รองผอ.คชอ. เผยหลังถก คชอ.ที่ประชุมชงแจกเงิน 5 พันช่วยเหมือนเดิม แต่ให้มีหลักเกณฑ์กำหนดพื้นที่ชัด เล็งพิจารณาอีกครั้งศุกร์นี้ก่อนดันเข้า ครม.สัปดาห์หน้า คาดใช้เงินไม่เกิน 2,000 ล้าน รองอธิบดีกรมป้องกันสาธารณภัย รับเดือดร้อน 3 แสนครัวเรือน ชี้ที่ราบเชิงเขาจุดเสี่ยงดินถล่ม
วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิทเยนทร์ มุตตามุระ รองผู้อำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (คชอ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (คชอ.) ว่า ในที่ประชุมได้เสนอให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ครอบครัว ละ 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์เดิม แม้ในบางครอบครัวอาจจะได้รับซ้อนในพื้นที่เดิม แต่ถือเป็นน้ำท่วมคนละคราวและความเสียหายต่างกัน จึงได้มีมติให้เสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบอุทกภัยดังกล่าวครอบครัวละ 5,000 บาท โดยจะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนกว่าคราวที่แล้ว เช่น มีการกำหนดพื้นที่ โดยดูจากภาพถ่ายดาวเทียม ในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ทั้งนี้ คณะกรรมการฯจะพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 1 เม.ย.นี้ เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันจันทร์ที่ 4 เม.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องการช่วยเหลือเยียวยาไม่จำเป็นต้องยึดหลักการน้ำขังท่วม 7 วันเพราะฝนตก 3 วัน คือ วันที่ 24-26 มี.ค.มีน้ำสูงในบางพื้นที่ 600-700 มิลลิเมตร คราวที่แล้วหนักสุดแค่ 300-400 มิลลิเมตร อย่างพื้นที่สมุย 24 ชั่วโมงฝนตกมีปริมาณน้ำสูงถึง 400 กว่ามิลลิเมตร ส่งผลสนามบินปิดไปครึ่งวัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าเบื้องต้นจะขออนุมัติงบ ครม.จำนวนเท่าไร นายฉัตรป้องกล่าวว่า 3 แสนครอบครัว ประมาณ 1,500 ล้านบาท ทั้งนี้กรอบที่จะขอยังไม่ได้กำหนดชัดเจน ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไปอีกนิดหนึ่ง เพราะฝนยังตกหนักอยู่และเคลื่อนย้ายไปฝั่งตะวันตก จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง ซึ่งจะต้องมีครบอครัวที่ประสบปัญหาเพิ่มขึ้นอีกเยอะ แต่ขณะนี้งบประมาณที่ต้องจ่ายครอบครัวละ 5,000 บาท วงเงินไม่น่าจะเกิน 2 ,000 ล้านบาท ส่วนเรื่องการจ่ายค่าชดเชยซ่อมแซมที่อยู่อาศัยนั้นจะยึดเกณฑ์ปกติ เริ่มตั้งแต่เสียหายเล็กน้อย กระทั่งเสียหายทั้งหลัง นอกจากนี้จะมีเรื่องเงินช่วยเหลือผู้เสียชีวิตอีกด้วย ที่ทาง ปภ.จะให้เพิ่มเติมแยกต่างหากจากหลักเกณฑ์เดิมที่เสียชีวิตให้ 25,000 บาท แต่ถ้าเป็นหัวหน้าครอบครัว จะให้ 50,000 บาท
ด้าน นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ รองอธิบดีกรมป้องกันสาธารณภัย กล่าวว่า ขณะนี้พบครอบครัวที่เดือดร้อนประมาณเกือบ 3 แสนราย แต่เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่นิ่ง ยังมีฝนตกและน้ำท่วมเพิ่มเติมในแถบจังหวัดฝั่งอันดามัน ดังนั้น ในวันศุกร์ที่ 1 เม.ย.นี้ คณะทำงานกลุ่มย่อยจะร่วมกันประชุมอีกครั้ง เพื่อวางกรอบและขออนุมัติงบประมาณเป็นรายครัวเรือน ส่วนการช่วยเหลือของกองทัพเรือที่ประชุมได้สอบถามกรณีเรือรบหลวง 4 ลำที่ไปทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ได้รับรายงานว่าทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สำหรับพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษนั้น นายวิทเยนทร์กล่าวว่า ในตอนนี้ได้มีการประกาศเตือนทุกพื้นที่ ที่อยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาและบริเวณที่เคยมีประสบการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ตรงนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะบนภูเขาจะมีการอุ้มน้ำอยู่จำนวนมาก และฝนก็ตกหนักต่อเนื่อง ดังนั้น พื้นที่ที่อยู่ติดเชิงเขามีโอกาสได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่เสี่ยงพิเศษเราจะดำเนินการให้หน่วยราชการเข้าไปอพยพเอาคนออก
วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิทเยนทร์ มุตตามุระ รองผู้อำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (คชอ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (คชอ.) ว่า ในที่ประชุมได้เสนอให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ครอบครัว ละ 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์เดิม แม้ในบางครอบครัวอาจจะได้รับซ้อนในพื้นที่เดิม แต่ถือเป็นน้ำท่วมคนละคราวและความเสียหายต่างกัน จึงได้มีมติให้เสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบอุทกภัยดังกล่าวครอบครัวละ 5,000 บาท โดยจะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนกว่าคราวที่แล้ว เช่น มีการกำหนดพื้นที่ โดยดูจากภาพถ่ายดาวเทียม ในพื้นที่น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ทั้งนี้ คณะกรรมการฯจะพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 1 เม.ย.นี้ เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันจันทร์ที่ 4 เม.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องการช่วยเหลือเยียวยาไม่จำเป็นต้องยึดหลักการน้ำขังท่วม 7 วันเพราะฝนตก 3 วัน คือ วันที่ 24-26 มี.ค.มีน้ำสูงในบางพื้นที่ 600-700 มิลลิเมตร คราวที่แล้วหนักสุดแค่ 300-400 มิลลิเมตร อย่างพื้นที่สมุย 24 ชั่วโมงฝนตกมีปริมาณน้ำสูงถึง 400 กว่ามิลลิเมตร ส่งผลสนามบินปิดไปครึ่งวัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าเบื้องต้นจะขออนุมัติงบ ครม.จำนวนเท่าไร นายฉัตรป้องกล่าวว่า 3 แสนครอบครัว ประมาณ 1,500 ล้านบาท ทั้งนี้กรอบที่จะขอยังไม่ได้กำหนดชัดเจน ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไปอีกนิดหนึ่ง เพราะฝนยังตกหนักอยู่และเคลื่อนย้ายไปฝั่งตะวันตก จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง ซึ่งจะต้องมีครบอครัวที่ประสบปัญหาเพิ่มขึ้นอีกเยอะ แต่ขณะนี้งบประมาณที่ต้องจ่ายครอบครัวละ 5,000 บาท วงเงินไม่น่าจะเกิน 2 ,000 ล้านบาท ส่วนเรื่องการจ่ายค่าชดเชยซ่อมแซมที่อยู่อาศัยนั้นจะยึดเกณฑ์ปกติ เริ่มตั้งแต่เสียหายเล็กน้อย กระทั่งเสียหายทั้งหลัง นอกจากนี้จะมีเรื่องเงินช่วยเหลือผู้เสียชีวิตอีกด้วย ที่ทาง ปภ.จะให้เพิ่มเติมแยกต่างหากจากหลักเกณฑ์เดิมที่เสียชีวิตให้ 25,000 บาท แต่ถ้าเป็นหัวหน้าครอบครัว จะให้ 50,000 บาท
ด้าน นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ รองอธิบดีกรมป้องกันสาธารณภัย กล่าวว่า ขณะนี้พบครอบครัวที่เดือดร้อนประมาณเกือบ 3 แสนราย แต่เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่นิ่ง ยังมีฝนตกและน้ำท่วมเพิ่มเติมในแถบจังหวัดฝั่งอันดามัน ดังนั้น ในวันศุกร์ที่ 1 เม.ย.นี้ คณะทำงานกลุ่มย่อยจะร่วมกันประชุมอีกครั้ง เพื่อวางกรอบและขออนุมัติงบประมาณเป็นรายครัวเรือน ส่วนการช่วยเหลือของกองทัพเรือที่ประชุมได้สอบถามกรณีเรือรบหลวง 4 ลำที่ไปทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ได้รับรายงานว่าทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สำหรับพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษนั้น นายวิทเยนทร์กล่าวว่า ในตอนนี้ได้มีการประกาศเตือนทุกพื้นที่ ที่อยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาและบริเวณที่เคยมีประสบการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ตรงนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะบนภูเขาจะมีการอุ้มน้ำอยู่จำนวนมาก และฝนก็ตกหนักต่อเนื่อง ดังนั้น พื้นที่ที่อยู่ติดเชิงเขามีโอกาสได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่เสี่ยงพิเศษเราจะดำเนินการให้หน่วยราชการเข้าไปอพยพเอาคนออก