เป็นธรรมดาเมื่อเข้าสู้ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนถึงเวลาหย่อนบัตรเลือกตั้ง แต่ละพรรคการเมืองก็จำเป็นต้องงัดทีเด็ดออกมาประชันกันเพื่อย้ำจุดขายเรียกเรตติ้งให้แก่ต้นสังกัด ขณะที่อีกทางก็ต้องย้ำจุดอ่อนเปิดแผลของฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุดตามวิสัยของการเมืองไทย แต่ก็ไม่น่าเชื่อว่า พรรคประชาธิปัตย์ที่มีหัวหน้าพรรคเป็นถึงสุภาพบุรุษเมืองผู้ดี กลับทำสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ เมื่อเลือกยุทธภูมิตั้งเวทีปราศรัยใหญ่ในวันนี้ (23 มิ.ย.) ที่ลานหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งอยู่ห่างจาก “แยกราชประสงค์” ไม่กี่ก้าว
ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นพื้นที่มีความอ่อนไหวสูง เพราะคนเสื้อแดงถือว่าเป็น “จุดเกิดเหตุ” และครองสัมปทานยึดหัวหาดใช้เป็นพื้นที่สัญลักษณ์ ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ก้าวย่างนี้ของพรรคประชาธิปัตย์จึงถือเป็น “เดิมพัน” ที่สูงมาก เพราะเป็นหมากที่มองได้ว่านำประโยชน์ของตัวเองที่ต้องการเอาชนะพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง โดยไม่สนใจว่าจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองระลอกใหม่ขึ้นมาอีก
ขัดแย้งกับคำพูดเมื่อไม่กี่วันก่อนของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ว่าจะขอเป็นน้ำเพื่อดับไฟความขัดแย้งในบ้านเมืองอย่างสิ้นเชิง
เพราะไม่ว่าใครๆ ก็มองว่าเป็นการ “ตอกลิ่ม” ซ้ำเติมปัญหามากกว่า สร้างอารมณ์คุกรุ่นให้แก่คนเสื้อแดงเป็นอย่างมาก จนบางส่วนเริ่ม “ก่อหวอด” ไม่พอใจที่พรรคประชาธิปัตย์จะเหยียบย่ำกองเลือด และคนตาย ที่แยกราชประสงค์ จนแกนนำต้องออกมาห้ามปรามเบรกไม่ให้มวลชนเข้าไปก่อกวน
แน่นอนว่าวัตถุประสงค์ที่ชี้ชัดต้องพื้นที่นี้เท่านั้นในการปราศรัยหาเสียงก็เพื่อต้องการแก้ตัวจากข้อหา “สั่งฆ่าประชาชน” จากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 ที่ฝ่ายตรงข้ามจ้องโจมตีตามโดยตลอด จึงเลือก “สมรภูมิ” ตรงนี้เพื่อแก้เกมสวนหมัดกลับคืนบ้าง หลังตกเป็นฝ่ายถูกยัดเยียดข้อหาเพียงฝ่ายเดียว ส่งให้คู่แข่ง พรรคเพื่อไทย โกยคะแนนนำลิ่วจนไม่เห็นฝุ่น
เมื่อหมดหนทางตีตื้นคะแนนในพื้นที่อื่นทั่วประเทศแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่อีสานที่ยังไม่กล้าลงไปอย่างเต็มตัว พื้นที่ที่เหมาะที่สุดในการาคะแนนก็หนีไม่พ้นพื้นที่ กทม. เพราะนอกจากจะเป็นฐานเสียงหลักของพรรคมาช้านาน ที่สถานการณ์สั่นคลอนอย่างหนัก จนอาจจะเหลือเก้าอี้ในเมืองกรุงไม่ถึง 10 ที่นั่งแล้ว
และอาจจะเห็นว่าสนามเมืองกรุงยังใช้เป็น “ชนวน” สร้างกระแสได้เป็นอย่างดี แต่พอเลือกสถานที่นี้โดยไม่มองว่าคน กทม. โดยเฉพาะที่แยกราชปะสงค์ “บอบช้ำ” กับวิกฤตทางการเมืองมามากพอแล้ว ก็กลายเป็น “ชนวน” สร้างความขัดแย้งได้ไม่แพ้กัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ขุนพลพรรคประชาธิปัตย์หมายมั่นว่า จะใช้โอกาสนี้ “จัดเต็ม” เปิดข้อมูลว่า “ใคร” เป็นผู้บงการเหตุการณ์ “เผาบ้านเผาเมือง” และเบื้องหลังของ “ชายชุดดำ” โดยลืมไปว่าอีกด้านหนึ่งก็จะสะท้อนความล้มเหลวของรัฐบาลประชาธิปัตย์เอง ที่ปล่อยให้ปัญหาบานปลายกระทั่งมาถึงสถานการณ์ที่ทำให้มีการเผาบ้านเผาเมืองในที่สุด และเมื่อเหตุการณ์ผ่านมากว่า 1 ปีก็ยังไม่สามารถใช้อำนาจรัฐในการดำเนินการกับผู้กระทำผิดได้แม้แต่รายเดียว
กลายเป็นการประจานว่าฝ่ายหนึ่งเผา อีกฝ่ายก็ปล่อยให้เผา
ไม่ต่างกับการ “ฉายหนังซ้ำ” เพราะเรื่องราวความเป็นไปก็มีการเปิดเผยในทางสาธารณะหลายวาระให้คนส่วนไทยส่วนใหญ่ได้รับรู้ ทั้งในและนอกสภาอย่างต่อเนื่อง หรือล่าสุดที่หน้าเพจเฟซบุ๊กของ “อภิสิทธิ์” เองที่ออกมาแก้ต่างถึงเหตุการณ์เมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.53 ติดต่อกันหลายตอน
จนอดสงสัยไม่ได้ว่า ตลอดเวลาที่นั่งเป็นรัฐบาลอยู่เหตุใดจึงไม่เร่งดำเนินการ แต่กลับมาอาศัยจังหวะที่ตัวเองเพลี่ยงพล้ำในสนามเลือกตั้ง จุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้งด้วยการเปิดเวทีปราศรัยหาเสียงเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม
หรือแค่หวัง “เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่น” ตามถนัดของพรรคการเมืองเก่าแก่ที่เก่งกาจในเรื่องฝีปากแบบไม่มีใครเทียบได้
ทั้งที่หากพรรคประชาธิปัตย์มีความจริงใจต่อการแก้ปัญหา ควรปล่อยให้การค้นหาข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรม หรือคณะกรรมการอิสระชุดต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ต่อไป
เพราะอย่าลืมว่านอกจากจะเป็นหัวหน้าพรรคที่ต้องการชัยชนะในการเลือกตั้ง เพื่อกลับมาเป็นรัฐบาลแล้ว วันนี้ “อภิสิทธิ์” ยังสวมหมวกเป็นรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีอยู่อีกใบหนึ่งด้วย การออกมาพูดหรือการบิดเบือนใดๆ ย่อมมีอิทธิพล “ชี้นำ” กระบวนการสืบสวนสอบสวนที่กำลังเดินหน้าอยู่ และอาจเข้าข่าย “ป้ายสี” ไม่เป็นธรรมต่อผู้อื่นอีกต่างหาก
ที่สำคัญพรรคประชาธิปัตย์ยังอยู่ในฐานะ “ผู้มีส่วนได้เสีย” โดยตรง แง่หนึ่งในฐานะรัฐบาลที่มีคนเสื้อแดงเป็นคู่กรณี อีกแง่หนึ่งในสนามเลือกตั้งที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นคู่แข่ง แต่กลับพยายามดึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเข้ามาเกี่ยวข้องกันให้ได้ โดยไม่นึกถึงหัวอกของผู้ที่ไม่ได้มีส่วนในการช่วงชิงอำนาจรัฐ ทั้ง “ผู้ต้องขัง” ที่ยังไม่มีโอกาสแก้ตัวต่อสาธารณะ หรือ “ผู้สูญเสีย” ที่ญาติพี่น้องต้องเสียชีวิตไปในเหตุการณ์ดังกล่าว
ตรงนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ตามที่เคยประกาศไว้เท่านั้น แต่ยังตอกย้ำภาพพรรคการเมืองที่มุ่งเอาชนะคู่แข่งในสนามเลือกตั้ง โดยไม่สนใจสิ่งอื่นใด แม้แต่ความเป็นไปของชาติบ้านเมือง
จนมองได้ว่า “อภิสิทธิ์” และพรรคประชาธิปัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองมากกว่าประเทศชาติบ้านเมือง เลือกยุทธศาสตร์หาเสียงที่ “สุ่มเสี่ยง” ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง ก่อนถึงเวลาหย่อนบัตรเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 ไม่นาน
แบบนี้ไม่ใช่แค่มา “หาเสียง” แต่เหมือนมา “หาเรื่อง” กันมากกว่า
ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นพื้นที่มีความอ่อนไหวสูง เพราะคนเสื้อแดงถือว่าเป็น “จุดเกิดเหตุ” และครองสัมปทานยึดหัวหาดใช้เป็นพื้นที่สัญลักษณ์ ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ก้าวย่างนี้ของพรรคประชาธิปัตย์จึงถือเป็น “เดิมพัน” ที่สูงมาก เพราะเป็นหมากที่มองได้ว่านำประโยชน์ของตัวเองที่ต้องการเอาชนะพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง โดยไม่สนใจว่าจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองระลอกใหม่ขึ้นมาอีก
ขัดแย้งกับคำพูดเมื่อไม่กี่วันก่อนของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ว่าจะขอเป็นน้ำเพื่อดับไฟความขัดแย้งในบ้านเมืองอย่างสิ้นเชิง
เพราะไม่ว่าใครๆ ก็มองว่าเป็นการ “ตอกลิ่ม” ซ้ำเติมปัญหามากกว่า สร้างอารมณ์คุกรุ่นให้แก่คนเสื้อแดงเป็นอย่างมาก จนบางส่วนเริ่ม “ก่อหวอด” ไม่พอใจที่พรรคประชาธิปัตย์จะเหยียบย่ำกองเลือด และคนตาย ที่แยกราชประสงค์ จนแกนนำต้องออกมาห้ามปรามเบรกไม่ให้มวลชนเข้าไปก่อกวน
แน่นอนว่าวัตถุประสงค์ที่ชี้ชัดต้องพื้นที่นี้เท่านั้นในการปราศรัยหาเสียงก็เพื่อต้องการแก้ตัวจากข้อหา “สั่งฆ่าประชาชน” จากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 ที่ฝ่ายตรงข้ามจ้องโจมตีตามโดยตลอด จึงเลือก “สมรภูมิ” ตรงนี้เพื่อแก้เกมสวนหมัดกลับคืนบ้าง หลังตกเป็นฝ่ายถูกยัดเยียดข้อหาเพียงฝ่ายเดียว ส่งให้คู่แข่ง พรรคเพื่อไทย โกยคะแนนนำลิ่วจนไม่เห็นฝุ่น
เมื่อหมดหนทางตีตื้นคะแนนในพื้นที่อื่นทั่วประเทศแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่อีสานที่ยังไม่กล้าลงไปอย่างเต็มตัว พื้นที่ที่เหมาะที่สุดในการาคะแนนก็หนีไม่พ้นพื้นที่ กทม. เพราะนอกจากจะเป็นฐานเสียงหลักของพรรคมาช้านาน ที่สถานการณ์สั่นคลอนอย่างหนัก จนอาจจะเหลือเก้าอี้ในเมืองกรุงไม่ถึง 10 ที่นั่งแล้ว
และอาจจะเห็นว่าสนามเมืองกรุงยังใช้เป็น “ชนวน” สร้างกระแสได้เป็นอย่างดี แต่พอเลือกสถานที่นี้โดยไม่มองว่าคน กทม. โดยเฉพาะที่แยกราชปะสงค์ “บอบช้ำ” กับวิกฤตทางการเมืองมามากพอแล้ว ก็กลายเป็น “ชนวน” สร้างความขัดแย้งได้ไม่แพ้กัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ขุนพลพรรคประชาธิปัตย์หมายมั่นว่า จะใช้โอกาสนี้ “จัดเต็ม” เปิดข้อมูลว่า “ใคร” เป็นผู้บงการเหตุการณ์ “เผาบ้านเผาเมือง” และเบื้องหลังของ “ชายชุดดำ” โดยลืมไปว่าอีกด้านหนึ่งก็จะสะท้อนความล้มเหลวของรัฐบาลประชาธิปัตย์เอง ที่ปล่อยให้ปัญหาบานปลายกระทั่งมาถึงสถานการณ์ที่ทำให้มีการเผาบ้านเผาเมืองในที่สุด และเมื่อเหตุการณ์ผ่านมากว่า 1 ปีก็ยังไม่สามารถใช้อำนาจรัฐในการดำเนินการกับผู้กระทำผิดได้แม้แต่รายเดียว
กลายเป็นการประจานว่าฝ่ายหนึ่งเผา อีกฝ่ายก็ปล่อยให้เผา
ไม่ต่างกับการ “ฉายหนังซ้ำ” เพราะเรื่องราวความเป็นไปก็มีการเปิดเผยในทางสาธารณะหลายวาระให้คนส่วนไทยส่วนใหญ่ได้รับรู้ ทั้งในและนอกสภาอย่างต่อเนื่อง หรือล่าสุดที่หน้าเพจเฟซบุ๊กของ “อภิสิทธิ์” เองที่ออกมาแก้ต่างถึงเหตุการณ์เมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.53 ติดต่อกันหลายตอน
จนอดสงสัยไม่ได้ว่า ตลอดเวลาที่นั่งเป็นรัฐบาลอยู่เหตุใดจึงไม่เร่งดำเนินการ แต่กลับมาอาศัยจังหวะที่ตัวเองเพลี่ยงพล้ำในสนามเลือกตั้ง จุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้งด้วยการเปิดเวทีปราศรัยหาเสียงเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม
หรือแค่หวัง “เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่น” ตามถนัดของพรรคการเมืองเก่าแก่ที่เก่งกาจในเรื่องฝีปากแบบไม่มีใครเทียบได้
ทั้งที่หากพรรคประชาธิปัตย์มีความจริงใจต่อการแก้ปัญหา ควรปล่อยให้การค้นหาข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรม หรือคณะกรรมการอิสระชุดต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ต่อไป
เพราะอย่าลืมว่านอกจากจะเป็นหัวหน้าพรรคที่ต้องการชัยชนะในการเลือกตั้ง เพื่อกลับมาเป็นรัฐบาลแล้ว วันนี้ “อภิสิทธิ์” ยังสวมหมวกเป็นรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีอยู่อีกใบหนึ่งด้วย การออกมาพูดหรือการบิดเบือนใดๆ ย่อมมีอิทธิพล “ชี้นำ” กระบวนการสืบสวนสอบสวนที่กำลังเดินหน้าอยู่ และอาจเข้าข่าย “ป้ายสี” ไม่เป็นธรรมต่อผู้อื่นอีกต่างหาก
ที่สำคัญพรรคประชาธิปัตย์ยังอยู่ในฐานะ “ผู้มีส่วนได้เสีย” โดยตรง แง่หนึ่งในฐานะรัฐบาลที่มีคนเสื้อแดงเป็นคู่กรณี อีกแง่หนึ่งในสนามเลือกตั้งที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นคู่แข่ง แต่กลับพยายามดึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเข้ามาเกี่ยวข้องกันให้ได้ โดยไม่นึกถึงหัวอกของผู้ที่ไม่ได้มีส่วนในการช่วงชิงอำนาจรัฐ ทั้ง “ผู้ต้องขัง” ที่ยังไม่มีโอกาสแก้ตัวต่อสาธารณะ หรือ “ผู้สูญเสีย” ที่ญาติพี่น้องต้องเสียชีวิตไปในเหตุการณ์ดังกล่าว
ตรงนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ตามที่เคยประกาศไว้เท่านั้น แต่ยังตอกย้ำภาพพรรคการเมืองที่มุ่งเอาชนะคู่แข่งในสนามเลือกตั้ง โดยไม่สนใจสิ่งอื่นใด แม้แต่ความเป็นไปของชาติบ้านเมือง
จนมองได้ว่า “อภิสิทธิ์” และพรรคประชาธิปัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองมากกว่าประเทศชาติบ้านเมือง เลือกยุทธศาสตร์หาเสียงที่ “สุ่มเสี่ยง” ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง ก่อนถึงเวลาหย่อนบัตรเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 ไม่นาน
แบบนี้ไม่ใช่แค่มา “หาเสียง” แต่เหมือนมา “หาเรื่อง” กันมากกว่า