เมื่อปี 2547 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่นช. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กทม. ขอให้คณะรัฐมนตรี อนุมัติเงินลงทุน ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงสะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ซึ่งโครงสร้างงานโยธาเสร็จมานานแล้ว แต่ยังให้บริการไมได้ เพราะไม่มีราง ไม่มี สถานี และไม่มีระบบอาณัติสัญญาณ
รัฐบาลทักษิณ พยายามขัดขวางการเชื่อมต่อนี้มาโดยตลอด ทั้งที่เห็นชัดๆว่า ผู้ได้ประโยชน์คือ ประชาชน ที่ต้องเดือดร้อนกับการจราจรที่ติดขัดบนสะพานตากสิน โดยอ้างว่า กำลังเจรจาขอซื้อสัมปทาน รถไฟฟ้า จากบีทีเอส. ให้มาเป็นของรัฐ เพื่อจะได้ทำระบบตั๋วร่วมใบเดียวกับรถไฟใต้ดินสายหัวลำโพง - บางซื่อ โดยคิดค่าโดยสารราคาเดียว 15 บาทตลอดสาย
แต่เจตนาที่แท้จริงคือ ต้องการฮุบรถไฟฟ้าบีทีเอส ไปในราคาถูกๆ เพราะเห็นว่า ขณะนั้น บริษัท บีทีเอส . อยู่ในสถานการณ์ลำบาก มีภาระหนี้สินมาก เนื่องจากการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ยังไม่มีข้อยุติ ดังนั้น จึงไม่ต้องการให้มีการขยายเส้นทางข้ามแม่น้ำจ้าพระยาไปถึงฝั่งธนบุรี เพราะเกรงว่า จะทำให้ราคาที่จะซื้อบีทีเอสแพงขึ้น
เป็นเจตนาที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวล้สวนๆ ไม่ได้คิดถึงประโยชน์สาะรณะเลยแม้แต่น้อย
อย่างไรก็ตาม นายคีรี กาญจนพาสน์ เจ้าของบีทีเอส ไม่ยอมให้ นช. ทักษิณเข้ามายึดกิจการไปได้ง่ายๆ จึงใช้วิธีเจรจาต่อรอง ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ เช่น เดียวกับ กลุ่ม ช. การช่าง เจ้าของบริษัทบีเอ็มซีแอล ซึ่งได้รับสัมปทานรถไฟใต้ดินสายหัวลำโพง - บางซื่อ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการฮุบกิจการด้วยเช่นเดียวกัน
โครงการลงทุนส่วนต่อ สะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ จึงถูกนายสุริยะ ดึงเรื่อง ไม่ยอมอนุมัติให้สักที สุดท้าย กทม. ตัดสินใจลงทุนเอง โดยสภากรุงเทพมหานคร อนุมัติงบประมาณ 2,394 ล้านบาท เมื่อเดือนตุลาคม 2548
ส่วนต่อขยายนี้ เปิดให้บริการได้เมื่อกลางปี 2552 ช่วยทำให้ การเดินทางจากย่านสวนจตุจักร สุขุมวิท สีลม ข้ามไปยังคลองสาน วงเวียนใหญ่ ได้รับความสะดวกสะบายกว่าเดิมมาก และประมาณเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนต่อขยายจากซอยอ่อนนุชไปถึง ซอยแบริ่ง บางนา ก็จะเปิดให้บริการได้ ซึง่จะยิ่งทำให้บรรเทาปัญหากาจราจรได้ระดับหนึ่ง
ต้องถือว่า คนกรุงเทพโชคดีอยู่บ้าง ที่ นช. ทักษิณ หมดอำนาจทางการเมืองไปเมื่อปี 2549 เพราะถ้าเขายังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ เชื่อได้เลยว่า รถไฟฟ้าอีกหลายๆสายซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่คงจะไม่ได้เกิดขึ้นแน่นอน เพราะ โครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ซึ่งพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนเคยสัญญาว่า จะสร้าง ในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อ 2 ครั้ง ก่อนนั้น เป็นแค่คำโกหกเท่านั้น
สมัยที่พรรคไทยรักไทยครองอำนาจอยู่นาน 6 ปี ไม่เคยคิดที่จะสร้างรถไฟฟ้าให้คนกรุงเทพสักสายเลย ทั้งๆที่คุยว่า มีเงินมีทองเหลือเฟือ สามารใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนด
รถไฟใต้ดินสายแรกคือ รถไฟฟ้ามหานครสายหัวลำโพง - บางซื่อ ลงมือก่อสร้างเมื่อ ปี 2542 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่มาเสร็จสมบูรณ์ เปิดใช้บริการได้เมื่อ เดือนกรกฎาคม 2547 ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ
หลังจากนั้นก็ไม่เคยคิดที่จะต่อขยายออกไป ให้ครอบคลุมถึงพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น มีแต่ขัดขวาง ในกรณีของบีทีเอส หรือไม่ก็จะเอารถบีอาร์ที มาวิ่งแทนบ้าง ในสมัยที่นายพงษ์ศักด์ รักตพงษ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีคมนาคม หรือเปลี่ยนเส้นทาง ลากเส้นใหม่ ในยุคของนายสมัคร สุนทรเวช
ระบบขนส่งมวลชนที่เกิดขึ้นในยุคของทักษิณ มีอยู่โครงการเดียวคือ แอร์พอร์ต ลิงค์ ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอื่นๆเลย และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว เปิดให้บริการเมื่อปีที่แล้ว เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ แต่ไม่ได้รองรับวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่อ้างกันคือ ขนส่งผู้โดยสารไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ และมีปัญหาในเรื่องการบริการมาก
จนมาถึงวันนี้ ที่จะต้องโกหกอีกครั้งเพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมือง มุขเดิมๆ รถไฟฟ้า 10 สาย ก็ถูกงัดมาขายอีกครั้ง ไม่ต่างอะไรจากครั้งก่อนๆ ที่จะเปลี่ยนไปบ้างคือ จาก 15 บาทตลอดสาย ขึ้นราคาเป็น 20 บาทตลอดสายในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้
นายประภัสร์ จงสงวน ซึ่งเป็นผู้สมัครเลือกตั้ง ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และเป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจ สมัยเป็นผู้ว่าการ รถไฟฟ้ามหานคร อย่างยาวนาน 8 ปี ตั้งแต่ปี 2540-2548 และกลับมาเป็นอีกครั้งในช่วงสั้นๆเมื่อปี 2550 ก็ไม่เคยคิดที่จะสานต่อโครงการรถไฟใต้ดิน ให้ยาวไปไกลกว่าสาย หัวลำโพง-บางซื่อเลย ทั้งๆที่มีแผนแม่บทอยู่แล้ว
คนกรุงเทพไม่ต้องเลือก พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล ก็มีรถไฟฟ้าใช้ อาจจะไม่ถึง 10 สาย แต่มีใช้มากกว่าเดิมแน่ๆ เพราะในช่วงสองปีมานี้ ที่นช. ทักษิณ หมดอำนาจทางการเมือง กลับปรากฎว่า การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพกลับเดินหน้า เป็นรูปเป็นร่างให้เห็นมากว่าในยุคของทักษิณ
นอกจากส่วนต่อขยายสะพานตากสิน และซอยอ่อนนุช แบริ่ง ซึ่งเป็นโครงการของ กทม. แล้ว รถไฟฟ้ามหานคร ของ รฟม. ซึ่งถูกแช่แข็งในยุคของทักษิณ ก็มีการลงมือก่อสร้าง สายสีม่วง จากบางซื่อ ไปยังบางใหญ่ และกำลังจะมีการลงมือก่อสร้าง สายสีน้ำเงิน ช่วงจากบางซื่อไปท่าพระ และจากหัวลำโพงไปบางแค ในช่วงปลายปีนี้ ถึงต้นปีหน้า ซึ่งไม่ว่า ใครจะมาเป็นรัฐบาล การก่อสร้างก็จะเดินหน้าต่อไป เพราะมีการเซ็นสัญญากันไปแล้ว
เช่นเดียวกับ โครงการสายสีแดงของ การรถไฟแห่งประเทศไทย จากบางซื่อ ถึงตลิ่งชัน ก็ลงมือก่อสร้างกันไปแล้ว
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้น เป็นจริงในยุคที่ไม่มีทักษิณ หรือหุ่นชิดของทักษิณ เป็นรัฐบาล เหมือน ทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ประสบความสำเร็จสูงสุด เมื่อไม่มีทักษิณ เมื่อมาถึงยุคโคลนนิ่ง คำสัญญาเรื่องรถไฟฟ้า 10 สาย จึงเป็นแค่คำโกหกเก่าๆ ที่เอากลับมาหลอกคนกรุงเทพอีกครั้ง