“รศ.ดร.พิชาย” ชี้สุดอันตราย ระบอบการเมืองไทยประมูลอำนาจจาก ปชช. เปรียบเป็น"ระบอบสัมปทานธิปไตย" ปล่อยให้นายทุนครอบงำพรรค เป็นคนกำหนดตัวหัวหน้าพรรค เน้นนโยบายหลอกลวงช่วงชิงคะแนนเสียง ผูกขาดอำนาจให้ลูกหลาน เปิดทางให้พวกพ้องแสวงหาประโยชน์ ระบุ 5 อารมณ์ดัชนีชี้วัดเลือกไม่เลือกใครภายใต้ระบอบนี้ อัด “นักวิชาการ” ที่เห็นแก่เงิน เป็นกระบอกเสียงบิดเบือนว่าระบอบสัมปทานธิปไตยเป็น ปชต. ยันหยุดได้ด้วยการ “โหวตโน” ก่อนประเทศหายนะ
วันที่ 23 มิ.ย. 2554 บนเวทีปราศรัยการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงระบบการเมืองไทย ว่า เป็นระบอบสัมปทานธิปไตย ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย เพราะหากเป็นระบอบประชาธิปไตยจริง อำนาจต้องเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน แต่ขณะนี้สังคมไทยอำนาจเป็นของผู้รับสัมปทาน โดยผู้รับสัมปทาน และเพื่อผู้รับสัมปทาน
ค่านิยมหลักของระบอบประชาธิปไตย ต้องมีเสรีภาพ ความเสอมภาค ภราดรภาค ส่วนระบอบสัมปทานธิปไตย ค่านิยมหลักอยู่ที่ ธนาภาพ คือเสรีภาพของธนบัตร อยู่ที่บัญชาภาพ คือ การสั่งการที่ไม่เสมอภาคกัน และอยู่ที่อุปถัมภ์ภาพ คือ ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองกับชาวบ้าน
รศ.ดร.พิชายกล่าวต่อว่า พรรคการเมืองในระบอบประชาธิป คนจัดตั้งเป็นกลุ่มประชาชนต่างๆ ที่มีผลประโยชน์อุดมการณ์ร่วมกัน ส่วนระบอบสัมปทานธิปไตย เป็นเหมือนบริษัทเอกชน เพราะการจัดตั้งจะมีนายทุนเป็นผู้ดำเนินการ ไม่ได้เกิดจากอุดมการทางการเมือง พุ่งเป้าไปที่อำนาจทางการเมืองเป็นหลัก
ส่วนใครจะเป็นผู้บริหารพรรคในระบอบประชาธิปไตย สมาชิกจะเป็นผู้เลือก ขณะที่ระบอบสัมปทานธิปไตย นายทุนเจ้าของพรรคเป็นผู้กำหนดว่าใครจะเป็นหัวหน้าพรรค เช่น บางพรรคนายทุนอยู่ต่างประเทศ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง จะกำหนดว่าใครเหมาะที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรค สำหรับ การที่จะบอกว่าใครจะได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัครในนามพรรคการเมืองใดๆ หากเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย สมาชิกจะเป็นผู้กำหนด แต่ในระบอบสัมปทานธิปไตย นานทุนจะเป็นผู้กำหนดว่าใครสมควรเป็นผู้สมัครในนามพรรคของตน
ด้านนโยบาย ถ้าเป็นระบอบประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนด ว่าพรรคจะมีนโยบายอย่างไร ส่วนระบอบสัมปทานธิปไตย นายทุนเป็นผู้กำหนดแนวคิด ดังตัวอย่างที่เราเห็น “ทักษิณคิดเพื่อไทยทำ” เป็นต้น ตรงนี้สมาชิกพรรคการเมืองก็ไม่ได้มีความหมายใดๆทั้งสิ้น ไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย กำหนดผู้บริหาร หรือกำหนดผู้สมัครเลือกตั้งในพรรคแต่อย่างใด เป็นสมาชิกเพียงแค่ให้ครบตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น
รศ.ดร.พิชายกล่าวอีกว่า ระบอบสัมปทานธิปไตย นโยบายของพรรคจากที่นายทุนพรรคคิด จะถูกคิดภายใต้เกณฑ์เดียว คือ ความสามรรถในการหลอกลวงนโยบาย ใครจะทำให้คนชื่อได้มากที่สุด หากหลอกลวงได้มากจะได้รับการชูเป็นนโยบายในการหาเสียง โดยไม่คำนึงว่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ จะปฎิบัติได้หรือไม่ จะสมเหตุสมผลหรือไม่ก็ตาม นายทุนพรรคไม่สนจ สนใจอย่างเดียวนโยบายที่จะเสนอต้องทำให้คนหลงเชื่อและเลือกเขามากที่สุด
ส่วนการคัดเลือกผู้สมัครเมื่อมีการจัดตั้งพรรคขึ้นมาแล้ว ก็จะมีการประมูลบุคคล หรือกลุ่มคน ตนขอเรียกว่านายหน้าทางการเมือง หรือที่พวกเรารู้จักกันในนาม ส.ส. การเลือกใครเข้ามาเป็นผู้สมัครในนามพรรค จะดูความสามารถเรื่องเดียว คือ การซื้อเสีย ใครมีความสามารถสูงก็จะดึงเข้ามาสังกัดด้วย หรือพรรคใดมีข้อเสนอมากสุด ก็จะได้รับนายหน้าทางการเมืองเหล่านั้นไปสังกัดมากกว่าพรรคอื่นๆ
รศ.ดร.พิชายกล่าวว่า การเลือกตั้งก็คือการประมูลอำนาจจากประชาชน จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับ 1.ความเข้มข้นของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ระหว่างผู้ประมูลกับผู้ถูกประมูล หากมีความเข้มข้นสูงโอกาสที่จะประมูลได้ก็มีมาก 2.จำนวนเงินที่เสนอ ผู้ที่ประมูลเสนอเงินมาก โอกาสได้รับอำนาจมาเป็นของตัวเองก็มีสูง 3.พรรคใดเสนอนโยบายประชานิยมตรงกับจริตของผู้เลือกตั้ง จะมีโอกาสได้รับประมูลอำนาจจากประชาชนสูง แล้วจะกลายเป็น ส.ส. โดยสรุปแล้วการเลือกตั้งภายใต้ระบอบสัมปทานธิปไตย ถูกขับเคลื่อนโดยอมิตสินจ้างเป็นหลัก ไม่ได้ขับเคลื่อนโดยเจตนารมณ์ที่เสรี เจตจำนงค์ของประชาชนที่เป็นอิสระ และการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลของประชาชน
รศ.ดร.พิชายกล่าวต่อว่า ปัจจัยหลักของระบอบสัมปานธิปไตย ด้านอารมณ์ความรู้สึก แบ่งได้เป็น 1.อารมณ์ที่หลงงมงาย เข้าใจว่า นายหน้าทางการเมืองหรือ ปีศาจในคราบนักบุญเป็นคนดี โดยไม่ได้มองถึงธาตุแท้ที่ชั่วร้าย นายหน้าทางการเมืองเหล่านี้จะสร้างภาพความเป็นนักบุญ ในภาพซานตาครอส แจกทุกอย่างที่ขวางหน้า เพื่อให้ประชาชนติดใจหลงยึดติดกับเขา 2.อารมณ์เกลียด คนเหล่านี้จะเลือกตั้งโดยไม่ได้ใช้เหตุผล จะใช้อารมณ์เกลียดเป็นหลักบวกกับอารมณ์กลัว ดังที่เราเห็นพรรคการเมืองสร้างอ้างว่า “ไม่เลือกเราเขามาแน่” หวังใช้อารมณ์นี้เป็นแรงผลักดันให้เลือกพรรคตัวเองเกลียดฝ่ายตรงข้าม 3 อารมณ์สะใจ อารมณ์นี้มักจะเกิดกับผู้เลือกตั้งในกลุ่มวัยรุ่น มีแนวโน้มเลือกคนบ้าๆ บอๆ เพื่อความสะใจ โดยไม่ได้สนใจว่าเลือกเขามาแล้วจะสร้างผลกระทบอะไรให้สังคม 4. เบื่อหน่ายการเมือง เป็นพวกไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
รศ.ดร.พิชายกล่าวว่า นโยบายการหาเสียงของระบอบสัมปทาน เป็นแบบแข่งขันกันเสนอราคา ประชันบทละคร บทบาทตัวแสดงนำของพรรคกาเมืองนั้นๆ นโยบายเหล่านี้ได้รับการยืนยันจากนักวิชาการหลายท่านได้ข้อสรุปตรงกัน ว่าเป็นนโยบายที่ดูถูกประชาชนอย่างร้ายกาจ นำประเทศไปสู่หายนะ
สำหรับด้านการสืบทอดอำนาจ หากเป็นระบอบประชาธิปไตย จะมาจากความยินยอมของประชาชน หรือสมาชิกพรรค และจะมีความหลากหลายในอาชีพ ขณะที่ระบอบสัมปทานธิปไตย การสืบทอดอำนาจ วิธีหลักเป็นแบบสือทอดอำนาจจากพ่อไปลูกหรือเครือญาติ อย่างในกรุงเทพฯ แม้พ่อแม่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้แต่ส่งลูกมาสมัครในกรุงเทพฯหลายคน หรือบางพรรคพี่เป็นอาชญากรไปเรียบร้อยแล้วให้น้องเป็นหัวหน้าพรรคสืบทอดอำนาจต่อ
การทำหน้าที่ของ ส.ส.ตามระบอบประชาธิปไตย จะเป็นตัวแทนชองประชาชนทั้งประเทศ ทำงานอย่างอิสระ หากตัดสินกฎหมายใดจะใช้เหตุผลทางจริยธรรม อิงข้อมูลหลักฐาน แล้ววิเคราะห์ว่าจะสนับสนุนกฎหมายใดบ้าง ส่วนระบอบสัมปทานธิปไตย ตัดสินใจภายใต้คำสั่งนายทุนที่เป็นเจ้าของพรรรค ไม่ได้สนใจเหตุผลข้อมูลใดๆทั้งสิ้น บางพรรคถึงขนาดไล่ ส.ส. ที่ไม่ตัดสินใจตามคำสั่งนายทุนออกก็มี
การเป็นรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตย จะเอาคนที่มีความรู้ความสามารถ ส่วนระบอบสัมปทานธิปไตย ดูที่คนเสนอราคาประมูลตำแหน่งว่าจะเสนอเท่าไร หากเสนอสูงก็มีโอกาสได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ใครไม่มีเงินหรือเสนอเงินน้อยก็อดเป็นรัฐมนตรี คนเหล่านี้เมื่อได้เข้าไปในตำแหน่งแล้วก็จะใช้อำนาจ ถอนทุนคืนอย่างมากมาย
ด้านการบริหารประเทศ ตามระบอบสัมปทานธิปไตย ถ้าพรคไหนได้เป็นรัฐบาล จะกำหนดนโดยบายเปิดทางให้ บริษัทตัวเอง พวกพ้อง ได้ประโยชน์ จัดสรรตำแหน่งให้คนสนับสนุนตัวเองได้เข้าไปหาทุนไว้เลือกตั้งครั้งหน้า โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชน หรือประเทศเลย
รศ.ดร.พิชายกล่าวอีกว่า ระบอบสัมปทานธิปไตยเป็นระบอบที่ครอบงำสังคมไทย ทำให้ไทยต้องประสบปัญหา ระบอบนี้ขัดขวางพันธกิจของรัฐบาลที่จะไปสร้างเสริมสร้างอำนาจแก่ประชาชน สร้างความรุ่งเรืองให้ประเทศชาติ ไม่ทำให้เป็นรัฐบาลที่ดี ปกป้องแต่กลุ่มนายทุน ขายชาติ ทำให้นายทุนเข้มแข็ง ประเทศจะตกต่ำและล่มสลายในที่สุด
ระบอบสัมปทานธิปไตยมีประสิทธิภาพสูงมากในการสร้างมายาภาพ ทำให้คนหลงเชื่อว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย ถ้าหากเป็นคนธรรมดาหลงเชื่อก็ไม่เท่าไร แต่ถ้าทำให้นักวิชาการ นักสังคมสงเคราะห์ นักรัฐศาสตร์บางส่วนเข้าใจผิด แล้วไปเป็นกระบอกเสียงปกป้องนักการเมืองระบอบนี้อยู่ตลอดเวลาโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ตรงนี้ตนสงสัยอย่างมาก ว่า นักวิชาการที่เป็นกระบอกเสียงให้ระบอบสัมปทานธิปไตย จริงๆแล้วหลายคนมีศักยภาพวิเคราะห์ทางการเมืองสูง ทำไมไม่สามารถมองทะลุเปลือกนอก มายาภาพเหล่านี้ไปได้ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า อาจได้รับผลประโยชน์จากระบอบสัมปทาน
“การหยุดยั้งระบอบสัมปทานต้องใช้เวลานาน เพราะระบอบนี้ได้ปักหลักฝังรากลึกพอสมควร การที่เราจะเปลี่ยนได้จะต้องเปลี่ยนความคิดของประชาชน และปฏิรูปโครงสร้างทางการเมืองอย่างเข้มข้นและรอบด้าน เริ่มต้นจากไม่ให้มีการแพร่กระจายอีกต่อไป คือ โหวตโนหรือเข้าคูหากาในช่องไม่ประสงค์เลือกใคร” รศ.ดร.พิชายกล่าวทิ้งท้าย