถึงวันหย่อนบัตร

ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ หลัง การปราศรัยใหญ่ที่สี่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน แม้จะถูกพรรคเพื่อไทย ตอบโต้ ถากถางว่า ขายของเก่า สร้างความแตกแยก แต่ถ้าการปราศรัยในวันนั้นล้มเหลวจริง พรรคเพื่อไทยคงไม่ต้องออกแถลงการณ์ กลืนน้ำลายตัวเองทันทีในวันรุ่งขึ้นว่า จะไม่นิรโทษกรรมให้ นช. ทักษิณ ชินวัตร ไม่คืนเงิน 46,000 ล้านบาทให้ พี่ชายของนายกรัฐมนตรีโพลล์
วาทกรรม “ ถอนพิษทักษิณออกจากประเทศไทย ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังไม่ทันหมดฤทธิ์ เหตุการณ์ ถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก เพื่อรักษาอธิปไตยของไทย ก็เกิดขึ้นอย่างถูกที่ ถูกเวลา เป็นคุณต่อพรรคประชาธิปัตย์

ส่วนผลกระทบที่เกิดกับพรรคเพื่อไทยนั้น แถลงการณ์ 9 ข้อของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพือ่ไทย ที่โจมตีการถอนตัวของประเทศไทย สะท้อนถึงอาการตั้งตัวไม่ติด พลิกตำราไม่ทัน จึงออกมาแบบมั่วๆ นึกอะไรขึ้นมาได้ ก็ใส่ลงไปหมด

การถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ของไทย จะมีผลต่อคะแนนนิยมของพรรคประชาธิปัตย์มากน้อยแค่ไหน ยังไม่รู้ แต่ผลการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม จะมีผลต่อ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ของกัมพูชา โดยฮุบเอาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของไทยเข้าไปด้วย อย่างแน่นอน

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย กัมพูชา ไม่มีทางได้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยใช้เล่ห์สอดไส้เข้าไปในแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบๆปราสาทพระวิหาร และสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา จะยังคงตึงเครียดต่อไป เพราะฮุนเซน จะสร้างสถานการณ์ ความรุนแรงที่ชายแดนเป็นระยะๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจของนานาชาติ

ถ้าพรรคเพื่อไทยได้ตั้งรัฐบาล มีนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิด ออกฏฎหมายนิรโทษกรรมให้พี่ชาย และนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิท่างการเมือง นายนพดล ปัทมะ ก็น่าจะได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้กลับมาสานต่อภารกิจ ยกแผ่นดินไทยให้เขมร ที่เขาทำคั่งค้างไว้ตั้งแต่ปี 2551 ประเทศไทยจะกลับเข้าสู่เวทีการประชุมมรดกโลกในปีหน้า และจะยอมให้กัมพูชาเสนอแผนจัดการพื้นที่รอบๆปราสาทพระวิหาร สถานการณ์ชายแดนจะสงบ เพราะ ร.ต.อ. เฉลิม อยุ่บำรุง คุยว่า ทันที่ที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล จะเดินทางไปเจรจากับฮุนเซนทันที

ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชา ที่ปะทุขึ้นอย่างรุนแรงในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์นั้น มีมูลเหตุมาจาก การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว ตามที่นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงเฮกใ นฐานะหัวหน้าทีมสู้คดีที่ กัมพูชาฟ้องไทยต่อศาลโลก ได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่ง ของการแถลงปิดคีด้วยวาจา ต่อศาลโลก เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า
 
“ จุดยืนของไทยที่มีต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ในฐานะมรดกโลก ปราสาทพระวิหารจำเป็นต้องมีพื้นที่กันชน นั่นหมายถึงว่าต้องรวมเอาดินแดนที่อยู่ในอธิปไตยของไทยเข้าไปด้วย ประเทศไทยเข้าใจ มีความพร้อม และมีความประสงค์ที่จะร่วมกับกัมพูชาในการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกัน แต่เป็นกัมพูชาเองที่ปฏิเสธเรื่องนี้ และนั่นก็คือรากเหง้าของปัญหาในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร เนื่องจากขณะนี้กรอบเวลาใกล้เข้ามาถึง แต่สิ่งที่คาดหวังก็ยังไม่มีความแน่นอน "ความขัดแย้งที่มีการถูกออกแบบเอาไว้" ล่วงหน้าจึงถูกจุดขึ้น เพื่อใช้สำหรับการยื่นขอให้ศาลประกาศมาตรการชั่วคราว ซึ่งจะเป็นวิธีที่จะช่วยแผ้วถางพื้นที่ในการจัดทำพื้นที่กันชนที่ต้องการ เพื่อนำไปรวมอยู่ในแผนบริหารจัดการที่จะนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกซึ่งจะมีขึ้นในปลายเดือนหน้า ซึ่งเป็นกลวิธีที่ไทยคัดค้านอย่างเป็นที่เข้าใจได้”

กัมพูชาพยายามเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ที่เมืองไครสช์เชิร์ต ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 แต่ถูกประเทศไทย ในยุครัฐบาลพลเอกสุรยุทธื จุลานนท์ คัคดค้าน จึงต้องเลื่อนวาระนี้มา ประชุมครั้งที่ 32 ในปี 2551 ที่แคนาดา

รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี นายนพดล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าบริหารประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ไม่ถึงเดือนหลังจากนั้น นายสมัคร และคณะ เดินทางไปเยือนกัมพูชา มีการหารือกับสมเด็จ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และนายนพดล ได้หารือร่วมกับนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาได้เสนอร่าง joint statement ให้ฝ่ายไทยพิจารณา มีสาระสำคัญว่า ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และ การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ไม่ถือเป็นการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ

นายวีรชัย ซึ่งขณะนั้นเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว โดยทำบันทึกช่วยจำถึงทางกัมพูชา ให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ทับซ้อนรอบๆปราสาทพระวิหารก่อน และเสนอความเห็นต่อนายนพดลให้ มีการเจรจากับกัมพูชาในระดับทวิภาคี ก่อนที่จะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมมรดกโลก รวมทั้งขอให้คณะกรรมการมรดกโลก เลื่อนวาะระการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในการประชุมครั้งที่ 32 ออกดไปก่อน แต่นายนพดล เก็บเรื่องเอาไว้เฉยๆ

วันที่ 6 พฤษภาคม 2551 นายนพดล ส่ง นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ไปเจรจาเรื่องกัมพูชาขอเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก กับ นายสก อาน โดยมีนายวีรชัย ร่วมคณะไปด้วย แต่ก่อนหน้านั้น 1 วัน คือ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ เพราะตรงกับวันฉัตรมงคลนายนพดล ได้เสนอคณะรัฐมนตรี ย้ายนายวีรชัย ไปเป็นเอกอัครราชฑูตประจำกระทรวง และแต่งตั้งให้นายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายแทน

วันที่ 14 พฤษภาคม 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเดินทางไปร่วมพิธีเปิดถนนหมายเลข 48 (เกาะกง - สแรอัมเบิล) และสะพาน 4 แห่ง ซึ่งนายนพดล ได้ร่วมเดินทางไปด้วย และได้นัดพบ เจรจาหารือกับ นายสก อาน ในเรื่องปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และการกำหนดเขตทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา และพื้นที่พัฒนาร่วมบริเวณไหล่ทวีปที่ไทย และกัมพูชา ต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกัน

วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 นายนพดล ได้เจรจาหารือกับ นายสก อาน ที่สำนักงานใหญ่ ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้จัดทำร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communiqué) โดยไทยสนับสนุนกัมพูชาในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยจะจำกัดขอบเขตเฉพาะตัวปราสาท
วันที่ 18 มิถุนายน 2551 นายนพดล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Communiqué) สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ได้เคลื่อนไหวคัดค้าน การลงนามในแถลงการณ์ร่วม ต่อศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ เพราะสาระในแถลงการร์ร่วมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ ต้องขออนุมัติตากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ซึ่งศาสลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า การลงนามของนายนพดล ขัดต่อรัฐธรรมนุญ มีคำสั่งให้เพิกถอนแถลงการณ์ร่วม

ตอนหนึ่งในคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนุญเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ระบุว่า

“ การลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม จึงเท่ากับเป็น การยอมรับให้รัฐบาลกัมพูชาเข้ามาบริหารจัดการในบริเวณพื้นที่ที่ประเทศไทยอ้างกรรมสิทธิ์ อันเป็น การยอมรับการแสดงสิทธิและอำนาจอธิปไตยของประเทศกัมพูชานอกเหนือเขตปราสาทพระวิหารตาม คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและแผนที่แสดงแนวเขตแดนของประเทศไทยตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ด้วย
ดังนั้น การลงนามในคำแถลงการณ์ ร่วมดังกล่าว จึงถือเป็นกรณีที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทยบริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้ในอนาคต”

แม้ว่า แถลงการณ์ร่วมจะถูกยกเลิกไปโดยคำสังศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ และที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่แคนาดา ได้รับทราบด้วย แต่การที่ประเทศไทย ในขณะนั้น ไม่ได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวของกัมพูชา ตามข้อเสนอของฝ่ายข้าราขชการตั้งแต่แรก กลับไปลงนามในแถลงการณ์สนับสนุน ก็มีผลให้กัมพูชาสามารถขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารได้สำเร็จ และรุกคืบที่จะผนวกเอาพื้นที่รอบๆปราสาทพระวิหารซึ่งอยุ่ในดินแดนไทย เข้าไปรวมอยู่ในแผนบริหาจัดการพื้นที่อนุรักษ์ ในการประชุมเมื่อปีที่แล้วที่บราซิล ซึ่งไม่สำเร็จ ต้องเลื่อนมาปีนี้ โดยลงเอยด้วยฝ่ายไทยแก้เกมโดยการประะกาศถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก

วิธีเดียวที่กัมพูชา จะได้ครอบครองพื้นที่ รอบๆปราสาทพระวิหาร คือ การดึงไทยให้กลับไปสู่โต๊ะประชุมกรรมการมรดกโลกครั้งต่อไป ซึ่งจะมีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล มีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และมีรัฐมนตรีต่างประเทศชื่อ นายนพดล ปัทมะ
กำลังโหลดความคิดเห็น