เป็นไปตามคาดกับ “มหกรรมทิ้งทวน” ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดสุดท้ายเมื่อ 3 พฤษภาคม 2554 ตรงกับที่ “ทีมข่าวการเมือง ASTVผู้จัดการ” ได้เขียนบอกไว้ตั้งแต่ฉบับที่แล้วว่า ประชุม ครม.นัดสุดท้าย จะเหมือนนั่งกินโต๊ะจีนมื้อสุดท้าย ดังนั้นมีช่องตรงไหนก็ต้องรีบโกย!
รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้ประชุมคณะรัฐมนตรียาวนานถึง 15 ชั่วโมง พิจารณาให้ความเห็นชอบและรับทราบวาระต่างๆ ทั้งแบบปกติ และวาระจร ยัดไส้เข้าที่ประชุมกันแบบแจกเอกสารกันกลางดึกกลางดื่นกลางห้องประชุมคณะรัฐมนตรีที่ถูลู่ถูกังประชุมกันจนถึงตีสอง
เป็นอันเสร็จ มหกรรมทิ้งทวน-แบ่งเค้กกันของบรรดารัฐมนตรีพรรคร่วมรัฐบาลได้อิ่มหนำสำราญกันหมด จากนั้นก็แยกย้ายกันกลับบ้านไป ประชุม ครม.15 ชั่วโมง ถลุงกันเต็มเหนี่ยวหลายแสนล้านบาท หากเอาเงินทั้งหมดมาหารด้วยจำนวนนาทีของเวลาประชุม 15 ชั่วโมงคาดว่า น่าจะเป็นการประชุม ครม.ที่ราคาแพงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย!
ข่าวที่ออกมากับการประชุมครม.นัดสั่งลาที่ทำกันแบบเร่งรีบ-ร้อนรน-รวบรัด ถือว่าเป็นภาพที่ติดลบกับอภิสิทธิ์และรัฐบาลชุดนี้อย่างมาก
ยิ่งได้เห็นความจริงที่ว่า มีการชงเรื่องวาระจรโครงการใหญ่ๆ เข้าที่ประชุมจำนวนมากแม้จะเป็นโครงการที่ใช้งบผูกพันข้ามปี แต่พฤติการณ์มันก็เห็นชัดว่า เปรียบเหมือน “ตีเช็คไว้ล่วงหน้า”
คือชงเรื่องให้เห็นชอบในหลักการไว้ก่อน ปีแรกหรือตอนเริ่มโครงการเกลี่ยตัวเลขให้เห็นว่าใช้เงินไม่มาก แต่จะทำงบผูกพันข้ามปีในงบประมาณปีต่อๆ ไป ที่จะใช้เงินจำนวนมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนโครงการสำเร็จ เป็นวิธีตบตาไม่ให้กระโตกกระตาก
ยกตัวอย่างกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่สุเทพ เทือกสุบรรณเป็นประธาน ก.ตร.ที่ ครม.เห็นชอบโครงการสร้างแฟลตที่อยู่อาศัยให้ข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมูลค่า 740 ล้านบาท แยกเป็นเบื้องต้นให้เงินไปก่อน 40 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย แล้วอีก 700 ล้านให้เป็นงบผูกพันข้ามปีในปี 2555
ซึ่งการประชุม ครม.นัดดังกล่าวมีโครงการลักษณะเช่นนี้จำนวนมาก แล้วรัฐบาลก็พยายามอ้างว่า ไม่ได้มีการอนุมัติเงินกันเป็นแสนล้านบาท ทั้งหมดเป็นเรื่องบผูกพันข้ามปี จึงไม่ควรนำเงินทั้งหมดมาคิดรวมกัน
แต่ความจริงก็อย่างที่รู้ๆ กันก็คือ เมื่อ ครม.เห็นชอบในหลักการไปแล้ว อย่างกรณีการสร้างแฟลตตำรวจดังกล่าว ถามว่าเมื่อมีการซื้อที่ดินกันไปแล้ว จะไปล้มโครงการได้อย่างไร ดังนั้นพองบปี 55 มาถึง สตช.ก็ต้องชงเรื่องขออนุมัติงบกันต่อไปในปี 2555 ซึ่งก็คงต้องผ่านฉลุยกันแน่นอน เพราะเห็นชอบในหลักการไปแล้ว
ต่อให้รัฐบาลชุดหน้าไม่ใช่รัฐบาลประชาธิปัตย์ หรือสุเทพ ไม่ได้กลับมาคุมตำรวจ ก็ยากที่จะล้มโครงการไปได้ เพราะว่ามีการซื้อที่ดินกันไปแล้ว
การชงเรื่องเข้า ครม.นัดสุดท้าย บอกได้เลยว่ามีโครงการลักษณะนี้จำนวนมาก ที่มีการวางมัดจำกันไว้แล้วในรัฐบาลชุดนี้ สุดท้ายใครจะได้ดอกได้ผลอย่างไรกับการชงเรื่องลักษณะเช่นนี้เข้าที่ประชุม ครม.ก็เป็นเรื่องที่มีคนไม่กี่คนเท่านั้นที่จะรู้
และเชื่อว่ารัฐมนตรีทั้งหลายที่นั่งเห็นชอบในที่ประชุม ครม.ก็รู้เกมกันดี แต่ส่วนใหญ่ก็ปิดตาปิดปาก เห็นชอบกันไป เพราะถือว่ามื้อสุดท้ายแล้ว ทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ต้องดูแลพรรค เอาเงินส่งให้พรรคไปใช้ในช่วงเลือกตั้ง ไหนจะต้องคอยดูแลพวกลูกพรรคลูกทีม
นักการเมืองต้องเข้าสู่สนามเลือกตั้งอีกหน รัฐมนตรีบางคนที่ลงสมัคร ส.ส.เขตก็ต้องเหนื่อยหนักในการลงเลือกตั้งรอบนี้ มีโอกาสจะสอบตกก็สูงหลายคน จากรัฐมนตรีเที่ยวนี้ อาจจะกลายเป็นอดีตรัฐมนตรี-อดีต ส.ส.รอบหน้า จะกลายเป็นพวกตกกระป๋องไป
ดังนั้นเมื่ออนาคตมันไม่ชัวร์ แต่ตอนนี้มันชัวร์ที่สุด บรรดารัฐมนตรีทั้งหลายมันเลยแสดงพฤติกรรมโกยกันเต็มที่ กินกันเต็มเหนี่ยวอย่างที่เห็น
การที่คนในรัฐบาลพยายามออกมาปฏิเสธว่า ไม่มีการทิ้งทวน-ไร้การแบ่งเค้กหรือเทกระจาดกัน จึงเป็นเรื่องที่เอาไว้หลอกเด็กดีกว่า
จะมาอ้างว่าการอนุมัติโครงการต่างๆ ที่ใช้เม็ดเงินกันนั้นเป็นเงินงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินที่ใช้เงินไม่มากแค่ 13,745.0939 ล้าน จึงไม่มีใครเขาเชื่อแน่นอน
เพราะตัวเลขนี้มันไม่ได้รวมยอดเงินทั้งหมดในส่วนที่เป็นงบผูกพันข้ามปี หรือเงินในอนาคตที่รัฐบาลชุดต่อไป หรือหน่วยงานต้นเรื่องต้องเอาเงินไปทำต่อไว้ด้วย
ยกตัวอย่างเอกสารแยกเงินงบกลางที่มีการอนุมัติไปในรายหน่วยงาน มีการระบุไว้ว่างบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้ไปแค่ 171 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการกรุงเทพฯ เมืองปลอดภัย (ประชาวิวัฒน์) 123 ล้านบาท โครงการเช่ารถภารกิจถวายความปลอดภัย 7.5 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พักอาศัย 40 ล้านบาท
ก็จะเห็นได้เลยว่า ในส่วนที่แจงว่าค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พักอาศัยแค่ 40 ล้านบาท แต่โดยข้อเท็จจริงก็คือ โครงการนี้ใช้เงิน 740 ล้านบาท รัฐบาลไม่ได้รวมเงินอีก 700 ล้านบาทที่เป็นเงินค่าก่อสร้างเอาไว้ แต่เอาเงิน 40 ล้านบาทที่เป็นเงินนำร่องซื้อที่ดินมาโชว์แค่นั้น
ถามว่าทำไมไม่บอกให้หมดว่า เงินโครงการนี้จริงๆ มัน 740 ล้าน ไม่ใช่ 40 ล้านบาท ก็เท่ากับการบวกเงินของฝ่ายรัฐบาลเอาแค่นี้ก็เห็นชัดๆ แล้วว่าหายไป 700 ล้านบาท แล้วแบบนี้จะไม่ให้เชื่อได้อย่างไรว่า รัฐบาลหมดเม็ด ปกปิดความจริง
หรืองบที่รัฐบาลแจงว่าไม่ได้มีการจัดสรรงบลับหรืองบซื้ออาวุธให้กองทัพจำนวนมากอย่างที่วิจารณ์กัน เมื่อไปดูในรายละเอียดของเอกสารข่าวที่ฝ่ายรัฐบาลนำมาแจกแจงก็จะพบว่า ฝ่ายรัฐบาลอ้างว่ามีการให้งบกระทรวงกลาโหม ไปจำนวน 1,806 ล้านบาท
แบ่งเป็นการปรับค่าเบี้ยเลี้ยงทหารพราน 172 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการป้องกันชายแดนไทย-กัมพูชา จำนวน359 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการจัดหากระสุนสำรองคงคลัง 920 ล้านบาท
แต่งบฯ อีกบางตัวเช่นงบซื้อรถถังขนาดเบาของยูเครน 7,200 ล้านบาท ก็ไม่มีการแถลงแจงไว้ในเอกสาร
แค่บวกที่หายไปจากงบสร้างแฟลตตำรวจ 700 ล้านกับงบซื้อรถถัง 7,200 ล้านแค่นี้ก็จะพบว่าเม็ดเงินได้หายไปจากการแถลงของรัฐบาลแล้ว 7,900 ล้านบาท แค่นี้รัฐบาลก็เถียงไม่ขึ้นแล้ว กับการหมกเม็ดทั้งหลาย
“ทีมข่าวการเมือง” ไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการอนุมัติเงินหรืองบต่างๆ เพราะบางเรื่องก็สมควรต้องทำและมีความจำเป็นเช่นการจัดซื้ออาวุธของกองทัพ เราก็เห็นด้วยเพราะทำให้กองทัพไทยสามารถสู้กับคนที่จะรุกลานอธิปไตยของประเทศอย่างกัมพูชาได้ และเราก็เข้าใจที่กองทัพและรัฐบาลพยายามให้เป็นเรื่องลับเพราะหากข่าวออกไปก็จะเป็นการบอกให้กัมพูชารู้ว่ากองทัพไทยมีอาวุธประเภทไหน สเปกแบบไหน มีอานุภาพอย่างไร
แต่สิ่งที่เราไม่เห็นด้วย คือ การประชุม ครม.กันแบบเร่งรีบ-ร้อนรน-รวบรัด ทำกันแบบ “จะเอาให้ได้”ยิ่งเมื่อเป็นการเทกระจาดให้พรรคร่วมรัฐบาลครั้งสุดท้าย ระบบตรวจสอบกันเองในครม.ก็จะไม่มี ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะจากการตรวจสอบข่าวพบว่าหลายเรื่องแทบไม่มีรัฐมนตรีคนไหนแสดงความเห็นอะไรกันเลยในที่ประชุมครม.ปล่อยให้เห็นชอบกันไปง่ายๆ
จึงได้เห็นภาพพรรคร่วมรัฐบาลสมประโยชน์กันไปตามๆ กัน เช่นภูมิใจไทย ที่ได้ทั้งของคมนาคมและมหาดไทย อาทิ งบลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทยซื้อรถจักรและล้อเลื่อน มูลค่า 1.7 แสนล้านบาท แต่รอบแรกเอาไปก่อน 1.4 หมื่นล้านบาท หรือโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 รวมเม็ดเงิน 31,170 ล้านบาท และการอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินเพื่อบริหารกิจการอีก 6 พันกว่าล้านบาท
หรือการอนุมัติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดมหาดไทย ทำโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า วงเงินลงทุน 31,170 ล้านบาทเป็นต้น
ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา แม้ไม่หวือหวาแต่ก็เอาโครงการต่างๆ ไปขยายผลหาเสียงทางการเมืองได้เช่นการได้รับความเห็นชอบวงเงิน 1,641 เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินของตัวเองตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ หรือโครงการสร้างสนามกีฬาใน 9 จังหวัดเช่น อุดรธานี สุโขทัย ลำปาง ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬาเสนอ
ส่วนประชาธิปัตย์พบว่า ไม่เน้นความหวือหวาในการขออนุมัติงบโครงการต่างๆของกระทรวงด้านสังคมเช่นกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และสาธารณสุข แต่ก็น่าจะทำให้พรรคนำไปหาเสียงได้ในช่วงเลือกตั้ง แต่ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นโครงการบ้านหลังแรก ที่ให้ ธอส.ปล่อยกู้กันคนที่จะกู้เงินไปซื้อบ้านหลังแรกแบบปลอดภาษี 0 เปอร์เซนต์สองปี โดยให้ ธอส.จัดงบเพื่อการนี้ 2.5 หมื่นล้านบาท
เรียกได้ว่าเป็นนโยบายที่ประชาธิปัตย์จัดหนักมาให้คนชั้นกลาง เพื่อหวังซื้อใจให้คนเลือกประชาธิปัตย์แบบไม่ต้องลังเล
ถือเป็นการทิ้งทวนของครม.มาร์ค ที่ทำให้สังคมเห็นได้ชัดว่า อภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล เมื่อถึงวันต้องลงสนามเลือกตั้ง ต้องเอาใจพรรคร่วมรัฐบาล และหวังคะแนนเสียงจากประชาชน เพื่อให้กลับมาเป็นนายกฯรอบสอง
อภิสิทธิ์ ก็พร้อมจะนั่งร่วมโต๊ะปล่อยให้รัฐมนตรีรุมสวาปามผลาญงบประมาณแผ่นดินใน ครม.นัดสุดท้าย จนอิ่มหนำสำราญไปถ้วนหน้า
รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้ประชุมคณะรัฐมนตรียาวนานถึง 15 ชั่วโมง พิจารณาให้ความเห็นชอบและรับทราบวาระต่างๆ ทั้งแบบปกติ และวาระจร ยัดไส้เข้าที่ประชุมกันแบบแจกเอกสารกันกลางดึกกลางดื่นกลางห้องประชุมคณะรัฐมนตรีที่ถูลู่ถูกังประชุมกันจนถึงตีสอง
เป็นอันเสร็จ มหกรรมทิ้งทวน-แบ่งเค้กกันของบรรดารัฐมนตรีพรรคร่วมรัฐบาลได้อิ่มหนำสำราญกันหมด จากนั้นก็แยกย้ายกันกลับบ้านไป ประชุม ครม.15 ชั่วโมง ถลุงกันเต็มเหนี่ยวหลายแสนล้านบาท หากเอาเงินทั้งหมดมาหารด้วยจำนวนนาทีของเวลาประชุม 15 ชั่วโมงคาดว่า น่าจะเป็นการประชุม ครม.ที่ราคาแพงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย!
ข่าวที่ออกมากับการประชุมครม.นัดสั่งลาที่ทำกันแบบเร่งรีบ-ร้อนรน-รวบรัด ถือว่าเป็นภาพที่ติดลบกับอภิสิทธิ์และรัฐบาลชุดนี้อย่างมาก
ยิ่งได้เห็นความจริงที่ว่า มีการชงเรื่องวาระจรโครงการใหญ่ๆ เข้าที่ประชุมจำนวนมากแม้จะเป็นโครงการที่ใช้งบผูกพันข้ามปี แต่พฤติการณ์มันก็เห็นชัดว่า เปรียบเหมือน “ตีเช็คไว้ล่วงหน้า”
คือชงเรื่องให้เห็นชอบในหลักการไว้ก่อน ปีแรกหรือตอนเริ่มโครงการเกลี่ยตัวเลขให้เห็นว่าใช้เงินไม่มาก แต่จะทำงบผูกพันข้ามปีในงบประมาณปีต่อๆ ไป ที่จะใช้เงินจำนวนมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนโครงการสำเร็จ เป็นวิธีตบตาไม่ให้กระโตกกระตาก
ยกตัวอย่างกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่สุเทพ เทือกสุบรรณเป็นประธาน ก.ตร.ที่ ครม.เห็นชอบโครงการสร้างแฟลตที่อยู่อาศัยให้ข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมูลค่า 740 ล้านบาท แยกเป็นเบื้องต้นให้เงินไปก่อน 40 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย แล้วอีก 700 ล้านให้เป็นงบผูกพันข้ามปีในปี 2555
ซึ่งการประชุม ครม.นัดดังกล่าวมีโครงการลักษณะเช่นนี้จำนวนมาก แล้วรัฐบาลก็พยายามอ้างว่า ไม่ได้มีการอนุมัติเงินกันเป็นแสนล้านบาท ทั้งหมดเป็นเรื่องบผูกพันข้ามปี จึงไม่ควรนำเงินทั้งหมดมาคิดรวมกัน
แต่ความจริงก็อย่างที่รู้ๆ กันก็คือ เมื่อ ครม.เห็นชอบในหลักการไปแล้ว อย่างกรณีการสร้างแฟลตตำรวจดังกล่าว ถามว่าเมื่อมีการซื้อที่ดินกันไปแล้ว จะไปล้มโครงการได้อย่างไร ดังนั้นพองบปี 55 มาถึง สตช.ก็ต้องชงเรื่องขออนุมัติงบกันต่อไปในปี 2555 ซึ่งก็คงต้องผ่านฉลุยกันแน่นอน เพราะเห็นชอบในหลักการไปแล้ว
ต่อให้รัฐบาลชุดหน้าไม่ใช่รัฐบาลประชาธิปัตย์ หรือสุเทพ ไม่ได้กลับมาคุมตำรวจ ก็ยากที่จะล้มโครงการไปได้ เพราะว่ามีการซื้อที่ดินกันไปแล้ว
การชงเรื่องเข้า ครม.นัดสุดท้าย บอกได้เลยว่ามีโครงการลักษณะนี้จำนวนมาก ที่มีการวางมัดจำกันไว้แล้วในรัฐบาลชุดนี้ สุดท้ายใครจะได้ดอกได้ผลอย่างไรกับการชงเรื่องลักษณะเช่นนี้เข้าที่ประชุม ครม.ก็เป็นเรื่องที่มีคนไม่กี่คนเท่านั้นที่จะรู้
และเชื่อว่ารัฐมนตรีทั้งหลายที่นั่งเห็นชอบในที่ประชุม ครม.ก็รู้เกมกันดี แต่ส่วนใหญ่ก็ปิดตาปิดปาก เห็นชอบกันไป เพราะถือว่ามื้อสุดท้ายแล้ว ทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ต้องดูแลพรรค เอาเงินส่งให้พรรคไปใช้ในช่วงเลือกตั้ง ไหนจะต้องคอยดูแลพวกลูกพรรคลูกทีม
นักการเมืองต้องเข้าสู่สนามเลือกตั้งอีกหน รัฐมนตรีบางคนที่ลงสมัคร ส.ส.เขตก็ต้องเหนื่อยหนักในการลงเลือกตั้งรอบนี้ มีโอกาสจะสอบตกก็สูงหลายคน จากรัฐมนตรีเที่ยวนี้ อาจจะกลายเป็นอดีตรัฐมนตรี-อดีต ส.ส.รอบหน้า จะกลายเป็นพวกตกกระป๋องไป
ดังนั้นเมื่ออนาคตมันไม่ชัวร์ แต่ตอนนี้มันชัวร์ที่สุด บรรดารัฐมนตรีทั้งหลายมันเลยแสดงพฤติกรรมโกยกันเต็มที่ กินกันเต็มเหนี่ยวอย่างที่เห็น
การที่คนในรัฐบาลพยายามออกมาปฏิเสธว่า ไม่มีการทิ้งทวน-ไร้การแบ่งเค้กหรือเทกระจาดกัน จึงเป็นเรื่องที่เอาไว้หลอกเด็กดีกว่า
จะมาอ้างว่าการอนุมัติโครงการต่างๆ ที่ใช้เม็ดเงินกันนั้นเป็นเงินงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินที่ใช้เงินไม่มากแค่ 13,745.0939 ล้าน จึงไม่มีใครเขาเชื่อแน่นอน
เพราะตัวเลขนี้มันไม่ได้รวมยอดเงินทั้งหมดในส่วนที่เป็นงบผูกพันข้ามปี หรือเงินในอนาคตที่รัฐบาลชุดต่อไป หรือหน่วยงานต้นเรื่องต้องเอาเงินไปทำต่อไว้ด้วย
ยกตัวอย่างเอกสารแยกเงินงบกลางที่มีการอนุมัติไปในรายหน่วยงาน มีการระบุไว้ว่างบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้ไปแค่ 171 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการกรุงเทพฯ เมืองปลอดภัย (ประชาวิวัฒน์) 123 ล้านบาท โครงการเช่ารถภารกิจถวายความปลอดภัย 7.5 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พักอาศัย 40 ล้านบาท
ก็จะเห็นได้เลยว่า ในส่วนที่แจงว่าค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พักอาศัยแค่ 40 ล้านบาท แต่โดยข้อเท็จจริงก็คือ โครงการนี้ใช้เงิน 740 ล้านบาท รัฐบาลไม่ได้รวมเงินอีก 700 ล้านบาทที่เป็นเงินค่าก่อสร้างเอาไว้ แต่เอาเงิน 40 ล้านบาทที่เป็นเงินนำร่องซื้อที่ดินมาโชว์แค่นั้น
ถามว่าทำไมไม่บอกให้หมดว่า เงินโครงการนี้จริงๆ มัน 740 ล้าน ไม่ใช่ 40 ล้านบาท ก็เท่ากับการบวกเงินของฝ่ายรัฐบาลเอาแค่นี้ก็เห็นชัดๆ แล้วว่าหายไป 700 ล้านบาท แล้วแบบนี้จะไม่ให้เชื่อได้อย่างไรว่า รัฐบาลหมดเม็ด ปกปิดความจริง
หรืองบที่รัฐบาลแจงว่าไม่ได้มีการจัดสรรงบลับหรืองบซื้ออาวุธให้กองทัพจำนวนมากอย่างที่วิจารณ์กัน เมื่อไปดูในรายละเอียดของเอกสารข่าวที่ฝ่ายรัฐบาลนำมาแจกแจงก็จะพบว่า ฝ่ายรัฐบาลอ้างว่ามีการให้งบกระทรวงกลาโหม ไปจำนวน 1,806 ล้านบาท
แบ่งเป็นการปรับค่าเบี้ยเลี้ยงทหารพราน 172 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการป้องกันชายแดนไทย-กัมพูชา จำนวน359 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการจัดหากระสุนสำรองคงคลัง 920 ล้านบาท
แต่งบฯ อีกบางตัวเช่นงบซื้อรถถังขนาดเบาของยูเครน 7,200 ล้านบาท ก็ไม่มีการแถลงแจงไว้ในเอกสาร
แค่บวกที่หายไปจากงบสร้างแฟลตตำรวจ 700 ล้านกับงบซื้อรถถัง 7,200 ล้านแค่นี้ก็จะพบว่าเม็ดเงินได้หายไปจากการแถลงของรัฐบาลแล้ว 7,900 ล้านบาท แค่นี้รัฐบาลก็เถียงไม่ขึ้นแล้ว กับการหมกเม็ดทั้งหลาย
“ทีมข่าวการเมือง” ไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการอนุมัติเงินหรืองบต่างๆ เพราะบางเรื่องก็สมควรต้องทำและมีความจำเป็นเช่นการจัดซื้ออาวุธของกองทัพ เราก็เห็นด้วยเพราะทำให้กองทัพไทยสามารถสู้กับคนที่จะรุกลานอธิปไตยของประเทศอย่างกัมพูชาได้ และเราก็เข้าใจที่กองทัพและรัฐบาลพยายามให้เป็นเรื่องลับเพราะหากข่าวออกไปก็จะเป็นการบอกให้กัมพูชารู้ว่ากองทัพไทยมีอาวุธประเภทไหน สเปกแบบไหน มีอานุภาพอย่างไร
แต่สิ่งที่เราไม่เห็นด้วย คือ การประชุม ครม.กันแบบเร่งรีบ-ร้อนรน-รวบรัด ทำกันแบบ “จะเอาให้ได้”ยิ่งเมื่อเป็นการเทกระจาดให้พรรคร่วมรัฐบาลครั้งสุดท้าย ระบบตรวจสอบกันเองในครม.ก็จะไม่มี ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะจากการตรวจสอบข่าวพบว่าหลายเรื่องแทบไม่มีรัฐมนตรีคนไหนแสดงความเห็นอะไรกันเลยในที่ประชุมครม.ปล่อยให้เห็นชอบกันไปง่ายๆ
จึงได้เห็นภาพพรรคร่วมรัฐบาลสมประโยชน์กันไปตามๆ กัน เช่นภูมิใจไทย ที่ได้ทั้งของคมนาคมและมหาดไทย อาทิ งบลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทยซื้อรถจักรและล้อเลื่อน มูลค่า 1.7 แสนล้านบาท แต่รอบแรกเอาไปก่อน 1.4 หมื่นล้านบาท หรือโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 รวมเม็ดเงิน 31,170 ล้านบาท และการอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินเพื่อบริหารกิจการอีก 6 พันกว่าล้านบาท
หรือการอนุมัติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดมหาดไทย ทำโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า วงเงินลงทุน 31,170 ล้านบาทเป็นต้น
ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา แม้ไม่หวือหวาแต่ก็เอาโครงการต่างๆ ไปขยายผลหาเสียงทางการเมืองได้เช่นการได้รับความเห็นชอบวงเงิน 1,641 เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินของตัวเองตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ หรือโครงการสร้างสนามกีฬาใน 9 จังหวัดเช่น อุดรธานี สุโขทัย ลำปาง ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬาเสนอ
ส่วนประชาธิปัตย์พบว่า ไม่เน้นความหวือหวาในการขออนุมัติงบโครงการต่างๆของกระทรวงด้านสังคมเช่นกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และสาธารณสุข แต่ก็น่าจะทำให้พรรคนำไปหาเสียงได้ในช่วงเลือกตั้ง แต่ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นโครงการบ้านหลังแรก ที่ให้ ธอส.ปล่อยกู้กันคนที่จะกู้เงินไปซื้อบ้านหลังแรกแบบปลอดภาษี 0 เปอร์เซนต์สองปี โดยให้ ธอส.จัดงบเพื่อการนี้ 2.5 หมื่นล้านบาท
เรียกได้ว่าเป็นนโยบายที่ประชาธิปัตย์จัดหนักมาให้คนชั้นกลาง เพื่อหวังซื้อใจให้คนเลือกประชาธิปัตย์แบบไม่ต้องลังเล
ถือเป็นการทิ้งทวนของครม.มาร์ค ที่ทำให้สังคมเห็นได้ชัดว่า อภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล เมื่อถึงวันต้องลงสนามเลือกตั้ง ต้องเอาใจพรรคร่วมรัฐบาล และหวังคะแนนเสียงจากประชาชน เพื่อให้กลับมาเป็นนายกฯรอบสอง
อภิสิทธิ์ ก็พร้อมจะนั่งร่วมโต๊ะปล่อยให้รัฐมนตรีรุมสวาปามผลาญงบประมาณแผ่นดินใน ครม.นัดสุดท้าย จนอิ่มหนำสำราญไปถ้วนหน้า