การเมืองตามระบอบประชาธิปไตย เดินทางมาถึงปีสุดท้ายแล้ว ภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ทว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้มาด้วยวิธีปกติธรรมดา ไม่ได้มาเพราะนายกรัฐมนตรีคนเก่าลาออกไป แต่มาด้วยเงื่อนไขพิเศษ
นายกฯคนเก่าถูกตัดสิทธิการเมือง ลูกพรรคบางส่วนตลบหลังย้ายข้างมาสนับสนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี
แรงแค้น แรงต้าน จากฝ่ายอำนาจเดิม ย่อมหนาแน่น ออกมาไล่เช้าไล่เย็นทั้งในทั้งนอกสภา แต่ก็ได้อำนาจพิเศษช่วยยื้อยุดลากยาวจนเป็นรัฐบาลมาได้ 2 ปีเศษแล้ว
บางครั้งบางทีก็ดูเหมือนจะลุยต่อไม่ไหว แต่บางครั้งบางทีก็ดูเหมือนจะผ่านฉลุย สามารถแถกเหงือกอยู่ยาวจนครบเทอม
ปัจจัยสถานการณ์ความไม่สงบ แม้จะเกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา แต่รัฐบาลชุดนี้ยังผ่านมาได้ตลอด หากเป็นรัฐบาลชุดอื่นๆ คงต้องไสหัวไปนานแล้ว
เรื่องที่รัฐบาลทำไปแล้วดี ก็เป็นแต้มเป็นคะแนนให้ตัวเองยืนอยู่ได้ แต่บางเรื่องที่ทำไปแล้วไม่ดี หรือมันยังคลุมเครือ ก็มักจะมีตัวช่วย ตัวแปรเข้ามาทำหนักให้เป็นเบา ทำเบาให้เจือจางอยู่เสมอ
แต่วันนี้มันเกิดปัญหาที่ไม่ว่าใครจะมาแก้ไขช่วยเหลือก็ไม่น่าจะทันเสียแล้ว เพราะมันเป็นเรื่องที่กระทบเข้าไปในความรู้สึกของประชาชนอย่างแท้จริง ชาวบ้านได้สัมผัสโดยตรงกับตัวเอง
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ไม่ว่าเป็นรัฐบาลไหนก็แก้ไขลำบาก
วันนี้รัฐบาลยิ่งแก้ยิ่งเหมือนวัวพันหลัก ยิ่งนานวันยิ่งกลัดหนอง ราคาสินค้าที่ขึ้นไป คงแก้ไขให้ลดราคาลงลำบาก เมื่อควบคุมไม่ได้ก็ตัดสินใจตัดช่องน้อยไปดีกว่า เลือกชิ่งหนี แล้วหาข้อแก้ตัวทีหลังน่าจะสวยกว่า
หลายคนนินทากันว่าอภิสิทธิ์ถอดใจ จ้องยุบสภานานแล้ว แต่มีคนขอให้อึดไว้ก่อน
ล่าสุดแว่วข่าวว่าอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ไปพบอภิสิทธิ์เมื่อวันหนึ่งต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเชิญชวนให้ไปร่วมงานด้านเศรษฐกิจที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีขึ้นช่วงเดือนพฤษภาคม
แต่คำตอบเล่นเอาอลงกรณ์เองก็ตกใจตาโต “ถึงตอนนั้นผมก็ไม่อยู่แล้ว ไปไม่ได้แล้ว”
จากที่เคยฟันธง คาดการณ์กันว่ารัฐบาลจะอยู่โยงจนครบเทอม หลายคนต้องเปลี่ยนความคิด ปัจจัยสารพัดรุมเร้า แทบไม่พบด้านดี ทั้งสถานการณ์ภายในภายนอก ปัญหาระหว่างประเทศ ปัญหาในประเทศ เศรษฐกิจทั้งระดับบนเรื่อยมาจนระดับล่าง กราฟหัวทิ่มดิ่งเหวต่อเนื่อง
จะงัด จะผงกหัวยังไงก็ไม่ผงาด
มันอาจจะถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องจรลีลี้ภัย กลับไปตั้งหลักกันใหม่ คิดแก้เกมในแนวทางการเมือง ที่พรรคประชาธิปัตย์ถนัดช่ำชอง เพราะแนวทางการบริหารดูยังไงก็ไม่ถนัด บริหารไปทีไรมันก็สาละวันเตี้ยลงๆ ทุกที..
นายกฯคนเก่าถูกตัดสิทธิการเมือง ลูกพรรคบางส่วนตลบหลังย้ายข้างมาสนับสนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี
แรงแค้น แรงต้าน จากฝ่ายอำนาจเดิม ย่อมหนาแน่น ออกมาไล่เช้าไล่เย็นทั้งในทั้งนอกสภา แต่ก็ได้อำนาจพิเศษช่วยยื้อยุดลากยาวจนเป็นรัฐบาลมาได้ 2 ปีเศษแล้ว
บางครั้งบางทีก็ดูเหมือนจะลุยต่อไม่ไหว แต่บางครั้งบางทีก็ดูเหมือนจะผ่านฉลุย สามารถแถกเหงือกอยู่ยาวจนครบเทอม
ปัจจัยสถานการณ์ความไม่สงบ แม้จะเกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา แต่รัฐบาลชุดนี้ยังผ่านมาได้ตลอด หากเป็นรัฐบาลชุดอื่นๆ คงต้องไสหัวไปนานแล้ว
เรื่องที่รัฐบาลทำไปแล้วดี ก็เป็นแต้มเป็นคะแนนให้ตัวเองยืนอยู่ได้ แต่บางเรื่องที่ทำไปแล้วไม่ดี หรือมันยังคลุมเครือ ก็มักจะมีตัวช่วย ตัวแปรเข้ามาทำหนักให้เป็นเบา ทำเบาให้เจือจางอยู่เสมอ
แต่วันนี้มันเกิดปัญหาที่ไม่ว่าใครจะมาแก้ไขช่วยเหลือก็ไม่น่าจะทันเสียแล้ว เพราะมันเป็นเรื่องที่กระทบเข้าไปในความรู้สึกของประชาชนอย่างแท้จริง ชาวบ้านได้สัมผัสโดยตรงกับตัวเอง
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ไม่ว่าเป็นรัฐบาลไหนก็แก้ไขลำบาก
วันนี้รัฐบาลยิ่งแก้ยิ่งเหมือนวัวพันหลัก ยิ่งนานวันยิ่งกลัดหนอง ราคาสินค้าที่ขึ้นไป คงแก้ไขให้ลดราคาลงลำบาก เมื่อควบคุมไม่ได้ก็ตัดสินใจตัดช่องน้อยไปดีกว่า เลือกชิ่งหนี แล้วหาข้อแก้ตัวทีหลังน่าจะสวยกว่า
หลายคนนินทากันว่าอภิสิทธิ์ถอดใจ จ้องยุบสภานานแล้ว แต่มีคนขอให้อึดไว้ก่อน
ล่าสุดแว่วข่าวว่าอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ไปพบอภิสิทธิ์เมื่อวันหนึ่งต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเชิญชวนให้ไปร่วมงานด้านเศรษฐกิจที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีขึ้นช่วงเดือนพฤษภาคม
แต่คำตอบเล่นเอาอลงกรณ์เองก็ตกใจตาโต “ถึงตอนนั้นผมก็ไม่อยู่แล้ว ไปไม่ได้แล้ว”
จากที่เคยฟันธง คาดการณ์กันว่ารัฐบาลจะอยู่โยงจนครบเทอม หลายคนต้องเปลี่ยนความคิด ปัจจัยสารพัดรุมเร้า แทบไม่พบด้านดี ทั้งสถานการณ์ภายในภายนอก ปัญหาระหว่างประเทศ ปัญหาในประเทศ เศรษฐกิจทั้งระดับบนเรื่อยมาจนระดับล่าง กราฟหัวทิ่มดิ่งเหวต่อเนื่อง
จะงัด จะผงกหัวยังไงก็ไม่ผงาด
มันอาจจะถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องจรลีลี้ภัย กลับไปตั้งหลักกันใหม่ คิดแก้เกมในแนวทางการเมือง ที่พรรคประชาธิปัตย์ถนัดช่ำชอง เพราะแนวทางการบริหารดูยังไงก็ไม่ถนัด บริหารไปทีไรมันก็สาละวันเตี้ยลงๆ ทุกที..